อุดมศึกษาไทย จะไปทางไหนดี


การศึกษาระดับอุดมศึกษา ควรดูทิศทางในภาพรวมด้วย ไม่ใช้มุ่งแต่เป็นเลิศฯ ตามที่เขียนในแผนฯ เพื่อของบประมาณเท่านั้น

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปรับฟังการบรรยายจาก อาจารย์ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ท่านเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง อุดมศึกษาไทย จะไปทางไหนดี...จัดโดยสำนักหอสมุด มจธ.

มีมุมมองอยู่ห้าประเด็นหลักคือ

1. กำหนดอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย สร้างองค์ความรู้

มหาวิทยาลัยควรมีจุดยืนของตัวเอง...มีความแตกต่างได้ ไม่ใช้เหมือนกันหมด อย่างในปัจจุบัน...ต้องสร้างองค์ความรู้....การวิจัยที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศได้....

 

2.  อุดมศึกษาต้องปรับตัว เพื่อการพัฒนาคนในวัยทำงาน

คนในวัยทำงานมีประมาณ 30 ล้านคน...สามารถนำการศึกษา(หลักสูตร)มารองรับคนกลุ่มนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานและผลผลิต...นอกเหนือจากการรับนักศึกษาจากมัธยมศึกษาเท่านั้น...การเรียนควรมี สหกิจศึกษา...ประสานกับผู้ประกอบการ...ดูอัตราการเกิดของประชากรในภาพรวม....

 

3. ตระหนักว่า เด็กเปลี่ยนไป เด็กมีศักยภาพสูงมาก

การพัฒนาเด็ก ควรให้ครบทุกด้านคือ วิชาการ ความคิด คุณธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะการวิเคราะห์....ไม่ใช้เอาแต่วิชาการอย่างเดียว....ให้มีการแนะแนวในวิชาชีพ....มีการรวมความรู้หลายๆแขนงเพื่อให้จับต้องได้...เช่นโครงการ Auto challenge Student Formula ที่เด็กสามารถทำงานและพัฒนางาน(ความรู้ ความคิด) ร่วมกัน...ให้มีความต่อเนื่องระหว่างโรงเรียนกับมหาวิทยาลัย....

 

4. พัฒนาธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ดี โปร่งใส

มีสภามหาวิทยาลัยที่ดี...นโยบาย..มีการกำกับ ตรวจสอบ...มีการคัดสรรอธิการที่ดี...ติดตามผลงานตามแผนฯ ...มีการบริการสังคม(เชื่อมมหาวิทยาลัยกับสังคม) ...ควรทำแผนการศึกษาระยะยาว  ทำงานบนฐานข้อมูล ....ดูความเห็นพ้องและการมีส่วนร่วม...

5. มีระบบการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง 

การวางแผนเรื่องคน ...ดูในห้าด้านคือ  1วิชาการ  2ความเป็นครู 3วิชาชีพ 4 การวิจัย 5 การบริหารจัดการ...มีการกำหนดความก้าวหน้าทางวิชาชีพที่ชัดเจน...

 

มีประเด็นอื่นๆอีกหลากหลายที่น่าสนใจ....ได้ข้อคิดและต้องย้อนกลับมาดูที่ตัวเรา...อาจารย์ท่านบอกว่าไม่ต้องไปรอคนอื่นๆมาบอก...ให้เริ่มปรับที่ตัวเองก่อน...น่าคิดมากเลยนำมาฝากครับ....เผื่อเราจะได้ช่วยกันไปในทิศทางที่ดีขึ้นครับ...

 โอชกร

 

หมายเลขบันทึก: 101059เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2007 01:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ชอบประเด็นนี้ครับ
  • กำหนดอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย สร้างองค์ความรู้
  • เพราะมหาวิทยาลัยแต่ละมหาวิทยาลัยมีความแตกต่างกัน
  • ถ้า สกอ ทำงานได้อย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรมก็ขออนุโมทนาด้วครับ
  • ก่อนที่มหาวิทยาลัย จะตาย
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอ.โอชกร - ภาคสุวรรณ

เป็นประเด็นที่สำคัญทั้งนั้นเลยนะคะ แต่อยากรู้เพิ่มเติมค่ะว่า อ.กฤษณพงศ์ ได้กล่าวถึงบทบาทของสกอ. หรือนโยบายส่งเสริมของสกอ. อันจะทำให้เกิด ๕ ประเด็นนี้ไว้บ้างหรือเปล่าคะ เพราะดูแล้วทั้ง ๕ ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องดำเนินการเอง ในการให้ความสำคัญ การให้ความรู้กับคนในองค์กร เพื่อให้ดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์เดียวกัน

การมีนโยบายรวม หรือการมีเป้าหมายรวมระดับประเทศ และการกำกับดูแลของสกอ.อย่างจริงจังน่าจะช่วยได้บ้างในการให้มหาวิทยาลัยเดินไปสู่เป้าหมายเหล่านี้ค่ะ..

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ นะคะ..

มีคนถามเหมือนกันละครับ ในประเด็นที่ว่า สกอ. จะทำอะไร...ท่านบอกว่า ไม่ต้องรอให้ใครบอกหรอก...ให้เริ่มทำด้วยตัวเองเลย..."สกอ.เป็นใครมาจากไหนที่จะบอกให้อุดมศึกษาทำอะไร...just do it > ไม่ต้องรอ....เหมือนคณะฯไม่ใช้คณบดีครับ..." ท่านว่าเอาไว้อย่างนั้น

ผมว่าก็จริงนะครับ...เริ่มที่เรากันเองก่อน...ในวิชาที่ตัวเองรับผิดชอบก่อน...จะดีมากครับ...

แต่...มีสกอ.เอาไว้ทำอะไรละที่นี้...

โอชกร

สวัสดีค่ะ

ตอนนี้งานยุ่งหรือคะ เห็นเงียบไป เข้ามาเยี่ยมค่ะ

มหาวิทยาลัยควรมีจุดยืนของตัวเอง...มีความแตกต่างได้ ไม่ใช้เหมือนกันหมด อย่างในปัจจุบัน...ต้องสร้างองค์ความรู้....การวิจัยที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศได้....

ตรงนี้คือปัญหาที่ผลผลิตทางการศึกษายังไม่ค่อยตอบสนองกับความต้องการของเศรษฐกิจสังคม และปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของประเทศเราค่ะ  เรียนอะไรก็เหมือนๆกันหมด น่าจะแตกต่างไปบ้าง แต่นำไปใช้ในการทำงานจริงได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท