กาลครั้งหนึ่ง ณ บางเจ้าฉ่า ( 2 )


แมงมุมกำลังสร้างเครือข่าย

วันที่สอง ... ถักทอสายใยเครือข่าย...

                 วันที่สองในการประชุมเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเริ่มต้นตั้งแต่ 8.30  น.  กิจกรรมแรก  คือ    การเขียนความคาดหวังและกลยุทธ์ที่จะทำให้ความคาดหวังที่เขียน ๆ  กันไปนั้นประสบความสำเร็จ   ระหว่างนั้นตัวแทนเครือข่ายภาคใต้อีกกลุ่มหนึ่งก็มาร่วมวงได้ทันเวลา  คือ  พี่พงศา  พี่เอ  และพี่กอล์ฟซึ่งเดินทางจากชุมพร  สำหรับตัวแทนเครือข่ายภาคใต้นั้นมากันครบองค์แล้วล่ะ ...  ท่าทางความมันส์จะหยุดและยั้งไม่อยู่เสียแล้ว            

               หลังจากทำกิจกรรมความคาดหวังเสร็จแล้ว   หัวหน้าแก็งค์ของเราก็ให้อิสระแต่ละภาคอย่างเต็มที่ในการไปตรวจเช็คฐานข้อมูล  พูดคุยแผนงาน  และการสร้างเครือข่ายกันตามสะดวก    กลุ่มเครือข่ายภาคใต้เลือกทำเลในวัดบริเวณลานหน้าอาคารขายสินค้า    ตอนที่เราเดินไปสมทบนั้นพี่  ๆ เขาตั้งวงเตรียมเปิดฉากหารือกันแล้ว  เด็กใต้ที่พูดใต้ไม่ได้อย่างเราไม่หนักใจหรอกเพราะว่าฟังได้ฟังทันฟังเข้าใจ  เพียงแต่แหลงใต้ไม่ได้เท่านั้นเอง    แต่กว่าจะลงตัวเรื่องโต๊ะที่ประชุมก็ขยับเขยื้อนเคลื่อนย้ายกันเพราะโดนแดดไล่   พอทุกอย่างลงตัวแล้วพวกเราก็ลุยกันเต็มที่ เริ่มต้นจากการตรวจเช็คฐานข้อมูลของแต่ละจังหวัดและการจัดระดับชุมชนการท่องเที่ยว   ขั้นตอนนี้มีปัญหานิดหน่อยเรื่องการสะกดชื่อหมู่บ้าน   ชื่อตำบล  และชื่ออำเภอที่ไม่ค่อยคุ้นเคยสักเท่าไหร่  โดยเฉพาะของจังหวัดระนองเพราะว่าข้อมูลของชุมพรและระนองนั้น       เราได้รับข้อมูลไม่ทันก่อนที่จะออกเดินทางไปบางเจ้าฉ่า    เลยไม่ได้ save  และ  print  รายชื่อต่าง    ออกมา    คืนแรกที่ไปถึงเติร์กโทรมาบอกว่าพี่พงศาส่งข้อมูลมาให้แล้ว   เราจดตามที่เติร์กบอกแต่พอเช้าขึ้นมาก็ดันอ่านลายมือตัวเองไม่ออกก็เลยเกิดปัญหาเรื่องการสะกดผิดๆ  ถูก    ด้วยประการฉะนี้แหละ ( แหะ ๆ  ..อายจัง )  

หลังจากที่ได้รายละเอียดของฐานข้อมูลต่าง ๆ  เรียบร้อยแล้ว    เรากับแววก็เริ่มประเด็นอื่น ๆ  ต่อเพื่อไม่ให้เสียเวลา   ความจริงแล้วกลุ่มเราใช้เวลาได้คุ้มค่ามาก ๆ   เพราะพี่ ๆ  เขาพูดกันน้ำไหลไฟดับจนเลขาประจำกลุ่มอย่างเจ้าแมนนั้นจดประเด็นแทบไม่ทันเลยล่ะ   แถมยังฟังภาษาใต้ไม่ค่อยเข้าใจอีกต่างหาก  แต่ก็พยายามจับประเด็นสำคัญ ๆ ต่างได้    อีกอย่างที่ประทับใจก็คือ    เวลาพูดคุยเป็นการเป็นงานเพื่อให้ได้ประเด็นหรือสาระสำคัญ ๆ  นั้นพี่ ๆ  เขาก็จะใช้ภาษากลางเพื่อให้คนอื่น ๆ  ที่พูดใต้ไม่ได้หรืออาจจะฟังไม่ค่อยเข้าใจอย่างแววสาวเหนือและแมนหนุ่มน้อยชาวกรุงได้เข้าใจ   แต่ประเด็นเริ่มร้อนก็พูดกันเมามัน   และแล้วทุกคนก็เป็นตัวของตัวเองกันเต็มที่    แหลงใต้กันถึงอกถึงใจ     สนุกดี  

               นอกจากนั้น   สิ่งที่ได้เพิ่มมาจากการประชุมภาคในครั้งนี้คือ   ตัวย่อของคำว่า  การท่องเที่ยวโดยชุมชน  ตอนที่พวกเราคุยกันในประเด็นเกี่ยวกับ  CBT  นั้น  พี่พงศาก็พูดขึ้นมาว่าควรจะใช้ตัวย่อภาษาไทยเป็น  กทช.  ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องย่อเป็นภาษาอังกฤษด้วยทั้ง ๆ  ที่ภาษาไทยก็ย่อได้เหมือนกัน  นี่คือที่มาของ  กทช.  ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนใหม่เป็น  กทท.ดชช.    ( รู้สึกว่าจะเป็นตัวย่อที่ยาวเท่ากับคำเต็มเลยนะคะพี่ )               

       หลังจากระดมพลังสมองเรียบร้อยแล้ว   ดูเหมือนว่ามื้อเที่ยงวันนั้นคณะทำงานเครือข่ายภาคใต้เป็นกลุ่มสุดท้ายที่ไปกินข้าว   เพราะมัวแต่เขียน  my   map   ลงในกระดาษแผ่นใหญ่    แล้วก็ต้องวาดและแต่งเติม  Banana  Model”  ให้ออกมาสวยสดสะดุดตาอีกต่างหาก    model  ชิ้นนี้เป็นฝีมือของหนูแจนกับพี่เอที่ช่วยกันวาด  ช่วยกันเติ่มโน้นเติ่มนี่จนทุกอย่างลงตัวออกมาเป็นที่ถูกใจพวกเรา    

            ช่วงบ่ายอากาศร้อนมากพวกเราก็เลยย้ายมานั่งประชุมกันที่ศาลาในวัด  มาทำวิจัยครั้งนี้เพิ่งจะรู้ซึ้งว่า  วัด  เป็นสถานที่ร่มเย็น  คลายร้อนได้จริง ๆ  ก็วันนี้แหละ  สงสัยว่าถ้าไม่มีวัดยางทองพวกเราคงร้อนรุ่มกลุ้มอุรากันมากกว่านี้     

            กิจกรรมภาคบ่ายเป็นการนำเสนอฐานข้อมูลและรายงานผลการประชุมของแต่ละเครือข่ายซึ่งได้ระดมสมองกันไปเมื่อเช้านี้     การนำเสนอเริ่มต้นจากกลุ่มเครือข่ายภาคกลาง    เพราะว่าเป็นภาคที่ตัวแทนเครือข่ายอย่างพี่กบและหัวหน้าทีมอย่างพี่แจ้าติดภารกิจเรื่องเรียน   กลุ่มภาคกลางก็เลยระดมความคิดและวางแผนงานต่าง    ไว้เสร็จเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เมื่อคืน   วันนี้พี่จุ๋มก็เลยฉายเดี่ยวแบบม้วนเดียวจบ   ส่วนภาคอีสานนั้นหัวหน้าทีมหุ่นทรมานใจสาวอย่าง อ.ไผ่  ก็นำเสนอได้น่าสนใจและมีลีลาเฉพาะตัวที่หาตัวจับยาก   บางครั้งก็ดูน่าสงสาร   แต่มาคิดอีกทีออกแนวน่าหมั่นไส้มากกว่า    จากนั้นก็ตามติดด้วยการนำเสนองานของภาคเหนือซึ่งก็เป็นที่สนใจของหนุ่ม ๆ  จากทั่วทุกภาค   เพราะว่าน้องขวัญสาวสวยประจำทีมวิจัยนั้นออกมานำเสนอประเด็นผลการประชุม  ทำเอาทั้งหนุ่มน้อยและหนุ่มเหลือน้อยหลายคนตาสว่าง  งานนี้กล้วยไม้ป่าสีสันสวยงามได้วาดลวดลายสู่สายตาพวกเราแล้ว  ( เย้ ๆๆๆ ) และภาคสุดท้ายที่นำเสนอผลการประชุม    คือ  ภาคใต้    รู้สึกว่าจะเป็นภาคที่เรียกเสียงฮาและมีมุขมาให้ได้หัวเราะกันเกือบทุก รอบ   งานนี้   หัวหน้าทีมอย่างเราก็เลยโชคดีที่ได้เหล่าบรรดาอรหันต์ทั้งหลายนั้นมีเทคนิควิธีการพูด   การนำเสนอประเด็นต่าง     ชัดเจน   ตรงประเด็น  และดึงดูดความสนใจของทุกคนได้ดี  โดยเฉพาะ  "พี่หนุ่ยคีรีวง  ที่อธิบายเรื่อง     Banana  Model   ต้องบอกเลยว่าเป็นการเปรียบเทียบที่เข้าใจง่ายและติดลมบนไปเรียบร้อยแล้วล่ะ  และ ถึงแม้ว่าพี่เอแกจะวาดปลีกล้วยหัวทิ่มหัวตำไปบ้าง  แต่ model  ของกลุ่มเราก็ยังสื่อความหมายได้ดี    สุดยอดจริง  ( ไม่ได้เขียนเชียร์กันเองนะ   แต่ข้อมูลมันฟ้องต่างหาก                 

           ในช่วงเย็นก่อนที่จะกินข้าว   พวกเราก็แยกย้ายกันไปพักผ่อนตามอำเภอใจ   หัวหน้าแก็งค์เปิดโอกาสให้ไปเที่ยวชมวิถีชีวิตของชาวบางเจ้าฉ่า    เพราะเดี๋ยวจะมาไม่ถึงบางเจ้าฉ่า  บางคนก็นั่งรถอีแต๋นกิตติมศักดิ์เที่ยวรอบหมู่บ้าน   บางคนก็รวมกลุ่มจิบเบียร์ชมบรรยากาศสุดแสนโรแมนติกริมแม่น้ำ   บางคนมีภารกิจเลยต้องเดินทางกลับก่อน    บางคนก็กลับไป  stay  at  home     ส่วนเรากับขวัญกลับไปล้างหน้าล้างตาให้คลายร้อนก่อนที่จะไปซิ่งจักรยานรอบหมู่บ้าน   งานนี้น่าสงสารน้องขวัญที่ต้องพ่วงเราซ้อนท้ายไปตลอดทาง        ดีนะที่ยางรถยังรับน้ำหนักไหว   ถึงแม้ว่าจะมีหลายคนตะโกนบอกว่า  ยางแบน ๆ ๆ    แต่เราก็มั่นใจในน้ำหนักตัวของตัวเองและมั่นใจในฝีเท้าและการปั่นจักรยานของน้องขวัญว่า   สามารถจะประคับประคองรถจักรยานไปได้ตลอดลอดฝั่งเจ้าค่ะ ...

                มื้อเย็นวันนี้พิเศษสุด    ไม่ว่าจะเป็นสถานที่จัดเลี้ยงบริเวณลานสนามหญ้า     เมฆฝนที่ตั้งเค้ารอพวกเราอยู่บนท้องฟ้า    การแสดงของน้อง ๆ  หนู   แม้ว่าการแสดงชุดแรกจะติด ๆ  ขัด ๆ ไปบ้างเลยต้องยืนกันนานก็ไม่ได้ทำให้ความประทับใจลดน้อยลงเลยค่ะ      ส่วนที่พิเศษและประทับใจที่สุดก็คือ  การร้องเพลงรับขวัญ  และ   เพลง  ก ไก่   นกหูกหน้าผี ของคุณยายทั้ง  2  คน ( แฮะ ๆๆ ....พี่หนุ่ยจำบ่ได้แล้วว่าคุณยายชื่ออะไร  คิดว่าน้องขวัญคงช่วยได้เพราะเห็นคุยกับคุณยายอยู่นาน )  หลังจากบันเทิงเริงใจกันพอสมควรแก่เวลาแล้วก็ถึงเวลาทำงานกันต่อ 

                การประชุมในค่ำคืนนี้    เป็นการสรุปประเด็นความคาดหวังและกลยุทธ์ที่พวกเราได้เขียนกันไว้ตั้งแต่วันแรกที่มาถึงว่า   ความคาดหวังที่คิดและเขียน ๆ  กันนั้น  คณะทำงานส่วนกลางนำมาสรุปเป็นกลยุทธ์สำคัญได้ทั้งหมด  10 ข้อ   ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนที่มาจากกลุ่มองค์กร  และหน่วยงานต่าง    นั้นได้มีส่วนร่วมกันอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน   งานนี้พี่ปอก็เลยขอยืม  ทฤษฎีถ่วงน้ำหนัก   ของ  อ.ไผ่มาใช้ซะเลย  ( งานนี้ต้องให้เครดิตกันหน่อยขอรับกระผม )

                พวกเราทั้งหมดจากคนละกลุ่มคนละหน่วยงานก็ย่อมจะมีความคาดหวังที่แตกต่างกัน   ดังนั้น  เพื่อให้ความแตกต่างสามารถรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้นั้น   ทฤษฎีถ่วงน้ำหนัก  จึงได้เข้ามามีบทบาทด้วยประการฉะนี้   แต่ละคนที่มาจากกลุ่มก้อนเดียวกันก็จะได้สติกเกอร์สีเดียวกัน   สีม่วงเป็นของเหล่าบรรดาอาจารย์และ  สถาบันการศึกษา    นอกนั้นก็มีสีชมพู   สีฟ้า  หรือสีอะไรอีกไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มไหนเพราะมีทั้งหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน  องค์กรอิสระ  และตัวแทนชุมชน    แต่ไม่ว่าจะอยู่กลุ่มไหนทุกคนก็จะได้สติกเกอร์คนละ  5  แผ่นเพื่อจะนำไปติดตรงพื้นที่ว่าง ๆ  ของกลยุทธ์    10  ข้อเพื่อที่จะทดสอบความเป็นไปได้ของทฤษฎีถ่วงน้ำหนัก   เพื่อหาความสมดุล   และการจัดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ที่คิดว่าจำเป็นต้องทำเร่งด่วน 

                   อีกทั้งยังจะสะท้อนให้เห็นมุมมองของคนแต่ละกลุ่มได้อย่างชัดเจนว่า  ใครให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ใด  หรือ  กลยุทธ์ใดที่ทุกกลุ่มเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นเรื่องสำคัญหรือกลยุทธ์ใดยังไม่เป็นประเด็นเร่งด่วนนัก      กิจกรรมนี้ทุกคนสนุกกันยกใหญ่    แถมมีโกงกันเล็กน้อยดีนะที่ไม่ต้องพึ่ง  กกต.  ไม่งั้นเรื่องยาว sure                    ความหลากหลายคนจากกลุ่มต่าง ๆ   บวกกับสติกเกอร์สีสันสดสวยสะท้อนแสงที่แต่ละคนประโคมแปะเข้าไปอย่างคึกครื้นนั้นไม่ได้มีการแบ่งพื้นที่ไว้สำหรับแปะ  และ  ไม่มีที่รวบคะแนนอย่างชัดเจนนั้นก็เลยทำให้กระดาษแผ่นนั้นดูเลอะเทอะออกแนว   กลิ่นสีและกาวแป้ง  ซึ่งก็พอจะเข้าใจได้ว่า... นี่คือ   ความงามของศิลปะอย่างหนึ่ง

                หลังจากภารกิจการวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว   ทีมวิจัยแต่ละภาคและผู้ประสานงานส่วนกลางก็ได้ประชุมหารือกันเฉพาะกิจ และมอบหมายงานที่ต้องกลับมาทำ...ไม่ว่าจะเป็นสรุปเครือข่ายแต่ละภาค    การเขียนบันทึกเรื่องราวและมุมมองต่าง ๆ ที่จำต้องสังเกตและเขียนออกมาให้ได้    การเขียนเนื้อหาบทที่  3 ของแต่ละภาค    และการเขียนบทความที่มีชื่อว่า    บทเรียนระหว่างทางการพัฒนาเครือข่ายในฐานะผู้วิจัย     คืนนั้นพอได้ฟังภาระงานทั้งหมดก็เล่นเอา        วิงเวียนเล็กน้อย   โชคดีที่หัวหน้าแก็งค์แจกค่าโทรศัพท์ติดกระเป๋ากันมาถ้วนหน้า ...ก็เลยคึกคักกันนิดหน่อย...  555       พอเข้าเขตบ้านเหล่าบรรดาน้องหมาก็สามัคคีกันเห่าต้อนรับกันซะดังลั่น  งานนี้ชาวบ้านเค้ารู้หมดเลยว่า  "กลับดึก"  

                ไม่ไหวแล้วง่วงนอนมาก ๆ   เอาไว้ spider( wo) man  อย่างเราจะกลับมา   ถักทอสายใยเครือข่ายกันต่อในคราวหน้า  

                 บ๊าย ... บาย                  

คำสำคัญ (Tags): #เครือข่าย
หมายเลขบันทึก: 103134เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2007 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท