สุไลมาน 26


15 ธค 2548

    วันนี้เริ่มงานด้วยการเข้าเล่มกระดูกงู 5 เล่มจากสาขาฟิสิกส์   จากนั้นก็มาถ่ายเอกสารต่อทั้งวันเลยครับ ..ถ่ายเอกสารนี่คือเยอะมากครับเป็นหมื่นแผ่นเห็นจะได้ครับ

      ตอนบ่าย อ.บัญชา ให้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับปุ่มต่าง ๆ ของเครื่องตัดกระดาษ ซึ่งมีดังนี้

ปุ่ม CORS - สำหรับเปลี่ยนโปรเเกรม

BM - ฉากใช้สำหรับเดินแกไปที่ใดที่หนึ่งต้องการบันทึกให้กด BM แล้วในโปรเเกรมใด ๆ รายอัดจะเพิ่มถึง  50 รายการ

H - ระยะที่ฉากเลื่อนชิ้นงานออกมาให้ตัดเเบ่ง  ( กด H แล้ว STOR )

N - จำนวนครั้งที่มีดลงมาตัดเเบ่งชิ้นงาน

STOR- ป้อนตัวเลขแล้วกด STOR

AIR - อัดลม ( เวลาเครื่องลงตัด )

P - ไว้สำหรับกดป้อนผลักกระดาษแต่หน่วยตัวเลขนี้เป็น cm เสมอหรือกดตัวเลขแค่ 1-2 หลัก เช่นกด 20 P หมายถึง ผลัก 2 cm

SP - ฉากกระทุ้ง  เวลาอัดฉากกระทุ้งจะกดตัดไม่ได้

CLMP - ตั้งฉากไล่ลมจะลงเฉพาะ COPY ( ตัวทับกระดาษ ) แต่มีดไม่ลง

FRONT - กดฉากเดินหน้า

BACK - กดเดินถอยหลัง

SPEED - ไว้เลือกความเร็วของฉาก ช่วงเดนหน้า เร็ว-ช้าได้

PS - ช่วงอัดโปรเเกรม

MN - ตัดธรรมดาฉากจะไม่เลื่อนเอง เรียกว่า ฉากตาย

SA - ใช้โปรเเกรมกึ่งอัตโนมัติ ฉากจะเลื่อนไปเองเรียก ฉากเป็น

FA - ตัดอัตโนมัติแต่ต้องใช้ควบคู่กับ FAA ( กดปุ่มพร้อมกัน )

INCH - นิ้ว

mm - มิลลิเมตร

  ต่อจากนั้นผมก็ลองกระดาษมาลองตัดให้เป็นขนาด A 3 โดยที่ อ. บัญชาคอยเเนะนำให้ในการตั้งค่า

     วันนี้สวัสดีครับ....

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 10222เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2005 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท