คนตานี
saifuddeen Abu Ni-nasreen (سيف ألدين) ibn ni-umar ibn ni-kejik An-nuree

11.การเป็นนักจัดรายการวิทยุ เพื่อชุมชน


รายการวิทยุ วิทยุชุมชน

นักจัดรายการวิทยุ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และต้องมีใจอาสาสมัคร

เป็นเรื่องที่ท้าท้ายความสามรถเป็นอย่างมาก ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้เข้ามาสู่วงการนี้ เป็นเรื่องอาจจะกล่าวได้ว่ากว่าที่จะมาเป็นวิทยุชุมชน ก็เป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก และเมื่อเวลาที่เราได้มาซึ่งวิทยุชุมชนที่เรารอคอย ก้ไม่ได้แสดงว่าเราจะได้โดยง่าย ก็เพระว่าก็มีการควบคุมจากรัฐ เหมือนดิมจะว่าไปแล้ว เราก็ยังไมได้มีความเป็นอิสระเท่าใดนัก แต่ก็ต้องยกมือ และปรบมือ แสดงความขอบคุณอย่างสูงที่ ประชาชนที่เป็นปัญญาชน (ผู้รู้ทางสังคม คณาจารย์ทางสื่อสารมวลชน และอื่นๆ)ต่างให้ความสนใจและนำมาสู่การทำให้เกิดวิทยุชุมชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 ที่พึ่งจะถูกยกแล้วก็ตามที่ แต่ก็เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะถ้ามีบท หรือความอยู่แล้ว รัฐธรรมนูญใหม่ก็ยังมีสิ่งเหล่านั้นก็คือ ความเป็นชุมชนที่ต้องอาศัยคนในชุมชนมาทำความเข้าใจ และอธิบายชุมชนของเขา ผ่านทางสื่อของชุมชน โดยมีวิทยุ เพื่อชุมชน ที่มีอยู่ในประเทศไทย ณ ขณะนี้ เป็นกระบอกเสียงของประชาชนโดยแท้  .............  ประชาชนจำเป็นต้องมีสิ่งเหล่านี้ แต่ไม่ใช่เพื่อนายทุนทำการค้าบนสื่อของชุมชน .......... ดังนั้นรัฐจำต้องมาควบคุมนายทุน ไม่ให้หาประโยชน์จากประชาชน

น้ำทะเล ที่ไม่เคยหายไปจากท้องทะเล

สามารถติดตามและติดชมการจัดรายการได้

ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ทางคลื่นความถี่ 107.25 หรือทาง http://radio.pn.psu.ac.th/ 

ในรายการวิทยุชุมชน เพื่อการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

โดย....แหลมตานี

**********************************************

ท่านทั้งหลายคิดว่า (ร่าง)รัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี พ.ศ. 2550 ให้อะไรกับวิทยาชุมชน และกำหนดกรอบ สิทธิ หน้าที่ของวิทยุชุมชนอย่างไร

 

แต่ที่แน่ ****  อย่าลืม*******

อาทิตย์ ที่ 19 สิงหาคม 2550

เวลา 08.00 น.-16.00 น.

ไปร่วมกำหนดชะตากรรม

ของรัฐธรรมนูญ 2550

 

และชะตากรรมของวิทยุชุมชน

ของพวกเราท่านหลาย

 

อย่าลืมนะครับ รับ หรือ ไม่รับ ท่านรู้เอง

13-08-50

แหลมตานี เขียน ตามเคย....

************************************************************************

หมายเลขบันทึก: 106283เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ข้อเสนอแนะต่อรัฐในการปฏิรูปสื่อ

                 ตัวแทนกลุ่มองค์กรประชาชนที่ทำงานด้านสื่อภาคพลเมืองในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น รายการวิทยุเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง รายการวิทยุเพื่อเด็ก รายการวิทยุเพื่อผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสให้สังคมรายการวิทยุชุมชน และรายการวิทยุภาคพลเมือง เป็นต้น จำนวน 115 คน จาก 60 จังหวัด ในนามของ 72 องค์กร ได้มาพบกันระหว่าง วันที่ 17 - 19 สิงหาคม 2544 นี้ ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อร่วมรับรู้สถานการณ์ในการปฎิรูปสื่อ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ปฏิบัติการจริงภาคประชาชนของกลุ่มองค์กรต่าง ๆ และร่วมกำหนดทิศทางและวิธีการเพื่อให้เกิดการเติบโตของวิทยุภาคพลเมือง เป็นไปในแนวทางที่มีพลัง ยั่งยืน และมีประโยชน์ต่อสาธารณะ ตามเจตนารมย์ของมาตรา 40 แห่งรัฐธรรมนูญ
            ต่อสถานการณ์การปฏิรูปสื่อ พวกเรามีความเห็นตรงกันว่า กระบวนการและขั้นตอนของกรได้มาซึ่ง กสช.ชุดปัจจุบัน ขาดมิติการมีส่วนร่วมของประชาชน และขาดช่องทางการสื่อสารที่จะทำให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ จึงทำให้สื่อภาคประชาชนขาดการจัดระบบการประสานงาน และการใช้ทรัพยากรทั้งคนและงบประมาณที่มีจำนวนจำกัด ซึ่งทำให้ไม่เกิดประสิทธิผลของการสร้างพลังร่วมของสังคม
            ประกอบกับกลุ่มเกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุ โทรทัศน์ ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และการเมือง ต่างยังคงต้องการรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจและทางการเมือง ที่ได้จากกิจการสื่อมาเป็นเวลาช้านาน จึงได้ใช้โอกาสจากการขาดพลังร่วมอย่างเข็มแข้งของภาคประชาชน เข้าไปจัดและดำเนินการเพื่อให้ได้คณะกรรมการองค์กรอิสระด้านสื่อหรือ กสช. ที่สามารถเอื้ออำนวยประโยชน์พึงได้เช่นเดิม เห็นได้จากโครงสร้างของคณะกรรมการสรรหาและรายชื่อบุคคลที่คัดเลือกส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด ประกอบไปด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนเสียในกิจการสื่อวิทยุโทรทัศน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
            แม้จะมีกลุ่มองค์กรภาคประชาชน กลุ่มนักวิชาการ และนักวิชาชีพ ที่ยึดมั่นในกติกาของการ ปฏิรูปสื่อตามรัฐธรรมนูญ จะได้ดำเนินการหลายรูปแบบเพื่อสื่อสารต่อหน่วยงานรัฐ คณะกรรมการสรรหา และสื่อสารต่อสาธารณะ แต่ด้วยแนวคิดต่อต้านการปฏิรูปสื่อที่ฝังรากลึก และการขาดช่องอทางการสื่อสารต่อสาธารณะให้ทั่วถึงและกว้างขวาง กระบวนการฉ้อฉลต่อการปฏิรูปสื่อของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ยังคงเดินหน้าต่อไป ทั้งยังแอบอ้างความถูกต้องตามกระบวนการ แต่ไม่สามารถแสดงความเที่ยงธรรมทางจริยธรรมและประโยชน์ร่วม่อสังคมได้อย่างเปิดเผย
            ดังนั้น ที่ประชุมซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนองค์กรภาคประชาชน ดังมีรายชื่อข้างท้ายนี้ จึงขอเสนอต่อรัฐบาลนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ดังนี้

  • ให้ยุติกระบวนการเกี่ยวกับการได้มาซึ่งองค์กรอิสระด้านสื่อหรือ กสช.
  • ให้เริ่มต้นกระบวนการใหม่อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและเที่ยงธรรมด้วยการ

    2.1 ให้ช่องทางการสื่อสารของรัฐสร้างความรู้ ความเข้าใจในหลักการและเจตนารมย์ของการปฏิรูปสื่อต่อสาธารณะอย่างถึงทั่วประเทศ
    2.2 ให้กลุ่มองค์กรภาคประชาชนได้เข้าไปใช้เวลาในสื่อของรัฐเพื่อนำเสนอ ข้อมูลความรู้และระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิของประชาชนในสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ด้วยความเชื่อว่าการสื่อสารด้วยภาษาและจิตใจแห่งความปรารถนาดีของประชาชนสู่ประชาชน จะทำให้การรับรู้ การมีส่วนร่วม ในการปฏิรูปสื่อเกิดความทั่วถึง และความเข้าใจที่ชัดเจน ถูกต้อง จนสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างตระหนักรู้ และมีประสิทธิภาพ
    2.3  ให้มีกระบวนการพิจารณาเพื่อกำหนดแนวทางให้มี กสช. ในระดับจังหวัด ที่ประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ มีส่วนร่วมในการสรรหา คัดเลือก และติดตามตรวจสอบการทำหน้าที่ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง

  • ให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบและความจริงใจการปฏิรูปสื่อโดยการ

                        3.1 ดำเนินการร่างและประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำกับการใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระด้านสื่อหรือ กสช. โดยกระบวนการร่างที่เร่งรัด รวดเร็ว แต่มีประสิทธิภาพนี้ ต้องให้กลุ่มองค์กรภาคประชาชน เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับกลุ่มผู้ประกอบการภาครัฐ และภาคธุรกิจ และควรให้กฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้ในเวลาเดียวกันกับการได้มาซึ่งคณะกรรมการองค์กรอิสระด้านสื่อหรือ กสช. ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบของกฎหมายที่สาธารณะยอมรับร่วมกัน
                        3.2 รัฐควรสนับสนุนทรัพยากรด้านสถานที่ งบประมาณ และบุคคล สำหรับกิจการสื่อสาร เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความมีส่วนร่วมสาธารณะ ในการปฏิรูปสื่อให้เกิดขึ้นและกระจายตัวอย่างกว้างขวางในระดับต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทำให้เกิดความเข้าใจและยอมรับกันระหว่างผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้ประกอบการสื่อกลุ่มต่าง ๆ คือ ภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาชน
            ข้อเสนอนี้ พวกเราทุกคนเห็นว่ารัฐบาลควรดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อให้การปฏิรูปสื่อเป็นไปตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
            อย่างไรก็ตามพวกเราในฐานะผู้ปฎิบัติงานสื่อในระดับพื้นที่ จะสานเจตนารมย์ดังกล่าวข้างต้นด้วยการปฏิบัติการจริงดังแผนปฎิบัติการขององค์กรด้านสื่อภาคพลเมืองต่อไป

แผนปฏิบัติการขององค์กรด้านสื่อภาคพลเมือง

         กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้ ได้ร่วมกันกำหนดแผนปฏิบัติการในพื้นที่ระดับจังหวัดทั่วประเทศ ในช่วงเวลา 3 เดือนข้างหน้า โดยตัวแทนองค์กรในแต่ละจังหวัดจะรับผิดชอบดำเนินการ และเชิญชวนจังหวัดใกล้เคียงบางจังหวัดที่ไม่ได้มาร่วมประชุม ณ ที่นี้ ร่วมดำเนินการไปในทิศทาง และจังหวะก้าวพร้อมทั่วประเทศ ดังนี้

  • การรณรงค์ให้วิทุยพลเมืองเป็นประเด็นสาธารณะ
  • จัดเวทีสาธารณะในระดับชุมชน สู่ตำบล อำเภอ จังหวัดและภูมิภาค เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมในชุมชนและท้องถิ่นทั่วประเทศ
  • ใช้ช่องทางการสื่อสารของรัฐ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของกลุ่มต่าง ๆ ในการปฏิรูปสื่อ
  • การสื่อสารกับ สส.และสว. เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมในการปฏิรูปสื่อ
  • การสื่อสารกับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ทั้งในระดับเมืองและชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจและการสนับสนุนที่มุ่งประโยชน์สาธารณะร่วมกัน
  • กำหนดกิจกรรมแสดงพลังและเจตนารมย์ของภาคพลเมืองด้วยรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
  • ประสานพลังของกลุ่มองค์กรพันธมิตรภาคเมืองและชุมชน โดย
  • แลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นและประเมินประสบการณ์ สถานการณ์
  • กำหนดทิศทาง และจังหวะก้าวการปฏิบัติการร่วม
  • จัดทำฐานข้อมูลและคู่มือการดำเนินการเพื่อปฏิบัติการไปในทิศทางร่วมกันอย่างมีพลัง
  • ระดมสรรพกำลัง ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุนทางสังคม ทรัพยากรคนและงบประมาณ เพื่อสร้างและพัฒนาพลังร่วม ให้วิทยุภาคพลเมืองเกิดเติบโตอย่างมีคุณค่าและยั่งยืน
  • ร่วมกันสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม เพื่อกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
  • จัดตั้งสถานีวิทยุขนาดต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อทดลองการจัดการด้านการบริหาร เทคนิครายการและการประเมินความต้องการของชุมชนหรือกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายในพื้นที่

จากตัวแทนกลุ่มองค์กรภาคพลเมือง

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม    
สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
คณะทำงานติดตามมาตรา 40 เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการปฏิรูปสื่อ
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โฟกัสเมืองคอน
เครือข่ายสื่อชุมชนคนท้องถิ่นจังหวัดตรัง เครือข่ายชุมชนเข้มแข็งเมืองระนอง
กลุ่มวิทยุชุมชนปัตตานี กลุ่มสื่อท้องถิ่นเพื่อประชาสังคมสงขลา
สมาคมวิทยุชมชนเพื่อประชาสังคมนราธิวาส ต้นกล้าสื่อสงขลา
คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชนบท (กป.อพช.) ภาคอีสาน
เครือข่ายประชาสัมพันธ์สุรินทร์น่าอยู่ เครือข่ายวิทยุชุมชนสกลนคร
ประชาคมจังหวัดขอนแก่น เครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดเลย
กลุ่มประสานงานประชาสังคมโคราช ประชาคมจังหวัดนครพนม
ประชาสังคมจังหวัดยโสธร เอเชียทัศน์ภาคเหนือ
ศูนย์สนับสนุนสื่อภาคประชาชนโครงการนำร่องวิทยุชุมชนเชียงใหม่
เครือข่ายสื่อชุมชนผีปันน้ำ 9 จังหวัดภาคเหนือบน เครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดแพร่
สมาคมวิทยุชุมชนเพื่อประชาสังคมจังหวัดพิจิตร มูลนิธิร่วมพัฒนาจังหวัดพิจิตร
สมาคมสื่อสารมวลชนจังหวัดแพร่ เครือข่ายกลุ่มเกษตรพึ่งตนเองเชียงใหม่
นครสวรรค์ฟอรั่ม เครือข่ายวิทยุชุมชนนครสวรรค์
SIF NET นครสวรรค์ เครือข่ายประชาคมจังหวัดสุโขทัย
สมาคมนักหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนนครสวรรค์ ประชาคมแม่สอดจังหวัดตาก
ชมรมศึกษาเพื่อพัฒนาจังหวัดสุโขทัย ชมรมวิทยุชุมชนคนเมืองน่าน
โครงการวิทยุชุมชนกองทุนเพื่อสังคมจังหวัดสุโขทัย มูลนิธิฮักเมืองน่าน
สมาคมวิทยุชุมชเพื่อประชาสังคมจังหวัดพิจิตร วิทยุชมชนคนแม่สอด
ชมรมส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจังหวัดพิจิตร
ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจังหวัดน่าน เครือข่ายแม่หญิงล้านนา
กลุ่มแม่หญิงลำพูน กลุ่มเครือข่ายเยาวชนจังหวัดเชียงราย
กลุ่มเครือข่ายอาชีพอิสระจังหวัดเชียงราย ชมรมวิทยุชุมชนคนลำพูน
สภาเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์เสวนา/วิทยุชุมชน/สุรินทร์
วิทยุชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ประชาสังคมอุบลราชธานี
วิทยุชุมชนเพื่อประชาสังคมจังหวัดบุรีรัมย์
เครือข่ายประชาธิปไตยเพื่อประชาชน จ.มหาสารคาม เครือข่ายวิทยุชุมชนมหาสารคาม
เครือข่ายสายใยชัยภูมิ สมาคมครูชนบทจังหวัดชัยภูมิ
สมาคมนักวิทยุชุมชนเพื่อประชาคมจังหวัดนครราชสีมา ประชาสังคมจังหวัดหนองคาย
เครือข่ายวิชาชีพสื่อจังหวัดขอนแก่น วิทยุชุมชนประชาสังคมจังหวัดร้อยเอ็ด
ประชาคมราชบุรี ชมรมคนรักษ์ถิ่นจังหวัดราชบุรี
ศูนย์ประสานงานองค์การเอกชนจังหวัดราชบุรี สภาท้องถิ่นอยุธยา, อ่างทอง
ศูนย์ประสานงานองค์การเอกชนจังหวัดนครปฐม สถาบันปฏิปันนครสวรรค์
กลุ่มอนุรักษ์กาญจน์ เครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดจันทบุรี
กลุ่มประชาสังคมจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มคนรักษ์แม่กลอง
ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้และประชาสังคมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

คัดลอกมาจาก..................

http://www.geocities.com/isan2121/newslocal3.html

1

 ศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี

องค์กรชุมชนปัตตานีเปิดศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนแห่งแรกของจังหวัดและเป็นแห่งที่
6 ของภาค
ขณะที่เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคใต้เดินหน้าจะเปิดศูนย์ปฏิบัติการให้ครบตามเป้า 15
แห่งใน 7
จังหวัดภายในเดือนมิ.ย.นี้และยังมีแผนติวเข้มแต่ละศูนย์ปฏิบัติการให้มีคุณภาพอีกด้วย
เมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา
กลุ่มวิทยุชุมชนปัตตานีและเครือข่ายวิทยุชุมชนภาคใต้
ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเปิดศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนเขตเมืองปัตตานี
ที่โรงเรียนเทศบาล 1 ต.จะบังติกอ อ.เมือง จ.ปัตตานี
ซึ่งถือเป็นแห่งแรกของจังหวัดจากเป้าหมาย 3
ศูนย์ปฏิบัติการและเป็นศูนย์ปฏิบัติการที่ 6 ของภาคใต้ที่ได้ทดลองออกอากาศ
โดยมีนายสมพร ใช้บางยาง ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานเปิด
มีองค์กรชุมชนในพื้นที่ และเครือข่ายวิทยุชุมชนในภาคใต้ทั้ง 14
ศูนย์ปฏิบัติการมาร่วมงานกันคับคั่ง
นายนิรพงษ์ สุขเมือง ประธานกลุ่มวิทยุชุมชนปัตตานี บอกว่า
องค์กรชุมชนในจังหวัดปัตตานีได้เริ่มเรียนรู้เรื่องวิทยุชุมชนมาตั้งแต่ปั 2542
โดยเฉพาะเรื่องสิทธิของชุมชนในการใช้คลื่นความถี่ การจัดรายการวิทยุชุมชน
รวมถึงการขยายเครือข่ายไปยังพื้นที่อื่นของจังหวัด
ซึ่งได้ใช้สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เป็นเวทีทดลองการออกอากาศ
แต่ที่ผ่านมาเป็นเพียงวิทยุชุมชนระดับรายการที่ชุมชนยังไม่ได้เป็นเจ้าของคลื่นความถี่
ดังนั้นเพื่อให้เข้าถึงหัวใจสำคัญของวิทยุชุมชน คือ ชุมชนเป็นเจ้าของคลื่นความถี่
จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้เรื่องวิทยุชุมชนดังกล่าวขึ้น
ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 1
อนุเคราะห์ให้ใช้สถานที่ภายในโรงเรียนเป็นที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการฯ
ศูนย์ปฏิบัติการฯ แห่งนี้ มีกำลังส่ง 30 วัตต์ สามารถรับฟังได้ไกล 5-7 กิโลเมตร
ครอบคลุมเขตเทศบาลเมืองปัตตานีทั้งหมดและบางส่วนของชุมชนรอบนอก
ออกอากาศในความถี่เอฟเอ็ม 97.75 MHz.เริ่มกระจายเสียงออกอากาศตั้งแต่เวลา
07.00-17.00 น. โดยมีผังรายการ คือ เวลา 07.00-08.00 น.รายการปัตตานียามเช้า เวลา
08.00-09.00 น.รายการอนามัยเจริญพันธุ์ เวลา 09.00-12.00 น.รายการเศรษฐกิจชุมชน
เวลา 12.00-14.00 น.รายการเสียงเพลงกับวัยรุ่น เวลา 14.00-15.00
น.รายการเยาวชนคนรุ่นใหม่ เวลา 15.00-16.00 น. รายการ อสม.พบชุมชน เวลา 16.00-17.00
น.รายการเสน่ห์ปลายจวัก
วันนี้ถือเป็นวันทดลองออกอากาศก่อนที่เราจะได้ออกอากาศจริง
ซึ่งหวังว่าศูนย์ปฏิบัติการแห่งนี้จะเป็นเครื่องมือของการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้คลื่นความถี่โดยชุมชนเป็นเจ้าของ
นอกจากนั้นจะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากคลื่นเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันนายนิรพงษ์
กล่าว
สำหรับชุมชนจะบังติกอ นับเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของปัตตานี
เนื่องจากเป็นสถานที่ตั้งของวังเจ้าเมืองปัตตานีเดิม
ซึ่งปัจจุบันยังมีกำแพงเมืองเดิมให้เห็นอยู่
ทั้งนี้จังหวัดปัตตานีมีแผนตั้งศูนย์ปฏิบัติการฯ ขึ้นอีก 2 แห่ง คือ
ศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนเตราะบอน อ.สายบุรี
และศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนทรายขาว อ.โคกโพธิ์
ด้านนายทวี สร้อยศิริสุนทร ผู้ประสานงานเครือข่ายวิทยุชุมชนภาคใต้ กล่าวว่า
ในพื้นที่ภาคใต้ได้กำหนดจุดทดลองตั้งศูนย์ปฏิบัติการฯ จำนวน 15 จุด ใน 7
จังหวัดและอีก 1 จุดปฏิบัติการเคลื่อนที่ ซึ่งขณะนี้ได้เปิดไปแล้วจำนวน 6
จุดปฏิบัติการ ซึ่งมีแผนที่จะเปิดให้ครบทั้ง 15 จุดภายในปลายเดือนมิถุนายนปีนี้
นอกจากนั้นเครือข่ายยังมีแผนงานสำคัญอีก คือ การขยายจุดปฏิบัติการฯ
ในจังหวัดที่เหลืออีกให้ครอบคลุม 14 จังหวัด การขยายเพื่อนร่วมอุดมการณ์
และแผนงานด้านการส่งเสริมศักยภาพของศูนย์ปฏิบัติการฯ แต่ละแห่งด้วย เช่น
เทคนิคการผลิตรายการ

นำมาจาก........

http://www.focuspaktai.com/index.php?file=news&obj=news.view(id=4852)

                        วิทยุชุมชนในประเทศไทย

โดย เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ สถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน มูลนิธิการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม  มติชนรายวัน  วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 27 ฉบับที่ 9683

ช่วงปี 2542-2544 (1999-2001) กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ในเรื่องเกี่ยวกับวิทยุชุมชน ที่สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม มูลนิธิการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม ร่วมกับองค์กรสนับสนุนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศดำเนินการเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้ตัวแทนชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีในทุกภูมิภาคของประเทศ ได้ทราบถึงสิทธิตามที่ระบุในมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ และนำเสนอแนวคิด การดำเนินการวิทยุชุมชนตามแนวทางของยูเนสโก(UNESCO) คือ เพื่อให้เป็นสื่อที่ประชาชนร่วมกันเป็นเจ้าของ ร่วมใช้ ร่วมรับผิดชอบ เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อให้เป็นเครื่องมือการสื่อสารของชุมชน โดยศักยภาพและความเป็นตัวตนของชุมชน

ที่สำคัญเพื่อให้เป็นเครื่องมือการสื่อสารของชุมชน อย่างสร้างสมดุลแห่งอำนาจการสื่อสารผ่านคลื่น กับอีก 2 กลุ่มผู้ประกอบการ คือ ภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน

ในกระบวนการเรียนรู้ ได้มีการอธิบายแนวคิด หลักการวิทยุชุมชน การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมด้วยฐานทุนคนและทรัพยากรของชุมชน และการฝึกปฏิบัติในการจัดและการผลิตรายการ โดยใช้เครื่องมือง่ายๆ เน้นการสร้างความเข้าใจในหลักการพูดทางวิทยุ และการพัฒนาทักษะในการนำเสนอรายการในลักษณะต่างๆ

อาจเป็นเพราะเหตุที่มีการจัดสภาพการณ์อย่างเสมือนจริง สามารถสร้างความตื่นตัวและสนใจ จนทำให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้เกิดความต้องการในการทดลองในห้องเรียนชุมชน เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ร่วมกันทั้งชุมชน มิใช่เฉพาะผู้เข้าร่วมการสัมมนาปฏิบัติการเท่านั้น

ดังนั้น ในช่วงปลายปี 2544 ต่อเนื่องต้นปี 2545 จึงมีบางชุมชนเริ่มดำเนินกระบวนการเกี่ยวข้อง จนสามารถออกอากาศวิทยุชุมชน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการดำเนินการในหลายชุมชน ที่ขยายตัวต่อเนื่องอย่างกว้างขวาง

หากกระบวนการประกาศใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และการจัดตั้งองค์กรอิสระด้านสื่อวิทยุโทรทัศน์ หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กสช. เป็นไปตามช่วงเวลาที่ควรจะเป็น กระบวนการเรียนรู้ของประชาชน ซึ่งจัดและดำเนินการด้วยการร่วมมือกันของภาคประชาสังคม และองค์กรสนับสนุนที่ไม่ใช่ภาครัฐ คือ กระบวนการเตรียมการภาคประชาชนเพื่อพร้อมรับและใช้สิทธิอย่างมีวิสัยทัศน์

แต่ด้วยความล่าช้า เพราะความไม่จริงจังของหน่วยงานรับผิดชอบ กับการไม่ยอมปรับกระบวนทัศน์ของกลุ่มผู้ครอบครองประโยชน์จากสื่อวิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบัน

ผนวกกับการที่คนทั่วไปคิดว่าไม่ใช่เรื่องของตน ทั้งที่ตนคือผู้ร่วมครองสิทธินั้น แต่กลับเห็นเป็นเพียงความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับภาครัฐ ทำให้การปฏิรูปสื่อในประเทศไทยยังไม่เกิดขึ้น

อันเป็นช่องทางให้หน่วยงานภาครัฐอ้างความในบทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2543 เข้ามาจัดการกับวิทยุชุมชน ด้วยกระบวนทรรศน์เก่า ที่ยังมีความคิดว่าผู้ใช้สื่อจำกัดเฉพาะผู้มีหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ที่ได้สัมปทานจากรัฐ หรือคือรัฐ หรือทุน ทั้งยังสร้างตนเป็นผู้กำหนด ผู้วัดมาตรฐาน มากกว่ารับผิดชอบในการพัฒนาความเข้าใจในสิทธิอำนาจ บทบาทหน้าที่ และความเป็นตัวตนอันแตกต่างของผู้ประกอบการกลุ่มต่างๆ ตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ

สถานการณ์วิทยุชุมชนในประเทศในปัจจุบัน

ในขณะที่ยังมีกลุ่มที่ยืนหยัดและยืนยันในการแสดงตนและร่วมกันพัฒนา การเรียนรู้งานวิทยุชุมชน ซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่มที่ชัดในแนวคิดวิทยุชุมชนของประชาชน และเชื่อมั่นในพลังประชาชน

แต่ก็มีกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับรายการและการออกอากาศ มากกว่าการขยายกลุ่มผู้ร่วมงานและร่วมอุดมการณ์

ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ กว่าครึ่งของจำนวนวิทยุชุมชนในปัจจุบัน(อาจจะมีจำนวนถึง 500 แห่ง? ไม่สามารถระบุชัดเจนแน่นอน แต่จำนวนที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่กล่าวข้างต้นมีประมาณ 200 แห่ง) เป็นการจัดตั้งขึ้น อย่างไม่ได้ชัดและเชื่อในหลักการและวิธีการที่มีการเรียนรู้กัน

แต่เพียงต้องการใช้ช่วงสุญญากาศนี้ ในการดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งในกลุ่มนี้มีทั้งกลุ่มที่ไม่มุ่งหารายได้ แต่ต้องการดำเนินการวิทยุชุมชนเหมือนสถานีวิทยุทั่วไปคือมีกลุ่มหนึ่งจัดตั้งขึ้นมาและรับผิดชอบดำเนินการ คนทั่วไปเป็นเพียงคนฟัง กับกลุ่มที่อาจมีการร่วมกันของชุมชน หรือการจัดการของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่มีการหารายได้ ด้วยการโฆษณา ซึ่งกลุ่มนี้คือกลุ่มที่บิดเบือนคุณค่าที่แท้จริงของวิทยุชุมชน แต่กลับกลายเป็นว่าบางแห่งได้รับการรับรองอย่างไม่เป็นทางการจากบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ ที่ประกาศว่า ตนมีความชอบธรรมในการรับรองการดำเนินการวิทยุชุมชน ตามความในบทเฉพาะกาล พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543 และตามมาตรการผ่อนผันที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ

ทั้งที่มาตรการนั้น เป็นการริเริ่มและดำเนินการของกลุ่มผู้เรียนรู้เรื่องวิทยุชุมชน ที่ต้องการให้มาตรการผ่อนผัน ช่วยแก้ปัญหาการสกัดกั้นการเรียนรู้วิทยุชุมชนของภาคประชาชน จากภาครัฐ และยังเป็นวิธีการกลั่นกรองกลุ่มที่เป็นกระบวนการชุมชน จากกลุ่มแอบแฝงประโยชน์

แต่หน่วยงานภาครัฐนี้ กลับใช้กระบวนการแยบยล อ้างความชอบธรรม ทำให้ตนมีอำนาจในการควบคุมและรับรองการดำเนินการวิทยุชุมชน โดยใช้เนื้อหาในมาตรการที่ภาคประชาชนทำงานกันมา เป็นเครื่องมือการทำงานอย่างใช้อำนาจ ที่คำนึงถึงลักษณะทางเทคนิคเป็นสำคัญ มากกว่าการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในสิทธิการดำเนินการวิทยุของชุมชน

นอกจากนั้น ยังใช้อำนาจและวิธีการจัดการในกระบวนทรรศน์เดิมมาสกัดกั้นการดำเนินการวิทยุชุมชน ทั้งที่ในขณะนี้วิทยุชุมชน เป็นเพียงกระบวนการเรียนรู้ของประชาชน

เรียกว่า นอกจากจะไม่สนับสนุนและพัฒนาตามภาระหน้าที่แล้ว หน่วยงานภาครัฐนี้ ยังพยายามดำเนินการเพื่อให้คำอธิบายวิทยุชุมชน เป็นเพียงการดำเนินการภายใต้การกำกับของรัฐ มิใช่การรวมตัวกันเป็นเจ้าของและดำเนินการภายใต้กติกาการใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ ที่ไม่มีการแสวงหากำไร

ที่น่าเศร้าคือ หน่วยงานดังกล่าวไม่ดูแล เยี่ยมชม หรือให้การสนับสนุนรับรองแก่วิทยุชุมชน ที่เป็นกระบวนการร่วมเรียนรู้ ร่วมใช้ร่วมรับผิดชอบของชุมชนต่างๆ อย่างยึดมั่นในหลักการการใช้สิทธิเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่กลับสร้างภาพการเยี่ยมชมและเก็บข้อมูลวิทยุชุมชนจากการดำเนินการที่เป็นไปในรูปสถานี มีการว่าจ้างบุคคลให้รับผิดชอบดำเนินการ โดยองค์กรปกครองท้องถิ่นระดับจังหวัด หรือ เมือง

ขณะที่ภารกิจของภาครัฐคือ การดำเนินการให้ได้องค์กรอิสระด้านสื่อวิทยุโทรทัศน์ หรือ กสช. กับการประกาศใช้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

แต่ตลอด 7 ปีที่มีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ และร่วม 5 ปีหลังมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2543 สิ่งที่ภาครัฐทำในด้านวิทยุชุมชนคือ การพยายามสกัดกั้นกระบวนการเรียนรู้และการเตรียมความพร้อมของประชาชน การพยายามสร้างคำอธิบายให้สิทธิของภาคประชาชนเป็นเพียงระดับการได้ร่วมใช้สถานี หรือได้มีเวลาออกอากาศรายการ ไม่ใช่การรวมตัวกันเป็นเจ้าของสถานี ในขณะที่เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญกำหนดให้สื่อวิทยุโทรทัศน์ของภาครัฐทำหน้าที่เพื่อบริการสาธารณะ หรือ public service แต่ก็มิได้มีการเตรียมการให้หน่วยงานภาครัฐปรับการทำงานด้านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ จากการเป็นกระบอกเสียงเพื่อสร้างภาพลักษณ์หรือหน่วยให้บริการรัฐ หรือ state service กับการเป็นผู้ให้สัมปทานเพื่อภาคธุรกิจ มาเป็นการประกอบการเพื่อบริการสาธารณะ หรือ public service เลย

ทั้งยังปล่อยให้มีการสัมปทานคลื่นให้ภาคธุรกิจ และปล่อยให้ธุรกิจ และการเมืองเข้ามาแอบแฝง สร้างคำอธิบายที่แปรเปลี่ยน อย่างลดคุณค่าที่แท้จริงของวิทยุชุมชน จนน่าเป็นห่วงว่าหน่วยงานภาครัฐแห่งนี้ปล่อยปละละเลยให้มีวิทยุชุมชนที่แอบแฝง เพื่อประโยชน์เฉพาะกลุ่มอาจเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการวิทยุชุมชนทั้งหมด อย่างไม่แยกแยะว่ากลุ่มใดเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม และกลุ่มใดเป็นเพียงการแอบแฝง เพื่อฉวยประโยชน์ในช่วงสุญญากาศนี้

บทสรุป

วิทยุชุมชนในประเทศไทยยังมีภาระงานการต่อสู้กับกระบวนทรรศน์เก่า การขาดความรับผิดชอบ และความจริงใจจากหน่วยงานรับผิดชอบภาครัฐ

ทั้งยังต้องต่อสู้กับตนเองว่าจะมอง วิทยุชุมชนเป็นเครื่องมือ เพื่อสะท้อน แสดง สิทธิอำนาจในการกำหนดเนื้อหา และวิธีการสื่อสาร เพื่อประโยชน์และความต้องการของชุมชนที่ร่วมกันเป็นเจ้าของ

หรือจะมองวิทยุชุมชนเป็นเพียงกลไกในการทำให้มีกลุ่มคนของชุมชนมาผลิตรายการ และได้ออกอากาศ

หรือทำให้เครือข่ายที่ร่วมเรียนรู้เรื่องวิทยุชุมชน เพื่อเตรียมพร้อมชุมชนในการใช้สิทธิในการสื่อสารผ่านคลื่นเพื่อประโยชน์สาธารณะ กลายเป็นเพียงเครือข่ายที่ดำเนินการด้านการตลาดแสดงตนหรือแสวงหาการสนับสนุนจากหน่วยงานหรือโครงการต่างๆ เพื่อให้วิทยุชุมชนเป็นหน่วยผลิตรายการที่มีเนื้อหาเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่หน่วยงานที่สนับสนุน...

ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ ชุมชนจะกลายเป็นเครื่องมือของการเกิดสื่อประเภทใหม่เท่านั้น ไม่ใช่สื่อเป็นเครื่องมือของชุมชน

วิทยุชุมชนจะกลายเป็นเพียงอีกประเภทของกลุ่มคน และอีกประเภทของการดำเนินการวิทยุกระจายเสียง

ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น การปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ของประเทศไทย ไม่มีทางเกิดขึ้นได้อย่างสนองหลักการในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเพื่อสิทธิและเสรีภาพ ในการสื่อสารผ่านคลื่นของภาคประชาชน อย่างมีศักดิ์ศรี ที่เท่าเทียมกับผู้ประกอบการภาครัฐ และภาคเอกชน

คัดลอกมาจาก....

http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q3/article2004sep13p3.htm

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (29 มิ.ย.) ตัวแทนเครือข่ายสนับสนุนการปฏิรูปสื่อไทย อาทิ นายเถกิง สมทรัพย์  นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย นายเทพชัย หย่อง ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย นางจำนรรค์ ศิริตัน ประธานสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ผศ.สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ รองประธาน สสมท. ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันท์ คณะนิเทศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ จากภาควิชาการ ภาควิชาชีพ และองค์กรเอกชน ภาคประชาชน จำนวน 26 องค์กร ได้เข้าพบ น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่รัฐสภา เพื่อคัดค้านการยุบรวมกสช.และกทช. พร้อมขอให้ทบทวนมาตรา 47 ในร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เพื่อให้ตัดข้อความ “องค์กรหนึ่ง” ออก เนื่องจากเห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวยังขาดการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ อย่างเพียงพอว่าควรจะต้องมีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระเพียงองค์กรเดียวหรือหลายองค์กรมาทำหน้าที่จัดสรรและกำกับดูแลคลื่นความถี่ อีกทั้งยังมีความพยายามจะแก้ไขกฎหมายประกอบ เพื่อให้สอดรับกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

รายงานระบุต่อว่า เครือข่ายสนับสนุนการปฏิรูปสื่อไทยอ้างด้วยว่า นอกจากนี้ ยังไม่มีงานวิจัยอย่างเป็นระบบยืนยันชัดเจนว่า การบัญญัติให้มีองค์กรเดียวจะเป็นผลดีต่อการปฏิรูปสื่อโดยภาพรวมอย่างแท้จริง เนื่องจากกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เป็นกิจการที่มีลักษณะเฉพาะ ที่ต้องการการกำกับดูแลที่แตกต่างกัน การกำหนดให้องค์กรกำกับดูแลเพียงองค์กรเดียว จึงอาจไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติ และยังอาจนำมาซึ่งการขาดการคานอำนาจในการกำกับดูแลกิจการทั้งสอง ดังนั้น เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสื่อเป็นรากฐานสำคัญของระบอบประชาธิปไตยทั้งระบบอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม จึงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นอันใดที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจะบัญญัติให้มีองค์กรกำกับดูแลเพียงองค์กรเดียว

เครือข่ายสนับสนุนการปฏิรูปสื่อไทยระบุด้วยว่า สำหรับในอนาคต หากจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรกำกับดูแลตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปก็ควรต้องมีกระบวนการรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกฝ่ายอย่างรอบด้านและกว้างขวาง แต่ต้องไม่ละเลย ความสำคัญของกิจการกระจายเสียงที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและความเป็นอิสระของสื่อสารมวลชน รวมทั้งการถ่วงดุลและคานอำนาจเพื่อตรวจสอบซึ่งกันและกันด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ เครือข่ายสนับสนุนการปฏิรูปสื่อไทย  ประกอบด้วย สภาสถาบันนักวิชาการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (สสมท.) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา   สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาควิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เครือข่ายปฏิรูปสื่อภาคประชาชน  สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย  สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย  คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)  สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (สอบ.)  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) ขบวนการตาสับปะรด  สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เครือข่ายสื่อภาคประชาชนภาคเหนือ  เครือข่ายวิทยุชุมชนจาวล้านนา  เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคเหนือ 17 จังหวัด สมาพันธ์วิทยุชุมชนคนอีสาน เครือข่ายสื่อภาคประชาชนคนอีสาน สมาพันธ์วิทยุชุมชนภาคตะวันออก

นำมาจาก

http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=52261

      
วันนี้ (10 ก.ค.) ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม. ว่า ครม.เห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ... ตามที่คณะกรรมการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งมีนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษา และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
      
ทั้งนี้ โดยที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ได้บัญญัติให้จัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกำหนดให้มีการอนุญาต 2 ประเภท คือ
1. การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และ  2. การอนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รวมทั้งให้มีการตรากฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อรองรับการอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ได้บัญญัติให้มีแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ด้วย โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตไว้ในแผนแม่บทด้วย ทั้งนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่ามีความประสงค์ที่จะใช้แผนแม่บทเป็นแนวทางการอนุญาตของ กสช. โดยเป็นการรับฟังความเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้อง และมีการปรับปรุงแผนแม่บทให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
      
สำหรับร่าง พ.ร.บ.ที่เข้าสู่ ครม.ในวันนี้ เป็นร่าง พ.ร.บ.ที่นำเสนอเพื่อจัดระบบระเบียบในเรื่องการสื่อสารมวลชน ในขณะที่ยังไม่มีการจัดตั้ง กสช.ขึ้นมา ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายระดับ พ.ร.บ. เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ มีมาตรการที่ กำหนดไว้ในกฎหมาย 3 ลักษณะ คือ 1. มาตรการควบคุม โดยการกำหนดให้มีการแยกวัตถุประสงค์ของการประกอบกิจการอย่างชัดเจน และในการประกอบกิจการแต่ละประเภท จะต้องมีการขอรับใบอนุญาต 2. มาตรการกำกับดูแล คือ มีคณะอนุกรรมการจริยธรรม เพื่อทำหน้าที่ควบคุมดูแลผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการให้เป็นไปตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ 3. มาตรการในการลงโทษ มีทั้งในส่วนของโทษทางอาญาในบางเรื่อง และโทษทางปกครองในบางเรื่อง อย่างไรก็ตาม ครม.มีข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว
      
1. กระทรวงกลาโหม ได้เสนอว่าร่าง พ.ร.บ.นี้ควรคำนึงถึงมิติทางด้านความมั่นคงของประเทศประกอบด้วย โดยอาจพิจารณาให้กระทรวงกลาโหมได้รับการยกเว้นตามกฎหมายนี้ เช่นเดียวกับที่ได้รับการยกเว้นตาม พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498
2. ควรยกเว้นให้แก่ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ดำเนินกิจการโทรทัศน์เพื่อการศึกษามาเป็นเวลากว่า 50 ปีด้วย
3. การกำกับดูแลกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ก็ควรพิจารณาอย่างละเอียดและรัดกุม เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่จะพัฒนามากขึ้นในอนาคร และมีลักษณะเป็นการให้บริการข้ามชาติ และไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ประกอบการที่ถาวร
4. คณะกรรมการซึ่งร่าง พ.ร.บ.นี้ จะมีการจัดตั้งขึ้นมา เรียกว่า คณะกรรมการกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน หรือ กวช. เพื่อดำเนินการกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน จนกว่าจะมีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ คณะกรรมการ กวช. ที่จัดตั้งขึ้นตามบทเฉพาะกาลนี้ ควรจะมีที่มา คุณสมบัติ และความรับผิดชอบ ในระดับที่ใกล้เคียงกับ กสช.
5. คุณสมบัติและที่มาของคณะอนุกรรมการจริยธรรม และอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนากิจการ ควรจะมีสัดส่วนมาจากบุคคลที่เป็นกลางเป็นหลัก และต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของอนุกรรมการ เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลที่มีประสบการณ์
6. ในบทเฉพาะกาลที่ระบุว่า "ให้กรมประชาสัมพันธ์และส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ดำเนินกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ต่อไปได้ตามเดิม จนกว่าจะมีแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ใช้บังคับ ให้ผู้ได้รับอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญา จากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์เดิม คงมีสิทธิต่อไปตามเดิม จนกว่าการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญา จะสิ้นสุด"
      
ครม.ได้ให้ข้อสังเกตว่า การให้อำนาจคณะกรรมการ กวช.ตามบทเฉพาะกาล มีอำนาจออกใบอนุญาตชั่วคราว อายุ 2 ปี ให้แก่ผู้ประกอบการวิทยุชุมชน และผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่น ในระหว่างที่ยังไม่มี กสช.นั้น ควรระมัดระวัง มิใช่เป็นการแก้ปัญหาความผิดกฎหมายของผู้ประกอบการวิทยุชุมชน และกิจการโทรทัศน์บางราย แต่กลับเป็นการสร้างปัญหาอื่นให้เกิดขึ้นตามมา
      
สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ อาทิ
- การยกเลิก พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้การประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1) การประกอบกิจการที่ใช้คลื่นความถี่
(2) การประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่
      
- การกำหนดให้การประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ มีใบอนุญาต 3 ประเภท คือ
(1) ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ
(2) ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน
(3) ใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับชาติ และระดับภูมิภาค
      
- สำหรับกรรมการผู้บริหารและผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ ต้องไม่เป็น ส.ส. ไม่เป็น ส.ว. ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น
- ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง ให้มีอายุไม่เกิน 7 ปี ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ ให้มีอายุไม่เกิน 15 ปี กำหนดหลักเกณฑ์การยื่นคำขอรับใบอนุญาตใหม่ไว้ด้วย กล่าวคือ ถ้าหมดอายุก็มาขอต่อได้ แต่จะมีหลักเกณฑ์
- ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน และกรมประชาสัมพันธ์ จะประกอบกิจการทางธุรกิจ ด้วยการหารายได้จากการโฆษณาไม่ได้ เว้นแต่การประชาสัมพันธ์ ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
- ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจ ต้องนำส่งเงินรายได้เข้ากองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินร้อยละ 5 ของรายได้จากการโฆษณา ทั้งทางตรงและทางอ้อม
- กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกใบอนุญาต คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้รับใบอนุญาต อายุใบอนุญาต ของการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่
- กำหนดให้มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันการผูกขาดในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
- กำหนดให้มีการส่งเสริมและควบคุมจริยธรรมแห่งวิชาชีพ การคุ้มครองผู้เสียหายจากการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยให้มีคณะอนุกรรมการจริยธรรมขึ้นมา โดยผู้เสียหายเนื่องจากรายการที่ออกอากาศเป็นเท็จ หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง และอื่นๆ อาจจะร้องเรียนต่อคณะอนุกรรมการจริยธรรม
- กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสร้างโครงข่ายพื้นฐาน การใช้ และเชื่อมต่อโครงข่ายในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
- กำหนดให้มีการส่งเสริมและพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยมีคณะอนุกรรมการส่งเสริมและการพัฒนากิจการ
- ให้มีบทกำหนดโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ คือ โทษทางอาญาในบางเรื่อง และโทษทางปกครองในบางกรณี รวมถึงบทเฉพาะกาลข้างต้น

                  from matichon 10.5.2550

แก้ไขนะครับจาก

    from matichon 10.5.2550

เป็น

    from matichon 10.7.2550

หนูกำลังจะเป็นนักจัดรายการค่ะ

ตอนนี้หนูกำลังทดสอบกับอาจารย์เขาอยู่ค่ะ

ขอคำแนะนำด้วยนะค่ะ

และหนูจะสู้ต่อไปค่ะ

 

ขอแสดงความยินดี กับน้อง pueng

ที่จะได้เป็นนักจัดรายการวิทยุแล้ว แต่ที่แน่เป็นตัวของตัวเองนะ พยายามทำตัวสบายๆๆ ภาษา ชัดเจน ก็ เพิ่มด้วยความตั้งใจแล้ว หนูก็จะได้เป็นนักจัดรายการอย่างที่ตั้งใจ

แต่ที่แน่ ลืมไม่ได้ ซ้อมเป็นประจำ พยายามจัดรายการให้ถี่ และหนูก็จะได้อย่างที่ตั้งใจ

วิทยุเอกชนขนาดเล็กไม่ใช่วิทยุชุมชน
วิทยุเอกชนขนาดเล็กไม่ใช่วิทยุชุมชน

วิเชียร คุตตวัส  ผู้ประสานงานสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ มติชนรายวัน วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 9875

ทุกวันนี้มีเสียงบ่นจากประชาชนในเมืองใหญ่ๆ ว่า คลื่นวิทยุชุมชนไปแทรกทำให้การรับฟังสถานีวิทยุกระแสหลักใหญ่ๆ ไม่ชัดเจน หรือไปกวนคลื่นโทรทัศน์บางบ้าน ทำไมจึงเกิดสถานีวิทยุขนาดเล็ก(กำลังส่งต่ำ) ที่เรียกเองตัวเองว่าวิทยุชุมชนมากมายในตอนนี้ วิทยุขนาดเล็กที่อ้างว่าเป็นวิทยุชุมชนนั้น เป็นวิทยุชุมชนจริงๆ หรือเปล่า หรือว่าแอบอ้างคำว่าวิทยุชุมชนบังหน้าเพื่อทำธุรกิจด้านสื่อสาร

มาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ระบุให้คลื่นทั้งหลายในอากาศเป็น "ทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ" และให้มีองค์กรอิสระเพื่อมาดูแลการใช้คลื่น

มาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญทำลายการผูกขาดความเป็นเจ้าของคลื่นโดยรัฐ ไม่ว่าจะเป็นคลื่นโทรคมนาคม, คลื่นวิทยุ/โทรทัศน์ และกำหนดให้มีองค์กรอิสระมาดูแลการใช้คลื่น ซึ่งเป็นที่มาของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ปี 2543

ใน พ.ร.บ.นี้ มาตราที่ 26 อนุสี่ ระบุไว้ ดังนี้ "การจัดทำแผนแม่บทกิจกรรมกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และการอนุญาตให้ประกอบกิจการดังกล่าว ต้องคำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยจะต้องจัดให้ภาคประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบ....."

ภาคประชาชนหมายถึงใครกฎหมายระบุต่อไปในอนุห้าดังนี้ ".....ภาคประชาชนนั้นต้องดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะและไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ"

วิทยุชุมชนไทยที่มาจากการเตรียมชุมชนของภาคประชาชนยึดหลักการนี้คือ ไม่แสวงหากำไรทางธุรกิจ ซึ่งก็เหมือนกับวิทยุชุมชนทั่วโลก ดังนั้น ลักษณะสำคัญของวิทยุชุมชนไทยข้อหนึ่งคือ เป็นระบบอาสาสมัคร ไม่แสวงหากำไรทางธุรกิจ ถ้าท่านหมุนหน้าปัดวิทยุไปเจอสถานีวิทยุที่ไม่คุ้นหูในรายการเต็มไปด้วยการขายสินค้าหรือบริการแล้วบอกตัวเองว่าเป็นวิทยุชุมชน นั่นเป็นสถานีวิทยุเอกชนขนาดเล็ก ไม่ใช่วิทยุชุมชนแน่นอน

ทำไมวิทยุเอกชนขนาดเล็กจึงเกิดขึ้นอย่างมากมายเมื่อปลายปี 2547 เรื่องนี้มีตำนาน

วิทยุเอกชนขนาดเล็กที่ออกอากาศมากมายในขณะนี้ เกิดจากแรงส่ง 3 ประการ

แรงส่งที่หนึ่ง หลังจากมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ใจความว่า "...เพราะภาคประชาชนได้ขอใช้คลื่นความถี่ และมีการเปิดวิทยุชุมชนมากขึ้น หากมีการห้ามก็อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้....." ทำให้การคุกคามด้านกฎหมายกับวิทยุชุมชนหมดไป สร้างความขุ่นข้องให้กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่บางคน จึงมีคำปรารภอมตะว่า "ถ้าจัดการ(จับกุม) พวกมัน(วิทยุชุมชน)ไม่ได้ ก็ยุให้คนอื่น(นักจัดรายการวิทยุอาชีพ)ตั้งสถานีแข่ง ให้มันเละกันไปเลย"

จึงมีการกระซิบจากเจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์บางจังหวัดให้ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ต่างจังหวัด, นักจัดรายการวิทยุอาชีพ, นายทุนท้องถิ่น ตั้งสถานีวิทยุขนาดเล็กอ้างว่าเป็นวิทยุชุมชนขึ้นหาเลี้ยงชีพ

ในช่วงนั้น(2545-46) มีสถานีเอกชนขนาดเล็กตั้งขึ้นน้อยมาก ที่ไม่มีคนกล้าตั้งเพราะเจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้คำมั่นสัญญา กับคนเหล่านั้นได้ว่า ตั้งสถานีวิทยุเอกชนขนาดเล็กขึ้นมาแล้ว มีหลักประกันอะไรจะไม่ถูกจับ ผิดกับจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนที่ตั้งโดยชุมชน ที่มีขบวนการทำความเข้าใจ/เตรียมความพร้อมชุมชน จนชุมชนมั่นใจจึงออกอากาศ

แรงส่งประการที่สอง คือในปี 2547 สัมปทานเวลาสถานีวิทยุในต่างจังหวัดโดยเฉพาะสถานีวิทยุทหารเปลี่ยนมือเกือบหมด มีการขึ้นราคาเวลารายการโดยเจ้าของสัมปทานรายใหม่ ทำให้นักจัดรายการวิทยุอาชีพ ที่เคยเช่าเวลาจัดรายการในสถานีวิทยุนั้นๆ ไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายได้กลายเป็นคนตกงาน

เมื่อกรมประชาสัมพันธ์รับประกันคนเหล่านั้นว่าสามารถตั้งสถานีวิทยุขนาดเล็กใต้ร่มกรมประชาสัมพันธ์ได้ โดยเข้าโครงการ "เตรียมความพร้อมวิทยุชุมชน" เท่านั้นแหละมีการตั้งสถานีวิทยุเอกชนขนาดเล็กขึ้นมากมายหลายร้อยสถานี

แรงส่งประการที่สาม คือการให้โฆษณาได้ชั่วโมงละ 6 นาที วิทยุชุมชนจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติครบถ้วน 3 อย่างคือ เป็นของชุมชน โดยชุมชนและเพื่อชุมชน

ดังนั้น ชุมชนต้องรู้ว่าต้องแบกรับค่าใช้จ่ายของวิทยุชุมชนของตนได้จึงออกอากาศ ผิดกับสถานีวิทยุเอกชนขนาดเล็ก ที่ต้องดิ้นรนหาเงินเลี้ยงชีพ เรื่องนี้ไม่ต้องห่วงกรมประชาสัมพันธ์จัดให้ โฆษณาได้ชั่วโมงละ 6 นาที ดีดลูกคิดรางแก้วตั้งสถานีไม่กี่เดือนก็คืนทุนแล้ว

ที่น่าสลดใจคือ เจ้าหน้าที่ของรัฐบางคนตั้งตัวเป็นคนรวบรวมหุ้นส่วนตั้งสถานีวิทยุภายใต้ "โครงการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชน" บางคนยุให้เอกชนรีบมาขึ้นทะเบียนร่วมโครงการทั้งๆ ที่ไม่มีสถานีหรือยังไม่ได้เตรียมการใดๆ เลย อ้างว่าเพื่อยึดคลื่น

ท่านรองนายกฯวิษณุ เครืองาม ที่ดูแลเรื่องนี้ น่าเรียกบัญชีผู้ขอเข้าร่วมโครงการมาดู

แรงส่งทั้งสามประการทำให้เกิดสถานีวิทยุเอกชนขนาดเล็กมากมายเกือบพันสถานี ที่เรียกตัวเองว่าวิทยุชุมชน

เมื่อไปรบกวนการฟังวิทยุการดูโทรทัศน์ชาวบ้าน วิทยุชุมชนจริงก็ถูกเหมารวมไปด้วยว่ารบกวนชาวบ้าน ทั้งๆ ที่เวลา 3 ปีที่ผ่านมา วิทยุชุมชนจริงไม่เคยก่อปัญหานี้ บางแห่งมีปัญหารบกวนตอนเริ่มออกอากาศ แต่ชุมชนก็ประชุมร่วมกันแก้ปัญหาไปได้

ในที่นี้จึงอยากเรียกร้องต่อสังคมดังนี้

หนึ่ง-วิทยุชุมชนเคารพในสิทธิของเอกชนในการตั้งสถานีวิทยุเอกชนขนาดเล็ก แต่กรุณาอย่าใช้ชื่อว่าวิทยุชุมชน จะใช้ชื่อวิทยุท้องถิ่นหรือชื่ออื่นก็ได้

สอง-วิทยุเอกชนขนาดเล็กน่าจะรวมตัวกันเป็นผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อการต่อรองกับ กสช. เพราะพวกท่านต้องไปใช้คลื่น 80% ที่เป็นของภาครัฐและเอกชน ไม่มีสิทธิใช้คลื่น 20% ที่เป็นของภาคประชาชนได้ ถ้าไม่รวมตัวกัน พวกท่านก็จะถูกทุนใหญ่ฮุบคลื่นไปทั้งหมด

สาม-รัฐต้องไม่แก้ปัญหานี้แบบเหมารวม ต้องแยกออกเป็นสองพวก คือวิทยุเอกชนขนาดเล็กและวิทยุชุมชน เพราะทั้งสองต่างกันโดยสิ้นเชิงทั้งความเป็นมา ปรัชญา การก่อเกิดและการดำเนินงาน การแก้ปัญหาแบบเหมารวม ก็เข้าทางที่กล่าวไว้ตอนต้น "ทำให้เละแล้วค่อยรวบ"

สี่-สองหลับตานึกภาพดูว่าถ้าให้กรมประชาสัมพันธ์โฆษณาชั่วโมงละ 6 นาที รายการวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์ จะเละขนาดไหน วิทยุชุมชนเขาก็กลัวอย่างนั้นแหละ

http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q1/article2005march24p6.htm

วิทยุชุมชน : ก้าวเล็กๆ ที่ชัดเจนบนเส้นทางเสรีสื่อ

รัฐธรรมนูญประชาชน 2540 กำหนดไว้ในมาตรา 40 ว่า" .... คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรการสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระจัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับดูแลการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงประโยชน์ของประชาชน ในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์อื่นรวมทั้งการแข่งขันเสรีอย่าง เป็นธรรม...." โดยจัดสรรให้ภาคประชาชนมีสิทธิใช้สื่อ 20 % ส่วนภาครัฐ 40% และเอกชน 40%

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือภาพประวัติศาสตร์ล่าสุดของการบิดเบือนข่าวครั้งใหญ่จากสื่อมวลชนไทย ซึ่งเป็นการปิดหูปิดตาประชาชนทั้งประเทศโดยรัฐเป็นผู้สั่งการ ทั้งๆ ที่สื่อมวลชนมีอุดมการณ์อันแน่วแน่ เป็นจรรยาบรรณหลักในวิชาชีพ คือต้องรับใช้ประชาชนอย่างตรงไปตรงมา แต่กลับกัน เหตุการณ์ครั้งนั้น "รัฐ" ได้กระทำการละเมิดสิทธิการรับรู้ข่าวสารข้อเท็จจริงของประชาชน ทำให้เกิดคำถามว่า "สื่อของประชาชนเพื่อประชาชนโดยประชาชน" นั้นอยู่ที่ไหน และมิใช่สื่อเสรี ทีวีเสรี อย่างที่เห็น ณ ปัจจุบันนี้แน่นอน

วันนี้ ถึงแม้ว่าจะผ่านพ้นเหตุการณ์เลวร้ายนั้นมานับ 10 ปีแล้วก็ตาม แต่สื่อ อย่างวิทยุ โทรทัศน์ และบางส่วนของอินเตอร์เน็ต ก็ยังดำเนินไปบนเนื้อหาที่เน้นหนักเพียงการครอบงำประชาชน เพียงเอื้อประโยชน์ในการรักษาสถานะทางอำนาจ ของคนบางคนบางกลุ่ม และรักษาผลโยชน์เฉพาะพรรคพวกเพื่อนพ้องตนเองเท่านั้น ซึ่งมากไปด้วยการโฆษณา ละครน้ำเน่า เกมส์โชว์ การเสนอข่าวที่บ่อยครั้งบิดเบือนครอบงำปิดกั้นและการให้ข้อมูลด้านเดียว เป็นต้น

ย้อนมองสถานการณ์วิทยุชุมชน ผ่านการเคลื่อนไหวของสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ

20 ธันวาคม 2544 ภาคประชาชนได้ประกาศตัวตนของวิทยุชุมชนต่อสาธารณะว่า ให้มีวิทยุภาคประชาชน หรือวิทยุชุมชนขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของวิทยุชุมชน เพื่อประโยชน์สาธารณะและไม่แสวงหากำไร โดยเสนอให้มีจุดปฏิบัติการ หรือสถานีนำร่องสำหรับทดลองเรียนรู้ จังหหวัดละ 1-2 แห่ง และต่อมาได้เกิดเป็นเครือข่ายคณะทำงานสื่อวิทยุชุมชนขึ้น 7 ภูมิภาค คือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคอีสาน และยังประสานความร่วมมือ ไปยังคณะกรรมการปฏิรูปสื่อ(คปส.)และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในการร่วมเคลื่อนไหวผลักดัน ร่างกฎหมายที่เกี่ยวพันทรัพยากรสื่อสาธารณะ

จากบทเรียนการพยายามเปิดพื้นที่นำร่องวิทยุชุมชนนั้นเอง ทำให้ค้นพบบทสรุป ว่า สังคมระดับล่างเกิดพลังทางบวกมากขึ้น ในการขับเคลื่อนสังคม เนื่องจากสื่อได้สะท้อนปัญหาทั้งในชุมชนและระหว่างภาคประชาชนด้วยกันเอง และมากกว่านั้น ยังมองถึงการบริหารนโยบายของภาครัฐอีกด้วย เพราะวิทยุชุมชนทำให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร จากชุมชนหนึ่งไปสู่ชุมชนหนึ่ง และผลจากการเรียนรู้นี้เอง ทำให้ประชาชนเกิดคำถามถึงความโปร่งใส การตรวจสอบและการแลกเปลี่ยนสู่ระดับนโยบายรัฐบาลมากขึ้น เช่น วิทยุชุมชนที่จังหวัดกาญจนบุรี กรณีผลกระทบจากเขื่อนและวิทยุชุมชนอินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี กรณี การทำเกษตรทางเลือกเพื่อแก้วิกฤติเศรษฐกิจ เป็นต้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2545 ที่ผ่านมา ที่อาคารมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) กรุงเทพมหานคร ได้เปิดเวทีแลกมุมมองบทเรียนจากขบวนการเคลื่อนไหวสื่อภาคประชาชน และ มองถึงการปรับทิศทางการเรียกร้องสิทธิของสื่อภาคประชาชน โดยเฉพาะในส่วนของวิทยุชุมชน ว่า "เจตนารมณ์การตั้งสถานีวิทยุชุมชนกว่า 140 สถานีทั่วประเทศนั้น เพื่อต้องการทำเป็นสถานีทดลองนำร่อง และเพื่อให้มีโอกาสเรียนรู้จากการได้ทดลองปฏิบัติจริง " ซึ่งเมื่อไหร่ที่ กสช. ผ่านกระบวนการคัดสรรและเริ่มปฏิบัติหน้าที่จัดสรรและดูแลการใช้คลื่นสาธารณะจริง สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ ก็จะยุติการตั้งสถานีฝึกหัดนำร่องทดลองทำวิทยุชุมชนและจะปฏิบัติตามเงื่อนไขและนโยบายของ กสช.

ในขณะที่ท่าทีของฝ่ายการเมืองเริ่มเปิดศึกรุก และจัดการการเคลื่อนไหวของสหพันธ์วิทยุชุมชนอย่างแรงและรวดเร็ว จากตัวอย่าง ข่าว นายสมเกียรติ อ่อนวิมล ส.ว.สุพรรณบุรี ตั้งกระทู้ถามกลางสภาวุฒิว่า" หากปล่อยให้เกิดสถานีวิทยุชุมชน จะละเมิดต่อข้อตกลงระหว่างประเทศ หรือส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้วิทยุชุมชนที่ตั้งขึ้นนั้นผิดกฎหมาย ควรยุบเลิกและกลับไปใช้วิทยุของรัฐ อาทิ วิทยุกรมประชาสัมพันธ์แทน " ส่วน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ก็กล่าวเช่นกันว่า " เป็นสภาวะที่รัฐกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะขณะนี้มีสถานีวิทยุชุมชนประมาณ 50-200 สถานี ที่ถือว่าผิดกฎหมายและไม่สามารถดำเนินการกระจายเสียงได้ " (จาก นสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 18 ตุลาคม 2545 )
และปฏิบัติการภาคเองก็ไม่ได้รีรอ ทำหนังสือด่วนมาก นร 0205/ ว. 6377 จากกรมประชาสัมพันธ์ ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2545 โดยนายสุชาติ สุชาติเวชภูมิ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ แจ้งถึง นางกาวี คำภูแก้ว ว่า" ให้ระงับการทำการสถานีวิทยุชุมชน และให้จัดสรรรายการมาใช้สถานีวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์แทน จนกว่าจะมีผลการพิจารณา มาตรการหลักเกณฑ์จากคณะรัฐมนตรี เนื่องจากสถานีวิทยุชุมชนทำผิดกฎหมาย พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 แก้ไขเพิ่มเติม 2530 " นี้คือภาพรวมเพียงระยะเวลาสั้นๆ ที่นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและหน่วยงานรัฐจัดการตอบโต้"การเคลื่อนไหวสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ " ที่ตั้งขึ้นตามสิทธิที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดให้

มองแนวคิดวิทยุชุมชน

วิทยุชุมชน หมายถึง เทคโนโลยีที่เปิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อชีวิต ของคนในชุมชนและมาจากการจัดทำนำเสนอ โดยคนในชุมชน ซึ่งเป็นเพียงสถานีวิทยุขนาดเล็กๆ ที่มีเครื่องส่งกระจายเสียง ขนาด 20-30 วัตต์ รัศมีการกระจายเสียง 10-15 กิโลเมตร ดังนั้น วิทยุชุมชนจึงเป็นเรื่องของชุมชนคิด ชุมชนทำ ชุมชนนำเสนอและชุมชนตรวจสอบจัดการเป็นหลัก หรือ
เป็นการนำเทคโนโลยีที่รัฐเคยผูกขาด มาสร้างช่องทางอย่างเป็นรูปธรรมแห่งสิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่ชุมชนต้องการมีสิทธิ ในการสื่อสารเรื่องที่ดีเพื่อสิ่งที่ดีต่อชุมชน ของตน ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการได้ หรือมีสถานีวิทยุเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างดุลแห่งอำนาจของภาคประชาชน ที่จะสร้างสรรค์สื่อและสาระบนรากฐานทางวัฒนธรรมที่แท้จริง ของตนเอง

ดังนั้นหัวใจของวิทยุชุมชนก็คือ

1.คนในชุมชนเป็นผู้ผลิตและเป็นผู้ฟัง
2.เข้าถึงง่าย ปิด-เปิด ง่าย ใช้ภาษาถิ่น ต้นทุนต่ำ การผลิต การจัดการมีเครื่องมือไม่ซับซ้อน เป็นต้น
3.เป็นสมบัติสาธารณะ ใช้ระบบอาสาสมัครเข้ามาช่วย และไม่แสวงหากำไร
4.ชุมชนเป็นเจ้าของ สำหรับการกำหนดทิศทางและนโยบาย

เมื่อวิทยุชุมชนเป็นเรื่องราวของชุมชน ที่ต้องมีส่วนร่วมในการร่างวัตถุประสงค์ การจัดการ การกำหนดเป้าหมายทิศทางร่วมกัน
ย่อมเป็นการเสริมสร้างกำลังใจแก่ผู้ดำเนิรายการ ให้สามารถนำเสนอได้ครอบคลุมพื้นที่ เนื้อหา ตามสภาพของวิถีทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาชาวบ้าน ลักษณะภูมิประเทศและอาชีพของท้องถิ่นนั้นๆ

บนพื้นฐานที่สังคมไทยเชื่อเหมือนกันว่า "คลื่นความถี่ คือทรัพยากรธรรมชาติ ที่ไม่มีวัดหมดสิ้น และคลื่นความถี่ไม่มีข้อจำกัดในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เพียงแต่มีต้นทุนในการถือครองและใช้ความชำนาญการเป็นพิเศษ ในการทำประโยชน์ และเมื่อคลื่นความถี่ไม่มีลักษณะทางกายภาพ ดังนั้น แนวความคิดในการบริหารจัดการ สรรหาคลื่นความถี่ จึงไม่อาจใช้วิธีคิด เช่นเดียวกับการใช้ในการบริหารจัดการ ทรัพยากรชนิดอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพได้ มันจึงสามารถถูกนำไปใช้ในฐานะ ของการสร้างคุณประโยชน์สู่ประชาชนได้ อย่างไม่มีขีดจำกัด

ปัญหาและอุปสรรค

จากการศึกษาและติดตามแนวโน้มการกำหนดนโยบายวิทยุชุมชนนั้น มักกระจุกและรอการตัดสินใจจากฝ่ายบริหาร เป็นหลัก เนื่องจากกรอบการศึกษาของฝ่ายนโยบายนั้น ค่อนข้างคับแคบ ที่สำคัญละเลยการคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนในระยะยาว เพราะข้อเสนอเหล่านั้นคือกระบวนการนำพาเทคโนโลยีเข้าไปให้ชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้และใช้ประโยชน์ ดังนั้น หากสมมติฐานจากกรอบคิดของฝ่ายนโยบายมีปัญหาคับแคบขาดวิสัยทัศน์ ก็ย่อมส่งผลให้ประชาชนไทยขาดโอกาสได้เรียนรู้ ได้พัฒนาศักยภาพจากเทคโนโลยีการสื่อสารขนาดเล็ก ทั้งๆ ที่ เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยเปิดช่องทางการเรียนรู้ การเข้าใจ และเท่าทันสถานการณ์กระแสโลกาภิวัตน์ ได้มาก

จากการศึกษาพบว่า คลื่นความถี่ ที่ใช้ในประเทศไทย เพื่อกิจการวิทยุกระจายเสียงนั้น แบ่งได้ 2 ระบบ คือ

หนึ่ง ระบบเอเอ็ม
สามารถแบ่ง 2 ย่านความถี่ คือ
-ความถี่ย่านปานกลาง (Medium Frequency ) หรือที่รู้จักกันทั่วไปเรียกว่า เอ็มเอฟ ( MF ) หรือเอ็มดับเบิ้ลยู ( MW )
- คลื่นความถี่ย่านสูง ( Hight Frequency ) หรือที่เรียกว่า เอสดับเบิ้ลยู ( SW )
สองระบบเอฟเอ็ม ใช้คลื่นความถี่ย่านความถี่สูงมาก ( Very Hight Freqency ) หรือเรียกว่าย่านความถี่ วีเอชเอฟ ( VHF )

และที่ผ่านมา การใช้ประโยชน์ของคลื่นความถี่ทั้งหมดนี้ อยู่บนพื้นฐาน เพื่อประโยชน์ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์กิจกรรมของรัฐ และอยู่บนพื้นฐานความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งมีเครือข่ายกระจายเสียงหลัก ( Nation Wide Broadcasting ) ที่แบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่

1.ระดับประเทศ อาทิ วิทยุกรมประชาสัมพันธ์, วิทยุอ.ส.ม.ท. ,วิทยุสำนักข่าวไทย,วิทยุกองพลที่ 1 รอ. และวิทยุรัฐสภา เป็นต้น
2.ระดับภูมิภาค อาทิ ศูนย์วิทยุกรมประชาสัมพันธ์เขต 8, วิทยุกองทัพภาค เป็นต้น
3.ระดับท้องถิ่น วิทยุ วปถ.ของกองทัพบก, กองทัพเรือ, อ.ส.ม.ท. และเอฟเอ็มในจังหวัดต่างๆ

( จากตัวเลขการครอบครองคลื่นคือ กองทัพ 203 คลื่น ( ขยายเวลาให้นายทุนเอกชนเช่าทำธุรกิจสื่อสารร่ำรวยมหาศาล) ตำรวจ 44 คลื่น อ.ส.ม.ท. 62 คลื่น กรมประชาสัมพันธ์ 147 คลื่น ขณะที่กระทรวง ศึกษาธิการมีเพียง 1 คลื่น เป็นต้น )

ข้อเสนอทางเทคนิคกระบวนการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชน


กระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่ที่เหมาะสมกับวิทชุมชนในอนาคต คือ จัดทำระบบ Radio Broadcasting Network ที่มีเครือข่าย Nationwide ซึ่งจะสอดคล้องกับวิทยุท้องถิ่น Local Broadcasting Network มากที่สุด โดยใช้ระบบการแบ่ง Zoning คลื่นความถี่สูง ( FM ) เนื่องมีการรบกวนของสัญญาณน้อยกว่า AM และการจัด Zoning จะสามารถซอยแบ่งระดับ คลื่นความถี่ให้แตกต่างกัน ในแต่ล่ะท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกันตามกระบวนการ ทั้งภาคส่งและภาครับ อีกอย่างถ้าหากกล้าที่จะนำระบบเทคโนโลยีดิจิตอล ( Digital Radio Broadcasting Technology ) ซึ่งเป็นเทคโลยีใหม่ที่ให้คุณภาพเสียงแจ่มชัดและคมชัดสูงกว่าแล้ว ยังช่วยให้เกิดการแบ่งซอยคลื่นได้มากขึ้นอีกด้วย หรือมากกว่าระบบอนาล็อค (Analog ) ซึ่งเป็นระบบเดิม เพียงแต่ว่า หากเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบบดิจิตอล ย่อมกระทบต่อระบบการสื่อสารวิทยุในระยะแรกอย่างแน่นอน เนื่องจากต้องเปลี่ยนแปลงทั้งเครื่องมือส่งและเครื่องรับ(ผู้ฟังตามบ้าน) ด้วย ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่รัฐบาลสมควรพิจารณาถี่ถ้วน เพื่อจะได้หาแนวทางลงทุนและพัฒนาอย่างเร่งด่วนและรัดกุม เนื่องจากมูลค่าการพัฒนาไปสู่คุณภาพครั้งนี้ต้นทุนค่อนข้างสูงจริง แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่รัฐบาลจะนำมากล่าวอ้างว่า ไม่มีเงินและยังทำไม่ได้ เพราะรัฐบาลมีหน้าที่ทำให้สิทธิของภาคประชาชนเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจริง

สรุปข้อเสนอสถานการณ์และความเห็นจากเวทีปฏิรูปสื่อ ที่อาคาร มอส. โดยมี นักวิชาการทั้งจากสาขานิเทศศาสตร์-วารสารศาสตร์ สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ คณะกรรมการรณรงค์การปฏิรูปสื่อ นักพัฒนาเอกชนด้านสื่อและทีมงาน thaingo ซึ่งเป็นสมาชิกคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ และเป็นหนึ่ง ในทีมงานริเริ่มโครงการนำร่องไอซีทีสู่ชุมชน ร่วมกับองค์กรพันธมิตร 4 ภูมิภาคและชมรมไอซีทีเพื่องานพัฒนา

จากเวทีที่ประชุมเสนอตรงกันว่า ทำอย่างไรที่จะให้วิทยุชุมชนเกิดขึ้นได้จริง ขณะที่สถานการณ์วันนี้นักการเมืองเองเข้าใจเรื่องนี้ดี แล้วและ ทุกๆ ฝ่ายต่างก็เข้าใจเรื่องนี้ แต่ก็ขยับไม่ได้เนื่องจากว่ามันเกี่ยวพันกับองค์กรธุรกิจเยอะมาก และมีผลประโยชน์มหาศาลอีกด้วย ดังนั้นภาคประชาชนต้องเคลื่อนไหวเข้าช่วยและผลักดันให้เกิดจริงให้ได้ เพราะฝ่ายการเมืองเองตอนนี้ก็อยู่เฉยไม่ได้แล้ว ต้องขยับทำงานหาทางออกในเรื่องนี้ให้ได้ ซึ่งนั่นก็เพราะว่า การประชุมใหญ่ที่ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2545 ได้ก่อให้เกิดสหพันธ์วิทชุมชนแห่งชาติ ซึ่งมีสมาชิกเครือข่ายวิทยุชุมชนมาร่วมประกาศเจตนารมณ์กว่า 3 พันคน ดังนั้นงานเร่งด่วนของสื่อภาคประชาชนในเวลานี้คือ ต้องเสนอร่างกฎหมาย พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุ เข้าไปสู่กฤษฎีกาให้ได้ทัน เพราะตอนนี้ภาคธุรกิจได้เสนอเข้าไปแล้ว

ส่วนประเด็นที่ว่า นักธุรกิจเอกชนกลัวภาคประชาชนยึดครองสื่อนั้นไม่จริง เพราะที่ภาคประชาชนทำนั้น เป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจด้วยเช่นกัน เพราะภาคประชาชนกำลังดึงเอาทรัพยากรนี้มาจากภาครัฐ มาจากการผูดขากของกลุ่มทุนเอกชนเพียงไม่กี่กลุ่ม ดึงมาให้ ทุกๆ ฝ่ายมีโอกาสได้ใช้ร่วมกัน

แต่ที่ผ่านๆ มา เครือข่ายวิทยุชุมชนพยายามทำความเข้าใจกับประชาชน ถึง มาตรา 40 เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้และสนใจ เรื่องวิทยุชุมชนกันให้มากขึ้น แม้ว่า บางทีเครือข่ายต้องระวังให้มากเรื่องความเหลื่อมล้ำ ในเรื่องการจัดการและการเข้าถึงทรัพยากร เพราะตอนนี้กลุ่มทุนท้องถิ่นก็เริ่มขยับปรับตัวและรุกเข้าเกี่ยวพันอย่างมีบทบาทยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ในทางธุรกิจ

ขณะที่รัฐบาลควรมีนโยบายให้ประชาชนได้ทดลองใช้ด้วย เพื่อเตรียมความพร้อมและสะสมประสบการณ์ ซึ่งถ้ารัฐยังขืนจะห้ามจริงๆ ก็คงจะทำไม่ได้เนื่องจากว่า ขัดรัฐธรรมนูญ ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นก็มาจากท่าทีของรัฐบาลที่ไม่ยอมเปิดช่องทาง ผลักดันกฎหมาย ปล่อยให้กรมไปรษณีย์ออกมาสั่งการ และขู่จะดำเนินคดีทางกฎหมาย อีกทั้งยังเสนอให้วิทยุชุมชน หันไปใช้ร่วมกับวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์แทน ซึ่งให้ใช้จังหวัดละหนึ่งสถานี ผ่านหอกระจายข่าว ตรงนี้มันผิดเจตนารมณ์สื่อภาคประชาชน และผิดวัตถุประสงค์การมีวิทยุชุมชนอย่างสิ้นเชิง เพราะวิทยุกรมประชาสัมพันธ์นั้น มีกรอบ มีระเบียบในการทำงานเยอะมาก

ทีมงานการจัดรายการและบริหารสื่อวิทยุและสื่อภาคประชาชน ต้องคำนึงเรื่องจรรยาบรรณความเป็นนักวิชาชีพ ให้มาก ต้องร่างธรรมนูญการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้บรรทัดฐาน มาเป็นหลักปฏิบัติร่วมกัน ว่าสื่อสาธารณะนั้นควรดำเนินไปอย่างไร เนื่องจากถ้าเราไม่เร่งรีบวางกระบวนการคุ้มครองการสื่อสารของชุมชนให้เข้มแข็ง ในอนาคตกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะอเมริกาจะเอาเรื่องวิทยุชุมชนขึ้นมาผลักดันบนเวทีการค้าโลก ผ่านเงื่อนไขการค้า พุ่งเป้าหมายการรุกครอบสื่อ หรือเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ได้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการค้าเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ ทำอย่างไรจึงจะทำให้ชุมชน มีเกราะกำบังการทะลุทะลวงของสื่อทุนชาติและสื่อครอบงำจากกระแสโลกาภิวัตน์ ได้บ้าง และทำอย่างไรจะให้สื่อทางเลือกขนาดเล็ก มีความอิสระเป็นสื่อสาธารณะและจัดการโดยเราเองและเพื่อเราเองด้วย

ดังนั้นหัวใจของสื่อภาคประชาชน ก็คือ กระจายอำนาจการสื่อสาร สร้างกระบวนการเรียนรู้และเพิ่มช่องทางการนำเสนอ พลังความคิดของประชาชนไปสู่ประชาชน สื่อทางเลือกรูปแบบใหม่หรือสื่อภาคประชาชน ทั้งสื่อ วิทยุชุมชน ทีวีชุมชน หรืออินเตอร์เน็ตชุมชน จึงต้องการมากกว่ารูปแบบที่อย่างที่ผ่านๆ มา ซึ่งเป็นรูปแบบที่สามารถปฏิบัติออกมาอย่างมีผลสะท้อน ต่อสังคม ต่อชุมชน และเป็นผลสะท้อนที่สังคมยอมรับว่าดีมีประโยชน์ เหล่านี้คือภารกิจหลัก และภารกิจเร่งด่วนคือ เร่งร่าง พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุฯ ในส่วนของภาคประชาชนเองให้ไวที่สุด ส่วนรูปแบบของสื่อภาคประชาชนเองก็ต้องคิดให้มากและต้องทำให้ได้จริง เพื่อมาสู่การยอมรับและเชื่อมั่นจากสังคม และร่วมเป็นพลังหนุนเสริมให้ภาคประชาชนเข้มแข็งได้ ที่สำคัญการรูปขบวนสื่อภาคประชาชนต้องจัดระบบการคิด การทำงาน การนำเสนอให้ชัดเจน มีเอกสาร มีงานวิจัย ชี้แจงยืนยันถึงผลดีผลเสียจากการปฏิบัติงาน ไม่เช่นนั้นสื่อทางเลือกอย่างวิทยุชุมชน ก็อาจจะเป็นตัวแปรหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในด้านสิทธิขึ้นระหว่างคนมีและคนไม่มี เช่นกัน


ทีมงาน ThaiNGO รายงาน

มติชน Thursday, May 05, 2005 

          โดย อภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช
          ปัญหาความสับสนอลหม่านในแวดวงผู้เกี่ยวข้องการ "วิทยุชุมชน" ตามที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนในช่วง 1 สัปดาห์เศษที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวที่ต่อเนื่องของรัฐบาลในการการบริหารจัดการเรื่องนี้
          ความพยายามในการ "จัดระเบียบ" วิทยุชุมชนเกิดเป็นข่าวอีกครั้ง เมื่อนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางไปตรวจเยี่ยมกรมประชาสัมพันธ์ และหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาหารือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรม  นัยว่าเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาวิทยุชุมชนจำนวนมากที่ดำเนินการผิดระเบียบของกรมประชาสัมพันธ์
          พร้อมๆ กับถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ถือโอกาส "เช็คบิล" ผู้จัดรายการวิทยุชุมชนบางคนที่ใช้เวทีวิทยุชุมชนพูดจาในรายการ เป็นพิษเป็นภัยกับเสถียรภาพของรัฐบาลไปด้วย
          การเกิดขึ้นของวิทยุชุมชน เป็นผลจากเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ที่ระบุไว้ในมาตรา 40 ว่า "คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์ของสาธารณะ…"
          ทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการเข้ามาเป็นเจ้าของสื่อกระจายเสียง เพื่อแสดงออกซึ่งสิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามกฎหมาย เกิดมีการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงอิสระขึ้นมาในท้องถิ่นต่างๆ จำนวนมาก
          ขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางและโอกาสอันงดงามของนักธุรกิจวิทยุกระจายเสียง ในการเข้าไปจับจองคลื่นความถี่ เป็นเจ้าของสถานี ออกอากาศหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์กันอย่างคึกคัก
          ประมาณว่า จนถึงขณะนี้มีผู้จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง และดำเนินการออกอากาศ โดยอ้างว่าเป็น "วิทยุชุมชน" ทั้งของแท้ ของเทียม มากกว่า 3,000 แห่งทั่วประเทศ
          แต่เป็นตัวเลข 3,000 กว่าแห่ง ที่ไม่มีใครระบุได้ชัดเจนว่า ตั้งอยู่ตรงไหน ใครเป็นผู้ดำเนินการ และแสวงหาประโยชน์กันได้มากน้อยแค่ไหน อย่างไร
          ขณะเดียวกัน กฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่เข้ามาอยู่ในวังวนของปัญหาวิทยุชุมชนด้วย ก็คือ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ที่ระบุไว้ในมาตรา 80 ว่า ระหว่างที่ยังจัดตั้ง  กทช. และ กสช. ไม่แล้วเสร็จ ให้นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และเจ้าหน้าที่รัฐอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ การกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม มีอำนาจหน้าที่ดูแลในเรื่องนี้ไปก่อน แต่จะจัดสรรคลื่นความถี่, ออกใบอนุญาตประกอบกิจการ หรืออนุญาตให้ประกอบกิจการเพิ่มเติมไม่ได้
          เมื่ออนุญาตให้มีผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงรายใหม่ไม่ได้ แต่ความต้องการจัดตั้งสถานีวิทยุยังคงมีมาก และมากขึ้นเรื่อยๆ การเกิดขึ้นของสถานีวิทยุกระจายเสียงทั่วบ้านทั่วเมืองในขณะนี้ จึงเป็น "สถานีเถื่อน" ผิดกฎหมาย กันทั้งหมด
          ต้องยอมรับว่า การจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงในลักษณะวิทยุชุมชนและดำเนินการออกอากาศกันมากมายในระยะหลัง ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการที่รัฐบาลได้พยายามเข้าไปจัดระเบียบ ด้วยการสร้างกรอบกติกาขึ้นมา "ผ่อนปรน" ให้ ในช่วงประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา
          วันที่ 16 กรกฎาคม 2545 คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติมอบหมายให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไปศึกษาและกำหนดมาตรการชั่วคราว เพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน
          จากนั้นก็เงียบหายไปนาน กระทั่งวันที่ 24 มิถุนายน 2546 หรือกว่า 1 ปีต่อมา ครม.ได้มีมติอนุมัติร่างมาตรการและหลักเกณฑ์ชั่วคราวเบื้องต้นของ "วิทยุชุมชน" หรือที่เลี่ยงไปเรียกว่า "จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชน" แล้วมอบให้กรมประชาสัมพันธ์ไปพิจารณา
          มติ ครม.เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2546 มีเนื้อหาสำคัญ 2 ส่วนคือ
          1.มีการกำหนดหลักเกณฑ์ด้านเทคนิค เช่น เครื่องส่งกำลังส่งไม่เกิน 30 วัตต์ ในระบบเอฟอ็ม/เสาอากาศสูงไม่เกิน 30 เมตร/รัศมีส่งกระจายเสียงไม่เกิน 30 กิโลเมตร
          2.มีข้อสังเกตของสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ระบุความเห็นไว้ชัดเจน 3 ประเด็น
          - การตั้งสถานีวิทยุในระหว่างที่ยังไม่มี กทช. และ กสช.นั้น ผิดกฎหมาย
          - มาตรการหลักเกณฑ์ชั่วคราว จะทำได้ต้องมีกฎหมายรองรับ
          - ในเมื่อมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ไม่ให้ออกใบอนุญาตใหม่ จนกว่าจะมี กทช., กสช. ก็สมควรให้ภาคประชาชนสามารถเข้าไปจัดรายการในวิทยุกระจายเสียงของรัฐที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศได้ โดยอาจมีการผ่อนปรนระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรค เช่น ใบอนุญาตผู้ประกาศ, ระเบียบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
          ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2547 คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กกช. ของกรมประชาสัมพันธ์ ได้ไปวางระเบียบการจดทะเบียนวิทยุชุมชนขึ้นมา มีเนื้อหามากมาย
          พร้อมทั้งระบุให้ผู้ดำเนินการวิทยุชุมชนไปขึ้นทะเบียน ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน -31 ธันวาคม 2547 ต่อมาก็ขยายเวลาให้โดยไม่มีกำหนด แต่ก็มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ไปแจ้งความจำนงขอขึ้นทะเบียน และยินยอมทำตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
          นอกนั้นนิ่งเฉย ด้วยเหตุผลต่างๆ นานา โดยเฉพาะใช้ข้ออ้างร่วมสมัยว่า ในระหว่างที่ยังไม่มี กสช. กรมประชาสัมพันธ์ไม่มีอำนาจที่จะเข้ามาจัดระเบียบวิทยุชุมชน
          กรมประชาสัมพันธ์เองก็สับสนไม่กล้าขยับไม่รู้จะเดินหน้าหรือถอยหลังดี ปล่อยให้วิทยุชุมชนตกอยู่ในสภาพไร้ระเบียบ ไร้กติกา ไร้การควบคุม มาถึงวันนี้
          สถานการณ์แบบนี้จึงมีกลุ่มนักธุรกิจวิทยุกระจายเสียงจำนวนหนึ่ง อาศัยช่องว่างของกฎหมายไปจัดตั้งสถานีวิทยุขึ้นมา แล้วใช้เครื่องส่งกำลังสูง ส่งกระจายเสียงในรัศมีกว้าง และบางแห่งใช้คลื่นถี่ที่ไปแทรกหรือทับซ้อนกับวิทยุกระแสหลัก หรือกลบวิทยุชุมชนรายอื่นที่มีกำลังส่งต่ำกว่า จนเกิดปัญหาไปทั่ว โดยที่กรมประชาสัมพันธ์ไม่สามารถเข้าไปจัดการอะไรได้
          ที่สำคัญ ระเบียบของกรมประชาสัมพันธ์มีสาระที่พิเศษออกมาคือ ให้วิทยุชุมชนมีโฆษณาได้ไม่เกินชั่วโมงละ 6 นาที ทำให้มีการหาประโยชน์อย่างครึกโครม ว่ากันว่าปัจจุบันวิทยุชุมชนหลายแห่งมีเวลาโฆษณามากถึงชั่วโมงละ 15-20 นาที แถมยังไปตัดราคาค่าโฆษณากันมโหฬาร สร้างความปั่นป่วนในวงการวิทยุอย่างรุนแรง
          ปัญหานี้รัฐบาลโดยกรมประชาสัมพันธ์ ได้แต่นั่งทำตาปริบๆ
          ร้ายกว่านั้น เจตนารมณ์ของวิทยุชุมชนที่ต้องการให้คนในชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกัน มีการบริหารจัดการด้วยตนเอง มีเนื้อหาสาระเพื่อแสดงออกและสนองตอบต่อความต้องการของคนในชุมชน กลับกลายเป็นวิทยุของบุคคล กลุ่มบุคคล นักธุรกิจ หรือนักการเมือง ที่ต้องการมีสื่อวิทยุเป็นเครื่องมือของตนเอง
          ทางออกในเรื่องนี้เป็นอย่างไร?
          หลังจากผู้เขียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย มีข้อเสนอที่น่าสนใจจากนักวิชาการ ผู้ประกอบการวิทยุชุมชน และสมาคมด้านวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
          1.รัฐบาลต้องใช้ความกล้าหาญในการจัดระเบียบเป็นเบื้องต้น ต้องให้วิทยุชุมชนทุกแห่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ ไปขึ้นทะเบียนกับกรมประชาสัมพันธ์ทั้งหมด จากนั้นก็จัดกลุ่มผู้ดำเนินการวิทยุชุมชนกันใหม่ ใครไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ ใครมาอาศัยช่องโหว่กฎหมายหากินทางธุรกิจ ต้องแยกแยะกันให้เห็นกันชัดเจน
          ของแท้ ของเทียม ต้องกล้าที่จะฟันธงกันออกมา ไม่มีรายการลูบหน้าปะจมูก เอื้ออาทรพวกพ้องกันอีกต่อไปแล้ว
          2.กติกาทางเทคนิค ตามมติ ครม. เมื่อ 24 มิถุนายน 2546 ที่กำหนดให้เครื่องส่งมีกำลัง 30 วัตต์ ในระบบเอฟเอ็ม เสาสูง 30 เมตร รัศมีส่งกระจายเสียง 15 กิโลเมตร ต้องเป็นจริง ทุกแห่ง ทุกสถานีต้องถอยกลับมายืนอยู่ตรงจุดเดียวกันนี้ทั้งหมด เพราะเชื่อว่ากติกาที่ว่านี้เป็นมาตรฐานที่ตั้งไว้เพื่อความเป็นวิทยุชุมชน สนองความต้องการเฉพาะของชุมชนนั้นๆ อย่างแท้จริง
          ถ้าไม่กลับมายืนตรงจุดนี้ วิทยุชุมชนก็ไม่มีทางจะเดินหน้าไปตามเจตนารมณ์ได้
          ทราบดีว่า ไม่ง่ายที่จะตัดสินใจเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ แต่ถ้าไม่ทำก็จะเท่ากับยิ่งสุมรุมปัญหาให้หนักหน่วง บานปลายไม่มีทีสิ้นสุด

http://www.ntc.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=740&Itemid=35

รัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ที่จะมีการลงประชามติอีก 6 กว่า วัน ผมว่าเราลองคิดดุความเป็นชุมชน และความเป็นคลื่นของชุมชน จะได้รับการตอบสนองอย่างไร แต่ที่แน่ๆๆๆ งานนี้ ถ้าไม่อยากให้คลื่นที่เรามีอยู่ถอยหลัง เข้ากรุ ละก้อ ...พลังของพวกเราคนรักษ์ วิทยุชุมชน จะต้อง แสดงให้รัฐเห็นว่าเราต้องการรัฐธรรมนูญ ที่เป็นของประชาชน และให้สิทธิชุมชน ตามรัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติไว้....

วิทยุชุมชนอนาคต ที่ไม่เห็นทางผ่าน และทางไป และที่สำคัญจะมีทางรอดให้เลือกเดิน หรือเปล่า นั้นเป็นประเด็นที่สำคัญให้ ผุ้ใหย่ ที่มีอำนาจในสังคม ควรมาดูแล อย่างจริง จัง ซะที่ ไม่อย่างนั้นแล้ว วิทยุชุมชน ก็อาจจะกลายเป้นวิทยุที่ชุมชนกลุ่มมาครอบครองแทน

*** วิทยุชุมชน เกิดมา เพื่อใคร***

          น่าคิด นะครับ

ข้อมูลโดยสรุปจากเครือข่าย สื่อภาคประชาชน

สถานการณ์สื่อในรอบปี ๒๕๔๕ อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคมืดของข้อมูลข่าวสาร เมื่อรัฐบาลสามารถ "คุม" สื่อกระแสหลักโดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ในระดับที่แทบจะเรียกได้ว่าเบ็ดเสร็จ ไม่ว่าจะผ่านทางอำนาจการบริหารงานประเทศ ผ่านกลไกการตลาด (การซื้อ/ขายโฆษณา) และการเป็นเจ้าของโดยตรง มีการคุกคามและแทรกแซงสื่อครั้งใหญ่ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ารุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในรอบสิบปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นตั้งศูนย์ทำความเข้าใจกับประชาชน (ศขป.), การถอนวีซ่านักข่าวนิตยสารฟาร์อีสเทิร์น อีโคโนมิก รีวิว, การถอดรายการวิทยุของเครือเนชั่นออกจากผังรายการของสถานีวิทยุ ๙๐.๕ MHz อย่างกระทันหัน, การตั้งข้อหาอั้งยี่-ซ่องโจร และตรวจสอบธุรกรรมบรรณาธิการและผู้บริหารสื่อหลายแห่ง อาทิ นสพ.แนวหน้า, นสพ.ไทยโพสต์, เครือเนชั่น ฯลฯ

ความพยายามในการคุกคามและแทรกแซงสื่อไม่จำกัดอยู่ในสื่อกระแสหลักเท่านั้น แต่ยังขยายตัวต่อไปถึงสื่อภาคประชาชนอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากกรณีการออกหมายค้นและยึดเครื่องส่ง และการออกหมายจับผู้ประสานงานวิทยุชุมชนอ่างทอง ที่เกิดขึ้นระหว่างการเจรจาจัดทำหลักเกณฑ์ชั่วคราววิทยุชุมชน ซึ่งมีมติของที่ประชุมว่าจะไม่มีการดำเนินการใดๆ ทางกฎหมาย จนกว่าการจัดทำหลักเกณฑ์ชั่วคราวจะแล้วเสร็จ

ในขณะเดียวกันกับการอ้างกฎหมายเก่าในการจับกุมวิทยุชมชนอ่างทอง และการอ้างว่าวิทยุชุมชนยังไม่สามารถทำได้ ต้องรอจนกว่าจะมี กสช. ก่อนนั้น ภาครัฐกลับเตรียมการวางแผนการยกวิทยุชุมชนให้ อบต. โดยเตรียมการปูพรมแจกคลื่นนำร่องให้ทันปีใหม่กว่า ๔๐๐ คลื่น

แผนการยกวิทยุชุมชนเป็นของขวัญปีใหม่ให้ อบต. ออกอากาศพร้อมกัน ๔๐๐ อบต.ทั่วประเทศนั้น ได้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า สอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญกับการเตรียมการเลือกตั้ง อบต. ๔๐๐ เขตเลือกตั้ง ซึ่งจะมีขึ้นในเดือน ม.ค. ๒๕๔๖ อย่างไรก็ดี หลังจากการทวงถามของภาคประชาชน ภาคนโยบายและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องก็ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็น และไม่ได้ตั้งใจให้มีความสัมพันธ์กับการเลือกตั้ง อบต. ที่จะมีขึ้นในเดือน ม.ค. ๒๕๔๖ แต่อย่างใด โดยกล่าวว่าเป็นเพียงโครงการที่วางไว้ และยังไม่มีความชัดเจนใดๆ ในขณะนี้

ด้านนโยบายกฎหมาย มี ๒ ประเด็นใหญ่ที่สำคัญและต่อเนื่องมาจากปี ๒๕๔๔ ที่ผ่านมา คือ ๑) การตรวจสอบกระบวนการสรรหา กสช. ของศาลปกครอง และ ๒) การยกร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ พ.ศ. …. (ที่เรียกกันสั้นๆ ว่าร่าง พรบ. ประกอบกิจการฯ) รอบ ๒

ประเด็นการตรวจสอบกระบวนการสรรหา กสช. ของศาลปกครองนั้น เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ศาลฯ ชั้นต้นได้มีวินิจฉัยว่าการสรรหา กสช. เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนการสรรหาฯ ซึ่งหลังจากการมีวินิจฉัยและคำสั่งศาลฯ ชั้นต้น คณะกรรมการสรรหาฯ ก็ได้ยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลฯ สูงสุด ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด

ประเด็นการยกร่าง พรบ.ประกอบกิจการฯ หลังจากที่ได้มีการยกร่างครั้งแรกเมื่อสมัยรัฐบาลชวน ๒ แต่ยังไม่ทันได้นำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ก็มีการเปลี่ยนรัฐบาลเสียก่อนนั้น เมื่อรัฐบาลทักษิณเข้าบริหารงาน ก็ได้ส่งร่างฯ ไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา ก่อนจะวนกลับมาที่สำนักงานกฤษฎีกาเมื่อประมาณกลางปีที่ผ่านมา หลังจากนั้น สำนักงานกฤษฎีกาก็ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ทหาร ผู้ประกอบการ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมยกร่างรอบ ๒

มีข้อสังเกตว่า ก่อนการประชุมยกร่างรอบ ๒ นี้ ได้มีเหตุการณ์ "ม็อบ" ศิลปิน ดารา นักร้องครั้งใหญ่ ที่สนามกีฬาเวสส์ ๒ สนามกีฬาไทยญี่ปุ่นดินแดง เพื่อแสดงพลังสนับสนุนร่าง พรบ. ฯ ฉบับสมาพันธ์ผู้ประกอบการ การชุมนุมแสดงพลังของเหล่าศิลปิน ดารา นักร้องเพื่อผลักดันร่าง พรบ. ประกอบกิจการฯ นี้นับเป็นครั้งที่สองแล้ว หลังจากที่เคยได้มีการชุมนุมครั้งแรกที่สนามม้านางเลิ้งเมื่อปี ๒๕๔๔ ที่ผ่านมา

ในส่วนของสถานการณ์การปฏิรูปสื่อภาคประชาชน พลวัตครั้งใหญ่น่าจะอยู่ที่ภาคประชาชนที่ได้ตระหนักและตื่นรู้ถึงสิทธิการสื่อสารตามมาตรา ๔๐ ของตน และลุกขึ้นมาจัดทำวิทยุชุมชนกันถ้วนหน้าทั่วประเทศ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นไฮไลต์ของสถานการณ์ปฏิรูปสื่อในปี ๒๕๔๕

ความเคลื่อนไหวเรื่องวิทยุชุมชนในปี ๒๕๔๕ เป็นการสานต่อเจตนารมณ์เรื่องสิทธิการสื่อสารของภาคประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๔๐ จากการทดลองออกอากาศวิทยุชุมชนกาญจนบุรีและสิงห์บุรีเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เข้มแข็ง จนเมื่อภาครัฐเห็นว่าไม่อาจจะรั้งไว้ได้อีกต่อไป จึงได้ออกมติ ครม. ลงวันที่ ๑๖ ก.ค. ๒๕๔๕ ที่ระบุว่า "…การดำเนินการวิทยุชุมชนของภาคประชาชนที่กระทำอยู่ในปัจจุบันนั้น หากจะห้ามก็อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ…" และให้สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์ชั่วคราววิทยุชุมชนขึ้นเพื่อกำกับการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ค้นและยึดเครื่อง และจับกุมผู้ประสานงานวิทยุชุมชนอ่างทองระหว่างการจัดทำหลักเกณฑ์ชั่วคราวฯ, การเตรียมการยกคลื่นวิทยุชุมชนให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ อบต. ออกอากาศพร้อมกัน ๔๐๐ แห่งทั่วประเทศ ที่สอดคล้องกันกับการเลือกตั้ง อบต. ๔๐๐ เขตทั่วประเทศที่จะมีขึ้นในเดือนมกราคม ๒๕๔๖ และการออกมาปฏิเสธของหน่วยงานภาครัฐว่า ไม่รู้ ไม่เห็น เป็นเพียงโครงการที่วางไว้ซึ่งยังไม่มีความชัดเจน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น


ลำดับเหตุการณ์ / สถานการณ์สื่อในรอบปีที่ผ่านมา

เดือนมกราคม ๒๕๔๕
- สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีวางแผนจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์ทำความเข้าใจกับประชาชน - ศขป. ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากเครือข่ายนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน, สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประ เทศไทย, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ว่าเป็นแนวทางการแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน (๑๐ ม.ค. ๔๕)

เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
- อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์มีหนังสือสั่งระงับการออกอากาศวิทยุชุมชนจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดสิงห์บุรี
(๑๒ ก.พ. ๔๕)
- การห้ามจำหน่ายนิตยสารฟาร์อีสเทิร์น อีโคโนมิก รีวิว และนิตยสารดิอิโคโนมิสต์ ที่ทำรายงานฉบับพิเศษวิพากษ์วิจารณ์ ๑ ปีการทำงานของรัฐบาลทักษิณ ตลอดจนการเพิกถอนวีซ่านักข่าวนิตยสารฟาร์อีสเทิร์น อีโคโนมิก รีวิว ฯลฯ (๒๖ ก.พ. ๔๕)

เดือนมีนาคม ๒๕๔๕
- ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยว่าการสรรหา กสช. เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนการสรรหาคณะกรรมการ กสช. ที่ผ่านมา (๒ มี.ค. ๔๕)
- การถอดรายการวิทยุในเครือเนชั่นซึ่งวิพากษ์วิจารณ์การที่รัฐบาลห้ามจำหน่ายนิตยสารฟาร์อีสเทิร์น อีโคโนมิก รีวิว และนิตยสารดิอิโคโนมิสต์ เข้มข้นออกจากผังรายการของสถานีวิทยุ ๙๐.๕ MHz อย่างกระทันหัน (๖ มี.ค. ๔๕)
- การตั้งข้อหาอั้งยี่-ซ่องโจร และตรวจสอบธุรกรรมบรรณาธิการและผู้บริหารสื่อหลายแห่ง อาทิ นสพ.แนวหน้า, นสพ.ไทยโพสต์, เครือเนชั่น ฯลฯ (๗ มี.ค. ๔๕)
- อสมท. อนุมัติให้ ส.ส. พรรคไทยรักไทย ๙ คน จัดรายการในสถานีวิทยุซึ่งกระจายเสียงในท้องที่ที่ตัวเองเป็น ส.ส. อยู่ โดยอ้างว่าเป็นนโยบายของ อสมท. ที่จะทำให้วิทยุเป็นของชุมชน ด้วยการจัดสรรเวลาวันละ ๔ ชั่วโมงใหันักจัดรายการท้องถิ่นและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (๗ มี.ค. ๔๕)
- ผู้บริหารเครือเนชั่นยื่นหนังสือร้องต่อศาลปกครอง ให้ระงับคำสั่งของ ปปง. ที่ทำหนังสือถึงธนาคารพาณิชย์ ๑๗ แห่งขอตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินของผู้บริหารเครือเนชั่นโดยไม่ชอบธรรม (๘ มี.ค. ๔๕)
- คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เริ่มดำเนินการตรวจสอบการสั่งระงับการออกอากาศวิทยุชุมชนจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดสิงห์บุรี (๑๓ มี.ค. ๔๕)
- สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการสรรหา กสช. ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด กรณีศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยว่าการสรรหา กสช. เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนการสรรหาฯ (๒๙ มี.ค. ๔๕)

เดือนเมษายน ๒๕๔๕
- คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา มีหนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรีนายพิทักษ์ อินทร วิทยนันท์ (ในฐานะประธานกองงาน กกช.) ขอให้พิจารณาดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนดำเนินโครงการนำร่องทดลองออกอากาศวิทยุชุมชนของภาคประชาชน (๒๕ เม.ย. ๔๕)

เดือนมิถุนายน ๒๕๔๕
- คณะอนุกรรมการศึกษาและตรวจสอบปัญหาการแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เริ่มดำเนินการตรวจสอบการสั่งระงับการออกอากาศวิทยุชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดสิงห์บุรี (๓ มิ.ย. ๔๕)

เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๕
- ณะกรรมการบริหารสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา ส่งหนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรี นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ ขอให้ผ่อนผันการดำเนินการของสถานีวิทยุชุมชนให้สามารถดำเนินการได้ในลักษณะทดลองดำเนินการ และในระหว่างรอมติคณะรัฐมนตรีก็ขอให้ผู้ดำเนินการวิทยุชุมชนสามารถดำเนินการไปพลางก่อน (๑๒ ก.ค. ๔๕)
- คณะอนุกรรมการศึกษาและตรวจสอบปัญหาการแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี กรณีการทดลองออกอากาศสถานีวิทยุชุมชน เสนอให้คณะรัฐมนตรีมีมติอนุญาตให้ชุมชนทั่วประเทศที่อยู่ในกระบวนการเรียนรู้ได้ทดลองออกอากาศวิทยุชุมชน (๑๕ ก.ค. ๔๕)
- ครม. มีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าของสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการสรรหาและคัดเลือก กสช. และ กทช. ว่าคงต้องรอผลการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด และโดยที่เรื่องนี้ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง แต่ภาคประชาชนได้มีการขอใช้คลื่นความถี่และมีการเปิดสถานีวิทยุชุมชนมากขึ้น หากมีการห้ามก็อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการให้มีมาตรการและหลักเกณฑ์ชั่วคราวเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน และให้กิจการต่างๆ สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยไม่เกิดความเสียหายต่อประเทศ แล้วนำเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาต่อไป (๑๖ ก.ค. ๔๕)
- คณะอนุกรรมการศึกษาและตรวจสอบปัญหาการแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เสนอให้ผ่อนปรนเรื่องการดำเนินการออกอากาศวิทยุชมชน สำหรับชุมชนที่อยู่ในกระบวนการเรียนรู้ โดยให้กำหนดเป็นนโยบายให้จังหวัดที่มีวิทยุชุมชนอยู่แล้ว สามารถทดลองออกอากาศได้ในช่วงเวลาที่รอกระบวนการสรรหา กสช. (๑๗ ก.ค. ๔๕)
- ผู้ประกอบการวิทยุโทรทัศน์รายใหญ่และศิลปินในสังกัดกว่าพันคน รวมตัวกันที่อาคารกีฬาเวสน์ ๒ สนามกีฬาไทยญี่ปุ่นดินแดง เพื่อผลักดันร่าง พรบ. ประกอบกิจการฯ ฉบับสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (๑๘ ก.ค. ๔๕)
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเริ่มต้นการประชุมยกร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕… รอบ ๒ (๓๐ ก.ค. ๔๕ - ต่อเนื่องจนถึง ก.ย. ๔๕)
- คณะอำนวยการของคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เริ่มจัดประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหากรณีการจัดตั้งและทดลองออกอากาศวิทยุชุมชน (๓๑ ก.ค. ๔๕)

เดือนสิงหาคม ๒๕๔๕
- กลุ่มผู้ดำเนินการเรียนรู้วิทยุชุมชนทั่วประเทศรวมตัวกันเป็น "เครือข่ายวิทยุชุมชน ๘ อนุภูมิภาคทั่วประเทศ" เพื่อติดตามกระบวนการร่างมาตรและหลักเกณฑ์ชั่วคราวเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน ที่มีขึ้นตามมติ ครม. ๑๖ ก.ค. ๒๕๔๕ (๔ ส.ค. ๔๕)
- คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ดำเนินการตรวจสอบกรณีวิทยุเถื่อน (๘ ส.ค. ๔๕)
- สำนักนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, ผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประชาสัมพันธ์, กรมไปรษณีย์โทรเลข, กองทัพบก, กองทัพอากาศ, กองทัพเรือ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงคมนาคม (ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นผู้แทนจากกระทรวงไอทีซี), สภาความมั่นคงแห่งชาติ ฯลฯ ตัวแทนของกลุ่มผู้ประกอบการวิทยุโทรทัศน์, สมาคมนักวิชาชีพสื่อ, ผู้แทนนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง, ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน และผู้แทนจากสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ (๓๐ ส.ค. ๔๕)

เดือนกันยายน ๒๕๔๕
- งานเปิดสถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคตะวันออก ณ ที่ทำการ อบจ. ปราจีนบุรี (๑ ก.ย. ๔๕)
- ศาลแรงงานกลางมีวินิจฉัยยืนตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ กรณี ๒๓ กบฎไอทีวี ให้ไอทีวีรับนักข่าวทั้งหมดกลับเข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม และให้จ่ายค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย นับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันสุดท้ายที่รับกลับเข้าทำงาน (๖ ก.ย. ๔๕)
- งานเปิดตัวสมาพันธ์วิทยุชุมชนคนอีสาน ณ สถาบันราชภัฏสกลนคร (๑๔-๑๕ ก.ย. ๔๕)
- ประชุมคณะทำงานกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน ครั้งที่ ๑/๒๕๔๕ (๑๗ ก.ย. ๔๕)

เดือนตุลาคม ๒๕๔๕
- เครือข่ายวิทยุชุมชน ๘ อนุภูมิภาคทั่วประเทศ จัดเวทีสรุปบทเรียน ๓ ปีกระบวนการเรียนรู้เรื่องวิทยุชุมชนของภาคประชาชน และรวมตัวกันเป็น "สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ" (๑๐ ต.ค. ๔๕)
- สถานีโทรทัศน์ไอทีวียื่นเรื่องต่อสำนักงานอนุญาโตตุลาการให้ชี้ขาดข้อพิพาท กรณีไอทีวีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน ๑,๘๐๐ ล้านบาท จากการที่รัฐบาลปล่อยให้ผู้บริหารโทรทัศน์ระบบเคเบิลทีวีมีโฆษณา (๑๕ ต.ค. ๔๕)
- นายสมพงษ์ สระกวี ส.ว.สงขลา และ นายสมเกียรติ อ่อนวิมล ส.ว.สุพรรณบุรี ตั้งกระทู้ถามรัฐบาล กรณีวิทยุชุมชนรบกวนคลื่นความถี่อื่นอันอาจกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และการมีวิทยุชุมชนอาจละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ (๑๗ ต.ค. ๔๕)
- ประชุมคณะทำงานกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน ครั้งที่ ๒/๒๕๔๕ (๒๑ ต.ค. ๔๕)
- ประชุม คณะทำงานกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน ครั้งที่ ๓/๒๕๔๕ (๒๙ ต.ค. ๔๕)

** การประชุมครั้งนี้ได้มีการพูดคุยและมีมติในที่ประชุมว่า จะผ่อนปรนการดำเนินการตามกฎหมาย กับกลุ่มผู้ดำเนินกระบวนการเรียนรู้วิทยุชุมชนไปก่อน จนกว่าการจัดทำหลักเกณฑ์และมาตรการจะแล้วเสร็จ **
- ผู้แทนกรมไปรษณีย์โทรเลขนำหมายศาลจากศาลอาญากรุงเทพฯ ไปทำการค้นและยึดเครื่องส่งวิทยุชุมชนอ่างทอง (๓๐ ต.ค. ๔๕)
- รัฐมนตรีว่าการและปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เชิญผู้แทนกรมไปรษณีย์ และผู้แทนสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ เข้าให้ข้อมูลกรณีวิทยุชุมชนอ่างทอง (๓๑ ต.ค. ๔๕)
- สภอ.ไชโย ออกหมายจับนายเสถียร จันทร ผู้ประสานงานวิทยุชุมชนอ่างทอง (๓๑ ต.ค. ๔๕)

เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๕
- คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เชิญผู้แทนสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ, สภาทนายความ และผู้แทนจากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เข้าให้ข้อมูลกรณีการยึดเครื่องส่งและออกหมายจับผู้ประสานงานวิทยุชุมชนอ่างทอง (๖ พ.ย. ๔๕)
- ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ไอทีวียื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา กรณีศาลแรงงานกลางมีวินิจฉัยยืนตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีรับนักข่าวทั้งหมดกลับเข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม และให้ไอทีวีจ่ายค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันสุดท้ายที่รับกลับเข้าทำงาน (๗ พ.ย. ๔๕)
- ประชุมคณะทำงานกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน ครั้งที่ ๔/๒๕๔๕ เป็นการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งสุดท้าย ก่อนส่งหลักเกณฑ์และมาตรการชั่วคราวฯ เข้าสู่การพิจารณาของ ครม. (๘ พ.ย. ๔๕)
- คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เชิญผู้แทนกรมไปรษณีย์โทรเลข กรมประชาสัมพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง และผู้แทนจาก สภอ.ไชโย จ.อ่างทอง เข้าให้ข้อมูลกรณีวิทยุชุมชนอ่างทอง (๑๓ พ.ย. ๔๕)

เดือนธันวาคม ๒๕๔๕
- (จากเอกสารของกรมประชาสัมพันธ์ - หน้าข่าวสังคม) นายปราโมทย์ รัฐวินิจ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ได้ประชุมร่วมกับเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายยงยุทธ ติยะไพรัช และนายกรัฐมนตรี พตท.ทักษิณ ชินวัตร ผลการประชุมสรุปว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้มีสถานีวิทยุชุมชนได้ทุกตำบล ทุก อบต. รวมทั้งเทศบาลด้วย โดยจะให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ประชาชนทั่วประเทศ โดยรายละเอียดการดำเนินงาน คือ ให้กรมไปรษณีย์โทรเลขจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีอยู่แล้วให้สามารถจัดตั้งวิทยุชุมชนได้ทั่วประเทศ สถานีวิทยุชุมชนที่จะเกิดต้องมีกำลังส่งไม่เกิน ๒๐ วัตต์ เสาอากาศสูงไม่เกิน ๓๐ เมตร ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ของทุกสถานีต้องผ่านการอบรมการบริหารวิทยุกระจายเสียง การผลิตรายการ การออกเสียงภาษาไทย การสื่อข่าว จากกรมประชาสัมพันธ์ก่อนจะดำเนินรายการออกอากาศได้ โดยจะเริ่มดำเนินการผลิตหรือจัดให้มีหรือออกอากาศได้ประมาณวันที่ ๑ ม.ค. ๒๕๔๖ นี้ ประมาณ ๔๐๐ สถานีทั่วประเทศ ทั้งนี้หลักการของวิทยุชุมชน คือ เป็นสถานีวิทยุเพื่อชุมชน ดำเนินการออกอากาศโดยชุมชนทั้งหมด (๘ ธ.ค. ๔๕)
- ครบรอบ ๑ ปีการทดลองออกอากาศวิทยุชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี (๑๙ ธ.ค. ๔๕)
- สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติและคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) แถลงข่าว ณ ทำเนียบรัฐบาล กรณีรัฐบาลเตะถ่วงไม่นำหลักเกณฑ์ชั่วคราวกรณีวิทยุชุมชนฯ เข้าสู่การพิจารณารับรองของคณะรัฐมนตรีตามที่ให้สัญญาไว้ และการยึดกุมเครื่องส่งและออกหมายจับแกนนำวิทยุชุมชนจังหวัดอ่างทอง แต่กลับเตรียมแผนการบิดเบือนวิทยุชุมชนให้เป็นวิทยุ อบต. อันเป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ และเตรียมปูพรมเพื่อคุมคลื่นภาคประชาชน (๑๙ ธ.ค. ๔๕)
- สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์กรณีการบิดเบือนวิทยุชุมชนให้เป็นวิทยุ อบต. (๒๐ ธ.ค. ๔๕)
- คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และตัวแทนจากสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ ประมาณ ๑๐๐ คน เข้ายื่นหนังสือต่อประธานวุฒิสภา และประธานคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา กรณีการบิดเบือนวิทยุชุมชนให้เป็นวิทยุ อบต. (๒๕ ธ.ค. ๔๕)
- คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และตัวแทนจากสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ ประมาณ ๑๐๐ คน ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เพื่อขอทราบความคืบหน้าเรื่องหลักเกณฑ์ชั่วคราววิทยุชุมชนและแผนการเรื่องวิทยุ อบต. (๒๕ ธ.ค. ๔๕)
- นายเสถียร จันทร ผู้ประสานงานวิทยุชุมชนจังหวัดอ่างทองที่ถูกออกหมายจับอย่างไม่เป็นธรรม เข้ามอบตัวต่อที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และประกันตัวออกมาเพื่อเตรียมสู้คดี โดยมีนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดโคราช เป็นผู้ยื่นประกัน (๒๕ ธ.ค. ๔๕)

 

นันทพร เตชะประเสริฐสกุล
กองเลขานุการ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)

http://www.thaingo.org/story/info_021.htm 

สวัสดีครับคุณคนตานี

        ผมก็คนตานีเหมือนกัน

        และก็เคยรอ กสช. มาเช่นกัน

       โครงการสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา

        ก็ยังอยู่ในแผ่นกระดาษเช่นกัน

        ไม่รู้จะทำพันพรือเช่นกัน....

สวัสดีครับนายช่างใหญ่

รอมา6-7 ปีแล้ว ยังไม่มีแวว เลยมาจะเกิดเมื่อไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท