สัมมนาการเป็น CKO / KF เพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย


       บันทึกนี้เป็นบันทึกที่ดิฉันคิดว่าคงจะสั้นๆ ห้วนๆ ผิดปกติวิสัยของคนช่างเจรจาอย่างดิฉัน  เพราะว่าช่วงนี้ที่ QAU มีอะไรมากมายที่จะต้องเร่งคิดเร่งทำ  สำหรับ “โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการเป็น  CKO / KF เพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย“  รุ่นที่ 4 สำหรับผู้บริหารด้านการวิจัยและด้านนโยบายและแผน  มหาวิทยาลัยนเรศวรนี้  จริงๆ แล้วในตารางที่เรากำหนดไว้ว่าจะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม  แต่ด้วยเหตุผลบางประการทำให้เราเห็นว่าสมควรจะเร่งจัดให้ทันในเดือนกรกฎาคมนี้  เพื่อประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด  เนื่องจากเราเลื่อนเวลาขึ้นมาเกือบเดือนดิฉันจึงต้องหาช่องทางที่จะสื่อสารเพิ่มขึ้นหลายๆ ทางเพื่อให้ข่าวนี้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายของดิฉันให้มากที่สุด ซึ่งดิฉันก็หวังว่าท่านผู้อ่านที่พลัดหลงเข้ามาในบันทึกนี้ของดิฉันจะได้ช่วยนำข่าวนี้ไปบอกกล่าวให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการนี้อีกทางหนึ่งด้วยนะคะ  ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

         จากที่ผ่านมาเราได้ทบทวนการใช้ KM ใน มน.  ของเรากับการใช้ KM ในองค์กร 3 ระดับ  ที่ท่านอาจารย์ประพนธ์กล่าวไว้ในหนังสือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรอัจฉริยะ  เราคิดว่ายังใช้ KM ไม่เต็มรูปแบบเท่าที่ควร เพราะที่เรายังเนียนได้เพียงแค่ 2 ระดับ คือ  ระดับกลุ่ม (ชุมชน / เครือข่าย)  และ ระดับบุคคล (ปัจเจก)  ส่วนที่สำคัญมากอีกระดับหนึ่งคือในระดับองค์กร  จริงอยู่ที่เรามีการจัดทำแผน KM มีการดำเนินงานตามแผนและติดตามและประเมินผล  โดย ก.พ.ร. เป็นผู้กำหนดตัวชี้วัด  จริงอยู่ที่ 2 ปีที่ผ่านมาเราได้ผลการประเมินด้าน KM ระดับคะแนนที่ 5  แต่...เราคิดว่ามันต้องไม่ใช่เพียงแค่นั้น  ทั้งหมดทั้งปวงดิฉันคิดว่า โครงการที่กล่าวมาข้างต้นที่เรากำลังจะจัดน่าจะเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งที่ชาว มน. จะใช้ KM ไปถึงในระดับองค์กรได้อย่างครบวงจรมากยิ่งขึ้น

         โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้น
เพื่อสนับสนุนให้เกิดบุคลากรที่จะทำหน้าที่เป็น  CKO, KF มีความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด  หลักการ  และวิธีการในการเป็น CKO, KF จนสามารถนำไปดำเนินการจัดการความรู้ในหน่วยงานของตนเอง  เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย  และเพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยต่อไป

         ผู้เข้าร่วมโครงการ  (แกนนำในการพามหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย)  ประกอบด้วย

1.  อธิการบดี  รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ  คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย  ผู้อำนวยการ IRDA   และผู้อำนวยการกองแผนงาน

2.  ผู้บริหารด้านการวิจัย  ระดับคณะวิชา 19 คณะวิชา     

3.  ผู้บริหารด้านงานนโยบายและแผน ระดับคณะวิชา  19 คณะวิชา  

4.  ผู้บริหารด้านการวิจัย  และงานนโยบายและแผน (ส่วนกลาง)(พะเยา)  

5.  บริหารด้านการวิจัย (พะเยา)  9 สำนักวิชา       

6.  ผู้บริหารด้านงานนโยบายและแผน (พะเยา) 9 สำนักวิชา   

7.  วิทยากร และเจ้าหน้าที่ QAU พร้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง
     

กำหนดการมีดังนี้ค่ะ


วันพุธที่ 11  กรกฏาคม 2550

06.30 น.– 07.00 น.
  ขึ้นรถ ณ ลานจอดรถอาคารมิ่งขวัญ มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนหนองอ้อ  (กรุณาตรงเวลา)

07.30 น.– 07.45 น.  ขึ้นรถ ณ บัณฑิตวิทยาลัย (เดิม)  มหาวิทยาลัยนเรศวร  ส่วนสนามบิน   (กรุณาตรงเวลา)

07.45 น.– 08.45 น.  การเดินทางไปยังทรัพไพรวัลย์ แกรนด์ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จ.พิษณุโลก

- กรณีเดินทางไปกับรถที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้ จะมีการลงทะเบียน แจกเอกสาร และป้ายหมายเลขห้องพักสำหรับติดกระเป๋าเดินทางระหว่างการเดินทาง (กรุณาติดหมายเลขห้องที่กระเป๋าให้เรียบร้อยก่อนลงจากรถ เพื่อพนักงานของทางโรงแรมจะได้นำกระเป๋าไปยังห้องพักอย่างถูกต้องทันทีที่ลงจากรถ)  **กรุณาอย่านำของมีค่าไว้ในกระเป๋า **

- กรณีเดินทางไปเอง จะมีเจ้าหน้าที่ของโรงแรมบริการด้านห้องพักและเก็บกระเป๋าของท่านบริเวณเคาเตอร์ของโรงแรม  และลงทะเบียนรับเอกสารบริเวณหน้าห้องสัมมนา

08.45 – 09.15 น. รับประทานอาหารเช้าที่ห้องอาหาร

09.15 – 09.30 น. พิธีเปิด
โดย  รศ.ดร.มณฑล  สงวนเสริมศรี  อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร

09.30 – 09.35 น. เกริ่นนำ
โดย  ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ

09.35 – 10.15 น. ชมวีซีดี  “เสียงกู่จากครูใหญ่”  เพื่อร่วมกันตอบโจทย์
1. ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการพัฒนาคืออะไร
2. ท่านได้แรงบันดาลใจอะไรบ้างที่จะนำไปใช้ในการทำงานของท่าน
3. Team  working / learning  ดี / ไม่ดี อย่างไร

10.15– 10.30 น. ร่วมกันตอบโจทย์  พร้อมรับประทานอาหารว่าง  (ในห้องประชุม)

10.30 – 11.00 น. นำเสนอ
1.  ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์วิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร
2.  ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ด้านงานวิจัยในระดับมหาวิทยาลัย
โดย  ผศ.ดร.เสมอ  ถ้าน้อย  ผู้อำนวยการสถาบันบริหารการวิจัยและพัฒนา (IRDA)

11.00– 12.40 น. นำเสนอผลการประเมินด้านงานวิจัยของแต่ละคณะวิชา และภาพรวมของวิทยาเขตสารสนเทศพะเยา 
โดยรองคณบดีฝ่ายวิจัยของทุกคณะวิชา / ตัวแทนจากวิทยาเขตสารสนเทศพะเยา
(คณะวิชาละ 8 สไลด์  ใช้เวลาประมาณคณะละ  5 นาที)

12.40– 13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.30– 14.00 น. เกริ่นนำกระบวนการ / แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  (ลปรร.)
โดย  ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ

14.00– 15.30 น. แบ่งกลุ่ม ออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่
1.  ผู้บริหารด้านการวิจัย (แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 10 คน)
2.  ผู้บริหารด้านนโยบายและแผน  (แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 10 คน)
เพื่อสร้าง “ขุมความรู้” (Knowledge Assets) และสังเคราะห์ “ขุมความรู้” เป็น  “แก่นความรู้ (Core competence)”  ในลักษณะการเล่าเรื่อง (Storytelling)  โดยเล่าถึงความสำเร็จ / ความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงานของตนเอง  วิธีการหรือแนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จ  และผลสำเร็จที่เกิดขึ้น หัวปลา  (KV) คือ ทำอย่างไรให้บรรลุภารกิจด้านการวิจัย และการวางแผน โดยพุ่งเป้าไปที่

1.  ผู้บริหารด้านการวิจัย  :  ความสำเร็จในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์วิจัย
2.  ผู้บริหารด้านนโยบายและแผน  :  ความสำเร็จในการจัดทำและดำเนินการตามแผน

15.30– 16.30 น. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนเพื่อนำเสนอ  ในหัวข้อ
-     เรื่องเล่าเร้าพลังที่กลุ่มเลือกว่าเป็น best practice (กลุ่มละ 1 เรื่อง  ประมาณกลุ่มละ 10 นาที)
-    “ขุมความรู้” (Knowledge Assets) ที่ได้จากการเล่าเรื่องของแต่ละกลุ่ม  (จะนำเสนอใน blog)

16.30– 17.00 น. สรุป “ขุมความรู้” (Knowledge Assets) ที่ได้จากทุกกลุ่มในภาพรวมเป็น “แก่นความรู้ (Core competence)”  ด้านการวิจัยและด้านนโยบายและแผน  โดยใช้ Card  Technique

17.30– 18.30 น. รับประทานอาหารเย็น

18.30– 19.00 น. นำเสนอ “แก่นความรู้ (Core competence)”  ด้านการวิจัยและด้านนโยบายและแผน  (ด้านละประมาณ 15 นาที )  และจะมีนำเสนอใน blog ด้วย

19.00– 19.30 น. สรุปรวบยอดความรู้พื้นฐาน  ความสำคัญ  และ key word ของการจัดการความรู้   ในการเป็น CKO : Chief Knowledge Officer, KF : Knowledge Facilitator
โดย  ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ

19.30– 20.25 น. รวมกลุ่ม “Dialogue”  และ “Deep Listening”  เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์  และการปรับยุทธศาสตร์เพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย  (เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการสัมมนา)

20.25 – 20.30 น.  ผู้เข้าร่วมเสวนาเขียน AAR (After Action Review) /  ปิดการเสวนา 

20.30 – 21.00 น. รับประทานข้าวต้ม

21.00 น.  พักค้างคืนที่ทรัพย์ไพรวัลย์  แกรนด์  โฮเต็ล  แอนด์  รีสอร์ท

วันพฤหัสบดีที่ 12  กรกฎาคม 2550

07.00 น.– 08.00 น.
 รับประทานอาหารเช้าที่ห้องอาหาร

08.00 น.– 09.00 น. เดินทางกลับสู่มหาวิทยาลัยนเรศวรโดยสวัสดิภาพ  เพื่อปฏิบัติงานตามปกติ

หมายเหตุ :  

1. กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียด ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์จริง

2. การแต่งกาย  : 
วันพุธที่ 11 ก.ค.  แต่งกายตามสบาย 
วันพฤหัสบดีที่ 12 ก.ค. แต่งกายมาปฏิบัติงานตามปกติ

3. ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านควรหาโอกาสศึกษาความรู้เรื่อง KM ด้วยตนเองจากเอกสารแนบก่อนการเข้าร่วมสัมมนา   ดังนี้    
 3.1  KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำ : 51. พลังลึกลับ
 3.2  การเล่าเรื่อง (Storytelling)
 3.3  ภาพรวม Workshop

หมายเลขบันทึก: 104239เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2007 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
มาอ่านค่ะ...วันที่ 28 นี้ค่ะ...ที่ ม.อ.นัด cko การ impliment สู่คณะหน่วยงาน...งานนี้ฐานงาน ต้องตั้งหลัก..เป็นความจริงว่าเราต้องหัดคุยกับคนที่ไม่ใช่คอ KM ด้วย อิ..อิ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท