เที่ยวเล่นให้เป็นงาน...ใช้กระบวนการนำไปสู่เนื้อหา


เที่ยวเล่นให้เป็นงาน...ใช้กระบวนการนำไปสู่เนื้อหา

วันนี้เป็นวันที่ 2 ของการอบรมผู้บริหารเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (CUP) รุ่นที่ 2 หน่วยที่ 2 ซึ่งมีผู้เข้ามร่วม "แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้" จาก 8 CUP 8 จังหวัด หลังจากที่พบกันในหน่วยที่ 1 เมื่อ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา

เรื่องที่จะบันทึกวันนี้ คือ ประโยคเด็ดอีกประโยคหนึ่งที่สะท้อนกระบวนการเรียนการสอนแบบผู้ใหญ่ที่มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างที่ อ.ชนินทร์ (ผศ.ดร.ชนินทร์ เจริญกุล) ได้สรุปบทเรียนไว้ใน http://gotoknow.org/blog/CUPmanagement/103234 

โดยคุณหมอเอ (นพ.ศุภชัย บุญอำพันธ์) ผอ.รพ.วังชิ้น สะท้อนว่า ต้อง "เที่ยวเล่นให้เป็นงาน" เพราะจริงๆ การทำกิจกรรมทุกอย่างสามารถที่จะถอดออกมาเป็นบทเรียนได้เสมอ และ อ.ชนินทร์ ยังได้เพิ่มเติมด้วยว่า ต้อง "ใช้กระบวนการนำไปสู่เนื้อหา" คือ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญพอๆ กันกับเนื้อหาที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเกิดการตกผลึกองค์ความรู้ใหม่อย่างแท้จริง

จึงขอนำ 2 วาทะมาเป็น 1 ประโยคเด็ดสำหรับวันนี้ครับว่า "เที่ยวเล่นให้เป็นงาน...ใช้กระบวนการนำไปสู่เนื้อหา"

หวังว่าหลังจากจบการอบรมหน่วยที่ 2 แล้ว ผู้บริหาร CUP ทุกท่านจะได้เที่ยว-เล่น-งาน-กระบวนการ-ความรู้ เพื่อพัฒนางานปฐมภูมิต่อไปนะครับ

ด้วยความเคารพรัก

หมายเลขบันทึก: 106589เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2007 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การจัดการในบริการปฐมภูมิ เป็นเรื่องท้าทายมาก หากเราติดอยู่กันภาระกิจในหน้าที่เราก็จะเข้าไม่ถึง... ในการคิดนอกกรอบก็คือการยึด ประชาชนเป็นศูนย์กลางและมองคนให้รอบ360 องศา เราจะเห็นปัจจัยมากมายที่ส่งผลถึงความอยู่ดีมีสุขของคนไม่ดีขึ้น จากที่เคยอยู่พื้นที่พบผู้ป่วย DM ครอบครัวหนึ่ง มี 4 คน พ่อเป็นโรคประสาทตาเสื่อม หมอบอกว่าไม่สามารถรักษาให้หายได้มีแต่จะมืดไปหน้า... ลูก 2 คน คนโตติดยาหนีออกจากบ้านไป 2 ปีไม่ติดต่อกลับมาเลย.... คนน้องเป็นหญิงทำงานโรงงานเลี้ยงพ่อและแม่ ....แม่ไม่เคยเจ็บป่วยอยู่มาวันหนึ่งแม่มีลอยช้ำบริเวณนิ้วเท้า ทีมงานผมเข้าไปดูและแนะนำให้ไปโรงพยาบาล แต่ไม่ไป ทีมงานผมมาบอกผม ผมเข้าไปดูและแนะนำให้ไปโรงพยาบาล .....2-3 สัปดาห์ทีมงานผมมาบอกว่ายังไม่ไปโรงพยาบาล...ผมเข้าไปอีกครั้งพบว่าจากแผลที่ช้ำกลายเป็นแผลลึกเห็นกระดูก รู้สึกมีอารมณ์ ต่อว่าไปหลายคำ ...แล้วถามว่าทำไมไม่ไปโรงพยาบาล เข้าพบว่า ถ้าไปโรงพยาบาลไม่มีใครเฝ้าลูกต้องทำงาน ผัวตาก็มองไม่ชัดช่วยตัวเองไม่ได้ ผมเลยตัดสินใจนัดรถมารับ แล้วให้ลูกไปเฝ้าแม่ สัญญาว่าหากตกงานจะหางานให้เอง ส่วนพ่อเดียวจะให้คนมาส่งอาหารให้ เลยได้ไป ...กลับมาเท้าถูกตัดถึงข้อเท้า โชคดีของผมที่ลูกไม่ตกงาน กลับไปทำงานที่โรงงานได้ ...กลับมาต้องมาแนะนำเรื่องอาหารการกิน การดูแลแผลการไปตามนักของหมอ...แต่สภาพบ้านที่ยกพื้นหลังคามุงสังกะสี ฝากันด้วยไม้ไผ่ จะมีโอกาสเลือกแผนการกินเพื่อควบคุมน้ำตาลของตนเองได้เพียงไหนกัน...คนเหล่านี้นอกจากจะจนแล้วยังมีปัญหาสุขภาพ แล้วขาดความรู้ เข้าสูตรวงจร โง่ เจ็บ  จน  แล้วเรามาสนใจแต่การดูแลการเจ็บป่วยซึ่งเมื่อมอง ครอบครัวนี้แล้วจะเห็นได้ว่าความเจ็บป่วยไม่ใช้ปัญหาของครอบครัว...แต่การอดตายเป็นปัญหาของครอบครัว ผมยังนึกในใจว่าถ้าลูกสาวแต่งานแล้วแยกไปอยู่ที่อื่นแล้วผัวเมียคู่นี้จะเป็นอย่างไร...ดูไม่จืด  การดูแลคนแบบ360 องศา เราตัองทำตัวเป็นนักพัฒนาสุขภาพไม่ใช้หมอรักษาโรค......นะจะบอกให้

 

เห็นด้วยครับ

สุขภาพ คงไม่ใช่เพียงการรักษาโรค เพียงอย่างเดียว เพราะสุขภาพเป็นองคิประกอบหนึ่งของสังคม ที่เกี่ยวเนื่องกับทุกลีลาการใช้ชีวิต หากมองเพียงจุดใดจุดหนึ่งไม่สามารถที่จะทำให้คนเรามีสุขภาวะที่ดีได้

ความท้าทายของการทำงานปฐมภูมิ คงต้องหาจุดที่ต้องกล้าที่จะเริ่ม บางครั้งเรามองถึงข้อจำกัดหลายๆ อย่าง โดยลืมนึกถึงทุนบางอย่างที่เรามีอยู่ เช่น น้ำใจของคนในชุมชน การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งทุนตรงนี้กำลังจะถูกลืมและเลือนหายไปจากสังคม แต่อย่างไรก็ตามคงต้องขอแรงจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน...แต่ต้องกล้าที่จะเริ่มต้น

ด้วยความเคารพรัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท