อนุทินล่าสุด


มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

วันพุธที่ 9 มิถุนายน 2564 เช้าประชุมคณะอนุกรรมการบริหารโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และได้รับมอบหมายให้สร้างทีมพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรการผลิตครูระดับปริญญาโททางการศึกษา ที่มีลักษณะเป็น Education Sandbox และบ่ายเป็นวิทยากรเรื่อง Technology-based Education ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ผ่านระบบ Cisco Webex และเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิค - 19 ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

ระหว่างวันที่ 8-10 ธันวาคม ผมได้มีโอกาสเดินทางไปประสานงานกับมหาวิทยาลัยในประเทศเวียดนาม และวันที 10-12 ธันวาคมเดินทางปฏิบัติงาน ณ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล จังหวัดกำปงธม  ประเทศกัมพูชา  จากนั้น วันที่ 12-14 ธันวาคม เดินทางไปปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ณ กรมการสร้างครู กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป ลาว ได้รับประสบการณ์ที่่มีคุณค่ามหาศาล 



ความเห็น (2)

นำ “ประสบการณ์ที่มีคุณค่ามหาศาล” มาแบ่งปันชุมชน GotoKnow บ้างนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

วันที่ ๑๗-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เดินทางไปมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อร่วมประชุมและฟังบรรยายของอาจารย์จาก Faculty of Education, Memorial University of Newfoundland, Canada A1B 3X8 

1. Prof.Dr.Kirk Andrson , Dean 

2. Prof.Bruce Sheppard

ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร

Prof.Dr.George A.Hickman

อธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร

ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์  จินายน

ประเด็นการนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับ ภาวะผู้นำสมัยใหม่ ระดับสถานศึกษา จะต้องสนใจเรื่อง Instructional Leadership มากขึ้น แต่ประเทศไทย มักจะคิดกลับด้านเสมอๆ ก็แบบไทยๆ ล่ะครับ ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใครครับ

 



ความเห็น (2)

รออ่านรายละเอียดการบรรยายครับท่านคณบดี

ขอบคุณครับ

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

ACT_Logo .webarchiveSignature_ASEAN.webarchiveการประชุมสภาครูอาเซียน ครั้งที่ ๒๙ ณ Palace of the Golden Horses Hotel, กัวลาลัมเปอร์  ประเทศมาเลเซีย ภายใต้หัวข้อ Enhancing Quality Education through Culturalization within The ASEAN Community. 

Resolution29.webarchive



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

 

 

"สายใย ไทย - กัมพูชา"

วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๖ ตามกำหนดการเดิมผมจะต้องเดินทางไปประชุมร่วมกับฝ่ายกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและการกีฬา ประเทศกัมพูชา แต่ปรากฏว่าได้รับแจ้งกระทันหันว่า สถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจมีการประท้วงกันเกิดขึ้นในกรุงพนมเปญ เลยไม่ต้องไป ประเด็นที่จะไปประชุม คือ การปฏิบัติงานตามโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการศึกษา ตามพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ซึ่งทรงมีพระเมตตาและแสดงน้ำพระทัย เป็นการตอบแทนแก่ประเทศกัมพูชา ที่ท่านได้เสด็จศึกษาโบราณสถานในประเทศกัมพูชาบ่อยครั้ง ของขวัญที่ดีที่สุด คือ การให้การศึกษาแก่ประชาชนชาวกัมพูชา จุดนี้ จะเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของความสัมพันธ์ ไทย-กัมพูชา และประวัติศาสตร์จะต้องจารึกไปชั่วลูกชั่วหลาน เพราะการพระราชทานความช่วยเหลือคร้ั้งนี้ เป็นการพระราชทานความช่วยเหลือเป็นการส่วนพระองค์ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล พระองค์ท่านพระราชทานดำเนินโครงการนี้มานานเป็นปีที่ ๑๓ แล้ว ปัจจุบัน "โรงเรียนกำปงเฌอเตียล" อายุ ๑๒ ปี มีความสมบูรณ์พร้อม ทั้งบุคลากร สถานที่ ระบบ มีอินเตอร์เน็ต มีน้ำประปา มีหอพัก มีโรงเพาะเลี้ยง บ่อปลา อาคารปฏิบัติการ หอประชุม โซล่าร์เซลล์ โรงครัว สนามฟุตบอล เรือนพักรับรอง ฯลฯ เมื่อครั้งที่ประเทศไทยกับกัมพูชา มีปัญหากระทบกระทั่งกันระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลนั้น โครงการนี้ ได้รับปกป้อง ดูแล รักษา โดยชาวกัมพูชา ทุกคนรักโรงเรียนนี้ ในขณะที่สถานฑูตถูกเผา แต่โรงเรียนนี้ แม้แต่ ท่านสมเด็จมหาอัครเดโชฮุนเซน ยังบอกว่า โครงการฯ นี้ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ให้ดูแลรักษาไว้ให้ดี ไม่ให้ใครได้รับความเดือด

ร้อน  และนี่คือ...สายสัมพันธ์อันเกิดจากน้ำพระทัยของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยแท้ หรือที่พวกเราเรียกกันว่า "สายใย ไทย-กัมพูชา" 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

 

ผมพบข้อความนี้จากสถานที่ใดสักแห่งหนึ่ง จำไม่ได้แต่ได้จดบันทึกไว้ในสมุดบันทึกส่วนตัว ขออภัยเจ้าของ หากจะกรุณาแจ้งมาจะเป็นพระคุณยิ่ง แต่ชอบใจข้อความนี้เลยนำมาเผยแพร่ต่อ

ความสุข.......อยู่ที่เราคิด

ชีวิต...........อยู่ที่เราปั้น

ความฝัน.......อยู่ที่เราสร้าง

ทุกสิ่งทุกอย่าง........อยู่ที่เราเอง.

 

 



ความเห็น (1)
มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

วันที่ ๑๗ และ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๖ เดินทางไปประชุมเตรียมโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการศึกษา ณ กระทวงศึกษาธิการ เยาวชนและการกีฬา ร่วมกับกรมราชองครักษ์ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

วันที่ ๑๕ ถึง ๑๗ กันยายน ๒๕๕๖ เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ที่ปรึกษาโครงการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา พักที่โรงเรียน City Inn 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

วันที่ ๗ ถึง ๑๕ กันยายน ๒๕๕๖ เดินทางไปประเทศออสเตรีย สาธารณรัฐเชค และโปแลนด์ เพื่อศึกษาดูงานด้านการผลิตและพัฒนาครู 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

วันที่ ๕ - ๖ กันยายน ๒๕๕๖ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความพยายามในการกระตุ้นให้คณาจารย์และบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์ พัฒนาโครงการวิจัย มีคณาจารย์และเจ้าหน้าที่เข้าร่วม ประมาณ ๒๑ คน ณ โรงแรมโนโวเทล จังหวัดระยอง 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

วันที่ ๓-๔ กันยายน ๒๕๕๖ มีโอกาสมาเป็นวิทยากร ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และการพัฒนางานวิชาการ ได้พบว่า คณาจารย์รุ่นใหม่ๆ ของมหาวิทยาลัย มีศักยภาพและเข้มแข็งมาก แต่สิ่งที่ยังเป็นอุปสรรคโดยทั่วไปคล้ายกันในหลายๆ มหาวิทยาลัย คือ การเมืองภายในมหาวิทยาลัย ที่ไร้เหตุผล ขาดหลักธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง เพียงอ้างด้วยตัวอักษร แต่การปฏิบัติจริง อยู่ที่กลุ่มใครเตรียมการวางแผนเชิงการเมืองได้พร้อมกว่ากัน น่าเศร้าใจกับการศึกษาไทย จะต้องรอไปอีกนานเท่าไรหนอ 

 



ความเห็น (1)

เศร้าใจด้วยคนครับอาจารย์ ;)…

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดประชุมผู้แทนโรงเรียน ในการใช้ระบบเทคโนโลยีสานสนเทศ ในการส่งผลการประเมินการขฝึกสอน เพื่อความรวดเร็วแม่นยำในการประมวลผลโดยภาพรวม การประชุใแบ่งเป็น 3. รุ่น การปรขะชุมครั้งนี้จัดไปเมื่อวันที่30 สิงหาคม 2556 ณห้อง QS1-206. ศาสตราจารย์ ดร.อารี สัณหฉวี กรุณาเดินทางมาเข้าร่วด้วย 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยนครสวรรค์ เดินทางมาศึกษาดูงาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. และขณะเดียวกัน มีการอบรม โปรแกรม ThaiJo. จำนวน 3 วัน วันที่ 28-30 สิงหาคม 2556 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

During 28-30 July 2013 , Faculty of Education train 4 journal' s teams about how to use ThaiJo program with TCI at BUU.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

วันที่ ๒๔ ถึง ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ (ลาพักผ่อน) ไปส่งลูกสาวเข้าเรียนที่ Pekking University สาขา International Relations ได้ข่าวว่า จีนเก่งกาจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาก และอนาคตจีนน่าจะมาแรงครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

วันนี้ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. ประชุมร่วมกับ Prof.ANNE FRAISSE อธิการบดี UNIVERSITE PAUL-VALERY MONTPELLIER 3 และ Prof. BENEDICTE UZAN GENDRON โดยมี อาจารย์วรวุฒิ  เพ็งพันธ์ เป็นช่างภาพ มีการตกลงความร่วมมือตามโครงการหลักสูตร Dual Master Degree Program จะเริ่มในปี ค.ศ. 2014 นี้ การประชุมมีข้อสรุปที่ก้าวหน้าไปมากและอธิการบดี จะเดินทางไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยบูรพา ประมาณต้นเดือนมกราคม ๒๕๕๗ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

วันนี้ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ อยู่ระหว่างการเดินทางมาประสานงานกับ มหาวิทยาลัย Montpellier III และพักที่โรงแรมฮอลิเดย์อินน์  อินเตอร์เน็ท ค่อนข้างดีหน่อย เลยัดนิสิตปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีการศึกษา ชั้นปีที่ ๑ จำนวน ๑๗ คน เรียนทางไกล ผ่านโปรแกรม Scopia ที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดหามาไว้บริการการประชุมทางไกล ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ UNINET ของสกอ.ดีมาก กำหนด Meeting ID และ PIN มาให้เรียบร้อย ทางฝั่งบางแสนมี ดร.เอกวิทย์  โทปุรินทร์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ คอยกำกับดูแลระบบ การเรียนการสอนเริ่มตั้งแต่เวลา ตี ๕  ตามเวลาในประเทศฝรั่งเศส ตรงกับประเทศไทย เวลา ๐๙.๐๐ น. ระหว่างสอนสัญญาณขาดหายเป็นบางช่วง โดยเฉพาะสัญญาณภาพ แต่ตอนหลังการดำเนินการก็ไปได้ด้วยดี มีนิสิตเรียนและโต้ตอบกันได้แบบสองทาง สอนจนถึงเวลาเที่ยงเศษ ในเมืองไทย จึงเลิก นับได้ว่าเป็นการสอยทางไกลข้ามประเทศที่ได้ใช้เวลาแบบคุ้มค่าและได้เรียนรู้ การใช้โปรแกรมดีขึ้นมาก

หลังจากสอนนิสิตปริญญาโทจบลง คราวนี้ต่อด้วยการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของ นางสาวสุนิตย์ตา เย็นทั่ว นิสิตทุนพัฒนาอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี จันทบุรี คราวนี้เนื่องจากเป็นการคุยกันเพียงแค่สองคน จึงหันมาใช้ Facebook คุยแบบเห็นหน้า ก็สามารถดำเนินการได้ด้วยดี เห็นหน้าตาคุยกันสดๆ ประเด็นคุยกันเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพมาก น้อยอย่างไร ซึ่ง อาจารย์สุนิตย์ตา ก็ได้หาแบบทดสอบ ไปลองทดสอบนักศึกษา ม.ราชภัฎรำไพพรรณี มาแล้ว ก็เลยส่งไฟล์มาให้ดูในระหว่างที่สนทนากันนั้นด้วย ทำให้คุยกันได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เสมือนหนึ่งนั่งคุยกันต่อหน้าในห้องเดียวกันเลย นี่ก็เป็นตัวอย่างของการใช้ สื่อสังคมออนไลน์ แบบหนึ่งที่เกิดขึ้นจริงของ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ครับ วันหลังเรียนรู้อะไรอีกจะนำมาแบ่งปันครับ



ความเห็น (2)

เยี่ยมไปเลยค่ะ ท่านคณบดี ^^

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

วันนี้ (เสาร์ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๖) เป็นวันที่สามที่เดินทางมาประสานงานกับ 

UNIVERSITÉ PAUL-VALÉRY MONTPELLIER 3 Route de Mende 34 199 Montpellier Cedex 5 Standard de l'Université :           +33 (0)4 67 14 20 00 

วัตถุประสงค์หลักของการเดินทางมาครั้งนี้ ก็เพื่อประสานการเตรียมการนำนิสิตปริญญาโท จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เดินทางมาศึกษาระดับปริญญาโท ที่มีการลงนามความร่วมมือกัน เป็นหลักสูตร ๒ ปริญญา นิสิตที่เรียนตามโครงการนี้จะได้รับปริญญาจาก มหาวิทยาลัยบูรพา หนึ่งใบ และจาก UPM อีกหนึ่งใบ เป็นปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 

ค่าเล่าเรียน จ่าย ๒ ที่ ณ มหาวิทยาลัยบูรพา ก็จ่ายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยบูรพา ส่วนของ UPM ประเทศฝรั่งเศส ก็จ่ายประมาณ ๔๐๐ ยูโร (หนึ่งยูโร เท่ากับประมาณ ๔๒ บาท) ตลอดหลักสูตร เวลาเรียนที่ฝรั่งเศส เรียนด้วยภาษาอังกฤษ ลักษณะของการได้สองปริญญาก็เน่ืองมาจาก ระบบฝรั่งเศสนั้น ปริญญาตรีเรียน ๓ ปี แต่ของไทย เรียน ๔ ปี  ฝรั่งเศส จึงถือว่า ระบบของไทยนั้น ปี ๔  ก็คือ ปริญญาโท ปี ๑ นั่นเอง พอเป็นนิสิตปริญญาโทของไทย ปี ๑ ก็เท่ากับ ปริญญาโทปีที่ ๒ ของเขาแล้ว พอนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา เรียนปีที่ ๒ ก็เท่ากับว่า เทียบเท่าปริญญาโทของฝรั่งเศส การร่วมมือครั้งนี้ ใช้วิธีการเทียบโอนเครดิตระหว่างมหาวิทยาลัย โดยส่วนใหญ่ ฝรั่งเศส รับโอนรายวิชาจาก มหาวิทยาลัยไปทั้งหมด และจัดให้เรียนเสริมในส่วนที่ขาด เพื่อทำให้สอดคล้องกับ Requirement ที่กำหนดไว้เท่านั้น 

โครงการนี้ รัฐบาลฝรั่งเศส อนุมัติให้ดำเนินการ สอง รุ่นก่อนเท่านั้น อนาคตค่าเล่าเรียน น่าจะแพงข้ึนเพราะ ขณะนี้ประเทศฝรั่งเศส มีปัญหาการจัดรัฐสวัสดิการแบบประชานิยม มาก จนเป็นภาระอันหนักของรัฐ ภาษีจึงโหดมาก คนฝรั่งเศสส่วนหนึ่งจึงหนีไปอยู่เบลเยี่ยม โดยเฉพาะคนมีสตางค์

มาเที่ยวนี้ ยังได้เรียนรู้ ชีวิตชาวลาวอพยพ ตอนที่ลาวแตก พบเชื้อพระวงศ์ของเจ้ามหาชีวิตลาว ที่ลี้ภัยมาอยู่

ฝรั่งเศส มาสร้างวัดเชียงทอง ที่ Montpellier อ่านตอนต่อไปดีกว่าครับ คนละเรื่องกัน

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

การผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นปัจจัยตั้งต้นของระบบการศึกษาทั่วโลก ทุกประเทศพยายามหากลวิธีการผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เชื่อว่า จะสามารถสร้างครูที่มีคุณภาพสูงสุด เพราะครู คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ หากประเทศใดสามารถสร้างครูที่มีคุณภาพสูง ระบบการศึกษาก็จะมีคุณภาพตามไปด้วยอย่างแน่นอน เรื่องนี้ไม่มีข้อต้องมาโต้แย้งกันอีก เพราะมีทั้งนักวิชาการ งานวิจัยจำนวนมากยืนยันในประเด็นนี้ชัดเจนแล้ว ปัจจัยอื่นๆ อาจจะเป็นปัจจัยเสริม อาทิ สภาพแวดล้อม ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน คุณภาพการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น

ระบบการผลิตครูในโลกนี้ หากจะจำแนก กระบวนการผลิตครู จะมีอย่างน้อย ๒ แนวทางหลัก คือ การรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (.) เข้ามาเรียนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพื่อฝึกหัด อบรม บ่มเพาะ จนกลายเป็นครู อาจต้องใช้เวลา ๔ – ๕ ปี อีกแนวคิดหนึ่ง เชื่อว่า คนจะเป็นครู จะต้องไปเรียนเนื้อหาวิชาอย่างเข้มข้นมาก่อน แล้วมาเติมเต็มวิชาครู ภายหลัง แนวคิดแบบหลังนี้ จะมีความเชื่อว่า ครูต้องเก่งเนื้อหามากๆ ส่วนวิธีสอนมาเรียนรู้เอาเองได้

ทั้งสองแนวคิดนี้ ต่อสู้กันมายาวนาน ทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศ แนวคิดแรก ก็มีข้อดีตรงที่่ว่า คนที่จะเป็นครู ต้องได้รับประสบการณ์การหล่อหลอม จิตวิญญาณความเป็นครู เรียนกลยุทธ์การถ่ายทอดเนื้อหา แต่สาระเนื้อหาก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่า พวกที่เรียนสายตรง เพราะคนสอนคนเดียวกัน จำนวนหน่วยกิต ไม่ได้แตกต่างกันมากจนไม่รู้เรื่อง แนวคิดที่สอง แบบเรียนสายตรงมาก่อนแล้วมาเรียนวิชาครู แบบนี้ก็เชื่อว่า เก่งสาระ แต่จุดอ่อน การบ่มเพาะจิตวิญญาณความเป็นครูอาจจะได้ไม่เท่ากับแนวคิดแรก

หากจะมาวิเคราะห์ตามสภาพการณ์ปัจจุบัน ความรู้ไม่ใช่เรื่องจะมาเรียนกันในชั้นเรียนอีกต่อไป เพราะความรู้เรียนวันนี้ พรุ่งนี้ก็ล่าสมัยแล้ว ความรู้ใหม่เกิดขึ้นตลอดทุกวินาที การสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ ต้องให้เป็นคนรักการเรียนรู้ "สุ จิ ปุ ลิ" ยังเป็นพฤติกรรมที่ต้องสร้างให้เป็นนิสัยตลอดชีวิต ดังนั้น ระหว่าง ครูี่เกิดจากการบ่มเพาะมาสายตรง กับ ครูที่เก่งเนื้อหามากๆ วิชาครูมาเพิ่มแบบนิดหน่อย แบบไหนหนอจะเป็นตัวแบบที่ดีและมีคุณภาพ

ประเทศไทย มีระบบการผลิตครูแบบแนวคิดแรกเป็นหลักมานานหลายสิบปี รุ่นแรกๆ ของประเทศ เก่งกาจมาก แต่มารุ่นหลังๆ เริ่มหย่อนหยานในเชิงของการคัดคนเข้าระบบ ไม่รู้จะเรียนอะไรก็เข้ามาเรียนครู จบแบบลูบหน้าปะจมูก ยิ่งมาเจอสถานการณ์ที่รัฐ ตัดหางมหาวิทยาลัยและคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ให้เลี้ยงตนเอง รับประกันว่า ไม่มีมหาวิทยาลัยใดยอมอดตาย จุดสมดุลย์ระหว่าง คุณภาพกับความอยู่รอด เป็นเรื่องท้าทายผู้บริหารมหาวิทยาลัยมาก ยิ่งยุคการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยมาถึงยุคค่อนข้างจะต่ำมากๆ เลือกผู้บริหารแบบพรรค(พวก) ขาดเหตุผลเชิงคุณภาพด้วย ยิ่งทำให้ระบบการศึกษาไทย จะยิ่งวิกฤตหนักมากยิ่งขึ้น

ถึงเวลาแล้วที่ ต้องกลับมาทบทวน ในประเด็นหลัก ดังนี้

. ระบบการผลิตครู ควรจะปฏิรูปให้เป็นระบบปิดได้หรือยัง

. ระบบการเปิดช่องทางให้มีการเพิ่มจำนวนผู้ที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพครู แบบทางอ้อม ควรยกเลิกให้หมด

. เข้มงวด กับครูที่ไม่มีคุณภาพ เหมือนหมอ พยาบาล ให้ยึดใบประกอบวิชาชีพ

. คุรุสภา ต้องเข้มแข็งไม่ให้ คนที่ไม่ใช่วิชาชีพครู มายุ่งและออกแบบการผลิตครูจนล้นหลามมากมาย

. คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ต้องลดจำนวนการผลิตลงอย่างเข้มงวดโดยด่วน และเพิ่มภารกิจด้านการพัฒนาครูประจำการให้มากยิ่งขึ้น

.ปฏิรูปสถาบันผลิตครูให้เป็นแบบ "วิทยาลัยวิชาการศึกษา" โดยให้มีอาจารย์ด้านเนื้อหาสาระทำงานเคียงคู่ - สอนคู่กับอาจารย์ด้านวิชาครูไปพร้อมกัน รวมถึงการปฏิรูปกระบวนการจัดการศึกษาในคณะครุศาตร์/ศึกษาศาสตร์ เสียใหม่ โดยเน้นการลงสู่การปฏิบัติงานจริงในโรงเรียนให้มาก โดยอาจจะต้องมากถึงขนาดมากกว่าครึ่งหนึ่งของการเรียนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ด้วย

. รัฐอาจต้องปรับแนวคิดใหม่ หากให้คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ต้องเลี้ยงตนเอง จะไม่มีวันได้ครูคุณภาพ รัฐอาจจะต้องมีมาตรการสนับสนุน ให้คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ดำเนินการผลิตครูคุณภาพ แม้ว่าจำนวนนิสิต นักศึกษาต่อห้องจะน้อยจนไม่คุ้มทุน (ทุกวันนี้ มหาวิทยาลัยจะต้องพิจารณาจุดคุ้มทุนด้วยเพราะรัฐลดการสนับสนุนลงมากกว่าครึ่ง)

ประเด็นเหล่านี้ ควรที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันพิจารณาหาทางออก โดยเฉพาะพรรคการเมืองที่กำหนดนโยบาย ไม่เห็นว่าจะมีพรรคใดมีแนวคิดจะแก้ปัญหาครูแบบย่ังยืนและชัดเจนเลย

 



ความเห็น (4)

๕. คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ต้องลดจำนวนการผลิตลงอย่างเข้มงวดโดยด่วน และเพิ่มภารกิจด้านการพัฒนาครูประจำการให้มากยิ่งขึ้น

ภายใน 5 ปี ครูเกษียนแสนกว่าคน คงต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่าจะลดสาขาอะไร เพิ่มสาขาอะไร น่าจะเป็นโอกาสทองที่จะขจัดปัญหาใช้ครูไม่ตรงสาขามาสอนโดยเฉพาะวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และผลิตในจำนวนที่พอเพียงแต่ก็ต้องมีเผื่อเหลือเผื่อขาด ตรงนี้น่าจะมีสูตรในการคำนวน

ความจริงคนที่จบสาขาครุศาสตร์สามารถทำงานอื่น ๆได้อย่างดี การจะได้ครูที่ดีมีคุณภาพขึ้นอยู่กับการคัดเลือกให้ได้ตาม spec ที่กำหนด ให้เอาจริงในเรื่องนี้

การที่คนเก่ง(มีความสามารถสูง) จะมาเรียนในสาขานี้หรือไม่ในปัจจุบันสามารถพิสูจน์ได้ว่า ถ้ามีทุนการศึกษาและตำแหน่งงานใคนเก่งก็แย่งกันมาเรียน ดังนั้นควรใช้แนวทางนี้

ระบบการผลิตครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่เป็นศาสตร์แข็ง เช่นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาน่าจะใช้ปริญญาตรีในสาขา บวก 1 ปีสาขาการศึกษา เหตุผล ต้องการผู้ที่มีความรู้ลึกรู้จริงมาสอน เรียนมากกว่าก็น่าจะรู้มากกว่า ความรู้ในปัจจุบันมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงเร็วก็จริงอยู่แต่ความรู้พื้นฐานก็ยังจำเป็นต้องมีการเรียนกันสอนกันอยู่มิฉะนั้นอาจไม่สามารถรับสิ่งที่เพิ่มเข้ามาได้เลย

อาจารย์สบายดีไหมครับ ;)…

สบายดีเสมอค่ะ ขอบคุณ (ถามเราหรือเปล่าก็ไม่รู้นะเนี่ย)

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

แม่... เป็นบุคคลที่มีพระคุณอย่างใหญ่หลวงต่อลูกทุกคน  แม่... เป็นสถานะที่สร้างความผูกพันระหว่าง คนสองคน อย่างมิรู้ลืมตลอดชั่วชีวิต  

คนที่มี แม่ ที่ยังมีชีวิต  อาจจะยังไม่รู้ซึ้ง มากมายนัก  แต่เมื่อไร ที่แม่ไม่อยู่กับเราแล้ว เมื่อนั้นแหละ จะเกิดความรุ้สึกอีกแบบหนึ่ง  ดังนั้น ควรรีบดูแล แม่ของคุณเสียตั้งแต่วันนี้โดยด่วน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

Bookmark: My Experience

http://www.montreeblog.com/

เชิญอ่านประสบการณ์บางส่วนของ ดร.มนตรี แย้มกสิกร

Tags:



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

เมื่อวันที่ 2-11 เมษายน 2552 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเดินทางไปเจรจาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีข้อสรุปที่น่าสนใจ ดังนี้

๑. วงการการศึกษาของประเทศจีน เริ่มหันมาสนใจผลิตครูสาขาปฐมวัยมากขึ้น เพราะคนจีนเริ่มให้ความสำคัญกับการส่งลูกเข้าเรียนอนุบาลกันมากขึ้น

๒. สาเหตุสำคัญที่คนจีนสนใจส่งลูกเข้าเรียนอนุบาลมากขึ้นเพราะ สภาพวิถีชีวิตเริ่มเดินทางเข้าสู่ชีวิตที่ต้องทำงาน บางครอบครัวที่อพยพไปทำงานต่างมณฑล ไม่มี ปู่ ย่า ตา ยาย ช่วยเลี้ยงหลาน ต้องส่งลูกเข้าสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือโรงเรียนอนุบาลมากขึ้น

๓. ค่าเล่าเรียนอนุบาล แพงพอ ๆ กับค่าเล่าเรียนของมหาวิทยาลัย

๔. ด้วยเหตุค่าเล่าเรียนที่แพง ทำให้คนเรียนสาขาปฐมวัย จึงมีโอกาสมากขึ้นในการประกอบอาชีพ เช่น การเป็นครูมืออาชีพ หรือการตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กเสียเอง

๕. ปี 2009 นี้ คาดหมายว่า มหาวิทยาลัยในประเทศจีน จะสามารถรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าเรียนได้เพียงไม่เกิน ร้อยละ ๖๐ เท่านั้น ที่เหลือจะต้องดิ้นรนไปเรียนต่างประเทศ

๖. มหาวิทยาลัยในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย จะเป็นเป้าหมายต้น ๆ ที่นักเรียนจีนสนใจไปเรียนมากที่สุด

๗. ประเทศไทย ก็ไปแห่งหนึ่งที่นักเรียนจีนระดับกลางถึงล่าง สนใจมาเรียน มหาวิทยาลัยบูรพา จะเป็นที่รู้จักค่อนข้างมากในหมู่คนจีน "ตงฟานต้าเฉีย"

๘. ปัจจุบันมหาวิทยาลัยบูรพา มีนิสิตจีนประมาณ ๖๐๐ คนเศษ และคาดว่าในปีการศึกษา ๒๐๐๙ จะมีนิสิตจีนเข้ามาเรียนอีกประมาณ กว่า ๑๐๐ คน

๙. นโยบาย "One Child One Family" ของจีน ส่งผลกระทบในเชิง รูปแบบการเลี้ยงดูของเด็กจีนและส่งผลต่อพฤติกรรม การแสดงออกและสภาพจิตใจของเยาวชนจีนอย่างชัดเจน เช่น การถูกตามใจจาก ทั้ง ปู่ ย่า ตา ยาย แบบ ๔ รุม ๑ ทำให้โตขึ้นจะไม่ค่อยสู้ชีวิตเหมือนคนจีนรุ่นเก่าอีกต่อไป เด็กจีนรุ่นใหม่ รับวัฒนธรรมตะวันตกเร็วและมาก

๑๐. สภาพการหางานทำและการดำเนินชีวิตในประเทศจีน มีสภาพการแข่งขันสูงมาก

๑๑.ปัจจุบัน ประชากรชาย มีมากกว่า ประชากรหญิง เพราะส่วนหนึ่ง คนจีนชอบที่จะมีลูกชายมากกว่าลูกผู้หญิง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

Bookmark: Dr.Montree Yamkasikorn

http://www.drmontree.com

Curriculum vitae/Publications/News/Experience

Tags:



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

Bookmark: มหาวิทยาลัยบูรพา

http://www.buu.ac.th

มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ ก่อตั้ง 8 กรกฎาคม 2498

Tags:



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

มนตรี แย้มกสิกร
เขียนเมื่อ

การเยี่ยมชมการบริหารจัดการหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง(ไม่ขอเปิดเผย) วันนี้(3 ตุลาคม 2551) ผมมีโอกาสได้มีประเด็นมานำเสนอเพื่อการเสนอความเห็นร่วมกัน ดังนี้

ประเด็นที่น่าสนใจ คือ มหาวิทยาลัยได้มีโครงการสร้างหอพักโดยให้เอกชนเข้ามาลงทุนก่อสร้างหอพักในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ.2548 ลักษณะการดำเนินการ คือ บริษัทเอกชนลงทุนด้านการเงินทั้งหมด เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วยกให้เป็นทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย บริหารจัดการโดยมหาวิทยาลัย โดยที่มหาวิทยาลัยจะต้องจัดเก็บค่าหอพัก แล้วส่งมอบรายได้จำนวนร้อยละ 95 ของรายได้ค่าหอพัก (ไม่รวมรายรับอื่นๆ เช่น การให้เช่าพื้นที่ หรือบริการต่าง ๆ)ให้กับเอกชน เป็นระยะเวลาประมาณ 25 ปี ค่าบริหารจัดการเป็นเรื่องของมหาวิทยาลัย และอัตราดอกเบี้ยที่ต้องเสียอยู่ที่ MLR-1.25 ซึ่งเริ่มต้นที่ 6.25 แน่นอน อัตราดอกเบี้ยก็ต้องขึ้นหรือลง ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าแน่นอน ปัจจุบันสภาพห้องพัก พักห้องละ 4 คน ค่าที่พักคนละประมาณ 5,000 บาทต่อภาคเรียน ภาคเรียนแรกหอเต็ม แต่พอภาคเรียนปลายเริ่มว่าง เพราะนศ.ย้ายออกไปอยู่หอนอก ซึ่งหอพักเอกชนขณะนี้ทุกมหาวิทยาลัยมีมากมายเหลือเกิน

ประเด็นที่อยากจะขอความเห็นจากชุมชนแห่งนี้ คือ

1. สิ่งที่เป็นภาระหนักที่สุด คือ ดอกเบี้ยและเงินต้นที่ต้องส่งให้กับเอกชน ซึ่งแน่นอนว่า เอกชนต้องคำนวณแล้วว่ามีกำไร แต่ฝ่ายมหาวิทยาลัยควรจะทำอย่างไรดี กับภาระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย หากดอกเบี้ยสูงขึ้น จะยิ่งเป็นภาระจนอาจจะแบกภาระลำบาก

2. ปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ นักศึกษาปัจจุบัน ไม่ค่อยชอบอยู่หอพักในมหาวิทยาลัย เพราะมีกฏระเบียบมาก แต่การอยู่ข้างนอก มีเสรีภาพมาก

3. หากจะ Refinance กับธนาคารพาณิชย์ จะทำให้ดีขึ้นหรือไม่

4. หากจะตั้งกองทุนโดยเอกชนหรือองค์กรที่มีเงินสะสมมากๆ เอาลงกองทุนแล้ว ใช้กองทุนนี้ค้ำประกัน โดยขออัตราดอกเบี้ยที่ อัตราเงินฝาก+1 บาท หรือ 1.50 บาท จะเป็นไปได้หรือไม่

5. ขอข้อเสนอแนะแนวทาง "นวัตกรรมการบริหารจัดการหอพัก" แบบสร้างสรรค์ที่เลี้ยงตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณรัฐ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท