เทคโนโลยีพัฒนาไปเร็วกว่าที่เราจะควบคุมได้ใช่หรือไม่


ยิ่งเมื่อมีคนเพิ่มมากขึ้น ความหลากหลาย หลายๆ อย่างก็ยิ่งมีมากขึ้นตามไปด้วย

การเข้ามาของยุคเว็บ 2.0 ทำให้เกิดลักษณะผู้ใช้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น blogger, citizen journalist และ netizen ในช่วงแรกๆ ของ world wide web ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีการศึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ แต่ในปัจจุบัน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกภาษา ทุกสาขาอาชีพ เมื่อเริ่มต้นเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์ก็เริ่มเรียนรู้วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ยิ่งเมื่อมีคนเพิ่มมากขึ้น ความหลากหลาย หลายๆ อย่างก็ยิ่งมีมากขึ้นตามไปด้วย เราสามารถเจอแม่บ้านเข้ามาเขียนบันทึกประจำวันของตัวเอง ในขณะที่เจอนักวิชาการเข้ามานำเสนอผลงานการวิจัยนวัตกรรมต่างๆ และเจอนักธุรกิจที่พยายามผลักดันสินค้าของตัวเองสู่ตลาด อินเทอร์เน็ตได้นำขอบเขตพรมแดนของเวลา สถานที่ และชนชั้นออกไป แต่ก็นำมาซึ่ง ปัญหาใหม่ๆ อีกมากมายเช่นกัน

ใครจะคิดว่า camfrog เทคโนโลยีด้านมัลติมีเดียที่สามารถบีบอัดข้อมูลแล้วส่งภาพเคลื่อนไหวสำหรับการทำ video conference หรือการ ประชุมทางไกลจะกลายเป็นปัญหาระดับชาติของประเทศไทยเพราะเด็กวัยรุ่นเอามาใช้โชว์ xxx นอกจากนี้ยังมี youtube เว็บไซต์ video sharing ที่กลายเป็นเครื่องมือของผู้ไม่ประสงค์ดีในการเผยแพร่คลิปวีดีโอที่ไม่เหมาะสมจนคนไทยทั้งประเทศอดดูวีดีโอดีๆ ที่มีเก็บไว้อีกมาก มายในเว็บไซต์นี้ร่วมเดือน การใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดเกิดขึ้นมาจากการเติบโตของประชากรอินเทอร์เน็ตที่เร็วกว่าการเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง เทคโนโลยีกลายเป็นดาบสองคมเพราะเครื่องมือที่มีคุณค่าตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่รู้คุณค่า

ตัวอย่างเครื่องมือไฮเทคใกล้ตัวที่มีประโยชน์มาก ซึ่งได้กลายเป็นอุปกรณ์พกพาในชีวิตประจำวันของเราไปซะแล้วก็คือ "โทรศัพท์มือถือ" นอกจากเป็นโทรศัพท์มันยังเป็นทั้งกล้องถ่ายรูป เป็นเครื่องเล่นเพลง และเป็นอื่นๆ อีกมาย ในบางประเทศอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกเสียด้วยซ้ำที่จะรู้ว่ามีจำนวนโทรศัพท์มือถือมากกว่าจำนวนประชากรทั้งประเทศซะอีก ดังนั้นสำหรับคนรุ่นใหม่ สำหรับเด็กและเยาวชน มือถือไม่ใช่แค่มีไว้คุยโทรศัพท์กับพ่อแม่หรือกับเพื่อนๆ แต่ยังเอาไว้แชตและเล่นเน็ตได้อีกด้วย อย่างที่เห็นในโฆษณาที่ว่าเดี๋ยวนี้เราสามารถใช้ MSN และ Google บนมือถือได้แล้วนะ และในอนาคตอันใกล้นี้ การรวมกัน (convergence) ของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นก็จะทำให้การสื่อสารของเราเปลี่ยนรูปแบบไป เช่น เสียงระบบ GSM กับ Voice-over-IP ที่วิ่งอยู่บนเครือข่ายไร้สายอย่าง WiMax ซึ่งใช้การอ้างอิง IP Address แบบ IPv6 ก็จะทำให้ โทรศัพท์มือถือเครื่องเล็กสามารถใช้งาน IPTV และ Video-on-Demand ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่ไม่เคยคาดฝันมาก่อน

โดยสรุปก็คือ ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีที่พร้อมใช้ อย่าง IPv6 ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานซึ่งก่อให้เกิดเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอัจฉริยะขึ้น เรามี Radio- Frequency-IDentifictaion (RFID) ที่เป็นทางเลือกแทน bar code แบบเดิมๆ ในการรับส่งข้อมูลเพื่อระบุสิ่งที่เราต้องการ เรามี Ultra-WideBand wireless (UWB) ที่เป็นอุปกรณ์ไร้สายในการรับส่งสัญญาณ short-range high bandwidth ที่ประหยัดพลังงาน และอีก หลายเทคโนโลยีที่กำลังอยู่ในช่วงวิจัยพัฒนาเพื่อไปสู่การเป็นผลิตภัณฑ์จริงในท้องตลาด แต่คำถามก็คือ แล้วคนหละพร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นแค่ไหน เครื่องมือเหล่านี้หาได้ง่ายและใช้งานง่ายเกินไปหรือเปล่า จนคนที่ไม่มีความรู้นำไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง และก่อให้เกิดโทษแก่สังคมโดยไม่รู้ตัว เมื่อกฎหมายยังเอื้อมมือไปไม่ถึง ยังไม่สามารถป้องกันเหตุร้ายได้ก่อนที่ปัญหาจะเกิด เราจะทำอย่างไรให้คนไทยมีความรู้เพิ่งพอในการนำเทคโนโลยีไปใช้ให้ถูกทาง เราจะควบคุมเทคโนโลยีหรือให้เทคโนโลยีควบคุมเรา แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think?

หมายเลขบันทึก: 101827เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2007 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ซุนจื่อกล่าวไว้ว่าอุบายดีอยู่ที่คนใช้

จะว่าไปแค่มีด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เรามีตั้งแต่ยุคโบราณ ปัจจุบันเราก็ยังควบคุมไม่ให้มันไปฟันใครไม่ได้ ปัญหาอยู่ที่คนใช้

ช่วงนี้ก็มีประเด็น รัฐบาลประเทศนู้ประเทศนี้ block นู่น block นี่ เพื่อป้องกันการใช้สื่อในทางที่ไม่เหมาะสม (หรือบางทีก็แค่ขวางหูขวางตา) แล้วก็มีกลุ่มคนที่โวยวายต่อต้าน บ้างก็เพื่อเรื่องสิทธิมนุษยชน บ้างก็แค่โมโหที่ตัวเองดูรูปโป๊ไม่ได้

โลกนี้เต็มไปด้วยความขัดแย้ง มนุษย์เรามีอัตตา มีโมหะ ความขัดแย้งจึงไม่หมดไปเสียที
ช่างวุ่นวายนักหนอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท