เรียนโครงงานกับครูชำเลือง ตอนที่ 4


ความซื่อสัตย์เป็นคุณธรรม ที่ฝังลึกในตัวนักเรียนได้

เรียนโครงงานกับครูชำเลือง

ตอนที่ 4 (ประเมินผลและปรับปรุง)

           ในตอนที่ผ่านมาผมได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า ยังมีโอกาสนะครับที่จะปรับเปลี่ยนวิธีสอนวิธีจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมถูกต้องเพื่อที่จะได้ช่วยกันนำนักเรียนไปสู่ การคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริงในส่วนตัวผมคิดว่า นักเรียนโชคดีที่หลักสูตรใหม่ เปิดโอกาสให้มีการยืดหยุ่นในส่วนของสาระและเวลาได้ตามที่สถานศึกษาเห็นชอบแต่การยืดหยุ่นนั้น จะยังคงอยู่ในกฎเกณฑ์และหลักการที่ไม่หนีไปจากหลักสูตรแกนกลาง    ผมยังจำคำพูดของท่านประธานในการประชุมวิทยากร ตัวแทนจังหวัด ไปเข้ารับการอบรม โดยผมเป็นตัวแทนครูมัธยมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี ณ ห้องประชุมโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ถนนสุขุมวิท   ซอยสุขุมวิท 11  กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24-28 มิถุนายน  2545  ท่านกล่าวว่า การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรใหม่จัดเป็นชั่วโมง มิใช่ 50 นาที คือ ต้องจัดให้เรียนโดยประมาณ 60นาที การศึกษาต่อในระดับมหา วิทยาลัย ต่อไปนี้ ข้อสอบเน้นการคิดมากกว่าความรู้ความจำ ไม่มีรูปแบบการเรียนการสอนใดดีที่สุด การวัดและประเมินผล ใช้วิธีการที่หลากหลายที่เหมาะสมกับลักษณะวิชาและผู้เรียน  ผลการเรียนรู้ข้อที่ 5-6 ประเมินผลงานขและปรับปรุงข้อพกพร่องตามที่มีผู้เสนอแนะให้จนได้ผลงานที่สมบูรณ์ วิชาโครงงาน เป็นวิชาที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ มีผลงานที่ผลผลิตเป็นรูปธรรม จับต้องได้

- ถ้าประเมินผลวิชาโครงงานโดยการใช้ข้อสอบ  แสดงว่า ต้องการทราบความรู้ความเข้าใจของนักเรียน

- ถ้าประเมินผลวิชาโครงงานโดยสอบปรนัย       แสดงว่า ต้องการตรวจสอบความรู้โดยละเอียด

- ถ้าประเมินผลวิชาโครงงานโดยสอบอัตนัย       แสดงว่า ต้องการตรวจสอบความรู้องค์รวม

- ถ้าประเมินผลวิชาโครงงานโดยการสังเกต       แสดงว่า ต้องการทราบขั้นตอนในการทำงาน

- ถ้าประเมินผลวิชาโครงงานโดยสอบถาม         แสดงว่า ต้องการทราบความจริงบางประการ

- ถ้าประเมินผลวิชาโครงงานโดยสอบปฏิบัติ       แสดงว่า ต้องการทราบว่า นักเรียนมีฝีมือแค่ไหน

- ถ้าประเมินผลวิชาโครงงานโดยแฟ้มสะสม       แสดงว่า ต้องการความสามารถเฉพาะทางของนักเรียน

- ถ้าประเมินผลวิชาโครงงานโดยนำเสนอผลงาน      แสดงว่า ต้องการให้ฉายภาพการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม

 

      ยังมีวิธีการ และเครื่องมืออื่น ๆ ในการดำเนินการประเมินผลในวิชาโครงงานอีกมากครับ  แต่ที่ผมจะนำมาเล่าในตอนที่ 4 นี้ก็คือ  การประเมินผลงานของนักเรียนที่ได้ลงมือปฏิบัติมาตลอดทั้งปี อาจจะใช้เวลา 3-4 เดือน หรือ 60 ชั่วโมงในการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติงาน ได้ชิ้นงานจำนวน 5 ชิ้น ตามที่กำหนดไว้ในการวางแผน เช่น ได้ผลงานเพ้นท์ลวดลายบนผลิตภัณฑ์ 5 ชิ้น  ดังนี้  ชิ้นที่ 1  เพ้นท์ดอกไม้บนขวดกาแฟสีเข้ม  ชิ้นที่ 2  เพ้นท์รูปดอกไม้และแมลงบนแผ่นวีซีดี  ชิ้นที่ 3  เพ้นท์ตัวอักษรบนกระเป๋าสตางค์  ชิ้นที่ 4  เพ้นท์รูปการ์ตูนบนกล่อมเทปคาสเสทชิ้นที่ 5  เพ้นท์รูปกีตาร์บนกระดาษโปสเตอร์แข็งนักเรียนที่ทำโครงงาน และปฏิบัติงานจนได้ชิ้นงาน จำนวน  5 ชิ้น ตามที่กำหนด  จะต้องนำเอาผลงานทั้งหมดไปให้เพื่อน 2-3 คน ประเมินว่า ผลงานทุกชิ้นมีคุณภาพในระดับใด และบางที่ผู้ทำชิ้นงานอาจอยากทราบข้อบกพร่องของตนเองด้วย ก็สามารถที่จะให้เพื่อน ประเมินผู้จัดทำโครงงานไปด้วยก็ได้  การประเมินผลงาน  ผู้จัดทำจะต้องสร้างแบบประเมินขึ้นมา  โดยกำหนดรายการประเมินเอาไว้  10 ข้อ (น้อยหรือมากกว่านี้ก็ได้)  โดยกำหนดรายการประเมินให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ตัวอย่างรายการประเมินผลงาน  โครงงานเพ้นท์ลวดลายบนผลิตภัณฑ์ (นี่คือ แบบครูชำเลืองนะครับ) 

 รายการประเมิน                                       ระดับคุณภาพ 

 1. ผลงานมีความสวยงามที่ปรากฏบนผลิตภัณฑ์       ดี (3)  พอใช้ (2)   ปรับปรุง (1)        

 2. ผลงานมีความน่าสนใจเมื่อได้พบเห็น         

3. จำนวนชิ้นงานเหมาะสมกับเวลาทำโครงงาน        

4. ผลงานมีคุณภาพที่ปรากฏในระดับใด

5. มีหลักการใช้สีอย่างถูกต้องสมบูรณ์

6. ผู้จัดทำมีความตั้งใจจริงในการผลิต

7. ผู้จัดทำมีความประณีตละเอียดอ่อน

8. ผู้จัดทำนำความรู้หลากหลายเข้ามาใช้

9. ผู้จัดทำมีความมานะ อดทน และพยายาม

10. ผู้จัดทำมีความสามารถเพียงใด

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">รายการประเมินผลงานที่ยกมาเป็นเพียงการเทียบเคียงให้เห็นว่าเจ้าของโครงงานต้องการทราบเรื่องใด ก็ใส่รายการประเมินเอาไว้ และอาจแบ่งเป็น 5 ข้อแรก  ประเมินผลงาน ส่วนอีก 5 ข้อหลัง เป็นการประเมินตัวผู้จัดทำผลงาน นักเรียนจะต้องออกแบบประเมิน และเตรียมจัดทำแบบประเมินเอาไว้ 2-3 ชุด เพื่อนำเอาไปให้เพื่อน  2-3 คนประเมิน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">       เมื่อมาถึงตอนที่จะให้เพื่อนประเมินผลงาน  นักเรียนผู้นั้น จะต้องนำชิ้นงานมาโรงเรียนด้วย และนำแบบประเมินไปมอบให้เพื่อนที่เรียนโครงงานเดียวกัน (อยู่ห้องเดียวกัน หรือห้องข้างเคียง) เมื่อผู้ประเมินพร้อม ผู้รับการประเมินจะต้องนำเอาผลงานออกมาแสดงและเล่าวิธีการทำงาน อธิบายให้เห็น ภาพของการทำงานโดยละเอียดจบแล้ว ให้ผู้ประเมินซักถามแล้วใส่คะแนน 1 หรือ 2 หรือ 3 คะแนนตามคุณภาพลงในแบบประเมิน จนครบทุกข้อ ให้ผู้ประเมินลงชื่อด้วย และนำผลงานไปให้เพื่อนคนที่ 2 และคนที่ 3 ทำการประเมินจนครบทั้ง 3 คน และทำอย่างนี้จนครบทุกชิ้นงานครับ</p>    เจ้าของผลงานนำแบบประเมินที่ได้มาวิเคราะห์ จุดเด่น และจุดด้อย รายการใดเพื่อนให้คะแนนคุณภาพมา 1 คะแนน แปลความว่า จะต้องปรับปรุง รายการใดได้ 3 คะแนน แปลว่า ดี ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ให้นำคะแนนจากผู้ประเมินทั้งหมดมารวมกันก่อน แลัวหาค่าเฉลี่ย จากนั้นจึงสรุปว่า  ผลงานนั้นมีคุณภาพอยู่ในระดับใด ผลงานชิ้นที่ 2 เพ้นท์รูปดอกไม้และแมลงบนแผ่นวีซีดี มีคุณภาพ ในระดับ ดี  แต่มีจุดด้อยอยู่ที่หลักการใช้สี ได้  1 คะแนน  และผู้จัดทำมีความประณีตละเอียดอ่อนได้  2 คะแนน ข้ออื่น ๆ ได้  3 คะแนนทั้งหมด  เจ้าของผลงานควรที่จะปรับปรุงผลงานชิ้นนี้ที่การใช้สีให้มากหน่อย ส่วนเรื่องของความประณีตปรับปรุงให้เห็นความละเอียดอ่อนบนผลงานเพิ่มขึ้น  ทำอย่างนี้ทุกชิ้นงานจนครบ 5 ชิ้น หรือ 10 ชิ้นตามที่กำหนดเอาไว้ในการวางแผน      การตรวจสอบที่เป็นจริงและน่าเชื่อถือ  เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงถึงความรับผิดชอบ  ความซื่อสัตย์ (เป็นคุณธรรม) ที่ฝังลึกในตัวนักเรียนได้ถ้ามีการฝึกปฏิบัติจริง ผมให้เวลานักเรียนได้ทำโครงงานตามระบบของการเรียนรู้ ขั้นตอนใดไม่ผ่านก็ให้ย้อนกลับไปทำใหม่จนผ่านจึงค่อยดำเนินการในขั้นต่อไป  นี่คือรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานแบบครูชำเลือง มณีวงษ์ ที่ยึดประสบการณ์จากการอบรม สัมมนา การสอนจริงในห้องและนอกห้องเรียนมาเล่า  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกท่านครับ   (ในตอนที่ 5 ผมจะพูดถึงการนำเสนอผลงาน และการนำผลงานไปใช้ครับ) <p>     </p>

คำสำคัญ (Tags): #ศิลปะ
หมายเลขบันทึก: 100173เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2007 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท