จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ความเชื่อพื้นฐานของการวิจัย


กระบวนการของการวิจัยคือ กระบวนการหาคำตอบหรือการหาความรู้ใหม่ ซึ่งจะต้องมีความน่าเชื่อถือ โดยอาศัยการระเบียบวิธีที่มีความน่าเชื่อถือ 

สำหรับความเชื่อพื้นฐานในการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มแนวคิดปฏิฐานนิยม (Positivism) และกลุ่มแนวคิดปรากฏการณ์นิยม (Phonomenology) สองอย่างนี้มีความแตกต่างกันคือ ในกลุ่มแรก เป็นแนวคิดที่มีพื้นฐานแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเชื่อข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ เฉพาะสิ่งที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส ถือว่านี้คือสิ่งทีเป็นจริงและเป็นความรู้ที่ยอมรับได้

ส่วนแนวคิดของกลุ่มปรากฏการณ์นิยมจะเป็นไปในทางมนุษยศาสตร์ คือ เชื่อว่า ความรู้ทีมนุษย์ได้รับการถ่ายทอดมาจากผู้อื่นและจากสังคมนั้นอาจผิดพลาดได้ การรับรู้อาจเกิดจากการถูกบังคับหรือยัดเยียด มนุษย์ควรศึกษาโลกและสังคมด้วยตัวของตัวเอง และสร้างระบบความรู้ "ที่เป็นส่วนตัว" ขึ้นมา จากนั้นมนุษย์จะมีระบบคิด วิจารณญาณ โลกทัศน์ ค่านิยม อุดมการณ์เฉพาะของตน โดยการได้สัมผัสกับโลกโดยตรง พฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลจากวิธีการที่มนุษย์ให้ความหมายแก่โลกของเรา ด้วยความเชื่อเช่นนี้ นักปรากฏการณ์นิยมจะให้ความสำคัญสำหรับข้อมูลที่เป็ฯความรู้สึกนึกคิด และคุณค่าของมนุษย์และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความหมายที่มนุษย์ให้ต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว นอกจากนั้นนักปรากฏการณ์นิยมจะใช้วิธีการสลัดความเชื่อหรือระบบคิดเดิมของผู้วิจัยออกให้หมดสิ้น เพื่อรับรู้ความเชื่อ ระบบคิดและความหมายที่เป็นของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ให้ข้อมูลและใช้ความรู้สึกนึกคิดนั้นอธิบายพฤติกรรมของเขา

 

คำสำคัญ (Tags): #การวิจัย
หมายเลขบันทึก: 104904เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2007 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
สังเกตมาสักพักว่ามี 2 แบบนี้อยู่ แต่พึ่งรู้ชื่อเดี๋ยวนี้นี่เอง :-)

ผมคิดว่ากระบวนการวิจัยอาจมีกว่าสอง และบางสิ่งบางอย่างไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนเชิงวัตถุ เพราะการวิจัยคือการค้นหาความจริง ด้วยเหตุนี้ความจริงหลายอย่างไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนที่ยึดวัตถุเป็นหลัก วัลลอฮูอะลัม

ในกลุ่มปรากฏการณ์นิยม เป็นกลุ่มที่หาคำตอบจากข้อมูลที่ไม่สามารถตอบได้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสครับ ดังนั้น ความเชื่อ ความศรัทธา หรือการปฏิบัติอันเนื่องจากเหตุผลทั้งสองอย่างข้างต้นสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ได้จากการหาคำตอบของกลุ่มนี้ ซึ่งต่างจากในกลุ่มปฏิฐานนิยม ซึ่งมองข้ามข้อมูลในลักษณะดังกล่าว

ผมคิดว่าข้อคิดเห็นนี้น่าจะตอบข้อคิดเห็นของ

P
ได้นะครับ และขอขอบคุณ
P
และ
P
 ที่แวะมาเยี่ยมครับ

แล้ Post-Positivism คืออะไร???

สลามถึง อาจารย์จารุวัจน์

ขอเป็นเพื่อนคุยสักคนในฐานะ นักศึกษา ป.เอก เหมือนกัน กระผมเรียนที่ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ศูนย์การเรียนภาคใต้ โรงเรียนกัณยานีศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช ศึกษาศาสตรดุษฎีนิพนธ์ สาขาบริหารการศึกษา

เพิ่งผ่าน Roun Table เมื่อต้นเดือนเม.ย. และ ส.ค. เตรียมตัวสอบ Q.E และคงมีอีกหลายขั้นตอนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย

อินชาอัลลอฮ์

กรอบแนวคิดในหลักความเชื่อ โดยเฉพาะบทบัญญัติศาสนา ในทางปรากฏการณ์นิยม (Phonomenology)

เพราะความเชื่อก็ที่มา อิสลามเราคงเข้าใจโดยทั่วกันว่า มีอัลกุรอานเป็นบรรทัดฐานทางความเชื่อ และการยืนยันที่เป็น

ต้นแบบของท่านศาสดามูหัมมัด (ศ็อลฯ) หรือแม้กระทั่ง แนววิถีพุทธ (พวก ศาสตราจารย์ ดร. หลาย ๆ ท่าน ได้ทำวิจัยไว้

เพียงแต่ งานวิจัยบนรากฐานของอิสลามที่จะตอบปรากฏการณ์ ตามแนวคิดกลุ่มแนวคิดปฏิฐานนิยม (Positivism) มีน้อย

โดยเฉพาะในกลุ่มนักวิชาการอิสลามเรา หรือผมไม่ได้ศึกษางานวิจัยทางด้านอิสลามก็ไม่รู้ .... ก็ขอเป็นเพียงทัศนคติ

ของผมเอง ผิดพลาดต้องขอมาอัฟ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท