โลกร้อนของจี ๘ กับ อาหารโลกของ โอเปค


ข่าวคราวที่บอกเล่าเก้าสิบให้ทุกท่านฟังนี้ เป็นประเด็นที่ ดร.ธิดารัตน์ บุญศรี ชวนให้ผมคิด ไตร่ตรอง และกลั่นกรองมาเป็นญัตติในการโต้วาทีสิ่งแวดล้อม

จากข่าวการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ ๘ ชาติ หรือ จีแปด เพื่อหารือมาตรการรับมือกับภาวะโลกร้อนโดยมีกระแสผลักดันให้มีการกำหนดเป้าหมายให้ทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2050 และจำกัดการเพิ่มของอุณหภูมิของบรรยากาศโลกในศตวรรษนี้ให้อยู่ในระดับไม่เกิน 2 องศาเซลเชียส

แต่หนึ่งประเด็นที่ผมสนใจค่อนข้างจะแตกต่างจากประชาคมโลกไปสักหน่อย กล่าวคือ ประเด็นการออกนโยบายลดการใช้พลังงานถ่านหินและปิโตรเลี่ยมของกลุ่มจี ๘ แล้วหันไปใช้พลังงานจากมวลชีวภาพแทน เพราะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เป็นอันมากนั้น กลับสร้างแรงกดดันให้กลับกลุ่มประเทศผู้ค้าน้ำมันส่งออก หรือ กลุ่มโอเปค เป็นอย่างมาก

จนถึงกับออกมาสร้างคำขู่ว่า "หากกลุ่ม จี ๘ มีมติที่จะลดการใช้พลังงานถ่านหินและปิโตรเลี่ยมจริง ทางกลุ่มโอเปคก็จำเป็นจะต้องออกมาตรการลดกำลังการผลิต และขึ้นราคาน้ำมัน เพื่อเป็นบทเรียนในการตัดสินใจที่ผิพลาด"

ทั้งนี้ ทางกลุ่มโอเปค ได้อ้างเหตุผลว่า หากทั้งโลกละเลยพลังงานถ่านหินและปิโตรเลี่ยมแล้ว ผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมากจะถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการสร้างสารปิโตรเลี่ยม จนอาจมีผลต่อความเพียงพอในการบริโภคอาหารของพลโลก ทำให้ขาดความมั่นคงทางอาหารเรียกว่า ขึ้นราคาน้ำมันเพราะเห็นแก่มนุษยชาติผู้หิวโหยนั่นเอง

ข่าวคราวที่บอกเล่าเก้าสิบให้ทุกท่านฟังนี้ เป็นประเด็นที่ ดร.ธิดารัตน์ บุญศรี ชวนให้ผมคิด ไตร่ตรอง และกลั่นกรองมาเป็นญัตติในการโต้วาทีสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีครับ

คิดไปคิดมา ผมก็ยังสร้างคำไม่ออก ว่าจะตั้งญัตติไหนดี ที่ช่วยให้นักศึกษาบางมดของเรา ได้เรียนรู้จากการโต้วาทีครับ ยังไงขอให้ชาวบล็อกช่วยด้วยก็แล้วกันนะครับผม

แต่ที่ผมได้เรียนรู้จากวิธีคิดของกลุ่มประเทศผู้ทรงอิทธิพลทั้งสองฝ่าย คือ การอ้างเหตุผล เพื่อหาทางออกแก่มนุษยชาติ ยิ่งมนุษย์ฉลาดมากขึ้น ยิ่งมีการอ้างเหตุผลที่ซับซ้อนขึ้น ฟังดูเหมือนแต่ละฝ่ายก็มีคุณธรรมอยู่ในตัวเอง จะว่าใครผิดใครถูกก็ไม่ได้ อย่างนี้ซิครับ มันน่าแปรญัตติเสียจริงๆ

ขอบคุณครับ

 

หมายเลขบันทึก: 101391เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2007 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 00:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท