ตัวอย่างกรณีศึกษาการต่อรองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ์ในการจัดการทรัพยารกรของชุมชน (1)


ด้วยความรู้สึกหวงแหนทรัพยากรของตน และสมาคมหยาดฝนช่วยเป็นธุระในการประสานงานและริเริ่มจัดกระบวนการกลุ่มในหม่บ้าน จึงทำให้เกิดกลุ่มชาวบ้านที่รวมตัวกันเพื่ออนุรักษ์หอยนางรม โดยชาวบ้านร่วมกับสมาคมหยาดฝน ริเริ่มที่จะกำหนดเขตอนุรักษ์หอยนางรม บริเวณหน้าบ้านแหลม ระยะทางประมาณ 1.5 กม. กว้าง 250 เมตร และใช้กระบวนการพูดคุยทำความเข้าใจกับชาวบ้านด้วยกันเองจนความขัดแย้งค่อยๆคลายลง

ตัวอย่างที่น่าจะเป็นกรณีศึกษาเพื่อให้เห็นความพยายามให้ได้มาซึ่งสิทธิ์ในการจัดการทรัพยากร คือ กรณีบ้านแหลม กับเรื่องการจัดการลุ่มน้ำปะเหลียนและทรัพยากรหอยนางรม

ต้องเล่าเป็นพื้นฐานก่อนว่า บ้านแหลมเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำปะเหลียน ในจังหวัดตรัง บริเวณที่บ้านแหลมตั้งอยู่เป็นเขตลุ่มน้ำกร่อย มีสัตว์ทะเล และหอยที่อยู่ในน้ำเค็มหลายชนิด รวมทั้งหอยนางรมด้วย ซึ่งจะว่าไป หอยนางรมบ้านแหลมก็เป็นแหล่งหอยนางรมธรรมชาติที่ใหญ่มากๆแห่งหนึ่งด้วยความที่ชาวบ้านทั้งสายน้ำร่วมกันอนุรักษ์น้ำ และป่า/ป่าชายเลน สภาพธรรมชาติจึงสมบูรณ์มาก

บ้านแหลมได้ร่วมทำงานอนุรักษ์กับเครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำปะเหลียนมากว่า 12 ปีแล้ว เครือข่ายดังกล่าวมีสมาคมหยาดฝนเป็นผู้ช่วยในการประสานงาน และช่วยให้ชาวบ้านได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูงาน และพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรในหมู่บ้าน ด้วยการลงไปทำการจัดการความรู้ของชาวบ้าน รวมถึงช่วยยกระดับความรู้ในหมู่บ้านด้วยการเชื่อมกับภาควิชาการของมหาวิทยาลัยใกล้เคียง เช่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หรือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตต่างๆ ทำให้ความรู้ของคนทำงานในเครือข่ายอนุรักษ์ ซึ่งเป็นชาวบ้านล้วนๆนี้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรของตนเองเป็นอย่างดี

อย่างไรก็ดี ภายในหมู่บ้านในมิติของการจัดการทรัพยากรก็มีความขัดแย้งกันอยู่ ---(ที่ระบุว่าเป็นมิติการจัดการทรัพยากรก็เนื่องจากว่า ชาวบ้านมีความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ ทุนทางสังคมสูง ถ้ามีความขัดแย้งกัน ก็ขัดในบางประเด็น แต่ความสัมพันธ์ในมิติอื่นๆก็ยังดำเนินไปเหมือนเดิม ---(เป็นความเห็นของ อ.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ท่านหนึ่ง)....

จนล่าสุด ผู้ที่ดำเนินการงานอนุรักษ์มาแต่เดิมก็ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านเมื่อไม่กี่เดือนมานี้ และ ได้พยายามจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่งานชุมชนซบเซามาระยะหนึ่งในสมัยผู้นำคนก่อน

สำหรับเรื่องหอยนางรมนั้น บ้านแหลมดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2538 โดยในช่วงแรก ชาวบ้านก็มีความตระหนักอยู่เนืองๆว่า หอยนางรมมันจะหมดบ้านแหลมแล้วนะ เพราะว่าคนจับเยอะ มีนายทุนข้างนอกมาจับด้วย นอกจากนี้ ทางข้าราชการเองกำลังจะให้สัปทานเอกชนมาจับหอยนางรมที่บ้านแหลม

... แต่ด้วยความรู้สึกหวงแหนทรัพยากรของตน และสมาคมหยาดฝนช่วยเป็นธุระในการประสานงานและริเริ่มจัดกระบวนการกลุ่มในหม่บ้าน จึงทำให้เกิดกลุ่มชาวบ้านที่รวมตัวกันเพื่ออนุรักษ์หอยนางรม โดยชาวบ้านร่วมกับสมาคมหยาดฝน ริเริ่มที่จะกำหนดเขตอนุรักษ์หอยนางรม บริเวณหน้าบ้านแหลม ระยะทางประมาณ 1.5 กม. กว้าง 250 เมตร และใช้กระบวนการพูดคุยทำความเข้าใจกับชาวบ้านด้วยกันเองจนความขัดแย้งค่อยๆคลายลง

นอกจากนี้ เนื่องจากมีการกำหนดให้ดำหอยได้ 1 วันในหนึ่งปี และนำมาขายให้ชาวบ้านราคาถูก แล้วจึงนำเงินนั้นไปทำสาธารณะประโยชน์ ให้มัสยิด และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ด้วยกิจกรรมลักษณะนี้ ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านจึงเห็นดีด้วยกับการอนุรักษ์

การอนุรักษ์หอยนางรมได้ดำเนินมาจนปัจจุบัน และได้มีการทำหอยนางรมแปรรูป เป็น OTOP ของตำบลวังวนอีกด้วย ...

หมายเลขบันทึก: 104486เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2007 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท