เวทีการวิเคราะห์ศักยภาพและความเสี่ยงด้านการผลิตและการจัดการสินค้าเกษตร


สำคัญที่สุดคือต้องสรุปให้ชาวบ้านรู้ว่ามาทำเวทีแล้วได้อะไรกลับไป พวกเขาต้องกลับบ้านแบบไม่งง

     กิจกรรม พัฒนาศักยภาพการผลิตและจัดการสินค้าเกษตร ภายใต้โครงการ Food Safety ปี 2550     กรมส่งเสริมการเกษตร มีเป้าหมายการดำเนินงาน จำนวน 61 กลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ.... สสข.1 จังหวัดชัยนาท มีเป้าหมายดำเนินการ 5 จังหวัด 9 กลุ่ม คือ นนทบุรี 3 กลุ่ม อ่างทอง 2 กลุ่ม สระบุรี 2 กลุ่ม อยุธยา 1 กลุ่ม กรุงเทพมหานคร1 กลุ่ม  สสข.1 ได้จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 17 พค. 2550 และวางแผนปฏิบัติงานร่วมกัน ดังนี้

 กิจกรรม

 ระยะเวลา

 ผู้ปฏิบัติ

 1.เตรียมข้อมูลทุติยภูมิ  21-15 มิย.50  ตำบล/อำเภอ/จังหวัด
 2.จัดเวทีครั้งที่1  18-29 มิย.50  ตำบล/อำเภอ/จังหวัด/เขต/กรม
 3.ประชุมติดตามผลและเตรียมการจัดเวทีครั้งที่2  4 กค.50  สสข.1 ขัยนาท
 4.จัดเวทีครั้งที่2  9-20 กค.50  ตำบล/อำเภอ/จังหวัด/เขต/กรม
 5.ประชุมสรุปผล  24 สค.50  สสข.1 ชัยนาท

กระผม นายยอดธงไชย ได้รับมอบหมายให้ประสานงาน/ร่วมกิจกรรม กลุ่มของจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ปลูกกล้วยไม้ 2กลุ่ม และกลุ่มผักปลอดภัยจากสารพิษ 1 กลุ่ม กระผม ปฏิบัติงานร่วมกับ ทีมวิเคราะห์ของกรม( สสจ.) นำทีมโดย ผอ. ทวีศักดิ์ ด้วงทอง (ผอ.กลุ่มพืชสมุนไพร) ทีมจังหวัด 2 คน คือ คุณศักดิ์สิทธิ์ ศรีวิชัย +คุณสมเกียรติ รัดมาน และทีมอำเภอ คือ คุณสมใจ แก้วสร คุณนุรักษ์ ศรีสรัคู คุณสมเกียรติ  ขรรค์ชัย เราเริ่มการทำงานโดยนัดหมายพบกันที่ สนง.เกษตรอำเภอ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจ ตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลทุติยภูมิที่เตรียมไว้ แล้วก็การแบ่งหน้าที่ในการจัดทำเวที ซึ่งประกอบด้วย ตัวละคร สำคัญๆ ได้แก่ วิทยากรกระบวนการ(คุณอำนวย) ผู้จดบันทึก และคุณเสริม(เติมเต็ม) ผอ.ทวีศักดิ์ ท่านแสดงบทบาทในการแบ่งหน้าที่รวมทั้งร่วมกันกำหนดเครื่องมือ ก็ได้ข้อสรุปว่า ให้คุณศักดิ์สิทธิ์ เป็นคุณอำนวย นวส.อำเภอที่รับผิดชอบตำบลนั้นๆ เป็นคุณลิขิต นอกนั้นก็เป็นคุณเสริม การจัดขั้นตอนเวที ก็เริ่มต้นด้วยการเชิญประธานกลุ่มกล่าวต้อนรับ นวส.อำเภอแนะนำทีมวิเคราะห์ แล้วก็เป็นหน้าที่ของคุณอำนวย ชี้แจงวัตถุประสงค์ ไล่เรียงประเด็นของการวิเคราะห์ เทคนิค ที่ใช้ก็คล้ายๆกับการจัดเวทีชุมชน การทำแผนชุมชน เพียงแต่ว่าเวทีนี้เราได้ทำการบ้านหาข้อมูลทุติยภูมิกันมาแล้ว ดังนั้นสมาชิกกลุ่มที่มาทำเวทีก็เสมือนการตรวจสอบข้อมูล ช่วยกันเติมเต็ม ลปรร และมีส่วนร่วมในการจัดทำเวที ตามเทคนิค ที่เราเตรียมกันไว้..เวทีนี้ กระผม ยกให้คุณ อำนวย (คุณศักดิ์สิทธิ์) เป็นพระเอก แล้วก็ให้ทีมงานทุกคนแบ็คอัพ. เวทีนี้ผมได้ความรู้มาด้วยครับ คือ การจัดเวทีแต่ละครั้ง ชาวบ้านอยากให้เราจัดหาวิทยากรไปถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพของพวกเขา หรือมีเอกสาร/ข้อมูล/อื่นๆ และที่สำคัญที่สุดคือต้องสรุปให้ชาวบ้านรู้ว่ามาทำเวทีแล้วได้อะไรกลับไป พวกเขาต้องกลับบ้านแบบไม่งง (ดร.บำเพ็ญ เขียวหวาน : ห้องประชุมชั้น5กรมฯ12 มิย.50)และพวกเราเองก็ต้องไม่งง ด้วยนะ (อิอิ) การจัดเวทีถ้าไม่รักกันจริงไม่ได้สาระหรือประโยชน์แท้จริงผมว่าชาวบ้านคงเบื่อ และควรท่องคาถาว่าเราต้องกลับไปบอกเหตุผล เหตุปัจจัยแห่งความไม่ได้รับการสนับสนุนหรือเหตุผลที่ไม่บรรลุมรรคผล เป็นการรักษามิตรแท้ของเราไว้ และไม่มีใครเสียความรู้สึก

หมายเลขบันทึก: 105259เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2007 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เป็นเทคนิคที่ดีนะครับที่ยกให้เพื่อนเป็นพระเอก
  • "ชาวบ้านจะได้อะไร" จาการทำเวที อันนี้เป็นข้อคิดที่ดีมากนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับกระบวนการครับ ชาวส่งเสริมเราจัดทำ KM ก็เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าเจ้าหน้าที่เอง หรือเกษตรกรสามารถนำไปใช้หรือทดลองได้ทันที่ แบบไม่งงตามที่ท่านว่า  ขอให้กำลังใจทุกท่านครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท