เสียงสะท้อนจากฅนด้อยโอกาส : เมื่อสวมบทบาทขอทาน


สังเกตจากผู้คนย่านนั้น ก็ เห็นสายตาทั้งที่รังเกียจขอทาน และสงสารปะปนกันไป ที่สำคัญบางคน ไม่แสดงอาการเปล่า ๆ มีคำพูดแดกดันแถมให้ด้วยโดยเฉพาะที่เป็นนักศึกษาของสาบันที่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากย่านนั้นด้วยแล้วยิ่งมีคำพูดเจ็บ ๆ คัน ๆ อีกต่างหาก

เมื่อสวมบทบาทขอทาน 

          เมื่อวันก่อนนึกสนุกหยิบเอาวิกผมยาว และเสื้อผ้าขาด ๆ มาลองใส่ดู แล้วไปนั่งขอทานบนสะพานลอย ย่านที่พอมีผู้คนเดินผ่านไปผ่านมาพอสมควร สิ่งที่ ได้ประสบกับตัวเองเมื่อตอนนั้น เป็นเรื่องที่ต้องเอามาขยายให้ฟังกันเลยทีเดียว เพราะได้เห็นอะไร ต่อมิอะไรของสังคมไทยในปัจจุบันนี้มากมายเลยทีเดียว

           สิ่งหนึ่งที่เจอกับตัวเองแบบจะ ๆ ที่ถึงกับอึ้งก็คงจะเป็นอาการเหยียดหยามขอทานของคนไทยและมุมมองของขอทานบางคนที่ตัดสินใจมาประกอบอาชีพนี้ที่ได้พูดคุยกันในระหว่างที่ทดลองเป็นขอทานในวันนั้น ซึ่งได้เปิดมุมมองใหม่ ๆ ที่มีต่อขอทานได้เป็นอย่างดี 

          ขอทาน คนหนึ่งนั่งอยู่ประจำที่สะพานลอยย่านการค้าในกรุงเทพมหานคร อายุอานามก็ ปาเข้าไป 50 กว่าปี แกบอกว่า ก่อนหน้านี้แกไม่เคยคิดจะมาเป็นขอทานหรอก มันน่าอายจะตายไป แต่ด้วยเพราะ สังคมไม่ได้ให้โอกาสคนที่ผิดพลาด หรือล้มจากการทำธุรกิจเมื่อช่วงปี 2540 หรือ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ช่วงนั้น แกถึงขั้นล้มละลาย ไม่เหลืออะไรเลย ลูกเมีย ก็ หายหน้าหายตา ไม่อยู่คอยให้กำลังใจแก แกเคยตัดสินใจฆ่าตัวตายมาแล้วครั้งนึง แต่ แกไม่ตาย ไม่รู้ว่าโชคร้ายหรือโชคดี แกโดนน้ำตาย แต่ มีคนช่วยไว้ คนที่ช่วยแก เป็นขอทานข้างถนน แถว ๆ ปากคลองตลาด แถม พูดให้แกคิด ว่า ชีวิต ยังมีค่า ขอให้ยังมีลมหายใจเป็นพอ ทำให้แก ได้คิด และพยายามสู้มาโดยตลอด 

          ถามว่า แล้ว แกมาขอทาน นานแค่ไหนแล้ว ก็ได้ความว่า แกมาขอทานได้ สี่ห้าปีแล้ว เหตุที่มาก็เพราะหมดหนทางจริง ๆ เดินหางานอยู่สามสี่ปี ไม่มีใครรับแกเข้าทำงานเลย ประกอบกับอายุแกก็มากแล้ว เลยไม่มีใคร อยากจะรับเอาไว้เป็นภาระ แกบอกว่า ใจน่ะอยากจะ ไปลองขอกู้เงินจากธนาคารออมสินแต่ก็ไม่กล้า เพราะกลัวว่า คนในธนาคารจะหัวเราะเยาะเอา แกเลยตัดสินในมานั่งขอทานที่นี่ ติดต่อกันมากว่า สี่ปีแล้ว เรื่องรายได้ น่ะหรือ แกบอกว่า วัน ๆ นึง หากแกนั่งนาน ถึงชั่วหัวค่ำ ก็จะได้วันนึงกว่า 2,000 บาท เพราะคนแถว ๆ นี้ ทำบุญ ด้วยเหรียญ 5 เหรียญ 10 หรือ แบงค์ 20 ทีเดียว นั่นเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่แกติดใจที่จะทำอาชีพตรงนี้ เพราะทุกวันนี้ แกพอจะมีเงินเก็บบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ และตั้งใจว่าจะเลิกอาชีพนี้ ภายในปีนี้เหมือนกัน 

            สังเกตจากผู้คนย่านนั้น ก็ เห็นสายตาทั้งที่รังเกียจขอทาน และสงสารปะปนกันไป ที่สำคัญบางคน ไม่แสดงอาการเปล่า ๆ มีคำพูดแดกดันแถมให้ด้วยโดยเฉพาะที่เป็นนักศึกษาของสาบันที่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากย่านนั้นด้วยแล้วยิ่งมีคำพูดเจ็บ ๆ คัน ๆ อีกต่างหาก วันนั้น แค่ลงไปนั่งเล่น ๆ ถามข้อมูล ตั้งแต่ เก้าโมงเช้า ถึงสี่โมงเย็น ได้เงินจากคนใจบุญ พันกว่าบาท ก็เลย เอาไปทำบุญวัดใกล้ ๆ นั้น ใครที่ ทำบุญกับขอทานผมยาว เสื้อผ้าขาด ๆ แถว ๆ รังสิต เมื่อ สิบกว่าวันก่อน ก็ ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ เราได้ทำบุญร่วมกันแล้ว

หมายเลขบันทึก: 104290เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2007 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คิดถึงเรื่องสั้นของ "ชาติ กอบจิตติ" เรื่อง "จนตรอก"

บางมุมหนึ่งของชีวิตถ้าใครไม่เคยสัมผัสกับคำว่า

"จนตรอก" ก็คงมีอาการเหยียดหยาม บุคคลนั้น

แต่อย่างไรก็เถอะนะ ขอให้ลุกขึ้นมาสู้จะอีกสักกี่ครั้ง

จะอีกสักกี่หน ต้องมีสักวันที่เราสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง ขอแอบเป็นกำลังใจให้ ......

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท