ว่าด้วยเรื่องการค้นหาเชิงรุก


การค้นหาเร็ว จะช่วยตัดวงจรการแพร่เชื้อได้เร็ว

ปัญหาปัจจุบันของโรควัณโรคอำเภอหนองกุงศรี คือ การติดเชื้อในรายใหม่สูงขึ้นจากปี 2549 เป็นเท่าตัว ทั้งๆที่อัตราการรักษาหายขาด (Cure Rate) และอัตราอัตราการรักษาสำเร็จ (Sucesse Rate) สูง ดังนั้น เราจึงตั้งคิดว่าเราคงลงเชิงรุกในการค้นหาผู้ป่วยใหม่ไม่เพียงพอหรือเปล่า ดังนั้น จึงเริ่มประชุมกันในหมู่ผู้รับผิดชอบจาก รพ. สสอ. สอ. ทำการทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วยวัณโรคใหม่ ให้ครบตั้งแต่การเริ่มที่ผู้ป่วยเดินเข้ามาหาเราจนกระทั่งติดตามรักษาจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ซึ่งเท่าที่ผ่านมาก็มีหย่อนบ้าง ปานกลาง และตึงตัวบ้าง แต่สิ่งที่เราสนใจมากเป็นพิเศษคือทำอย่างไรจึงจะค้นหาผู้ป่วย ผู้สัมผัสโรคในชุมชนให้เร็วที่สุดและเป็นการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม การพบปะพูดคุยเป็นไปอย่างเข้มข้น เพราะแต่ละคน เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข หัวหน้าสถานีอนามัย นักวิชาการสาธารณสุข จพ.สาธารณสุขชุมชน พนักงานสุขภาพชุมชน ก็มีประสบการณ์และพื้นฐานในการดำเนินงานที่แตกต่างกัน มีทั้งที่เป็นบรรยากาศเคร่งเครียด เขม็งเกลียว สนุกสนาน แรกๆต่างคนต่างใช้โหมดปกป้องในการพูโคย เบต้าฟุ้งกระจาย นานครั้งจะให้อัลฟ่าได้แจมนิดหน่อย คนเป็น Faก็พยายามลุ้นเต็มที่บางครั้งลืมบทบาทตนเองกลายเป็นผู้เล่าเอง สุนทรยีสนทนาที่ได้ฝึกมาบ้างเริ่มถดถอยลงไปเรื่อยๆ บางครั้งหมดไปต้องตั้งสติเรียกกลับคืนมาอยู่บ่อยๆ ไร้รูปแบบที่มีจุดหมายครับ เราพูดคุยกันหลายครั้งน้ำบ้าง เนื้อบ้าง ไปข้างหน้าบ้าง ถอยหลังบ้าง หลายคนเริ่มเบื่อ หลายคนมีงานประจำ งานจร วงพูดคุยบางครั้งต้องสาละวนอยู่กับการอธิบายสิ่งที่เคยพูด เคยเล่า เคยเป็นมติไปแล้วเมื่อครั้งก่อนๆ แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีที่เราจะได้มาทบทวนย้อนอีกครั้งเพื่อจะได้แน่ใจว่าสิ่งที่เคยคิดมามันถูกต้องหรือยัง เฮ้อ ติดเชื้อมาอีกแล้วเขียนวกไปวนมาขอจบแค่นี้ก่อน.........ง

คำสำคัญ (Tags): #tbkm
หมายเลขบันทึก: 106661เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2007 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท