Tracer Fresh


ย้อนรอยกายจิตสังคมบำบัด

Tracer Fresh( Matrix Program)                                                                                                       วันเพ็ญ ใจปทุมและคณะ 

1. บริบท                                ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา สารเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เสพโดยตรงแล้วยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างมาก การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในปัจจุบันมีหน่วยงานร่วมดำเนินการอยู่ โดยในส่วนของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบด้านการบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติด ซึ่งรูปแบบในการบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ                แนวคิดการบำบัดรักษาในรูปแบบการปรับพฤติกรรมทางปัญญา (Neuro Behavioral Model หรือ Matrix Program) เป็นรูปแบบการบำบัดรักษาที่ผ่านการศึกษาวิจัยโดย Matrix institute ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดหลายประเภท รวมถึงผู้ติดสารแอมเฟตามีนด้วย                เนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาการแพร่ระบาดของยาบ้า กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีภารกิจโดยตรงในการบำบัดรักษายาเสพติดได้ส่งคณะศึกษาดูงานจากประเทศไทยไปฝึกอบรมระยะสั้นที่ MATRIX         INSTITUTE ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 และเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม 2544 โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก NAS ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เริ่มต้นบำบัดรักษาผู้ติดยาบ้าแบบผู้ป่วยนอก เมื่อเดือนตุลาคม 2543 โดยสถาบันธัญญารักษ์ ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดเชียงใหม่ ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดขอนแก่น โรงพยาบาลราชบุรี ศูนย์อนามัยกรุงเทพมหานคร เมื่อนำแมทริกซ์โปรแกรมมาปฏิบัติ องค์ความรู้ทั้งหมดได้นำมาปรับปรุงให้กระชับและแปลเป็นภาษาไทย และมีการเพิ่มทักษะให้แก่ผู้บำบัดในเดือน กุมภาพันธ์ 2544 รัฐบาลได้ประกาศนโยบายสำคัญของรัฐบาลเรียกว่า สงครามต่อต้านยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายให้แมทริกซ์โปรแกรมเป็นรูปแบบมาตรฐานการบำบัดรักษาผู้ใช้สารเสพติดแบบผู้ป่วยนอก และโรงพยาบาลทั้งหมดของรัฐต้องสามารถให้บริการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้ได้ภายใน 2 ปี ซึ่งสถานพยาบาลต้นแบบได้ช่วยจัดการฝึกอบรมแมทริกซ์โปแรกรม จากการติดตามพบว่าจำนวนบุคลากรผู้ผ่านการอบรมจากโรงพยาบาลศูนย์  โรงพยาบาลทั่วไป       282  คนโรงพยาบาลชุมชน2,166  คน   สถานีอนามัย (Primary health care unit) 13,359  คน จำนวนสถานบำบัดที่เปิดดำเนินการได้    โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป  94  แห่งโรงพยาบาลชุมชน 722  แห่ง สถานีอนามัย (Primary health care unit)    4,453  แห่ง จำนวนผู้ป่วยที่ผ่านการรักษาแบบแมทริกซ์โปรแกรมทั่วประเทศ (1 ตุลาคม 2545 - 12 มิถุนายน 2547 ) จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษาทั้งหมด  23,698  คนจำหน่ายครบกำหนด 14,522  คน (61.28 %) จำหน่ายครบกำหนดและติดตามอย่างน้อย 4 ครั้งใน 1 ปี9,904  คน(68.20 %)จำหน่ายครบกำหนดและติดตามอย่างน้อย 4 ครั้งใน 1 ปี  6,850  คน (69.17 %)และไม่กลับไปติดซ้ำ                หลังจากดำเนินการไปได้ระยะหนึ่งทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้มีการติดตามประเมินผลรูปแบบการบำบัดรักษา พบว่ายังมีปัญหาอุปสรรคและข้อที่ควรปรับปรุง เช่น คู่มือที่ใช้ในการบำบัดรักษายังต้องปรับปรุงเนื้อหาให้อ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้น สื่อประกอบการทำกลุ่มครอบครัวศึกษาบางส่วน เช่น วีดีโอ หรือ ภาพพลิกประกอบการให้บริการปรึกษา ฯลฯ ขาดศูนย์กลางในการพัฒนาและติดตามประเมินผลการดำเนินงานการบำบัดรักษาผู้ติดสารแอมเฟตามีนรูปแบบกายจิตสังคมบำบัด                สถาบันธัญญารักษ์ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันตัวแทนนำร่องของกรมการแพทย์ที่ได้นำรูปแบบ Matrix Program       ผู้ติดยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยนอก ในสถาบันธัญญารักษ์ ปี2545 จำนวน 63 คน จบโปรแกรม 15 คน ไม่จบโปรแกรม 48 คน คิดเป็น ร้อยละ 73.85   ปี 2546  จำนวน 134 คน  ไม่จบโปรแกรม 60 คน(ร้อยละ 44.78)    ปี 2547 จำนวน 121 คน  ไม่จบโปรแกรม 75 คน (ร้อยละ 61.98)  ปี2548 จำนวน 95 คน ไม่จบโปรแกรม 64 คน (ร้อยละ 63.36)   ปี2549 จำนวน 995 คน ไม่จบโปรแกรม 464 คน (46.63)                การบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด แบบผู้ป่วยนอกในปัจจุบันใช้รูปแบบ กายจิตสังคมบำบัด (FRESH Model) โดยมีองค์ประกอบหลักคือ F = Family เป็นการนำครอบครัวเข้ามีส่วนร่วม  R = Relapse Prevention เป็นการสอนทักษะป้องกันการกลับไปเสพติดซ้ำ  E = Early Recovery ทักษะการเลิกยาระยะตัน และ S = Self-help Group การช่วยเหลือกันเอง ระยะเวลาในการบำบัดรักษา       4 เดือน กรณีเป็นผู้เสพใช้แมทริกซ์โปรแกรมประยุกต์ และการให้การปรึกษารายบุคคลตามสภาพปัญหา ดำเนินงานโดยทีมสหวิชชีพในการดูแลผู้ป่วย ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ เภสัชกร และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์  2.ประเด็นสำคัญ / ความเสี่ยงสำคัญ (Critical  issues / risks)                 ในกระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยนอก  พบประเด็น / ความเสี่ยงของการบำบัดฟื้นฟูดังนี้2.1    ภาวะแทรกซ้อนจากอาการทางกาย และทางจิตเวช เมื่อผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางด้านร่างกาย และทางจิตใจ ขณะที่ผู้ป่วยอยู่ที่บ้านไม่มีคนดูแลอย่างใกล้ชิด  เนื่องจากสมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องออกไปทำงาน  อาจทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์2.2    การมารักษาไม่ต่อเนื่อง ในกรณีผู้ป่วยคุมประพฤติส่วนใหญ่มารักษาโดยไม่ได้สมัครใจมาเอง แต่ถูกส่งตัวมารักษาแบบควบคุมตัวไม่เข้มงวด จากสำนักงานคุมประพฤติในจังหวัดต่าง ๆ  จึงทำให้ไม่มีความพร้อมในการรักษา ผู้ป่วยบางรายต้องมีภาระรับผิดชอบดูแลบุตร พ่อ แม่  หรือมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ  มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับครอบครัวที่ต้องดูแล  เนื่องจากต้องรับการบำบัด     ฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นระยะเวลา  4  เดือน  บางรายหยุดดื่ม หรือเลิกใช้สารเสพติดได้ในระยะแรกทำให้มีความมั่นใจคิดว่าตนเองเลิกได้จึงไม่มาตามนัด  และในบางรายไม่ตระหนัก / ไม่เข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับต่อการบำบัดรักษา ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยมารักษาไม่ต่อเนื่อง  และขาดการรักษาในที่สุด 2.3    ปัญหาการติดซ้ำ จากการที่ผู้ป่วยไม่สามรถนำความรู้ ทักษะไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้ป่วยบางรายไม่มีความพร้อม และไม่ให้ความร่วมมือในการบำบัดรักษา รวมทั้งสมาชิกในครอบครัว  และญาติ  ไม่ตระหนักถึงบทบาทของครอบครัวต่อการช่วยเหลือผู้ป่วย      เพื่อป้องกันในการกลับไปติดยาซ้ำ  ในรายที่มีคู่สมรสใช้ยาเสพติด จะมีโอกาสกลับไปติดยาซ้ำสูง                2.4 ผู้ป่วยที่รักษาแบบผู้ป่วยนอกต้องเผชิญกับตัวกระตุ้นที่จะทำให้กลับไปเสพติดซ้ำ                2.5  การสับเปลี่ยนปัสสาวะ ผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถหยุดยาต่อเนื่องได้จะเสี่ยงต่อการสับเปลี่ยนปัสสาวะ           3. เป้าหมายเครื่องชี้วัดที่สำคัญ ( Purposes & key indicator )3.1เป้าหมาย-  ผู้ป่วยได้รับการรักษาและฟื้นฟูครบตามเกณฑ์มาตรฐานการบำบัดฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอก3.2 เครื่องชี้วัดคุณภาพที่สำคัญ1.ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาและฟื้นฟูครบตามเกณฑ์ที่กำหนด เป้าหมาย 50 %2. ร้อยละของผู้ป่วยที่ไม่ใช้ยาเสพติดร่วมระหว่างบำบัดรักษา เป้าหมาย 80 %3. ร้อยละของผู้ป่วยที่มาบำบัดรักษาตามนัด เป้าหมาย 60 %4. ร้อยละการมีส่วนร่วมการวางแผนของครอบครัว เป้าหมาย 50 %5. ร้อยละความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ เป้าหมาย 85%4. กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ (Key Processes for quality)                 4.1 การตามรอยกระบวนการคุณภาพในการบำบัดฟื้นฟูรูปแบบ กายจิตสังคมบำบัด มีการพัฒนาคุณภาพ ทบทวนความเสี่ยง อย่างต่อเนื่อง ในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้*  การทบทวนความเสี่ยงในกรณีผู้มารับการบำบัดรักษาไม่มาตามนัดจากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่าทางด้านตัวผู้ป่วย คิดว่าเลิกเองได้ ติดเรียน บ้านอยู่ไกล ต้องทำงาน ถูกบังคับแรงจูงใจต่ำ กลับไปใช้ยาซ้ำ ทางด้านครอบครัว ไม่มีส่วนในการสนับสนุนให้มาตามนัด ไม่เห็นความสำคัญของการรักษาอย่างต่อเนื่อง ที่อยู่ไกลจากสถานบำบัด ติดธุระ ทางด้านเจ้าหน้าที่มีภาระงาน ไม่ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทางทีมได้มีแนวทางแก้ไขโดย การให้การปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อประเมินปัญหาสาเหตุที่ทำให้ใช้ยา จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโทษพิษภัยยาเสพติด การดูแลตนเองเมื่อเกดปัญหา การวางแผนและเป้าหมายชีวิต ความสำคัญของการมาตามนัดอย่างต่อเนื่อง สำหรับญาติ มีการประเมินปัญหาและสถานการณ์ในครอบครัว วิธีการสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยหลังเสพยาและวิธีการช่วยเหลือ การทำหน้าที่ครอบครัว เทคนิคการสื่อสาร และความสำคัญของการมาตามนัดอย่างต่อเนื่อง ด้านเจ้าหน้าที่ มีการจัดระบบในการให้การปรึกษาอย่างต่อเนื่อง(พบผู้ให้การปรึกษาคนเดิม) จัดทำบัตรเพื่อแยกผู้ป่วยครั้งแรกสำหรับการประเมิน จัดทำเอกสารความสำคัญของการฟื้นฟูหลังการดำเนินการจำนวนผู้ป่วยมาตามนัดเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ59 เป็นร้อยละ 78                *   การทบทวนความเสี่ยงในกรณีผู้มารับการบำบัดรักษาไม่ครบกำหนด                *  การทบทวนความเสี่ยงเกี่ยวกับผู้ป่วยใช้ยาเสพติดร่วมระหว่างรักษา ซึ่งจากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่าทางด้านตัวผู้ป่วย จิตใจไม่เข้มแข็งพอ บางรายยังมีอาการทางยาเสพติด ประชด มีเงินเป็นตัวกระตุ้น แรงจูงใจในการเลิกยาต่ำ มีเวลาว่างมากเกินไป ทางด้านครอบครัว ไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วย เข้มงวดมากเกินไป ขาดความไว้วางใจ ขาดการให้การสนับสนุนกับผู้ป่วย ทางด้านตัวเจ้าหน้าที่ ให้คำแนะนำไม่ครอบคลุม มีเวลาน้อยในการให้คำแนะนำทางทีมได้ให้แนวทางแก้ไขโดยกรณี ให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วย แนะนำเกี่ยวกับการคบเพื่อน จัดกลุ่มเกี่ยวกับการปฏิเสธเพื่อนและยาเสพติด ให้ความรู้เรื่องสภาวะสุขภาพจิตและพฤติกรรมของผู้ติดยาเสพติดเป็นรายครอบครัวขณะพามาบำบัดรักษา ทำกลุ่มครอบครัวแบบหลายครอบครัวเพื่อให้เกิดแรงเสริมและสร้างความตระหนักในการส่งเสริมให้กำลังใจ จัดทำคู่มือวิธีการปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน*  การพัฒนาการทำให้ผู้ป่วยมาตามนัดผลจากการพัฒนาผู้ป่วยเสพติดร่วมขณะรักษาลดลงจากร้อยละ20.64เป็น ร้อยละ 17.90*  การพัฒนากลวิธีในการลดขั้นตอนการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอก*  นวัตกรรมเรื่องการนำเทคนิคAICมาใช้ในการวางแผนกำกับการพัฒนาคุณภาพ ผลจากการดำเนินงานเจ้าหน้าที่และทีมสหวิชาชีพได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการของหน่วยงานส่งผลต่อความพึงพอใจ*  การจัดตั้งชมรมผู้เลิกยาเสพติด(ชมรมฟ้าใส)เพื่อสร้างเครือข่ายร่วมกันผลจากการดำเนินการมีการจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่นการไปทำกลุ่มนอกสถานที่ การนำอาหารมารับประทานร่วมกัน การเป็นรุ่นพี่ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้รุ่นน้อง หรือเป็นวิทยากรร่วมกับทางสถาบันกรณียินดีเปิดเผยตัว*  การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังการบำบัดฟื้นฟูเพื่อการดูแลให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง มีโอกาสแลกเปลี่ยนทักษะทางสังคมกันระหว่างผู้ที่จบโปรแกรมผลจากการพัฒนาทำให้มีรูปแบบการติดตามที่ชัดเจนผู้ป่วยมาติดตามเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 *  การทบทวนข้อร้องเรียน ข้อคิดเห็นที่เป็นศูนย์วิธีการพัฒนากรณีไม่มีคำร้องเรียน/นวัตกรรมเกี่ยวกับการความพึงพอใจเพื่อให้ผู้รับบริการมีส่วนออกข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาหน่วยงานและนำข้อมูลไปปรับปรุงผู้รับบริการ จากการวิเคราะห์สาเหตุ ผู้รับบริการจะใช้วิธีพูดคุยกันเองไม่พูดกับเจ้าหน้าที่ มีความเกรงใจไม่กล้าเขียน ยังขาดการประชาสัมพันธ์ กลัวว่าการออกข้อคิดเห็นจะส่งผลต่อบุตรหลานของตนการแก้ไขจากเดิมมีกล่องรับข้อคิดเห็นและแผ่นกระดาษสำหรับเขียนข้อร้องเรียนเปลี่ยนเป็นการจัดทำเป็นแบบฟอร์มแจกให้กับผู้รับบริการโดยให้เป็นในเชิงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการบริการ ผลจากการดำเนินงานได้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการให้บริการและนำไปปรับปรุงทางด้านสถานที่จัดมุมพักผ่อนก่อนเข้ากลุ่มและจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ก่อนการทำกลุ่มกายจิตสังคมบำบัด*  นวัตกรรมเรื่อง KARDEX สหวิชาชีพร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพและให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยการจัดทำคาร์เด็กซ์ผู้ป่วยนอกขึ้นและจัดให้มีการประชุมร่วมกับสหวิชาชีพอาทิตย์ละครั้งเพื่อวางแผนการดูแลเป็นรายบุคคลเน้นรายที่มีปัญหาซับซ้อนผลการดำเนินงานร้อยละของสหวิชาชีพที่เข้าร่วมประชุมเพิ่มขึ้นจากร้อยล 0 เป็น ร้อยละ75*   นวัตกรรมเรื่องกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในผู้ป่วยนอกเพื่อป้องกันการกลับไปติดซ้ำระหว่างการบำบัด ละเพิ่มแรงจูงใจให้กับผู้ที่กลับไปเสพซ้ำระหว่างการบำบัดจากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่าด้านตัวผู้ป่วยสิ่งแวดล้อมมียาเสพติดมากจึงเป็นตัวกระตุ้นให้กลับไปใช้ยาซ้ำสูงและขาดแรงจูงใจในการบำบัดทางทีมจัดกลุ่มให้ผู้ที่จบโปรแกรมแล้วได้ให้การช่วยเหลือผู้ที่กลับไปเสพซ้ำและให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ตลอดจนแรงเสริมทางบวกผลจากการดำเนินงานส่งผลให้ผู้ติดยาเสพติดที่กลับไปเสพซ้ำสามารถหยุดยาเสพติดได้อย่างต่อเนื่องจากเดิมร้อยละ60.9เป็นร้อยละ76.8  *  การพัฒนาวิธีการสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยนอกระยะบำบัดด้วยยาเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ*  การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยสุราแบบผู้ป่วยนอก              *  จากการทบทวนทางวิชาการ                 4.2 การตามรอยกระบวนการทำงาน ทีมงานได้พัฒนากระบวนการทำงานเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ ตามกระบวนการดังรายละเอียดต่อไปนี้(ต้องดูจาก Flow Chart ให้ครบกระบวนการตามที่พัฒนามาจะทำอะไรในระบบ พัฒนาอะไรไปบ้าง)                –  กระบวนการบำบัดฟื้นฟู                –  กระบวนการจำหน่าย             –  การติดตามหลังรักษา

กระบวนการรับผู้ป่วย  

                การบำบัดรักษาในรูปแบบผู้ป่วยนอก มีทั้งระยะบำบัดด้วยยา และระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งมีรูปแบบการรับผู้ป่วยโดย รับใหม่จาก   รับย้ายจาก  OPD  และรับย้ายจากผู้ป่วยใน

                ระยะบำบัดด้วยยา  ผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนทางด้านร่างกาย จำเป็นต้องได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์   มีการประเมินอาการ สังเกตพฤติกรรมทุกครั้ง  พร้อมทั้งให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล / ครอบครัวขึ้นอยู่กับปัญหาของผู้ป่วยในแต่ละราย  และมีการนัดหมายให้ผู้ป่วยมาตามแพทย์นัด  ทีมได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน การลดระยะเวลาการบำบัดฟื้นฟูประชุมทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย                ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพในรูปแบบ จิต สังคม บำบัด  มีการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ มีการเปลี่ยนพฤติกรรม และแนวความคิด เพื่อให้สามารถเลิกยาเสพติดได้1.       ด้านผู้ป่วย ในบางรายไม่มีความพร้อม ไม่ตระหนัก / เห็นความสำคัญ และไม่เข้าใจถึงประโยชน์ของการมารักษาอย่างต่อเนื่อง  ทำให้เกิดการมารักษาไม่ต่อเนื่อง  จึงจำเป็นที่ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้ที่ใช้ในการบำบัดรักษา องค์ประกอบของการบำบัดรักษา  และกระบวนการบำบัดฟื้นฟูซึ่งประกอบด้วย กลุ่มฝึกทักษะการเลิกยาระยะต้น กลุ่มฝึกทักษะป้องกันการกลับไปเสพซ้ำการให้บริการปรึกษารายบุคคล และครอบครัว 2.       ด้านครอบครัว  การที่ผู้ป่วยเข้ามารักษา ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา ผู้ป่วยบางรายต้องมีคนในครอบครัวมาด้วยทุกครั้ง แต่ในบางรายครอบครัวไม่ให้ความร่วมมือ บางครอบครัวเมื่อทราบว่าบุคคลในครอบครัวติดยาเสพติด จะส่งผลกระทบต่อสัมพันธภาพในครอบครัว จึงเป็นที่มาของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครอบครัว โดยการให้คำปรึกษาครอบครัว  กลุ่มครอบครัวศึกษา และกลุ่มสนับสนุนทางสังคม โดยให้ครอบครัวได้เข้ามามีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน จะส่งผลดีต่อ  สัมพันธภาพในครอบครัว สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันหลักในการที่จะช่วยป้องกันการกลับไปเสพยาซ้ำของผู้ป่วยระยะการจำหน่าย                1.  ปัญหาการติดซ้ำ  โดยเฉพาะในรายที่มีคู่สมรสใช้ยา และเป็นผู้ค้ายาเสพติดเป็นเรื่องที่ซับซ้อน และแก้ปัญหาได้ยาก สิ่งที่ทำได้คือแนะนำให้คู่สมรสมาเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู ร่วมกับผู้ป่วย ในบางรายเกิดจากการไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง  เมื่อไปเจอตัวกระตุ้นไม่สามารถหลีกเลี่ยง หรือปฏิเสธได้

                2.  การสร้างความมั่นใจในการดำเนินชีวิตเมื่อจำหน่าย  ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สึกหวั่นไหว ไม่มั่นใจในการเข้าสังคม จึงได้มีการวางแผนการจำหน่าย โดยให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมวางแผนการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้ป่วย

การบำบัดรักษาในรูปแบบผู้ป่วยนอก มีทั้งระยะบำบัดด้วยยา และระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ            ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรักษาในรูปแบบผู้ป่วยนอกจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ระยะบำบัดด้วยยานาน และมีจำนวนผู้ป่วยส่งเข้าสู่ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพน้อย และพบว่ามียอด drop  out สูงในระยะบำบัดด้วยยา โดยผู้ป่วยยังไม่ได้ผ่านกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการฟื้นฟูสมรรถภาพถือว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยให้สามารถดูแลตัวเองโดยการให้ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการของการเลิกยา มีการปรับเปลี่ยนแนวความคิด และพฤติกรรมในการดูแลตัวเองให้สามารถเลิกยาเสพติดได้ จึงมีความจำเป็นที่ผู้ป่วยและญาติที่มารับการบำบัดควรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพและเห็นความสำคัญของการฟื้นฟู ให้เกิดการรับรู้ตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการดีขึ้น ดังนั้นจึงมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติงานใหม่โดยการให้ข้อมูลเรื่องความสำคัญของการฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยที่มาตามนัดครั้งที่ 2 ของการบำบัดรักษาในรูปแบบผู้ป่วยนอกในระยะบำบัดด้วยยา และนัดหมายให้ผู้ป่วยมาตามแพทย์นัด ประเมินอาการทุกครั้งถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และมีความพร้อมที่จะเข้าสู่ระยะของการฟื้นฟูสมรรถภาพในรูปแบบ จิต สังคมบำบัดได้  จึงให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่ม จิต สังคมบำบัด หรือมีระบบส่งต่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพใกล้บ้าน ผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนารูปแบบนี้พบว่าสามารถลดจำนวนผู้ป่วยขาดการรักษาในระยะบำบัดด้วยยาได้และพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเข้าสู่ระยะการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบผู้ป่วยนอกมากขึ้นผู้ป่วยและญาติทุกรายที่มาตามนัดได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังจากบำบัดด้วยยา4.3          การตามรอยความเชื่อมโยงระหว่างระบบ จากการดำเนินงานที่ผ่านมามีองค์ประกอบอื่นที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการดูแลผู้ป่วยให้ได้ผลดีได้แก่                การเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการบำบัด                สถานที่ในการบำบัด                บุคลากรที่มีความชำนาญในการให้การปรึกษารายบุคคล กลุ่มและ ครอบครัว                การมีส่วนร่วมของครอบครัว                ทีมสหวิชาชีพ                ระบบการส่งต่อในการดูแลผู้ป่วยทั้งในและนอกหน่ายงาน                การบันทึกเวชระเบียน จากการทบทวนและพัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยนอกในด้านต่างๆนำไปสู่การปรับแนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยนอกต่อเนื่องตั้งแต่ปี2545ทำให้เกิดผลลัพธ์การบำบัดที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นดังสถิติต่อไปนี้ <td width=&
ตัวชี้วัด เป้าหมาย ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
1. ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาและฟื้นฟูตามเกณฑ์ที่กำหนด 50 58.25
หมายเลขบันทึก: 104584เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2007 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 08:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท