แกงบอนหย่อนเคย แกงหยวกบวกเคย


แกงถ้วยนี้คงจะต้องใส่กะปิเพิ่มอีกสักนิด

      ผมมชอบแกงหยวกหรือจะว่าไปหยวกอ่อน ๆ จะนำมาทำอะไรก็ชอบ เช่นลวกจิ้มน้ำพริก แกงกะทิ ต้มกะทิ หนางบนไฟ โดยเฉพาะหากได้หยวกกล้วยเถื่อนจะยิ่งอร่อย วันนี้มื้อเย็นก็ได้แกงส้มหยวกกับกบภูเขาเนื้อนุ่ม ๆ พอได้คำแรก ก็รู้สึกว่าเหมือนน้าแกงไม่ถึงอะไรสักอย่าง มันตรอย ๆ (กร่อย ๆ) แล้วก็ถึงบางอ้อนึกอะไรขึ้นมาได้ว่าหาก "แกงบอนให้หย่อน(ลด)เคย(กะปิ) แกงหยวกให้บวก(เพิ่ม)เคย(กะปิ)" คำสอนคนโบราณท่านว่าไว้

     แกงถ้วยนี้คงจะต้องใส่กะปิเพิ่มอีกสักนิด ให้มากกว่าที่เราเคยแกง หากเป็นการแกงโดยใช้ผักอื่น ๆ ที่ไม่ใช่หยวก ก็จะไม่ตรอย และรสชาติเข้มข้นอย่างแกงปกติของชาวปักษ์ใต้บ้านเราครับ

หมายเลขบันทึก: 105546เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • หายเงียบไปนานเลยนะครับ คุณชายขอบ
  • สบายดีนะครับ

สวัสดีครับ...คุณบอย

     สบายดีครับ ขอบคุณครับที่แวะมาทักทาย ยังติดตามอ่านอยู่เสมอ ๆ ครับ ทันทีที่ว่างพอได้พักผ่อน เรียกว่าอ่านเพื่อผ่อนคลาย แต่ไม่ได้เขียนอะไรเลยครับ  

  • อ่านแล้วได้ความรู้ทางภาษามากจริงๆครับ
  • ผมเป็นคนชอบศึกษาเรื่องภาษา ชอบใจจริงๆครับ
  • และขอบคุณที่อธิบายไว้ ถ้าไม่อธิบายผมคงงงแย่เลย

อาจารย์พิสูจน์ ครับ

     การเสพเรื่องราวประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่ในปัจจุบัน ผ่านภาษาถิ่น ผมมองว่าเป็นการได้อรรถรสที่ครบถ้วน เพราะเมื่อเราแปลผ่านภาษาอื่นไปแล้ว ใช่อาจจะช่วยให้เข้าใจ แต่ไม่ทั้งหมด เช่น ตรอย กับ กร่อย ดูเหมือนจะแปลไปมากันได้ แต่หากเอาแบบลึก ๆ ในภาษาถิ่นแล้ว ยังไม่ตรงกันเสียทีเดียวครับ เพราะกร่อยในภาษาถิ่นที่นี่ก็มีใช้อีกคำนึง จึงคิดว่าแค่คำใกล้เคียงกันครับ (ผมคิดเดาเอา ไม่ได้มีอ้างอิงนะครับ)

น้องจอมยุทธน้อย

     ตอนนี้พี่ก็หิวเหมือนกัน แต่ยังไม่มีอะไรกิน

ขนาดเรื่องกับข้าวพี่ยังเอามาเขียนได้ นับถือค่ะ

แล้วถ้ามีโอกาสจะทำให้ทานนะคะ

คุณแสงตะวัน และน้องไก่ ครับ

     ทำแล้วก็มาเขียนไว้ พวกนี้เป็นเคล็ดลับเล็ก ๆ ของความอร่อยนะครับ // แล้วน้องไก่จะว่างตอนไหน จะได้กินฝีมือซะที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท