อนุทิน 127927


มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

การผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นปัจจัยตั้งต้นของระบบการศึกษาทั่วโลก ทุกประเทศพยายามหากลวิธีการผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เชื่อว่า จะสามารถสร้างครูที่มีคุณภาพสูงสุด เพราะครู คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ หากประเทศใดสามารถสร้างครูที่มีคุณภาพสูง ระบบการศึกษาก็จะมีคุณภาพตามไปด้วยอย่างแน่นอน เรื่องนี้ไม่มีข้อต้องมาโต้แย้งกันอีก เพราะมีทั้งนักวิชาการ งานวิจัยจำนวนมากยืนยันในประเด็นนี้ชัดเจนแล้ว ปัจจัยอื่นๆ อาจจะเป็นปัจจัยเสริม อาทิ สภาพแวดล้อม ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน คุณภาพการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น

ระบบการผลิตครูในโลกนี้ หากจะจำแนก กระบวนการผลิตครู จะมีอย่างน้อย ๒ แนวทางหลัก คือ การรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (.) เข้ามาเรียนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพื่อฝึกหัด อบรม บ่มเพาะ จนกลายเป็นครู อาจต้องใช้เวลา ๔ – ๕ ปี อีกแนวคิดหนึ่ง เชื่อว่า คนจะเป็นครู จะต้องไปเรียนเนื้อหาวิชาอย่างเข้มข้นมาก่อน แล้วมาเติมเต็มวิชาครู ภายหลัง แนวคิดแบบหลังนี้ จะมีความเชื่อว่า ครูต้องเก่งเนื้อหามากๆ ส่วนวิธีสอนมาเรียนรู้เอาเองได้

ทั้งสองแนวคิดนี้ ต่อสู้กันมายาวนาน ทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศ แนวคิดแรก ก็มีข้อดีตรงที่่ว่า คนที่จะเป็นครู ต้องได้รับประสบการณ์การหล่อหลอม จิตวิญญาณความเป็นครู เรียนกลยุทธ์การถ่ายทอดเนื้อหา แต่สาระเนื้อหาก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่า พวกที่เรียนสายตรง เพราะคนสอนคนเดียวกัน จำนวนหน่วยกิต ไม่ได้แตกต่างกันมากจนไม่รู้เรื่อง แนวคิดที่สอง แบบเรียนสายตรงมาก่อนแล้วมาเรียนวิชาครู แบบนี้ก็เชื่อว่า เก่งสาระ แต่จุดอ่อน การบ่มเพาะจิตวิญญาณความเป็นครูอาจจะได้ไม่เท่ากับแนวคิดแรก

หากจะมาวิเคราะห์ตามสภาพการณ์ปัจจุบัน ความรู้ไม่ใช่เรื่องจะมาเรียนกันในชั้นเรียนอีกต่อไป เพราะความรู้เรียนวันนี้ พรุ่งนี้ก็ล่าสมัยแล้ว ความรู้ใหม่เกิดขึ้นตลอดทุกวินาที การสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ ต้องให้เป็นคนรักการเรียนรู้ "สุ จิ ปุ ลิ" ยังเป็นพฤติกรรมที่ต้องสร้างให้เป็นนิสัยตลอดชีวิต ดังนั้น ระหว่าง ครูี่เกิดจากการบ่มเพาะมาสายตรง กับ ครูที่เก่งเนื้อหามากๆ วิชาครูมาเพิ่มแบบนิดหน่อย แบบไหนหนอจะเป็นตัวแบบที่ดีและมีคุณภาพ

ประเทศไทย มีระบบการผลิตครูแบบแนวคิดแรกเป็นหลักมานานหลายสิบปี รุ่นแรกๆ ของประเทศ เก่งกาจมาก แต่มารุ่นหลังๆ เริ่มหย่อนหยานในเชิงของการคัดคนเข้าระบบ ไม่รู้จะเรียนอะไรก็เข้ามาเรียนครู จบแบบลูบหน้าปะจมูก ยิ่งมาเจอสถานการณ์ที่รัฐ ตัดหางมหาวิทยาลัยและคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ให้เลี้ยงตนเอง รับประกันว่า ไม่มีมหาวิทยาลัยใดยอมอดตาย จุดสมดุลย์ระหว่าง คุณภาพกับความอยู่รอด เป็นเรื่องท้าทายผู้บริหารมหาวิทยาลัยมาก ยิ่งยุคการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยมาถึงยุคค่อนข้างจะต่ำมากๆ เลือกผู้บริหารแบบพรรค(พวก) ขาดเหตุผลเชิงคุณภาพด้วย ยิ่งทำให้ระบบการศึกษาไทย จะยิ่งวิกฤตหนักมากยิ่งขึ้น

ถึงเวลาแล้วที่ ต้องกลับมาทบทวน ในประเด็นหลัก ดังนี้

. ระบบการผลิตครู ควรจะปฏิรูปให้เป็นระบบปิดได้หรือยัง

. ระบบการเปิดช่องทางให้มีการเพิ่มจำนวนผู้ที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพครู แบบทางอ้อม ควรยกเลิกให้หมด

. เข้มงวด กับครูที่ไม่มีคุณภาพ เหมือนหมอ พยาบาล ให้ยึดใบประกอบวิชาชีพ

. คุรุสภา ต้องเข้มแข็งไม่ให้ คนที่ไม่ใช่วิชาชีพครู มายุ่งและออกแบบการผลิตครูจนล้นหลามมากมาย

. คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ต้องลดจำนวนการผลิตลงอย่างเข้มงวดโดยด่วน และเพิ่มภารกิจด้านการพัฒนาครูประจำการให้มากยิ่งขึ้น

.ปฏิรูปสถาบันผลิตครูให้เป็นแบบ "วิทยาลัยวิชาการศึกษา" โดยให้มีอาจารย์ด้านเนื้อหาสาระทำงานเคียงคู่ - สอนคู่กับอาจารย์ด้านวิชาครูไปพร้อมกัน รวมถึงการปฏิรูปกระบวนการจัดการศึกษาในคณะครุศาตร์/ศึกษาศาสตร์ เสียใหม่ โดยเน้นการลงสู่การปฏิบัติงานจริงในโรงเรียนให้มาก โดยอาจจะต้องมากถึงขนาดมากกว่าครึ่งหนึ่งของการเรียนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ด้วย

. รัฐอาจต้องปรับแนวคิดใหม่ หากให้คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ต้องเลี้ยงตนเอง จะไม่มีวันได้ครูคุณภาพ รัฐอาจจะต้องมีมาตรการสนับสนุน ให้คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ดำเนินการผลิตครูคุณภาพ แม้ว่าจำนวนนิสิต นักศึกษาต่อห้องจะน้อยจนไม่คุ้มทุน (ทุกวันนี้ มหาวิทยาลัยจะต้องพิจารณาจุดคุ้มทุนด้วยเพราะรัฐลดการสนับสนุนลงมากกว่าครึ่ง)

ประเด็นเหล่านี้ ควรที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันพิจารณาหาทางออก โดยเฉพาะพรรคการเมืองที่กำหนดนโยบาย ไม่เห็นว่าจะมีพรรคใดมีแนวคิดจะแก้ปัญหาครูแบบย่ังยืนและชัดเจนเลย

 



ความเห็น (4)

๕. คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ต้องลดจำนวนการผลิตลงอย่างเข้มงวดโดยด่วน และเพิ่มภารกิจด้านการพัฒนาครูประจำการให้มากยิ่งขึ้น

ภายใน 5 ปี ครูเกษียนแสนกว่าคน คงต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่าจะลดสาขาอะไร เพิ่มสาขาอะไร น่าจะเป็นโอกาสทองที่จะขจัดปัญหาใช้ครูไม่ตรงสาขามาสอนโดยเฉพาะวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และผลิตในจำนวนที่พอเพียงแต่ก็ต้องมีเผื่อเหลือเผื่อขาด ตรงนี้น่าจะมีสูตรในการคำนวน

ความจริงคนที่จบสาขาครุศาสตร์สามารถทำงานอื่น ๆได้อย่างดี การจะได้ครูที่ดีมีคุณภาพขึ้นอยู่กับการคัดเลือกให้ได้ตาม spec ที่กำหนด ให้เอาจริงในเรื่องนี้

การที่คนเก่ง(มีความสามารถสูง) จะมาเรียนในสาขานี้หรือไม่ในปัจจุบันสามารถพิสูจน์ได้ว่า ถ้ามีทุนการศึกษาและตำแหน่งงานใคนเก่งก็แย่งกันมาเรียน ดังนั้นควรใช้แนวทางนี้

ระบบการผลิตครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่เป็นศาสตร์แข็ง เช่นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาน่าจะใช้ปริญญาตรีในสาขา บวก 1 ปีสาขาการศึกษา เหตุผล ต้องการผู้ที่มีความรู้ลึกรู้จริงมาสอน เรียนมากกว่าก็น่าจะรู้มากกว่า ความรู้ในปัจจุบันมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงเร็วก็จริงอยู่แต่ความรู้พื้นฐานก็ยังจำเป็นต้องมีการเรียนกันสอนกันอยู่มิฉะนั้นอาจไม่สามารถรับสิ่งที่เพิ่มเข้ามาได้เลย

อาจารย์สบายดีไหมครับ ;)…

สบายดีเสมอค่ะ ขอบคุณ (ถามเราหรือเปล่าก็ไม่รู้นะเนี่ย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท