วิชาตัวเบา


 

ชายแสนดีนายหนึ่ง : "ผมช่วยถือของไหมครับ............."

หญิงใจงามนางหนึ่ง : "อ้อ ไม่เป็นไรคะ ขอบคุณมากนะคะ ถือไหวคะ"

หรือ

ชายแสนดีอีกนายหนึ่ง : "เชิญนั่งครับ"

หญิงท้องแก่ ไม่พูดจาใดๆ นั่งตามคำเชิญ

ชายแสนดีท่านเดิม ".............."

          สวัสดีค่า ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านทุกท่านเคยเจอเหตุการณ์คล้ายๆ กันกับอย่างนี้บ้างไหมคะ ทำให้นึกคำพูดจากหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมาได้คะ

"รับ" ศิลปะที่ละเอียดอ่อนกว่า "ให้"

วิชาตัวเบา

แต่งโดย คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์

          ตัวอย่างในกรณีแรกที่ได้ยกไว้ให้ทุกท่านได้อ่าน ในหนังสือของ คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ บอกไว้ว่า อาจเป็นพวก "รับไม่เป็น" อาจด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป

          บางคน "รับไม่เป็น" เพราะ ขัดเขินที่จะรับการช่วยเหลือ ถ้ามองลึกเข้าไปอาจจะพบว่าเป็นเพราะหวงแหนความเป็นตัวของตัวเอง และ/หรือเพราะกลัวจะดูไม่ดีในสายตาคนอื่น คือ เป็นห่วงภาพของตัวเอง......

         บางคน "รับไม่เป็น" เพราะ ติดภาพนางเอกพระเอกที่หยิ่งในศักดิ์ศรีจากละครโทรทัศน์และนวนิยายโรมานซ์ จนกลายเป็นค่านิยมที่ฝังลึก........

          บางคน "รับไม่เป็น" เพราะ ขี้เกรงใจ........ โดยส่วนของผู้เขียนบันทึกนี้มักจะเป็นข้อนี้ (เป็นมากๆ .....) บางครั้งอยากจะเอ่ยปากรับน้ำใจที่เค้าเสนอมาให้ใจจะขาดแต่ด้วยอะไรก็ไม่ทราบ รู้สึกเพียงแต่ว่า "เดี๋ยวเค้าจะลำบาก เราก็พอจะทำเองได้ อย่ารบกวนเค้าดิ"  (ดูๆ ไปสงสัยจะดูละครมากไปจริงๆ นะคะ ภาพนางเอกผู้แสนงดงามผุดขึ้นมาตะหงิดๆๆ ) แต่เมื่อมองให้ลึกลงไปอีกนิด คิดเข้าไปให้ดีอีกหน่อย คงต้องย้อนถามตัวเองอีกครั้งว่าเรา "เกรงใจ" คนให้ หรือว่า "เกรงใจ" ตัวเอง ที่ไม่ชอบรู้สึกว่าพึ่งพาคนอื่น

         ในหนังสือ คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ เขียนไว้น่าฟังและน่าจดจำเป็นอย่างยิ่งคะ

"เคยคิดบ้างไหมคะว่า ถึงแม้ความเกรงใจจะเป็นคุณลักษณะที่นุ่มนวล ไม่ก้าวร้าวแก่งแย่ง แต่ถ้าไม่คำนึงถึงใจคนให้ ก็อาจทำให้ผู้ที่ให้ด้วยใจบริสุทธิ์เสียน้ำใจ"

"เรามักจะยกย่อง "การให้" โดยมองข้ามคุณค่าของ "การรับอย่างงาม" ทั้งๆ ที่สองอย่างนี้เปรียบเสมือนหน้าสองหน้าของเหรียญเดียวกัน และ เหรียญที่มีค่าจริง คือ เหรียญที่งามทั้งสองหน้า

          คนที่ชอบให้ แต่ไม่อยากรับของใครนั้นมีมาก คนที่รับ แต่ไม่คิดจะให้ยิ่งมีมากขึ้นไปอีกคะ

         ส่วนกรณีที่ยกมาให้ดูอีกอันหนึ่งนั้นก็เป็นตัวอย่างของ "การรับแบบถือเป็นสิทธิที่ควรได้" (Take for granted)  อาจเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของใครๆ ที่จะต้องทำให้เธอ จึงไม่รู้สึกอะไรกับน้ำใจคนที่ลุกให้ และ ไม่มีน้ำใจที่ไหลกลับไปให้เขาได้อิ่มใจบ้างเสียเลย

อันที่จริงแล้ว การรู้จักรับอย่างงดงาม เป็นศิลปะที่ละเอียดอ่อนไม่น้อยไปกว่า การให้ด้วยใจบริสุทธิ์  ถ้าเรียนรู้ศิลปะทั้งสองนี้ให้ลึกซึ้งถึงใจ เราก็จะรู้จักเปิดประตูให้น้ำเลี้ยงใจไหลสู่กัน เพื่อเพิ่มความชุ่มฉ่ำงดงามให้ชีวิต 

         เป็นไงคะ อ่านแล้วรู้สึกว่าวิชานี้ทำให้ตัวเองเบาขึ้นไหมคะ เรียนรู้จักตัวเองวันละนิดเพื่อจะได้มองชีวิตให้สวยสดงดงามขึ้นคะ.........

หมายเลขบันทึก: 104390เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2007 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 19:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • "เรามักจะยกย่อง "การให้" โดยมองข้ามคุณค่าของ "การรับอย่างงาม" ทั้งๆ ที่สองอย่างนี้เปรียบเสมือนหน้าสองหน้าของเหรียญเดียวกัน และ เหรียญที่มีค่าจริง คือ เหรียญที่งามทั้งสองหน้า

 

นั่ยซินะ แต่คนที่มองมักเลือกที่จะมองด้านเดียวเสมอ รู้อย่างนี้แล้ว จะต้องมองหลายๆมุมเน้อ

            เคยเจอบ่อยๆนะ ที่เราแสดงน้ำใจแล้วถูกปฏิเสธ แต่ก็ไม่คิดอะไรนะ เข้าใจ เพราะเราก็ขี้เกรงใจ และไม่ค่อยรับความช่วยเหลือจากใคร ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ  

ขอบคุณทั้งสองท่านมากนะคะ ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นกันเข้ามา

ตัวผู้เขียนก็กำลังพยายามปรับตัวเองอยู่เหมือนกันคะ ในการเรียนรู้ที่จะ "รับให้เป็น" และ "รับอย่างงดงาม"

บางครั้งเวลาเราอยากช่วยเหลือหรือให้ความร่วมมือกับบางคน ทั้งๆ ทีเค้าอาจจะเหมือนเราก็ได้ที่ "รับไม่เป็น" แต่ก็อดรู้สึกไม่ได้คะว่าเค้าไม่อยากให้เราเข้าไปยุ่งหรือมีส่วนร่วมกับงานของเค้า (ขี้น้อยใจคะ....555) ตัวเองก็เลยหันกลับมาเรียนรู้ถึง "การรู้จักรับอย่างงดงาม" บ้าง เพราะ ขนาดเราเองเรายังรู้สึกกับการกระทำอย่างนั้นเลย แล้วทำไมคนที่เราไม่รับน้ำใจจากเค้าจะไม่รู้สึกละ

คิดได้เช่นนี้ก็เลยว่าจะต้องปรับแนวคิดและการกระทำบางอย่างบ้างเหมือนกันคะ ไม่รู้เหมือนกันนะคะว่าความตั้งใจนี้จะทำได้แค่ไหน แต่ยังไงก็ต้องลองดูคะ.......

เห็นด้วยค่ะ พี่แนน เคยอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วเหมือนกัน และก็ชอบเรื่องนี้ด้วย

เคยถูกปฏิเสธน้ำใจเหมือนกันค่ะ ทำเรารู้สึกเก้อ ๆ เขิน ๆ บอกไม่ถูก แต่ก็คิดว่าเค้าคงเกรงใจ

แต่ความจริงไม่ต้องเกรงใจก็ได้ เพราะถ้าเราได้ออกปากให้ความช่วยเหลือแสดงว่าเรื่องนั้นไม่เหลือบ่ากว่าแรงหรอก ช่วยได้และอยากช่วย และพอได้ช่วยแล้วมันทำให้เรารู้สึกดีด้วยนะ

ผลัดกันให้ ผลัดกันรับ น่าจะทำให้โลกน่านี้น่าอยู่ขึ้นนะคะ..

วันหลังเอาเรื่องดี ๆ มาให้อ่านอีกนะคะ

หวัดดีจ้า ตุ๊กตา เป็นไงบ้างจ๊ะ สบายดีไหม

ขอบใจนะจ๊ะ ที่เข้ามาอ่านและร่วมแสดงความคิดเห็นเข้ามา

สัญญาจ้าว่าจะเอาเรื่องดีๆ มาแบ่งปันอีก อย่างไงมีเวลาก็เข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็นอีกนะจ๊ะ.........พี่จะรออยู่จ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท