SAR ON BLOG : 7.3 ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล


องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและจัดการ 

ปฏิบัติการที่ดี


     สถาบันอุดมศึกษา พึงจัดวางระบบการบริหารที่มีความคล่องตัว มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนระบบ มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ในการบริหารมาใช้ มีโครงสร้างและระบบที่สนับสนุนพันธกิจหลัก ซึ่งได้แก่การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพ


 

7.1 โครงสร้างและระบบการบริหาร 

7.2 อำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน 

7.3 ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล 
 
7.4 ระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ 

7.5 การมีส่วนร่วมในการบริหาร


ดัชนีที่ 7.3 ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล
ปฏิบัติการที่ดี

     สถาบันอุดมศึกษา มีระบบการสรรหา พัฒนา และดำรงรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพ มีการประเมินบุคลากร และพิจารณาความดีความชอบอย่างยุติธรรมและเปิดเผย


เกณฑ์การตัดสิน หลักฐานอ้างอิง
1. มีนโยบายและแผนบริหารทรัพยากรบุคคล ที่เป็นลายลักษณ์อักษร 7.3.1 ประกาศคณะสหเวชศาสตร์ เรื่อง นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
   
 2. มี (1) + มีระบบ การได้มาซึ่งบุคลากรด้านต่าง ๆ 7.3.2(1) ประกาศคณะสหเวชศาสตร์ เรื่อง การรับสมัครลูกจ้างชั่วคราวฯ
  7.3.2(2) คำสั่งคณะสหเวชศาสตร์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นลูกจ้างชั่วคราว
3. มี (2) + มีระบบหรือกลไก เพื่อรักษาและพัฒนาทรัพยากรบุคคล 7.3.3(1)  ประกาศคณะสหเวชศาสตร์  เรื่อง การขออนุมัติเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา ดูงาน
   7.3.3(2) ประกาศคณะสหเวชศาสตร์ เรื่อง สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนของคณะสหเวชศาสตร์ 
4. มี (3) + มีระบบการประเมินบุคลากร 7.3.4 ประกาศคณะสหเวชศาสตร์ เรื่อง ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะสหเวชศาสตร์
   
5. มี (4) + มีการนำผลการประเมินมาพิจารณาความดีความชอบอย่างยุติธรรมและเปิดเผย 7.3.5(1) คำสั่งคณะสหเวชศาสตร์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรประจำปีงบประมาณ 2550
  7.3.5 (2) บันทึกข้อความ เรื่องขอส่งสำเนาคำสั่งเลื่อนขั้นค่าตอบแทน เงินช่วยค่าครองชีพพิเศษ และผลการประเมินพฤติกรรมที่สนับสนุนการทำงาน


การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแล :   นางสาวนิตยา  รอดเครือวัลย์    โทร. 6233
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล :  นางสาวสุพรรษา มะริด   โทร.  6237
ปีที่แล้ว : 5 ในครั้งนี้ : 5 ปีต่อไป : 5
ผลการดำเนินงาน :
สำนักงานเลขานุการมีการบริหารทรัพยากรบุคคลตามนโยบายการบริหารของคณะ มีสวัสดิการเกื้อกูลของสำนักงานและของคณะ ในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน มีการประเมินบุคลากรในรูปแบบ 360 องศา โดยประเมินจากผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน
TOWS Analysis :
ภาวะคุกคาม T : - การบริหารบุคลากรในระบบราชการ มีหลายประเภทอาทิเช่น ข้าราชการ พนักงานของรัฐ พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ในการบริหารงานบุคคล
โอกาส O : - คณะมีการจัดทำประกาศนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ชัดเจน ทำให้การบริหารบุคคลมีแนวทางที่ชัดเจน
- คณะมีการกำหนดค่านิยมร่วม (AHS Core Values) ให้บุคลากรยึดถือร่วมกันในการดำเนินงาน ช่วยเสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีในการบริหารงานบุคคล
- คณะมีสวันดิการและผลปรโยชน์เกื้อกูลให้กับบุคลการ ซึ่งช่วยเสริมสร้างขวัญและกำลังใจเป็นอย่างดีให้กับผู้ปฏิบัติงาน
จุดอ่อน W : - การติดตามผลการประเมินที่ควรปรับปรุงแก้ไข ยังขาดความชัดเจน
จุดแข็ง S : - บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมมในการประเมินเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน ในฐานะเพื่อนร่วมงาน
- บุคลากรทุกคนรับทราบผลการประเมินที่ควรปรับปรุงแก้ไข ยังขาดความรับผิดชอบ
- ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเลขานุการ ได้รับการสนับสนุนเข้าฝึกอบรม สัมมนา ดูงานเพื่อพัฒนาความรู้และงานที่รับผิดชอบ
โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป :
- การหาแนวทางในการสร้างระบบกลไกติดตามการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ
                                         
       
การประเมินตรวจสอบ (CAR)
 ผลการประเมินตรวจสอบปีที่แล้ว : 4
                                                                   

กรรมการประเมินตรวจสอบ ประจำปีการศึกษา 2549

 

 

 กรรมการที่ประเมินตรวจสอบในองค์ประกอบที่ 7 ดัชนีที่ 7.3 ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล

- ดร.ศิริลักษณ์  ธีระภูธร
  รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
  คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัย


<NEXT>  /<สารบัญ>

คำสำคัญ (Tags): #sar-on-blog
หมายเลขบันทึก: 77386เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ดร.ศิริลักษณ์ ธีระภูธร คณะกรรมการการประเมิน
ผลการประเมินตรวจสอบครั้งนี้  : 4
ข้อเสนอแนะ
1.ระบบประเมิน ควรใช้ผู้ที่ได้เห็นการปฏิบัติงานจริงมาประเมิน จะทำให้เห็นถึงการ
     ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง เนื่องจาก เมื่อผู้ประเมินไม่เคยเห็นการปฏิบัติงารจริง
     ก็อาจได้ข้อมูลที่ไม่ตรงตามจริง อาจทำให้ผู้ถูกประเมินไม่มีความเชื่อถือในระบประเมินนี้ได้
2.ระบบการประเมินยังไม่สามารถนำมาซึ่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ทุกคน อาจต้องมีมาตรการที่เด็ดขาดมาใช้บ้าง
3.การสร้างนิยมร่วมกันนับว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่จะสวนทางกันถ้าทุกคนมีวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน
  หรือยังมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันอยู่บ้าง อยากให้มีการมาปรับฐาน หรือมีการเรียนรู้ในวัฒนธรรมองค์
  กรร่วมกัน เมื่อการร่วมมือกันในการทำงานที่ดีต่อไป เช่น มีการทำกิจกรรมละลายพฤติกรรมร่วมกัน
4. การเผยแพร่ในส่วนประเมินอาจต้องมีการปรับปรุงให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น
นิตยา รอดเครือวัลย์

สำหรับข้อเสนอแนะจากกรรมการประเมินเรื่องระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล ขอนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุง ดังนี้ค่ะ

1.เพื่อให้เกิดการประเมินที่แท้จริง  จะนำข้อเสนอนี้  เสนอไปยังผู้บริหารโดยเลือกผู้ประเมินที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกประเมิน

2.ระบบการประเมินเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารทรัพยากรบุคคล และผลการประเมินก็เป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้ผู้ถูกประเมินรับทราบถึงมุมมอง หรือพฤติกรรมของตนเองที่มาจากผู้ประเมินเพื่อให้ตนเองได้ปรับปรุง หรือปรับพฤติกรรมการทำงานร่วมกันให้ดีขึ้น ทั้งนี้ จะนำข้อเสนอจากกรรมการประเมินเสนอที่ประชุมกรรมการประจำคณะเพื่อหาแนวทาง หรือ อาจปรับปรุงระบบการประเมิน  รวมถึงการเผยแพร่ผลการประเมิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท