๓๐ ประเด็นปัญหาและทางออกในการทำงานวิจัยของเมืองไทย


สุดท้ายเราต้องกลับมาพัฒนาคน ก่อนสิ่งอื่นใด ครับ

  ผมได้คุยกับคุณเม้งถึงประเด็นปัญหาวิจัยบางประการที่ผมพบในเมืองไทย ที่ผมพยายามสรุปได้มาอย่างน้อย ๓๐ ข้อ ดังนี้ 

๑.             ทุนวิจัยเรามีน้อย และนักวิจัยเรายิ่งน้อยกว่าทุนหมายความว่า

๒.             แม้ทุนมีน้อย ก็ยังไม่ค่อยมีคนขอ หรือหาคนขอที่มีความสามารถไม่ได้ 

๓.             ที่คนขอน้อยเพราะคนไทยไม่ค่อยมีวิญญาณนักวิจัย คิดไม่ค่อยเป็น วิเคราะห์ไม่ค่อยเป็น แต่ถ้าท่องจำก็พอได้  

๔.             รายงานการวิจัยจึงมักเป็นการสรุปข้อมูล มากกว่าการวิจารณ์หาข้อเด่นข้อด้อย 

๕.             งานวิจัยที่มีน้อย ก็ยังได้ผลจริงๆน้อยมาก(%ต่ำ) เสียอีก 

๖.              เงินทุนส่วนหนึ่ง ใช้อย่างไร้สาระ ไม่ค่อยตรงกับวัตถุประสงค์ของงาน 

๗.           เมื่องานไม่บรรลุเป้าหมาย สังคมเลยไม่สนใจงานวิจัยที่ทำมาตามโครงสร้างของหน่วยงาน แต่มักใช้ผลการลองผิดลองถูกเป็นส่วนใหญ่ ที่เรียกว่า "วิจัยเชิงประจักษ์" 

๘.             การวิจัยเชิงประจักษ์ กลับกลายเป็นตัวนำในการพัฒนาประเทศ จึงเป็นที่มาของการวิจัยในชุมชน หรือ วิจัยเชิงปฏิบัติการ 

๙.            นักวิจัยระดับวิชาการปัจจุบันวิ่งตามงานของชุมชน ตรวจสอบผลทางวิชาการ หรือไม่ก็นอกเรื่องไปเลย 

๑๐.       การทำงานวิจัยในชุมชน (อย่างที่เอกทำ) จึงกลายเป็นเครื่องมือและตัวอย่างของการพัฒนาระดับชาติ (แบบไม่น่าเชื่อ) 

๑๑.      ชาวบ้านรอผลงานวิจัยจากนักวิชาการไปต่อยอดงานที่ชาวบ้านทำแบบเชิงประจักษ์ แต่นักวิชาการกลับไปยกย่องงานเชิงประจักษ์ของชาวบ้านเสียอีก (เศร้าจริงๆ) 

๑๒.     งานวิจัยพื้นฐานก็มักนอกเรื่องนอกประเด็น ไม่วิเคราะห์ความเป็นไปได้ และความน่าจะเป็นในสังคมไทย อันนี้ผมเขียนอธิบายไว้แล้วหลายครั้ง ทำให้สังคมทั่วไปยิ่งไม่ให้ความสำคัญกับการวิจัยพื้นฐาน 

๑๓.      งานวิจัยประยุกต์ก็หลุดโลก ไปประยุกต์ได้เฉพาะในแปลงทดลองที่ทำเท่านั้น 

๑๔.     เราใช้ Peer review แบบเตี้ยอุ้มค่อม ที่ลูบหน้าปะจมูก ไม่มีใครกล้าว่าใครในกลุ่ม แบบกลัวจะเสียใจ แต่จะไม่รีรอถ้าแปลกตาแปลกหน้า ทำให้โครงการห่วยๆผ่านสบาย แต่โครงการแนวคิดใหม่ๆ ดีๆอาจถูกบล็อก 

๑๕.     ระบบการศึกษาที่สอนคนให้ท่องจำไปสอบเป็นตัวทำลายวิญญาณนักวิจัยของคนไทย 

๑๖.      ปริญญาของเราส่วนใหญ่ได้มาจากการเรียนในห้องและท่องจำ แม้ในระดับปริญญาเอกก็ยังมี 

๑๗.   เราหานักวิจัยตัวจริงของไทยแทบไม่ได้ จึงต้องไปเริ่มที่การพัฒนาการศึกษา 

๑๘.     การให้ทุนวิจัยกับคนที่ทำวิจัยไม่เป็น ไม่มีวิญญาณนักวิจัย พิจารณาโดยคนที่ไม่เคยทำงานวิจัย เหมือนเอาขันรั่วไปตักน้ำรดก้อนหิน มีแต่เสียน้ำกับได้หินผุ กับตะไคร่น้ำนิดหน่อย 

๑๙.    เราต้องมาแก้ที่การศึกษา พัฒนาคนให้เป็นนักวิจัยแบบค่อยเป็นค่อยไป บ่มเพาะนักวิจัยใหม่อย่างจริงจัง ไม่ใช่ทำเล่นๆอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 

๒๐.      การวิจัยในชุมชนแบบที่ผมทำกับเครือข่ายปราชญ์ และเครือข่ายข้าวอินทรีย์ หรือเอกทำที่ปาย จะเป็นตัวนำทางและตัวอย่างที่ดี แต่ก็ยังไม่พอ 

๒๑.     เรายังขาดนักวิจัยวิชาการเชิงลึกอย่างรุนแรง แหล่งทุนก็ไม่หนุน สังคมก็มองข้าม 

๒๒.     การประเมินผลงานวิจัยดูแต่การตีพิมพ์เป็น Impact factor แทนการใช้ประโยชน์จริง 

๒๓.     มีความพยายามจะแก้ด้วยการจัดการความรู้ แต่ก็มาตีบตันด้วยการลอกเลียนต่างชาติ มากกว่าระบบที่เป็นแบบของไทย 

๒๔.     การแก้ปัญหาวนอยู่ในโอ่ง และเลียนแบบ Best practice ของต่างชาติ โดยเฉพาะการเน้นตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ที่คนไทยแทบไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย 

๒๕.     การแก้ต้องเปิดใจคุยกัน แบบไม่มีอัตตา ทั้งการจัดสรรงบ การประเมินโครงการ การติดตามประเมินผล และการวัดผลกระทบโครงการ  

๒๖.      เรื่องเหล่านี้ไม่ใช้เรื่องเล่น แต่ สกว กับ หน่วยงานสนับสนุนการวิจัยต่างๆ ก็ยังทำงานวนแบบงูกินหาง  

๒๗.   ปัญหามันมาก และซ้อนกันอยู่หลายชั้น ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด อยู่ที่คุณภาพคน ทั้งคนพิจารณาและนักวิจัยเอง 

๒๘.     การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชุมชน จะช่วยใช้ชุมชนเข้มแข็งด้านการจัดการความรู้ และเป็นฐานการวิจัยเพื่อชีวิตได้อย่างดี 

๒๙.    การจัดการความรู้แบบธรรมชาติ เป็นการพัฒนาทั้งนักวิจัยและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยแบบมีส่วนร่วมไปพร้อมๆกัน 

๓๐.       การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น น่าจะเป็นทางออกที่ดี และมีศักยภาพสูงในการพัฒนางานวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาของไทย  

สุดท้ายเราต้องกลับมาพัฒนาคน ก่อนสิ่งอื่นใด ครับ 

หมายเลขบันทึก: 143178เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2007 02:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ข้อที่ 31

จะออกแบบการค้นหาคนจากที่ไหน

ถ้าลองเลือกเอาจากBlog ไปพิจารณาบางส่วน อาจจะพอเห็นประกายใหม่ๆ ไม่อย่างนั้นจะสร้างนักวิจัยประเภทหมูไม่กล้วน้ำร้อนได้ยาก

 ประสบการณ์ตรงนี้เราเจอมาแล้ว เข็ดขยาดแล้ว เดินมาร้องอู๊ดๆๆๆ นึกว่าใช่ พอให้โอกาสทำอะไรๆไปสักพัก กลายเป็นหมาน้อยธรรมดา

มันยากตรงเรื่องคนจริงๆ ถ้าไม่เข้าใจก็กลับไปอ่านข้อ1-30 ใหม่ วนหลายๆรอบ แล้วเม้งจะเข้าใจแง่มุมใหม่ๆ แนวคิดตะวันตกเอามาประกอบได้ แต่ไม่ใช่เทิดทูนเหนือหัว เพราะมันไม่ใช่ผู้สืบสันดานของเรา อิอิ

กราบสวัสดีครับ ท่าน อ.แสวง และ ท่านครูฯ ครับ

ข้อที่ 32. แล้วเราจะถอยหรือครับ...

 หากใช่ ผมจะขออนุญาตใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ ซึ่งมีเท่าๆ กัน กับทุกๆ คน เดินทวนอีกรอบโดยเอาทั้ง 31 ข้อนั้นมาทบทวนครับแล้วก้าวใหม่ครับ

" เราไม่ได้ล้มเหลวจากการทดลอง 700 กว่าครั้งที่ผ่านมา แต่เรากำลังเรียนรู้มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างน้อยเราก็รู้แล้วว่า มี 700 วิธีที่ไม่ควรทำ และใกล้จะพบคำตอบแล้ว " จาก โทมัส เอดิสัน

 ผมเองไม่อยากจะแบ่งแยกตกออกครับ...เอาเป็นว่าประยุกต์ใช้ตามรากเหง้าของชุมชน ครอบครัว องค์กร หรือสังคม นั้นๆ ให้สอดคล้องสอดรับครับ

ผมมียาขมขวดหนึ่งครับ... คือหากอ่านดูส่วนผสมยาแล้วมันไม่น่าจะทำให้เกิดรสขมได้ ผมอยากจะลองชิมดูด้วยกระบวนการและแนวทางที่ฝันไว้ครับ

งานวิจัยมีระดับของมันอยู่ใช่ไหมครับ

ระดับขึ้นหิ้ง ไม่ได้แปลว่าไร้ประโยชน์ หรือเปล่าครับ

ระดับที่ประยุกต์ใช้ได้ ในระดับต่างๆ ซึ่งก็แตกต่างกัน

เพราะท้ายที่สุดแล้ว การบูรณาการก็จะหยิบทั้งที่บนหิ้งและประยุกต์ใช้ได้มาเชื่อมกัน

มีนักวิจัยท่านหนึ่ง หยิบกระบี่ขึ้นมาในยามอาิิทิตย์สาดแสงเข้าไปยังตัวเค้า ทำให้เกิดเงาร่างของเค้าบนผิวดิน เค้าจับกระบี่ขึ้นมาได้แล้วทำการแบ่งเงาของร่างเค้าเป็นท่อนๆ เพื่อจะแบ่งส่วนของเงาออกเป็นส่วนๆ ในการทำวิจัยเป็นส่วนๆ แต่ทันใดนั้น ก็มีมดคันไฟฝูงหนึ่งมากัดเท้านักวิจัยท่านนั้น ทำให้นักวิจัยท่านนั้นต้องกระโดดโลดเต้้นแล้วเคลื่อนที่ย้ายตัวไป เงาที่แบ่งออกเป็นชิ้นๆ บนดินก็เหลือเพียงแต่รอยเส้นแบ่ง เงาที่แบ่งไว้ก็ติดตามตัวนักวิจัยท่านนั้นไป.....

อิอิ.........

ตราบใดที่เราบูรณาการใจของคนวิจัยเข้ากันไม่ได้ ก็คงยากที่จะบูรณาการวิจัยได้ครับ  เพราะว่าปัญหาใน 30 ข้อนั้นจะยังเกิดแล้วเกิดขึ้น

น้อมรับทุกๆ ความเห็นครับ ผมบันทึกไว้แล้วครับ สำหรับ 31 ข้อนี้ครับ จะนำมาทบทวนเสมอๆ ครับ

ตอนนี้ผมขอแปลงฝันด้วยจินตนาการในอากาศ ให้ไปอยู่ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ก่อนนะครับ เพื่อคนอื่นจะได้รับทราบว่าผมคิดอะไรอยู่ครับ

ส่วนผลจากหน้าจอคอมพ์จะเอาไปใช้ได้หรือไม่นั่น ต้องทำต่อเนื่อง ไม่ง่ายเลยครับ ที่จะทำให้หม้อหุงข้าวดูีทีวีได้ด้วย หรือทำให้ทีวีหุงข้าวได้ด้วยครับ แต่ก็ไม่ยากกว่า การบูรณาการใจของคนให้ทำงานร่วมกันได้ ดังนั้น เฮฮาศาสตร์เดินทางมาแล้ว ก็จงสู้กันต่อไปนะครับ

กราบขอบพระุคุณมากๆ นะครับ

เม้งครับ 

เรียน ท่านอาจารย์แสวงค่ะ
         เมื่อวานนกฟังรายการวิทยุประกาศผู้ได้รับรางวัลการวิจัยดีเด่น มีหลายท่านทีเดียว    ชอบอ่านงานวิจัยมากค่ะและก็คิดเหมือนท่าน ๆ ว่า การที่เราดีใจหนักหนากับการได้ตีพิมพ์ในนิตรสารดัง ๆ ภาษาประกิตเนี่ยมันมีประโยชน์กลับมามากน้อยแค่ไหน   แต่ก็เป็นหนทางหนึ่งที่ประกาศให้โลกรู้ว่า เนี่ยประเทศไทยก็มีผลงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับ
         ปัญหาของนักวิจัยส่วนใหญ่น่าจะมาจากเงินทุนมังคะ   เพราะต้องขอทุนสนับสนุนและนำมาเป็นค่าใช้จ่าย  แต่ถ้านักวิจัย จ้าง จ้าง กับจ้าง แล้วนำผลมาวิเคราะห์ก็ไม่รู้ว่าการทำงานวิจัยบนโต๊ะเนี่ยมันจะสำเร็จหรือไม่  งานวิจัยที่ลงไปเก็บข้อมูลเองเนี่ยหรือเขาเรียกว่า เขียนวิจัยแบบบรรยายหรือพรรณาเอง นกว่ามันยากจริง ๆ และก็ได้ลงไปสัมผัสเอง เป็นวิจัยเชิงประจักษ์ก็จะได้ข้อมูลดิบ ๆ ที่เป็นจริง
           จากการอ่านงานวิจัย หลาย ๆ งานวิจัยส่วนตัวเองชื่นชมท่านเหล่านั้นมาก  นกเองไม่เคยทำงานเป็นลักษณะของงานวิจัยในเชิงลึก  ได้แต่ทำงานวิจัยในกลุ่มเล็ก ๆ คือกลุ่มของการทำงานเพื่อการปฏิบัติงานของตนเอง
              เห็นด้วยกับอาจารย์เม้งค่ะ  อย่าท้อแท้นะคะนกขอเป็นหนึ่งกำลังใจให้กับท่าน และนักวิจัยทุกคนค่ะ

          

ข้อที่ 33 บทเฉพาะกาล

ขออนุญาตเติมแต่ง จากที่ท่านอาจารย์ ทิ้งท้ายไว้ว่า

สุดท้ายเราต้องกลับมาพัฒนาคน ก่อนสิ่งอื่นใด ครับ 

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ เพราะว่า

  • โลกาภิวัฒน์ ICT ทำให้โลกยิ่งแคบลง วัฒนธรรมจากนานาชาติ จะโถมเข้ามา วงรอบของาการเปลี่ยนแปลงจะเร็วขึ้น เราคงกั้น หมอบ ลบหลีก หนีหรือไม่รับเอา คงไม่ได้
  • "รากเหง้า" ความเข้มแข็ง และดีงาม ตามบริบทของเราที่มีหลายร้อยปี ก็สำคัญไม่น้อย จะละทิ้งเอาสิ่งใหม่แต่ถ่ายเดียวคงต้องติด "กับดักทางปัญญา"
  • การสร้างคน ให้รู้เท่าทัน และก้าวไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียงอย่างที่ท่านอาจารย์ว่า น่าจะถูกต้องครับ
  • อิ ๆ

 

ขอบคุณครับ

บางข้ออาจรวมประเด็นเข้าด้วยกันได้ 

ถ้าแม้ว่า พบนักวิจัยที่ดี ถ้าอยู่ในระบบที่ไม่เอื้ออำนวย หรืออยู่ใต้วัฒนธรรมองค์กรที่ด้วยเหตุใดก็ตามไม่เสริมแต่หักล้าง ก็ไปไม่ถึงไหน เตรียมรอดูการกลายพันธุ์ เป็น หมาน้อย หรือ หมาหัวเน่า เป็นที่รังเกียจแก่สังคม

เห็นด้วยครับ อยากเห็นนักวิจัยระดับวิชาการ ทำการวิจัยในระดับวิชาการเจ๋งๆ 

 

  • ตามติดได้ในตอนค่อนรุ่งแบบนี้แหละครับ  คอมเครื่องหลักยังเดี้ยงไม่หาย  ต้องขอจอยเวลากับเจ้าลูกชาย
  • ผมติดใจใน

สวัสดีครับท่าน ดร.

  • ตามติดได้ก็ตอนค่อนรุ่งแบบนี้แหละครับ  เพราะคอมฯเครื่องหลักยังเดี้ยงไม่หาย  ต้องมาแย่งใช้เครื่องของเจ้าลูกชาย
  • ผมติดใจใน 3 ข้อสุดท้าย และบทสรุปนี้ ...

    ๒๘.     การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชุมชน จะช่วยใช้ชุมชนเข้มแข็งด้านการจัดการความรู้ และเป็นฐานการวิจัยเพื่อชีวิตได้อย่างดี 

    ๒๙.    การจัดการความรู้แบบธรรมชาติ เป็นการพัฒนาทั้งนักวิจัยและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยแบบมีส่วนร่วมไปพร้อมๆกัน 

    ๓๐.       การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น น่าจะเป็นทางออกที่ดี และมีศักยภาพสูงในการพัฒนางานวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาของไทย  

     

    สุดท้ายเราต้องกลับมาพัฒนาคน ก่อนสิ่งอื่นใด ครับ 

  • แต่เมื่อไรหนอคนในระดับผู้กุมนโยบายทางด้านการศึกษา  โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดหลักสูตร  จึงจะหูตาสว่างกันเสียที  เพราะทุกวันนี้ยึดติดมาตรฐาน(เดียวกัน)เหลือเกิน เอ็งจะลูกชาวไร่ ใครจะลูกชาวนา หรือคุณจะเป็นลูกท่านหลานเทวดา สุดท้ายต้องผ่านค่า"มาตรฐานการเรียนรู้"เดียวกัน

  • นั่นแหละครับเครื่องประหารหัวสุนัขทางการศึกษายุคใหม่  เด็กไทยจึงถูกตัดสินว่า"คุณภาพต่ำ"ลงเรื่อยๆ  (อุปมาเหมือนเด็กถนัดเตะตะกร้อ  แต่กรมวิชาการกำหนดให้เอามาตรฐานการเล่นฟุตบอลมาเป็นตัววัดและตีค่า   ก็ไหนบอกว่ายึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  ทำไมยังวัดค่าความรู้ความจำในเนื้อหาวิชาเป็นตัวตั้งอยู่เหมือนเดิม )

  • วันนี้คนไทยยังไม่กล้าคิดไกลนอกกรอบ  เพราะกลัวผิด  อันเป็นผลงานการจัดการศึกษาในรูปแบบเดิมๆ

  • วันนี้ เราจึงขาดนวัตกรรมใหม่ๆในทุกด้าน  เพราะหานักวิจัยเนื้อแท้ยากนี่เองครับ

  • สวีสดีครับ

ผมจะรอวันที่เราเริ่มใช้ความรู้ในการพัฒนาประเทศ แทนการใช้อำนาจ และความรู้ในการพัฒนาประเทศ ไม่รู้ชาตินี้จะได้เห็นสักนิดไหมครับ สาธุ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
 ปัญหาที่นักวิจัยหายากผมคิดว่าคนสมัยนี้คิดอะไรไม่ค่อยเป็น เป็นแต่ไปฟังมาพูดไปอ่านมาบอก และไม่กล้าที่จะคิดเพราะ....กลัวผิด.....กลัวถูกหัวเราะเยาะ และ กลัวอำนาจที่อาจเกิดขึ้นจากงานวิจัยที่ไปขัดผลประโยชน์ของใครบางคนที่คิดว่าตนเองยิ่งใหญ่ล้นฟ้าซะเหลือเกิน ทั้งๆที่สุดท้ายแล้วชีวิตก็จบเหมือนๆกัน

ด้วยความยินดีครับ สนใจขนาดนี้หายากครับ

  กล่มบริษัทที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอาจจะมีส่วนได้ส่วนเสียกับ จนท.ระดับสูงในรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย  การวิจัยด้านการเกษตรทีประสบผลสำเร็จของชุมชนอาจนำไปสู่สงครามแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างรุนแรงระหว่างนายทุนกับกลุ่มเกษตรกร  ด้วยเหตุนี้รัฐจึงไม่ส่งเสริมงานวิจัยอย่างจริงจัง     นอกจากนี้พวกนายทุนก็อาจจะส่งคนเข้าไปแฝงตัวตามองค์กรวิจัยต่างที่มีแนวโน้มว่าจะไปได้สวย

ขอบคุณครับ

ประเด็นนี้ลึกซึ้งจริงๆครับ

ผมเชื่อว่าเป็นไปได้มากๆเลยครับ

สรุปว่ารัฐไม่เคยทำอะไรจริงจัง และไม่มีทางต้านแรงจากภาคเอกชนได้เลย

ผมก็เจอครับ

อะไรที่ดีๆ เอกชนจะมาเด็ดยอดไปกินหมด ไม่ว่าผลงาน หรือตัวคน

แล้วเราจะมีหน่วยงานวิจัยของรัฐบาลไว้ทำอะไรครับ

ให้เอกชนทำทั้งหมด น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่า

ที่เเหลือก็ให้ชุมชนทำเชิงประจักษ์ไป จะเข้าท่ากว่าเยอะ ประหยัดงบประมาณได้มากเลยละครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท