KM เพื่อพัฒนาสู่องค์กร "อัจฉริยะ" คืออะไร ? เพื่ออะไร ? เข้าร่วมสัมมนาแล้วได้ อะไรบ้าง ?


องค์กรอัจฉริยะนั้นเป็นอย่างไร ? เพื่ออะไรกัน ? เข้าร่วมสัมมนาแล้วได้อะไร ?

          5 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมาสด ๆ ร้อน ๆ นี้ผมมีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาซึ่งจัดขึ้นโดย  KMI  โดยมีความต้องการจะรู้ว่า "องค์กรอัจฉริยะ" ที่พูดถึงนี้เป็นอย่างไร ?  และเพื่ออะไร ?  และในเวลาเพียง 1 วันในการสัมมนาแบบนี้  จะเก็บเกี่ยวนำเอามาใช้ในทางการปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้ให้ปรับตัวดียิ่งขึ้นได้ในประการใดได้บ้าง ?

          สิ่งหนึ่งที่ผมได้พบในการสัมมนาครั้งนี้นั้น  ผมรู้สึกว่าผู้จัดได้ทำตรงเวลาดีมาก  ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำให้เป็นไปตามเวลาที่ตกลงกันไว้แล้ว  ส่วนองค์กรที่เป็นอัจฉริยะนี้เป็นอย่างไรนั้นพอจะสรุปได้ว่า  ไม่มีกรอบความคิดที่ตายตัว  มันแล้วแต่ผู้จะเดินก้าวไปนั้นต้องการ  หรือกำหนดขึ้นมาเอง เช่น

  • เพิ่มความสามารถในการเผชิญกับอนานาคนที่ไม่แน่นอน  ทำให้เก่งยิ่งขึ้น  ผ่อนคลายมากขึ้น  ความกดดันน้อยลง  ทำเหมือนเล่นแต่ไม่ใช่ทำเล่น ๆ
  • ทำให้รู้จักตนเองมากขึ้น  อ่านตนเองออกได้มากขึ้น  และใช้ตนเองได้มากยิ่งขึ้น
  • ทำให้ใช้ความสามารถใน 4 มิติได้มากขึ้น : สมอง  2 มือ  หัวใจ  และจิตวิญญาณ  ฯลฯ

           สำหรับความสำเร็จจะทำได้สักปานใดนั้น  ขึ้นอยู่กับไฟในใจหรือแรงปรารถนาว่าแรงกล้าสักเท่าใดกล่าวคือถ้าเราต้องการให้ไปสู่ทางใด  และมุ่งเน้นไปอย่างหนักแน่น  เราก็จะได้ในสิ่งที่เรามุ่งนั้น  ข้อสำคัญคือทำอย่างมีสติ  แล้วปัญญาก็เกิด  ซึ่งเข้ากับหลักธรรมของชาวพุทธ  หมายถึงเราต้องทำอย่างมีสติ  และมีไฟปรารถนา  แล้วปัญญาก็จะพาเราไปบรรลุความสำเร็จนั้น 

           เมื่อเราต้องการก้าวไปให้ได้ผลเร็จขึ้น  สะดวกขึ้น  เราก็ต้องมีมือโปรคอยเป็นพี่เลี้ยงช่วยด้วย  เปรียบเสมือนการหัดขับรถยนต์  เราก็ต้องมีมือโปรคอยเป็นพี่เลี้ยงร่วมกันเรียนรู้ไปด้วย  จึงจะไปได้ง่ายขึ้น  ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก  โดยตั้งต้นจากศูนย์  เพราะความรู้นั้นแบ่งปันร่วมกันเรียนและเสริมพลังร่วมกันได้  ทาง  KMI  จึงได้จัดให้มีโครงการ  IOCS ไว้สำหรับเป็นพี่เลี้ยงสำหรับองค์กรที่มีโอกาสเข้าร่วมโครงการครับ  แต่ความสำอันจะเกิดขึ้นจริง ๆ นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญครับ

           ในสัมมนานี้ยังมีการแสดงออกถึงความหลากหลายทางความคิด  ประสบการณ์  และการเชื่อมโยงประสานเข้าด้วยกันของบรรดาพี่เลี้ยง (อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือในโครงการ  IOCS นี้  รวมถึงความสามารถพิเศษในการตอบปัญหาต่าง ๆ ของบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิ  ซึ่งผมฟังดูแล้วเกิดสภาวะ  "เข็มขัดสั้น"  =  "คาดไม่ถึง"          

            บันทึกนี้ผมตั้งใจจะนำเอาสิ่งประทับใจจากประสบการณ์การเข้าร่วมสัมมนามาเล่าสู่กันฟังสำหรับท่านที่ไม่ได้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้เป็นสำคัญ  หากมีประการอื่นใดที่ท่านผู้มีเกียรติต้องการจะรู้เพิ่มเติมผมก็ยินดีที่จะเล่าเพิ่มเติมครับ  สำหรับท่านผผู้มีเกียรติที่มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ด้วยนั้น  ผมก็ขอให้ท่านช่วยร่วมเล่าความคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อขยายผลทางประสบการณ์ด้วยครับ  ก็จะเป็นการดี

หมายเลขบันทึก: 101577เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2007 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 07:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ คุณสาโรจน์
          ตั้งแต่ได้รับโทรศัพท์คุณสาโรจน์ในการสมัครเข้าร่วมงานสัมมนา KM เพื่อการพัฒนาองค์กรอัจฉริยะ  ก็คาด (คาดถึงนะคะ เพราะเข็มขัดยาวพอ) ได้ว่า เราได้พบกับท่านผู้ต้องการเรียนรู้จริง เพราะ ถูกยิงด้วยคำถามทั้งเรื่องงานสัมมนา และ เรื่องการใช้คุณลักษณะต่าง ๆ ใน G2K เช่น การขึ้นรูป เป็นต้น

         ยิ่งมาได้อ่านการ AAR นี้ ยิ่งชอบใจค่ะ  เพราะอยากเห็นการเชื่อมต่อในเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  อยากให้คนอื่น ๆ มาคุยกันด้วยค่ะ

          ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ  คุณสุปราณี ฯ

ดีใจมากที่ได้รับข้อคิดเห็น  การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกสนานและสร้างสีสันให้มีชีวิตชีวาครับ  หวังใจว่าจะได้ข้อแนะนำที่ดีจากคุณสุปราณีอีกครับ  ขอบคุณครับ

P

สวัสดีค่ะ

มาเยี่ยม ขอต้อนรับนะคะ

  • ขอบคุณ คุณBrain Switch ที่บันทึกสิ่งดีดีค่ะ
  • บันทึกนี้ ทำให้ดิฉันประทับใจ ในการประชุมไปด้วยได้เลยละค่ะ

ขอต้อนรับ คุณเพื่อนร่วมเดินทาง และคุณ sasinanda ที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท