ความยากจนในสังคมไทยและภาคเกษตรกรรม(๑๗): บทสรุปปัญหาและทางออกที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมไทย


การพัฒนาที่ทำลายฐานของระบบ และไม่ยั่งยืน เน้นการพัฒนาสู่การบริโภคนิยม และเสพติดเป็นนิสัย

 เมื่อวานนี้ (๒๑ กย ๕๐) เป็นวันสอนวันสุดท้ายประจำภาคต้น ๒๕๕๐ ผมจึงได้ถือโอกาสสรุปและเรียบเรียงปัญหาความยากจนในสังคมไทย

 ที่ได้ บ่น มาตลอดรอบเดือนที่ผ่านมา

ดังนี้ 

·        การใช้ความรู้ที่เป็นพิษ  

·        ทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

·        การแบ่งปันผลประโยชน์ที่ใช้หลักทุนนิยมนำทาง และ

·        การพัฒนาที่ทำลายฐานของระบบ และไม่ยั่งยืน

·        เน้นการพัฒนาสู่การบริโภคนิยม และเสพติดเป็นนิสัย

·        เน้นการพัฒนาสู่ความเป็นทาสทางความคิด ข้อมูล และเทคโนโลยี  

·        การพัฒนาแบบแยกส่วนและขาดสมดุล ทั้งในเชิงการจัดการ  

·        แยกใช้และพัฒนาองค์ประกอบของระบบทรัพยากรออกจากกัน ที่ทำให้ล่มสลายไปทีละด้าน จนล่มสลายทั้งระบบ และ

·        การจัดการพัฒนาแยกส่วนต่อเนื่องยังส่งผลให้มีการทำลายระบบนิเวศและทรัพยากรพื้นฐานอย่างรุนแรง จนพึ่งพาตัวเองไม่ได้

·        เน้นระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาภายนอก ที่อาจจะถูกเอาเปรียบได้ง่าย และ

·        ระบบสังคมเชิงปัจเจก เน้นความสำเร็จส่วนบุคคล จึงทำให้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวง เอาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ส่วนรวมหรือใครจะเสียหายก็ไม่เป็นไร 

·        การศึกษาที่ไร้จุดหมาย

o       มีเป้าหมาย แต่ไม่มียุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ในการทำงาน

o       ขาดการติดตาม ประเมินผลตามเป้าหมายo       การประเมิน แค่ทำแบบลูบหน้าปะจมูก

o       การประเมินใช้ระบบเอกสารมากกว่าความเป็นจริง

o       ไม่ใช้ความรู้ และภูมิปัญญาดั้งเดิมในการเรียนการสอน จึงขาดฐานและเชื่อมต่อกับสังคมไม่ได้

o       เป็นการศึกษาหลุดฐาน เลื่อนลอย ผู้เรียนไม่สามารถเชื่อมความรู้เข้ากับความจริงในสังคมได้ 

·        ไม่สนับสนุน แต่กลับทำลายภูมิปัญญาท้องถิ่น

o       อ้างความทันสมัย

o       อ้างความเป็นสากล

o       อ้างความสะดวก

o       อ้างความสบายและคุณภาพชีวิต 

·        การสร้างหนี้เพื่อการบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

·        เน้นสนับสนุนบริโภคนิยม

·        แข่งขันกันในสังคมด้วยการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเป็นสัญลักษณ์และฐานะทางสังคม

·        เกิดแรงผลักไปสู่การหาเงินแบบ ทางลัด ทุกรูปแบบ เท่าที่จะทำได้ แม้กระทั่งการขายตัว ขายศักดิ์ศรี ขายชื่อเสียง ฉ้อราษฎร์บังหลวง ฯลฯ 

·        การทำลายระบบสังคม การพึ่งพา และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

·        มองคนเป็นแค่ แรงงานการพัฒนาคนอย่างมากเป็นแค่การพัฒนา ฝีมือแรงงาน

·        สนับสนุนการทำลายระบบสังคมจากการกระตุ้น และสนับสนุนการอพยพแรงงานออกนอกพื้นที่ และชุมชนของตนเอง

·        ใช้เงินเป็นตัวชี้วัดศักดิ์ศรีของมนุษย์ ทำให้คนดิ้นรนหา เงิน มาเพื่อรักษา หรือ เพิ่มพูนศักดิ์ศรีของตนเอง โดยไม่สนใจว่าจะได้มาโดยวิธีใด

 ทางออกที่ทำกันอยู่ตอนนี้ก็มีแต่นำไปสู่การทำลายมากขึ้นเรื่อยๆ

·        ทำลายทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเปลี่ยนเป็นเงิน

·        พอเสื่อมโทรมก็พึ่งระบบเคมี จากภายนอก

·        ทำให้ขาดทุน ที่ต้องชดเชยด้วยการกู้ยืม และหาเงินจากการรับจ้าง หรืองานนอกภาคเกษตรอื่นๆ

·        ทุกคนพยายามถีบตัวเองขึ้นไปโดยการเหยียบคนอื่นให้ต่ำลงมา ไม่มีมิตรแท้ มีแต่ผู้ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์ การคบกันส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงผลประโยชน์เป็นหลัก มีแตกต่างก็แต่ระยะสั้นหรือระยะยาวหน่อยเท่านั้น

·        เมื่อการกู้ถึงทางตันก็มีการ ขาย ทุกสิ่ง ตั้งแต่

  • ที่ดิน
  • จนถึงการ ขาย ตัวเอง และ
  • คนในครอบครัว ลูกหลาน เพื่อนำเงินเข้ามาล้างหนี้

·        เมื่อ ขาย หมด ก็เป็นการ โกง” และวนเวียนอยู่ตรงนี้

  • ตั้งแต่ระดับบุคคล ไปจนถึงองค์กร
  • จากท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติ

·        ………………….ฯลฯ

·        ผมยังไม่ทราบว่าต่อไปจะเป็นอะไร

การดำเนินตามขั้นพัฒนาการ อาจมีการลัดขั้นตอนตามขีดความสามารถ และ ทุน ของแต่ละคน 

ทางออกที่น่าจะเป็นในสถานการณ์กระแสเงิน กระแสหนี้เชี่ยวกรากนี้ก็ไม่น่าจะมีอะไรเหนือกว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 ที่เน้น

การรู้จักพอประมาณ (Moderation) มีเหตุผล ในทุกด้าน

การพยายามหาทางพึ่งตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การสร้างความหลากหลาย ลดการเสี่ยง และ

การจัดการความรู้ เพื่อ

·        การจัดการตัวเอง

·        การช่วยเหลือเพื่อน ให้มีพลังทางสังคม

·        การพัฒนาทรัพยากร ให้พึ่งตนเองได้

·        และการพัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบไม่เสี่ยง ไม่ก้าวกระโดด 

ก็น่าจะไปรอดได้ดีกว่าเดิมครับ  

หมายเลขบันทึก: 130867เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2007 07:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะท่าน ดร.แสวง

  • ครูอ้อยมาเรียนให้ทราบว่า...ครูอ้อยและหลายๆคนในเวลานี้  ก็กำลังทำหน้าที่ของตนเองที่พึงจะทำได้
  • ถึงแม้ว่าจะเป็นเสียงหรือพลังอันน้อยนิด  แต่หากเราเดินไปในทางเดียวกัน  มีจุดมุ่งหวังเพื่อ..เดียวกัน  ก็คิดว่า..ปลายทางก็คงได้พบกับท่าน..ดร.แสวงด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ  ที่ได้ให้พลังกับครูอ้อยในบันทึกนี้..ในเช้านี้ค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ดร.แสวง

ขอบพระคุณอาจารย์ สรุปเห็นภาพรวมมากเลยครับ สิ่งที่อาจารย์กล่าวถึงนี้ กระทบกับคนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งเป็นเกษตรกร หรือที่เราเรียกว่า "แรงงาน" คนอีกส่วนซึ่งอยู่ด้านบนของโครงสร้างสังคม ก็นำเสนอว่า จน=โง่=ทานเหล้า แล้วก็บอกให้เขาบริหารเงิน คือเพิ่มความฉลาดในการใช้เงิน จะได้ไม่โง่

ผมมีเพื่อนหลายคนที่หลุดพ้นวงจรนี้ได้ หลายคนที่พ่อแม่เป็นเกษตรกร แต่ตัวลูกเรียนมหาวิทยาลัย กลายเป็นคนชั้นกลาง ซึ่งกระจุกตัวกันอยู่จี๊ดเดียวในเมืองหลวง

ในขณะที่อาจารย์เป็นห่วงคนส่วนมาก เทอมหน้าลองขยายมาห่วงคนส่วนน้อย ที่จับต้นชนปลายไม่ถูกเหมือนกันดีไหมครับ เพราะผมสงสัยเหลือเกิน ว่าคนเหล่านี้ เป็นอีกกลุ่มที่นำข่าวสารจากในเมืองไปสู่ชนบท นำความ "เจริญ" ไปบอกกล่าว แล้วก็ทำให้คนข้างนอกเมืองตื่นเต้นไปกับความ เจริญในเมือง คนชนบทเข้าเมืองแล้วเท่ห์ คนเมืองไปเมืองนอกก็เท่ห์เหมือนกัน ว่าไหมครับ?

ผมคิดเหมือนครูอ้อยเป๊ะเลยครับ เพราะผมเชื่อว่าการจะขยายฐานความคิดออกไป ต้องไปด้วยชุมชน ต้องไปช้าๆ และใจเย็นๆ ผมไม่คิดว่ามันจะไปได้ไกลหรอกครับ แต่พูดแบบนี้ไม่ได้ท้อ คือพูดด้วยอารมณ์ว่า มันจะช้า มันจะได้ทีละนิด ก็ทำๆ ไป แบบ ชิล ๆ น่ะครับอาจารย์

ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ

ผมจะลองมองในเชิงภาคผนวกของส่วนที่เกี่ยวข้องที่ยังเป็นช่องว่างอยู่ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

บันทึกนี้ของอาจารย์มีคุณค่ามาก

ดิฉันขออนุญาตนำไปl ink ที่นี่ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท