การดูแลผู้ป่วยสุราที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร


(UGIB)

การดูแลผู้ป่วยสุราที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร(UGIB) โดยนางสาวกุลธรา  สิงห์ลานางสาวกาญจนา  ข้อสว่าง ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน(Upper Gastrointestinal Hemorhage)หมายถึง  การที่เลือดออกในทางเดินอาหารตั้งแต่หลอดอาหาร,กระเพาะอาหาร,ลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม  ส่วนที่ 4 Ligament of Treitz  ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์เนื่องจากอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระดำ หรือหน้ามืดเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ้าเลือดออกถึง 100-200 ซีซี จะมีอุจจาระเป็นสีดำทางเดินอาหารแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ1.ทางเดินอาหารส่วนบน  คือ  ทางเดินอาหารตั้งแต่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ไปจนถึงดูโอดินัมส่วนที่ 4 2.ทางเดินอาหารส่วนล่าง   คือ   ทางเดินอาหารที่ต่ำกว่าดูโอดินัมส่วนที่ 4  สาเหตุ1. หลอดเลือดโป่งขอดที่หลอดอาหาร(Esophageal varices) พบได้ค่อนข้างบ่อย เนื่องจากผู้ป่วยเป็นโรคตับแข็ง (Cirrosis) ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดดำพอร์ทัส(portal hypertension)หลอดเลือดโป่งขดยังอาจพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง(chronic hepatitis) หรือตับอักเสบเฉียบพลัน(acute hepatitis)แต่มักไม่ทำให้เกิดการตกเลือดผู้ป่วยเหล่านี้มักจะมีอาการแสดงของโรคตับเรื้อรังและมีภาวะดีซ่าน(jaundice)2.       กระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง(acute หรือ chronic gastitis ) เป็นสาเหตุสำคัญของการอาเจียนเป็นเลือดและถ่ายอุจจาระดำ อาจทำให้เกิดการตกเลือดอย่างมาก ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งก็อาจจะเป็นแผลกระเพาะอาหารหรือกระเพาะอาหารอักเสบ และเกิดการตกเลือดได้3. เนื้องอก(tumor)ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารบางคนจะมีอาเจียนเป็นเลือดส่วนมากจะมีอาการกลืนอาหารลำบาก องค์ประกอบที่มีมีอิทธิพลต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร1.กรรมพันธุ์2.อาหาร  ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารที่มีกากน้อย และมีจำนวนแป้งสูง พบว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารมากกว่าคนที่รับประทานอาหารที่มีกากและจำนวนโปรตีนสูงมาก3.การสูบบุหรี่  การดื่มสุราแอลกอฮอล์4.ผู้ที่มีฐานะยากจนทำให้ขาดสารอาหารและมักรับประทานอาหารที่มีแป้งมาก5.สภาพจิตประสาท อารมณ์6.การใช้ยาบางชนิด เช่น พวก salicylate /corticosteroid อาการและอาการแสดง1.ผู้ป่วยจะมีอาการอ่นเพลีย คลื่นไส้ ปวดท้องในระยะเรก มีความรู้สึกอยากถ่วยอุจจาระ อาจเป็นลมหน้ามืดขณะกำลังถ่าย2.อาจมีอาเจียนเป็นเลือดสด  ถ่ายอุจจาระและมีอาการปวดศรีษะ กระหายน้ำกระวนกระวายใจสั่นเหงื่อออก ความดันต่ำ ชีพจรเบาเร็ว และผิวหนังเย็นชื้นอาการเปลี่ยนแปลงอื่นๆที่พบได้คือ                -ฮีมาโตคริตต่ำลง  platelet สูง                - BUN สูง                -ไข้ อาจเกิดภายใน 24 ชั่วโมงแรก และเป็นอยู่นาน 2-3 วัน                -อาจเกิดอาการสับสน                -อาจเกิดอาการปอดบวมได้จาก aspiration หรือ hypostatic pneumonia                 -hyperbilirubinemia เกิดภายหลังการตกเลือด                -อาการทางตับ พบในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคตับแข็งร่วมด้วย การพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกในทางเดินอาหาร1.ตรวจสัญาณชีพ (vital signs) ได้แก่ ชีพจร และความดันโลหิต ถ้าชีพจรมากกว่า 100-120 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต systolic ต่ำกว่า  100 มิลลิเมตรปรอท หรือความดันโลหิตในท่านั่ง(postural hypotention) 10-15 มิลลิเมตรปรอท แสดงว่ามีการเสียเลือดอย่างน้อย 1,000 ซีซี 2.ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ การให้ออกซิเจนในผู้ป่วยช็อคเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะช่วยลดการทำงานของหัวใจและระบบหายใจดูแลทางเดินหายใจให้โล่งอยู่เสมอสิ่งที่ควรติดตาม ประเมินและบันทึก ได้แก่                -ระดับความรู้สึกตัวอาจเป็นอาการสำคัญที่บ่งบอกถึงภาวะพร่องออกซิเจน (hypoxia)                -ลักษณะและอัตราการหายใจ  ปกติควรมีอัตราการหายใจ ระหว่าง 16-22 ครั้ง/นาที และสม่ำเสมอ                -ควรฟังเสียงลมเข้าออกจากปอด เพื่อตรวจค้นว่ามีการอุดตันทางเดินหายใจหรือมีภาวะน้ำเกินหรือไม่-ติดตามผล Lab                3.ดูแลการไหลเวียนเลือดให้เพียงพอ โดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ                4.การให้เลือด                5.ใส่สายยางกระเพาะอาหาร (nasogastric tube) เพื่อทำการล้างกระเพาะอาหารด้วยน้ำทำให้หลอดเลือดหดตัวและช่วยกำจัดเลือดที่ค้างอยูในกระเพาะอาหารออกให้หมด                ในผู้ป่วยสุราส่วนใหญ่จะมีการดูแลสุขภาพไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารไม่เป็นเวลาทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและการดื่มสุรานานๆอาจทำให้เกิดโรคตับแข็งซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร นับเป็นภาวะวิกฤติทั้งทางร่างกายและจิตใจเนื่องจากเป็นการสูญเสียเลือดภายในที่เกิดขึ้นรวดเร็วประเมินได้ยากความล่าช้าหรือการให้การพยาบาลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมจะทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้ ดังนั้นพยาบาลจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ป่วยจึงต้องมีความรู้ความสามารถในการประเมินผู้ป่วยได้ถูกต้อง เพื่อค้นหาปัญหาตลอดจนการวางแผนการพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับการรักษาของแพทย์ ควรมีทักษะและความชำนาญหลายๆด้านมีการวางแผนในหน่วยงานและเตรียมอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อมอยู่เสมอจะทำให้การรักษาผู้ป่วยภาวะวิกฤติได้ถูกต้องรวดเร็วนอกจานี้โรคเลือดออกในทางเดินอาหารยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำอีก  หากผู้ป่วยไม่เข้าใจถึงการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านพยาบาลจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทในการให้ความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #ugib
หมายเลขบันทึก: 103581เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2007 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นประโยชน์แก่คนอื่นๆมากเลยค่ะขอบคุณค่ะ

ขอบคุณนะค่ะ เข้าใจแล้วค่ะ

ผม อะเคยเจอเหตุกาลยังงี้มาเหมือนกันอะนะคับ แต่ผมแม่งก้ยังเป็นเด็กอยู่ แต่ไม่เด็กมานะ เดี๋ยวถ้าใครอ่านเดี๋ยว หรือว่า พยาบาลอะคับ เดี่ยวไม่แน่ได้เจอกันแน่นะคับ  นี่แม็ค นะคับนี่ก็ผม

ดีจังค่ะ..หนูเป็นนักศึกษาพยาบาลนะคะฝึกงานอยู่ค่ะได้ case นี้พอดีเลย..ขอบคุณนะคะช่วยได้เยอะค่ะ^^

การรักษาโรคกระเพาะ

การฟื้นฟูรักษาด้วยชีวะโมเลกุล สำหรับการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

ปัจจุบันนี้คนเราเกิดภาวะตรึงเครียดเนื่องด้วยหลายๆสาเหตุ และปัจจัย ทำให้ร่างกายและจิตใจของเกิดโรคต่างๆขึ้นมากมาย แต่พวกเรายังโชคดีที่ว่ามีการค้นพบการป้องกันสภาพที่เสื่อมโทรมนี้

โดยปรัชญาเบื้องต้น สิ่งที่สำคัญพื้นฐานสำหรับการมีสุขภาพที่ดีคือ แสงแดด, ออกซิเจน, น้ำ, การได้รับสารอาหารที่สมดุล และ การออกกำลังกายที่เพียงพอ

การวิจัยใหม่ค้นพบว่าห้าข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญของชีวิต แต่เนื่องด้วยชีวิตปัจจุบันทำให้สิ่งต่างๆ สารอาหาร น้ำดื่ม อากาศที่ไม่บริสุทธิ์ การได้รับแสงแดดที่ไม่เพียงพอหรือผิดช่วงเวลา ทำให้เราได้รับสิ่งไม่มีคุณภาพเพียงพอเราจึงต้องอาศัยตัวช่วยเพื่อให้ได้รับสิ่งสำคัญที่เพียงพอ

ผลของการบำบัดด้วยเซลล์ :

-ต่อต้านความชราและการแก่ก่อนวัยอันควรที่เกิดจากความเหนื่อยล้าทั้งทางร่ายกายและจิตใจ

-ฮอร์โมนไม่สมดุลและไม่มีประสิทธิภาพของต่อมไร้ท่อ

-ปัญหาเรื่องความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ, ความเจ็บป่วยเนื่องจากความเครียด

-อาการอ่อนล้าเรื้อรัง(Chronic Fatigue Syndrome CFS)

-การพักฟื้นหลังจากโรคหรืออุบัติเหตุ

-กระดูกสันหลังและไขข้อเสื่อม

-ความบกพร่องของกล้ามเนื้อและระบบประสาทบางประเภท

-โรคเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเนื้อเยื้อเรื้อรัง

-ปัญหาระบบหมุนเวียน

-โรคเกี่ยวกับระบบย่อย

-ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพและการติดเชื้อ

-การสร้างเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะขึ้นมาใหม่

-ภูมิคุ้มกัน สารต่อต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการอักเสบ

-การควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ

-โปรโมทและบำรุงรักษาการหมุนเวียนเลือด

-เพื่อให้มั่นใจการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและการรักษาบาดแผล

-การเพิ่มประสิทธิภาพของการฟื้นฟูระบบประสาท

-ควบคุมความสมดุลของระบบฮอร์โมน

-ปรับปรุงระบบทางเดินอาหารที่จะนำไปสู่การกำจัดอาการท้องผูก

-เพิ่มความยืดหยุ่นที่ข้อต่อและหมอนรองกระดูก

-ปรับปรุงการรับรู้และการตื่นตัวของสมองและเสริมสร้างความชุ่มชื้นของผิวหนังชั้นนอกซึ่งนำไปสู่ผิวที่กระชับ สดใสและเรียบเนียน

-เพิ่มความหนาแน่นของชั้นหนังแท้โดยการเร่งคอลลาเจน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท