จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

จะเล่นกับลูกตอนอายุเท่าไร


เวลาของเรา (คนเป็นพ่อเป็นแม่) รวดเร็วครับ แต่ความจริงเวลาของลูกเร็วกว่าครับ ดังนั้นพ่อแม่บางคนจะรู้สึกว่า ความน่ารักน่าอุ้มของลูกมันผ่านไปเร็วมาก รู้สึกว่า เมื่อวานเองที่อุ้มสะบายอยู่ มาวันนี้อุ้มไม่ไหวแล้ว เพราะลูกตัวหนักและโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

พ่อแม่หลายคนงานยุ่ง จึงคิดว่า ช่วงแรกของลูกที่ยังไม่ประสาอะไร เลี้ยงง่ายที่สุด คือ ฝากคนเลี้ยงเอาไว้ ตอนกลับจากงานก็แวะรับลูก หรือบางคนก็ให้พี่เลี้ยงอยู่กับลูกที่บ้าน ถึงบ้านต่างคนก็ต่างนอน เวลาที่จะเล่นกับลูกไม่มีเลย หรือบางคนคิดว่า ยังเล็กอยู่ไว้ค่อยเล่นกันตอนโตจะดีกว่า

ผมว่าหลายคนลืมไปว่า ช่วงพัฒนาการที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กคือแรกเกิดจนถึงสามขวบ และการเล่นของลูกในช่วงวัยนี้มีความสัมพันธ์กับระดับสติปัญญา และอื่นๆ อีกมากมาย วัยถัดจากนี้ลูกไม่ค่อยเล่นกับพ่อแม่แล้วครับ เพราะเขามีสังคมของเขาแล้วนั้นคือเพื่อนๆ ของเขา

พ่อแม่คนใดที่ลืมเล่นกับลูกตอนก่อนถึงสามขวบสี่ขวบ ผมว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายมากครับ นอกจากคุณจะไม่ได้ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกแล้ว ในอนาคตคุณก็อาจจะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของโลกในทัศนคติของลูกคุณก็ได้

ข้อสรุปง่ายๆ คือ ยิ่งคุณได้เล่นกับลูกคุณตั้งแต่เล็กๆ นอกจากจะช่วยในการพัฒนาการลูกคุณแล้ว ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีตอนโตด้วยครับ

คำสำคัญ (Tags): #การเล่น
หมายเลขบันทึก: 101923เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2007 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สลามอาจารย์

ผมคนหนึ่งชอบเล่นกับลูก และภรรยา (เล่นจริงๆ อย่าคิดมาก) มีอยู่ครั้งหนึ่งผมไปละหมาดยามาอะฮไม่ทัน เลยทำละหมาดที่บ้านเนื่องจากลูกชอบเล่นกับผม แต่ช่วงที่ผมละหมาดผมก็สั่งให้เขานั่งเชยๆ แต่เด็กนั่งเชยไม่ได้ บริเวนนั้นมีขาเก้าอี้พังหนึ่งอัน(ผมลืมเก็บ) แกก็คว้าขาเกาอี้มาเล่น ปากก็เรียกชื่ออาบีๆ เห็นผมไม่ตอบก็เลยฟาดเข้าให้เจ็บน่าดูทน พอละหมาดเสร็จผมก็แย่งขาเก้าอี้เก็บ  (กลัวโดนฟาดครั้งที่สอง) เรื่องก็เลยจบเพียงแค่นี้ (ลืมบอกว่าลูกผมอายุ 16 เดือนเอง)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท