อนุทิน 115689


krupound
เขียนเมื่อ

เมื่อตะกี๊นั่งดูสารคดีช่อง ThaiPBS เรื่อง ไฟหรืออะไรนี่ล่ะ

        เขานำเสนอว่า พืชใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มากักเก็บในรูปคาร์บอนในเนื้อไม้ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อเนื้อไม้ติดไฟก็จะปลดปล่อยพลังงานจากดวงอาทิตย์ออกมาผ่านกระบวนการเผาไหม้

        ซึ่งหากเผาไหม้เนื้อไม้ในภาวะออกซิเจนต่ำจะทำให้ปริมาณคาร์บอนในเนื้อไม้เพิ่มสูงขึ้นจนเกิดเป็นถ่านหินได้ ซึ่งปริมาณคาร์บอนสัมพันธ์กับความร้อนเมื่อเกกิดการเผาไหม้

        โอ...ในที่สุด วิชา วิทยาศาสตร์ร่วมสาระหลักในการอธิบายถ่านหิน...ก็ได้บทสรุปเชื่อโยงระหว่าง ชีววิทยา (กระบวนการสังเคราะห์แสง) เคมี (กระบวนการเผาไหม้) และฟิสิกส์ (ความหนาแน่นพลังงาน) ได้ชัดเจนเสียที...

         พลังงานจากดวงอาทิตย์ถูกส่งผ่านมายังโลก(ด้วยความหนาแน่นพลังงาน: ฟิสิกส์) หลายพันล้านจูลต่อชั่วโมง ต้นไม้ได้นำพลังงานนี้มาใช้ในการตรึงคาร์บอนในอากาศผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (ชีววิทยา) เพื่อสร้างเนื้อเยื่อและส่วนต่างๆของพืช เมื่อนำพืชมาเผา (อาจเกิดจากฟ้าผ่าหรือไฟป่า) จะเกิดกระบวนการเผาไหม้ (เคมี) เป็นการปลดปล่อยความร้อนและคาร์บอนออกมา หากเกิดกระบวนการเผาไหม้ภายใต้ภาวะออกซิเจนต่ำจะทำให้ได้ถ่านที่มีปริมาณคาร์บอนสูง (ถ่านหิน) ซึ่งปริมาณคาร์บอนยิ่งมีมากในเนื้อไม้หรือถ่านมากเท่าใด ความร้อนที่ปลดปล่อยจากกระบวนการเผาไหม้ (บอกในรูปความหนาแน่นพลังงาน:ฟิสิกส์) ก็ยิ่งมากขึ้น

        นั่นคือถ่านหิน 1 ก้อน สามารถอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ แต่เรากลับแยกไปสอนในวิชาฟิสิกส เคมี และชีววิทยา โดยไม่ได้เชื่อมโยงกัน เด็กๆก็เรียนแบบแยกๆ ความเข้าใจธรรมชาติิที่ชัดเจนจึงเกิดได้ยากมากในระบบการศึกษาไทย...

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท