จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

อะไรคือวิจัยเชิงคุณภาพ


ผมเป็นคนหนึ่งที่สับสนกับคำว่า วิจัยเชิงปริมาณกับวิจัยเชิงคุณภาพ ครั้งแรกของการวิจัยหลังจากการสำเร็จการศึกษาป.โทมา คือทำวิจัยเชิงปริมาณ แล้วก็ได้รับคำแนะนำจากหลายท่านว่า ใช้ประโยชน์ได้น้อยบ้าง ตอนนั้นผมแย้งกลับไปเหมือนกันครับว่า บางทีข้อมูลเชิงปริมาณสามารถนำเสนอภาพรวมได้ดี และนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพได้

ยอมรับว่า ตอนนั้นความชัดเจนของการวิจัยสองประเภทนี้ผมน้อยมาก และจากคำแนะนำของหลายๆ ท่าน ผมเลยตั้งใจว่าจะวิจัยเชิงคุณภาพสักครั้งหนึ่ง และสุดท้ายการทำวิจัยเชิงคุณภาพของผมก็เริ่มเมื่อสี่ปีก่อน เป็นการวิจัยอนาคตศาสตร์ ซึ่งตอนนี้ผมก็ยังทำไม่เสร็จเลยครับ และผมก็เห็นความแตกต่างของการทำวิจัยสองประเภทนี้ดีขึ้น เมื่อสองวันที่ผ่านมานั่นเรียนวิชาการวิจัยเชิงคุณภาพทางศึกษาศาสตร์ ก็เห็นภาพของการวิจัยเชิงคุณภาพชัดขึ้น เมื่อเอามาเปรียบเทียบกับตัวเองที่ได้ทำงานวิจัยมาทั้งสองชนิด

อะไรคือการวิจัยเชิงคุณภาพ

อันนี้เป็นประเด็นแรกที่ต้องทำความเข้าใจครับ คำว่า "คุณภาพ (Qualitative)" ก็คือ คุณภาพนั้นแหละครับ ง่ายๆ คือ "ไม่ใช่เน้นที่ปริมาณ"  แต่เนื่องจาก คำว่า คุณภาพเมื่อนำไปใช้ในบริบทที่แตกต่างกันความหมายมันก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นนักวิชาการทางด้านวิจัยเชิงคุณภาพจึงยังไม่สามารถตกลงกันได้ว่าอะไรคือสาระสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ เนื่องจากการวิจัยเชิงคุณภาพมีความหลากหลายมาก

สำหรับ เนลสันและคณะ (1992:4) ให้คำนิยามไว้ว่า การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยร่วมสาขา (interdisciplinary) เป็นการวิจัยที่ตัดข้ามหมวดวิชา (crossuts) ระหว่างมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศาสตร์กายภาพ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลายสิ่งหลายอย่างในเวลาเดียวกัน มีจุดสนใจที่หลากหลายกระบวนทัศน์ (multimethod value) แม้ว่าบางท่านผูกพันกับควมเข้าใจในเชิงตีความประสบการณ์ของมนุษย์

เดนซิ่นและลินคอร์น (Denzin and Lindcoin,1998) ให้ความหมายไว้ว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นสาขาของการศึกษาค้นคว้าในตัวของมันเอง ตัดไขว้วิชาและแขนงของสาขาวิชาต่างๆ และเนื้อหาสาระ การวิจัยเชิงคุณภาพแวดล้อมไปด้วยหมูมวลศัพท์ แนวคิดและข้อสมมุติต่างๆ สิ่งเหล่านั้นยังรวมถึงประเพณีนิยมที่เกี่ยวข้องกับปฏิฐานนิยม หลังปฏิฐานนิยม และความหลากหลายของทัศนคติ

อะไรคือลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ?

เพื่อให้เรามีความชัดเจนเกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพมากยิ่งขึ้น จึงขอนำเสนอลักษณะสำคัญของมัน เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับงานวิจัยที่ทำอยู่ว่า เข้าข่ายหรือไม่ ดังนี้

  1. เน้นการมองปรากฏการณ์ให้เห็นภาพรวม โดยมองจากหลายแง่มุม  ในการวิจัยเชิงคุณภาพต้องศึกษาจากหลายแง่มุมและหลายทฤษฏี ไม่ยึดเอาทฤษฏีหรือหลักการใดหลักการหนึ่งมาเป็นตัวตัดสิน และจะต้องไม่มองปรากฏการณ์เป็นเสี่ยวๆ หรือด้านเดียวแต่ต้องมองให้เต็มรูป ง่ายๆ คือ ต้องไม่ใช่แบบตาบอดคลำช้าง
  2. เป็นการศึกษาติดตามระยะยาวและเจาะลึก เพื่อให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์สังคมซึ่งมีความเป็นพลวัต
  3. ศึกษาปรากฏการณ์ตามสภาพแวดล้อมธรรมชาติ คือ การวิจัยเชิงคุณภาพต้องศึกษาสิ่งดังกล่าวในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง คือ ไม่ใช่เป็นการทดลอง หรือสมมุติเหตุการณ์ขึ้น แต่จะต้องอยู่ในเหตุการณ์จริง สถานการณ์จริงๆ
  4. คำนึงวามเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัย ต้องคำนึงว่า ผู้ถูกวิจัยคือมนุษย์ ผู้วิจัยต้องเข้าไปในฐานะที่เหมาะสม และกลมกลืนกับผู้ถูกวิจัย และให้ผู้ถูกวิจัยเป็นตัวของเขาเองมากที่สุด
  5. ใช้การพรรณาและการวิเคราะห์แบบอุปนัย คือ ในการทำการศึกษา เพื่อให้เห็นภาพรวม ผู้วิจัยจะต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพทั่วไปโดยนำเสนอในรูปแบบของการพรรณา เช่น ที่ๆ ทำการศึกษานั้นมีลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างใช้ ประชาชนใช้ชีวิตกันอย่างไร  และในการวิเคราะห์ผู้วิจัยจะต้องใช้วิธีการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (induction) เป็นสำคัญ คือ นำข้อมูลเชิงรูปธรรมย่อยๆ หลายๆ กรณี มาสรุปเป็นข้อสรุปเชิงนามธรรม โดยพิจารณาจากลักษณะร่วมที่พบในการวิจัย แน่นอนครับการวิจัยเชิงคุณภาพไม่เน้นตัวเลขครับ
  6. เน้นปัจจัยหรือตัวแปรด้านความรู้สึกนึกคิด จิตใจ ความหมาย เป็นสำคัญ

จากลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ จะทำให้หลายท่านสามารถแยกได้ว่าอะไรคือการวิจัยเชิงคุณภาพและอะไรคือการวิจัยเชิงปริมาณ

หมายเลขบันทึก: 105696เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2007 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

     ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งนะครับ และชี้ชัดลงไปได้เลยคือ คำถามวิจัย ตรงนี้สำคัญมากครับ โดยเฉพาะการวิจัยย่อมจะเริ่มต้นจากคำถามวิจัย ผมเลยมองว่าคำถามวิจัยที่คมชัด สำคัญ การวิจัยจะเป็นประเภทใดเพื่อตอบคำถามวิจัยได้กระจ่าง จึงน่าจะอยู่ตรงนี้ด้วยครับ

     ลปรร.กันนะครับ ขอบคุณที่ยกประเด็นขึ้นมาได้นึก/คิด ครับ 

แหม อ่านแล้วทำให้อดเข้าร่วมไม่ได้ค่ะ เพราะกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน อาจจะสรุปไม่ดีเท่ากับท่านผู้เขียนนะคะ แต่ก็เป็นการเสริมแล้วกันค่ะ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นมีข้อได้เปรียบหลายประการดังนี้

1. ได้ศึกษาถึงตัวแปรต่างๆ ชัดเจนกว่าการทำแบบการทดลอง

2. สามารถอธิบายถึงความจริงที่เกิดขึ้นได้ (real world situation)

3. ใช้ง่ายและสามารถปรับเข้าไปร่วมกับสถานะการณ์อื่นได้ได้

ส่วนข้อด้อยของการวิจัยเชิงปริมาณคือ

1. ไม่สามารถบอกความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุหรือกระบวนการที่ศึกษาไปไม่ถึงได้

2. อาจเกิดความลำเอียงในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง

3. อาจเกิดความลำเอียงของผุ้วิจัยเอง

4.อาจเกิดความลำเอียงเรื่องเวลาเก็บข้อมูล

เป็นต้นค่ะ เดี๋ยวหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จะเขียนอีกนะคะ

ปล.คุณชายขอบไม่ค่อยออนไลน์เลยนะคะ ช่วงนี้

ขออนุญาตใช้พื้นที่ครับ

     เรียนอาจารย์ tsasalak ผมใช้เมล์ของ Gmail เป็นหลักครับ และยังไปสอนที่ มรภ.สงขลา อยู่ครับ อาจารย์สบายดีนะครับ

ขอบคุณ อาจารย์ tsasalak และอาจารย์

P
มากครับที่มาช่วย ลปรร. กัน ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ

ชื่อมันก็บอกอยู่ว่าเป็นคุณภาพ ซึ่งหมายถึงทุกอย่างที่เป็นคุณค่า ซึ่งพูดย๊ากกกกกก แต่ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างดีเยี่ยม ขอบคุณครับ

สวัสดีครับเพื่อนรัก

     สบายดีไหมครับ น่าจะยกตัวอย่างและข้อดีข้อเสียของการวิจัยเชิงปริมาณมาด้วยนะครับ จะได้สมน้ำสมเนื้อ ใช่ไหมครับ จะได้มองชัดๆ ครับ

ลองสังเกตดูลึกๆ ครับ ว่าการวิจัยเชิงคุณภาพแล้วเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพล้วนๆ  100% หรือไม่ครับ แล้วในวิจัยเชิงปริมาณก็เช่นกันครับ ลองศึกษาดูครับ ว่ามันเป็นเชิงปริมาณ 100% หรือเปล่าในแต่ละงานวิจัยแต่ละเรื่องแต่ละชิ้น

Interdisciplinary เองก็ไม่ได้แบ่งแยกว่าจะเน้นในปริมาณหรือคุณภาพครับ เพราะท้ายที่สุดแล้วลึกๆ มันก็คือเรื่องเดียวกัน ไม่ว่าจะปริมาณหรือคุณภาพครับ

และผมก็เชื่อว่าสองตัวนี้เกื้อกูลกัน เป็นงานวิจัยแบบบูรณาการครับ

สังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มันก็คือเรื่องเดียวกัน.... ผมอาจจะมองให้ดูสับสนนะครับ เพราะรากที่เราศึกษากันอยู่ทุกวันนี้ ก็คือศาสตร์วิชาปรัชญาหรือเปล่าครับ ซึ่งมีเพียงวิชาเดียว

คุณคิดว่าแท้ที่สุดแล้ว คณิตศาสตร์กับวิชาปรัชญามันคือวิชาเดียวกันหรือเปล่าครับ ลองฝากเอาไปคิดดูเล่นๆ ครับ ดังนั้น การแบ่งแยกคุณภาพเชิงปริมาณไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญอันใด เป็นไปได้ว่าเราเน้นเชิงคุณภาพ หรือเน้นปริมาณในแต่ละงานวิจัย แต่ยังไงมันก็คือเกื้อกูลกันครับ

เพราะท้ายที่สุดแล้ว เรื่องต่างๆ ก็คือการเก็บรวบรวมข้อมูล..... ดังนั้น เราจะเห็นว่าคำว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นมันคืออะไร ใช่ไหมครับ.... แล้วเราทำอะไรกับข้อมูลเหล่านั้น....

ปล. ท้ายที่สุดอยากให้ท่าน อ. tsasalak ช่วยบอกเรื่องข้อดีข้อเสีย ทั้งการวิจัยทั้งคุณภาพหรือปริมาณด้วยครับ จักเป็นพระคุณยิ่งครับ เพราะดูเหมือน การวิจัยเชิงปริมาณจะเป็นมวยรองนะครับ

ฝากให้คิดครับ....

การวิจัยเชิงคุณภาพ  เราต้องการคุณภาพแบบมีปริมาณ ด้วยไหมครับ

และ

การวิจัยเชิงปริมาณ เราต้องการปริมาณที่มีคุณภาพด้วยไหมครับ

กราบขอบพระคุณมากๆ นะครับ

 

ขอบคุณเพื่อน

P

มากครับที่มาเติมเต็มความรู้กัน

โดยปกติผมเองก็ไม่ค่อยใส่ใจกับการแบ่งประเภทสักเท่าไรครับ แต่มักสนใจเนื้อหาที่กำลังทำมากกว่า

การวิจัยที่มีการแบ่งเป็นวิจัยเชิงคุณภาพกับวิจัยปริมาณ ผมมองว่า เป็นเพียงให้คนทำวิจัยได้เห็นถึงกระบวนการในการทำวิจัยของตนว่า มีข้อด้อยข้อเด่นตรงไหน เพื่อการป้องกันข้อบกพร่องของคำตอบที่จะได้มามากกว่า ดังนั้นการแบ่งประเภทอาจจะช่วยให้การนำคำตอบหรือองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปใช้มีความรอบคอบขึ้นด้วยเช่นกัน

 

ปาริฉัตร สัญญาวิรัตน์ รหัส 472284-042 sec04
จากกรณีศึกษา  งานวิจัยนี้มีความสำคัญเหมือนกันแต่ขึ้นอยู่กับเราจะนำไปปรับใช้กับสถานการณ์อะไรเป็นสำคัญ  แต่คนเราสามารถมองได้หลายแง่มุมมีปัจจัยหรือตัวแปรในด้านต่าง ๆ คือทัศนะคติ  จิตใจ  เป็นสำคัญ
แพรชมภู รวงผึ้ง 480442 กลุ่งseven A sec 04

-ตามความคิดเห็นจากการอ่านบทความข้างต้นก็พอสรุปได้ว่า  การวิจัยเชิงปริมาณเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งอาจจะเป็นตัวเลข  ที่สามารถใช้ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพได้  เพราะการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นต้องอาศัยขอเท็จจริงต่างๆที่เกิดขึ้นจริงจากการเก็บรวบรวมข้อมูลอ้างอิงข้อเท็จจริงและไม่สามารถสมมุติขึ้นมาเองได้

-ฉะนั้นการวิจัยเชิงปริมาณจึงเป็นส่วนนึงของการวิจัยเชิงคุณภาพ

 

วิจัย จะเชิงอะไรก็มีประโยชน์ ถ้าวิจัย "เป็น"

วิจัย(ตามแนวคิดทางวิชาการ)เป็นการพินิจพิจารณา จัดหมวดหมู่ ทุกแง่ทุกมุม ข้อมูล(ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา ปัญหาที่ต้องการคำตอบ หรือความคิดที่เหมาะสม) ที่เก็บรวบรวมมาอย่างรอบด้าน (จากแหล่งที่ครอบคลุม หรือตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรได้ จนเชื่อได้ว่า ข้อมูลที่ได้มา) ครบถ้วน แล้วจึงตัดสินใจ ลงสรุป ตามข้อมูลที่ปรากฎมากหรือบ่อยที่สุด ตามลำดับ พร้อมกับมีเหตุผล หรือคำตอบรองรับการตัดสินใจสรุปนั้นไว้ด้วย

(ตามแนวปฏิบัติ) เป็นการหาแนวทางแก้ปัญหา/หาความรู้/ทดสอบความคิด ที่ตั้งไว้ว่า วิธีการนั้นจะได้ผลหรือไม่เพียงใด ทดสอบอยู่หลายๆ ครั้ง(บันทึก 1. ปัญหา/สิ่งที่อยากรู้/ความคิดที่อยากทดสอบ  2. สาเหตุปัญหา/สิ่งที่อยากรู้/ความคิดที่อยากทดสอบ 3. ตั้งจุดหมาย หรือเป้าหมาย 4. วิธีการแก้ปัญหา/สิ่งที่อยากรู้/ความคิดที่อยากทดสอบ 5. ผลที่เกิดขึ้น/ได้รับ 6. เปรียบเทียบผลกับจุดหมาย/เป้าหมาย ว่าบรรลุผลเพียงใด พอใจหรือยัง) จนมั่นใจว่า วิธีการที่ทดลองกระทำนั้นได้ผลตามที่ต้องการทุกครั้ง  ก็ลงสรุปได้ว่าวิธีการที่ทดลองกระทำนั้นได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่? ถ้าได้ผลเหมือนกันทุกครั้งก็สรุปว่า วิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหา/รู้สิ่งที่อยากรู้/ความคิดที่อยากทดสอบนั้นถูกต้องได้ทันที

แต่ถ้าไม่บรรลุผล ก็สามารถ 1. ปรับแก้กระบวนการ แล้วทดลองแล้วทดลองอีก ตามกระบวนการเดิม จนมั่นใจว่า ไม่บรรลุผลจริง ก็ตัดทิ้งไป แต่ถ้าได้ผล ก็ตรวจสอบจนมั่นใจว่าได้ผลจริงก็สรุป การกระทำเช่นนี้เรียกว่า "วิจัย" ซึ่งจะให้ความรู้/ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการมากมาย ***ข้อสำคัญ - ทำอะไร ได้อะไร คิดอย่างไร อย่าลืมบันทึกไว้ให้ครบถ้วน อย่าหายใจทิ้ง***

คราวนี้ ถ้าจะลงสรุปแล้วเราได้ข้อมูลเป็นตัวเลข เพื่อนำมาจัดกระทำด้วยวิธีการทางสถิติที่ยุ่งยาก หรือซับซ้อน ก็เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  แต่ถ้า ข้อมูลที่ได้มาเป็นเริ่องเป็นราว เป็นข้อความ เป็นความคิด จากแหล่งทั้งที่มีขีวิตหรือไม่มีชีวิต ทั้งบุคคล เอกสารหลักฐาน ทั้งการสังเกต สัมภาษณ์ ตรวจสอบผลหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เฝ้าเก็บข้อมูลหลายครั้ง จนมองเห็นร่องรอยของการสิ่งที่กำลังศึกษา อาจใช้สถิติที่ง่ายๆ เช่น การแจงนับ หรือร้อยละ เป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจเท่านั้น เช่นนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

ส่วนวิธีการเก็บข้อมูล ก็คงไม่ต้องพูดถึง แต่ขอตั้งข้อสังเกต ว่ามักจะใช้เพียงแบบสำรวจ และแบบทดสอบ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จำกัดความคิดมาก จะทำมากก็ตอบไม่ไหว ถ้าทำน้อยประเด็นก็เกรงจะไม่ครอบคลุม  ทำให้ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่รอบคอบ หรือไม่ครอบคลุม ทางที่ดี ควรใช้ทุกวิธีที่จะให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่ลำเอียง *****ที่สำคัญ อย่าตั้งคำตอบไว้ล่วงหน้า เป็นอันขาด ถ้าจะตั่งสมมุติฐาน ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลที่น่าจะเป็นไปได้สูง*****

ข้อสังเกต คนวิจัยมักเอา "รายงานวิจัย" มาปะปนกับ "การวิจัย" ทำให้สับสน และยุ่งยาก เพราะมันเป็นคนละเรื่องกัน แต่ต่อเนื่องกัน วิจัยเป็นวิธีการ ส่วนรายงานวิจัยเป็นการสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจงานวิจัยของเรา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เราสร้างผลงานวิจัยได้ยาก ทางที่ดี ควรนึกถึงกระบวนการวิจัยก่อน แล้วดำเนินการ และเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จนได้ข้อสรุปแล้วจึงค่อยนึกถึง การรายงานการวิจัย จะช่วยให้ทำวิจัยได้ดี

สรุปง่ายๆ  จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ แต่ให้เป็นกระบวนการหรือเป็นระบบ ครบวงจร คือ 1. มีจุดหมาย/เป้าหมายที่ชัดเจน(มาจากปัญหา และสาเหตุของปัญหา) 2. หา/คิดวิธีการที่จะบรรลุจุดหมาย/เป้าหมาย 3. ปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนด บันทึกข้อมูล ทั้งการปฏิบัติ สิ่งที่ใช้ในการปฏิบัติ พร้อมทั้งผล 4. เปรียบเทียบผลกับจุดหมาย/เป้าหมาย 5. สรุปได้ว่าอย่างไร 6.ตรวจสอบผลอีกสักสองสามครั้งให้มั่นใจ การวิจัยก็สิ้นสุดลง

7. จะรายงานผลหรือไม่ ถ้าจะรายงานก็เขียนรายงาน ถ้าไม่รายงานผลก็เก็บเรื่องไว้เขียนทีหลังก็ยังได้ ง่ายกว่าเยอะนะ

หวังว่า คงช่วยให้ท่านเข้าใจได้บ้างนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท