ประชาพิจารณ์มาตรฐานรังสีเทคนิคไทย


สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสําหรับผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิค ผลกระทบที่มองข้ามไม่ได้

ขอเชิญร่วมกันพิจารณา...................... ร่าง

สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสําหรับผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิค

โดยคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค และร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อปรับครั้งสุดท้ายก่อนประกาศใช้อย่างเป็นทางการ 

20 กค. 2550
สิ้นสุดการแสดงความคิดเห็น
2-3 สค. 2550 สัมมนามาตรฐานอีกครั้งที่ KU Home มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก่อนที่จะนำไปแก้ไขข้อความให้เป็นภาษากฎหมายและสอดคล้องกับเนื้อหา และประกาศใช้ต่อไป

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
"มาตรฐานวิชาชีพรังสีเทคนิค ฝันที่เป็นจริง"

 

หมายเลขบันทึก: 100775เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2007 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อยากให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพของชาวเราครับ เพราะมาตรฐานที่จะประกาศใช้นี้ จะมีผลกระทบหลายด้านมากทั้งระยะสั้นและระยะยาว อย่างที่ผมเคยเขียนไว้ในบันทึกจากประกายรังสีเรื่อง "มาตรฐานวิชาชีพรังสีเทคนิค ฝันที่เป็นจริง"

 

 อยากให้ระบุมาเลยว่าจะให้ทำอะไรเป็นบ้าง เรื่องความอิสระในการดำเนินงานผมคิดว่าควรมีการแก้กฎหมายให้นักรังสีสามารถอ่านฟิลม์เอ็กซเรย์และรายงานผลได้

เรียน อ.มนัส

ไม่ทราบทางคณะกรรมการฯ ได้สื่อทางอื่นให้นักรังสีฯ ทราบหรือไม่นอกจากทาง e-mail

ขั้นตอนการรับฟังประชาพิจารณ์ได้กำหนดเวลาหรือไม่  และหลังจากรับฟังประชาพิจารณ์แล้ว  ขั้นตอนต่อไปจะดำเนินการอย่างไร  ใช้เวลาเท่าไรก่อนจะสรุปใช้อย่างเป็นทางการ

โดยสรุปคือ ไม่ทราบว่ามีการสื่อสารแจ้งขั้นตอนต่างๆ ให้นักรังสีฯ  ทั่วประเทศทราบความคืบหน้า  ก่อนจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ  หรือไม่ครับ

 ขอบคุณครับ

เรียนอาจารย์  ....

1 ข้อมูลที่พวกเราร่วมเสนอร่างไม่ได้รับพิจารณาเลยหรือค่ะ

2 ความหมายของมาตรฐานรังสีมีขอบเขต ขนาดไหน

3 คำบางคำควรมีการอธิบายให้ชัดเจน อาจ ใส่ ***** ไว้ แล้วอธิบายให้ชัดเจน เช่น ความมีอิสระ

4 เท่าที่ทำความเข้าใจ ร่างนี้ พูดถึงแต่คนทำงาน คิดว่าไม่ครอบคลุมค่ะ เนื่องจากคนทำงานต้องปฏิบัติตามระบบถ้าวางระบบที่ดี คนก็ทำงานได้ดี น่าจะมีการกล่าว ถึง คน ถึงระบบงาน ถึงการทบทวน ตรวจสอบ  เครื่องมืออุปกรณ์ที่สำคัญและจำเป็น

5 ในทางปฏิบัติการ  จะทำงานให้ตามมาตรฐานจะมีองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ใช่ คนอย่างเดียว

6  มีมาตรฐานการปฏิบัติงานไม่ได้ทำให้ลดความเสี่ยง หรือลดการฟ้องร้อง คิดว่าไม่ใช่ค่ะ เพราะทุกวันนี้หลายวิชาชีพ มีมาตรฐานก่อนเราหลายปี ยังมีการฟ้องร้องมากมาย

 7 คิดว่ามีมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทำความเข้าใจและสามารถปรับใช้มาตรฐานได้ตามความเหมาะสมของหน่วยงานและมาตรฐานยังเป็นแนวทางให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานใช้ติดตามประเมินคุณภาพอย่างต่เนื่อง

8 มาตรฐานควรกำหนดเกณฑ์การประเมิน (KPI) กลางๆ เพื่อให้สามารถใช้เป็นเครื่องประเมินการปฏิบัติงานได้ทั้ง 3สาขา

9  การนำมาตรฐานลงปฏิบัติอย่างไรจึงจะชัดเจนและประเมินได้ว่าตรงตามมาตรฐาน

10 ข้อ 1.2.1  ขอบเขตวิชาชีพและขอบเขตการให้บริการของตน มีความหมายกว้างขนาดไหน

 

 ขั้นตอนทำงานกับมาตรฐาน

ขั้นที่ 1 กำหนดมาตรฐาน

ขั้นที่ 2 นำมาตรฐานลงปฏิบัติ

ขั้นที่ 3 ทำการวัดและประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน

ขั้นที่ 4 การปรับปรุง ทบทวนกระบวนการทำงาน แก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ทั้ง 4 ขั้นตอนมีการประกันคุณภาพร่วมอยู่ด้วย

 

 

 

 

ขอให้กำหนดว่าต้องมีนักรังสีการแพทย์ เป็นผู้รับผิดชอบหน่วยงานรังสีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท