Inter departmental conference เรื่องปัญหาจิตใจของเด็กวัยรุ่น


มีพลังที่ดี มีคุณค่าของตัวพวกเรา ซึ่งส่งกระจายให้ คนที่อยู่รอบๆได้ และ คุณค่าในตัวคนนั้น สามารถแผ่ ติดต่อกันได้จริงๆ

วันนี้เรานัดกันทำ เวทีสนทนาจากหลายภาคส่วนค่ะ เป็นการสนทนาเรื่อง

ปัญหาวัยรุ่นจากกรณี ผู้ป่วย

ทีมกุมาร เป็นเจ้าภาพ เชิญผู้เกี่ยวข้องมาเจอกัน เอากรณีปัญหาวัยรุ่นที่ป่วยและมาติดตามที่คลินิก ARV เป็นข้อมูลทางด้านจิตใจ นำเข้าเรื่อง

เราเชิญ เชิญทีมจากกลุ่มงานจิตเวช ทีม ACCESS ทีมศูนย์องค์รวม  คุณหมออ้อย จาก ศูนย์ ประสานงาน ไทยสหรัฐด้านสาธารณสุข กุมารแพทย์ แพทย์ฝึกหัด เจ้าหน้าที่ในกลุ่มงานเด็กและผู้สนใจ รวม 20 กว่าคน แนะนำตัวกันก่อนนะคะ

และเชิญ อ นพประเสริฐ       อ พญ พัชราพร มาวิพากษ์

เตรียมผู้ป่วย 3 ราย ปุ๊กกี้ เชอร์รี่ โดโด้

เริ่มด้วย รายแรก น้องปุ๊กกี้ อายุ 16ปี

 ที่มีปัญหาก้าวร้าวและขัดแย้งกับผู้ดูแล และเริ่มมีพฤติกรรมเสี่ยง(เพศสัมพันธ์ และดื่มสุรา)

  พอนำเสนอโดยสรุป เรื่องประวัติ เรื่องชีวิตอดีต และปัญหาที่มากมายของน้องปุ๊กกี้ในปัจจุบัน ให้สมาชิกในห้องนั่งฟัง  ว่า

เมื่อเล็กๆเธอ เคยป่วยหนักหลายครั้ง มีบางครั้งขอเซ็นใบไม่สมัครอยู่ แต่ก็กลับมานอนใหม่ จนมาได้รับยาต้านไวรัสดีขึ้น     กลับไปเรียนหนังสือ

 มีแฟน แล้ว  ตอนนี้อยู่กับยาย  น้องและยายจะ ทะเลาะกัน พูดจา รุนแรง  บางครั้งลงไม้ลงมือกันด้วย

มีน้าข้างบ้านที่ชวนน้องไปดื่มเหล้าด้วยบ่อย ๆ

ขณะนั้นบรรยากาศในห้อง เคร่งเครียด เห็นปัญหาชีวิตน้อง สาหัสจริงๆ 

 

อาจารย์ ประเสริฐก็เลยชวนในห้องประชุมว่า

 

ถ้าเราดำเนินการคุยปัญหาและไปเรื่อยๆ ในที่สุดจะถึงทางตัน แก้อะไรไม่ได้

 

ขอเปลี่ยนแนวเป็นว่า เราจะคุยกันว่า

 

พวกเราทำอะไรที่เป็นความสำเร็จ เราเห็นอะไรดีขึ้นบ้าง

 

ไม่งั้นเราจะติดกับ และจะออกจากห้องนี้ไปด้วยความรู้สึกหดหู่

 

 

เธอบอกว่า ตอนฟังปัญหาน้องปุกกี้ ได้กระซิบเบาๆกับอาจารย์พัชว่า ในโลกนี้ มีผู้ชายดี อยู่ คนเดียวหล่ะ

 

และก็ แซวกันต่อว่า เลยมีผู้หญิงโชคดี อยู่คนเดียวเนาะ

 

หัวเราะกันนิดหน่อย บรรยากาศก็ เลยลดความเคร่งเครียดลง

 

เราก็ช่วยกันคิดว่า อะไรบ้างที่เราทำสำเร็จ อะไรที่ดีๆ

 

ฝืดนิดหน่อยในช่วงแรก  แต่พอบรรยากาศดี เรื่องดีๆ เรื่องแห่งความสำเร็จก็ค่อยไหลลื่นมากขึ้น  เพิ่มขึ้น

 

เช่น  เราพบว่าน้องมีความสามารถทาง ศิลป ชอบวาดรูป ชอบร้องเปิดเผย  ชอบเล่า และชอบคุย

 

สุขภาพดีขึ้นมากไม่ต้องนอนโรงพยาบาลบ่อยๆเหมือนเมื่อก่อน

 

ความไว้วางใจทีมของเราทั้งทีมเยี่ยมบ้าน และทีมโรงพยาบาล มีมากขึ้น

 

เมื่อก่อนไม่คุยกับหมอ กับพยาบาล มองค้อน ทำตาดุใส่   เดี๋ยวนี้ มากอด มาคุย มากระหนุงกระหนิง มาแหมะ มานั่งพิง

 

แต่ก็ยังมีข้อจำกัดของการช่วยเหลือด้านความสามารถของปุกกี้ที่เราพยายามทำ  ว่า

 

การช่วยเหลือด้านศิลปมาจากนอกพื้นที่นอกจังหวัด

 

มีเวลาทำกิจกรรมไม่กี่วัน

 

และการแสดงผลงานยังอยู่ในกรอบของผู้มีเชื้อ เอชไอวี

 

 

อาจารย์หมอประเสริฐ ให้ความรู้ทางทฤษฎีเพิ่มว่า

 

เวลาประเมินผู้ป่วยดูความสามารถทางสมอง อารมณ์   แบ่งได้เป็นการประเมิน 3 หัวข้อแยกกัน

 

1 Mental stage ว่ามีสุข หรือ มี ทุกข์

 

2 Mental Capacity ว่าควบคุมอารมณ์ อดทนต่อความเครียดได้ขนาดไหน เช่น อาละวาด หรือทุบตีกัน เมื่อเครียด  ก็แสดงว่าข้อนี้ไม่ดี 

 

3 Mental quality การคิดทำประโยชน์ให้ผู้อื่น คือมีความสุขในตัวเองและคิดเผื่อแผ่ มีใจช่วยเหลือผู้อื่นด้วย

 

และให้ข้อคิด  เรื่องว่า  สถาบันครอบครัว ไม่มีจริง ไม่สำคัญ เป็นสิ่งที่ยึดถือไม่ได้   ที่มีจริงคือใครก็ได้ สักคนที่ช่วยอุ้มและกอดเด็ก ในตอนเล็กๆ โดยเฉพาะใน 3 ปีแรก ถ้ามีคนนี้ เราจะป้องกันและแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาจิตใจของเด็ก ไม่ให้ขี้กลัว ให้เด็กสามารถไว้วางใจสิ่งแวดล้อมและสร้างสัมพันธ์ ที่ดีกับคนรอบตัวได้

 

แถมด้วยเรื่องการช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่เด็กมีเชื้อเอชไอวี จากสังคม ที่ช่วยทางด้านเงินเป็นส่วนใหญ่ และยังไม่ตรงกับปัญหา ที่เกิด

 

 โดยยกคำพูดของคนพิการที่บอกว่า คนพิการไม่มี มีแต่สังคมที่พิการ

 

 

อาจารย์พัชราพร ให้ตัวอย่างเด็กมาจากครอบครัวร่ำรวยที่พ่อแม่จ้างด้วยโทรศัพท์มือถือราคาแพง และเงินสดอีกจำนวนหนึ่ง ให้มาร่วมขบวนเดินทางไกล ของสำนักแม่ชี ที่เดินจากสุราษฎร์ มากรุงเทพฯ

 

 ที่นำเรื่องความประทับใจของเขามาเล่ารอบกองไฟ  ว่าตัวเขาซาบซึ้งกับคุณค่าการทำงานของเด็กมีเชื้อเอชไอวีในขบวน ที่คอยบริการนวดให้คนที่ปวดเมื่อย ในระหว่างเดินทาง เขา ชื่นชมมากที่เห็นเด็กที่ควรได้รับการเห็นใจและช่วยเหลือกลับมีใจไปช่วยเหลือคนอื่นๆ

 

 อาจารย์พัชราพร แนะนำให้เลี้ยงเด็กแบบเด็กปกติ ผู้ดูแลที่ไม่ใช่พ่อแม่จะเลี้ยงด้วยอารมณ์ และความสงสารว่าเด็กนั้น กำพร้า โดยเฉพาะปู่ย่าตายายเลี้ยงลูกจะมีปัญหามากกว่าจะดี

 

เธอแนะนำให้กอด หรือสัมผัสเด็กด้วยความใส่ใจ กอดสัมผัส โดยที่ไม่ต้องรอให้เด็กกอดเราก่อน

 

เพราะ

 

การที่เด็กมากอด กับการไปกอดเด็กก่อน  เด็กก็มีความรู้สึกต่างกัน 

 

พ จิ๋ม ศรัญญา เล่าเรื่องเด็กโรคมะเร็งที่ตอนแรก ยอมร่วมมือกับหมอ ได้ยาเคโม มากมายพอ ยาครบ มาพบโรคร้ายกลับมาเป็นใหม่ เด็กสิ้นหวังมาก แก้อย่างไรก็ยังเศร้าหมอง มาเจอภายหลังเด็กดูจิตใจดีขึ้นมาก    

 

เลยถาม พบว่าที่ดีขึ้นก็เพราะว่า บังเอิญได้พบ พ เจ๋งเยาวลักษณ์ 

 

แพทย์เยาวลักษณ์บอกว่าถ้าไม่ได้ยา เด็กก็ตายไปนานแล้ว ตอนนี้ถือเป็นกำไรชีวิต อยู่ได้อีกวันก็ กำไรอีกวัน คิดได้อย่างนี้ก็มีความสุขมากขึ้น

 

อ ประเสริฐให้ตัวอย่างเด็ดมากอีกเรื่องว่า

 

จำที่เด็กติดเกมส์หนีจากบ้าน ไม่ไปโรงเรียนและแม่ล่ามไว้กับโต๊ะ ที่ลงข่าวหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ได้ไหม (พยักหน้ากันหงึกหงัก อ๋อๆ)

 

เป็นเรื่องสำคัญ  และ ถูกต้องแล้วที่ต้องล่ามเด็ก 

 

(ตอนนี้คนในห้องงง  จาก อ๋อ กลายเป็นเอ๋อกันเลยหล่ะ)

 

เธออธิบายต่อว่า

 

ตอนเด็กเล็ก เริ่มหัดเดิน เดินไปสัก 2-3 ก้าว เด็กก็จะหันกลับมาดูเรา เราก็จะชม ปรบมือเชียร์ให้เดินต่อ

 

โตขึ้น เดินไปไกลขึ้น5-6 ก้าว แต่ก็ยังหันกลับมาดู เราเชียร์ ให้ไปต่อ

 

เด็กเหลียวกลับดูเรามาเป็นระยะ เพราะ มีโซ่ล่ามไว้

 

โตขึ้นโซ่นี้ก็ยังต้องล่ามอยู่

 

ถ้าโซ่แข็งแรงมากหน่อย  ไปไหนก็กลับมาตามเวลา  4 โมงเย็นกลับ

 

ถ้าโซ่แข็งแรงน้อยลงก็อาจกลับ 3 ทุ่ม

 

ถ้าโซ่แข็งแรงน้อยไปอีก ก็ 3 วันกลับ

 

ถ้าโซ่ไม่ แข็งแรง แต่มีเหลืออยู่บ้างก็ อุ้มหลานกลับมา

 

อ พัชเสริมเรื่อง ที่เด็กรู้สึกไม่มีคุณค่า กลัวคนรู้ คนรังเกียจว่า

 

ไม่มีใครดูถูกเราได้ นอกจากเราจะดูถูกตัวเอง

 

และ

 

ถ้าเราไม่เชื่อตัวเองแล้วใครจะเชื่อเรา

มีทฤษฎีอีกข้อ จาก อประเสริฐ ค่ะ

มีพลังที่ดี มีคุณค่าของตัวพวกเรา ซึ่งส่งกระจายให้ คนที่อยู่รอบๆได้ และ  คุณค่าในตัวคนนั้น สามารถแผ่ ติดต่อกันได้จริงๆ

 

AAR

 สิ่งที่เกินความคาดหมาย

ชอบที่พประเสริฐเล่าเรื่องโซ่ล่าม เรื่องกอดของ พ พัช เรื่องคนไข้มะเร็งของพ ศรัญญา ชอบที่ พเจ๋งบอกว่า ที่อยู่ได้ทุกวันนี้ถือเป็นกำไรชีวิต

มาเข้าใจว่าทำไมลูกเราดูดีกว่าเด็กคนอื่นๆ เพราะเราตอนเล็กๆอุ้ม ตลอด เลี้ยงเขาอย่างดี

จะเอากลับไปใช้กับคนที่บ้าน

จะกอดเด็กมากขึ้น

ได้ข้อคิดใหม่ๆเยอะค่ะ

 สิ่งที่ต่ำความคาดหมาย

วันนี้ เราจะไม่ขอเก็บข้อมูลนี้ เพราะสัญญากันไว้แต่ต้นว่า จะพูดแต่สิ่งดีเท่านั้นและเวลาจำกัดด้วยนะคะ

เลยกระโดดต่อไปที่

สิ่งที่จะทำต่อไป

อยากให้มีคุยแบบนี้อีก จะจัดอีกใน 2-3 เดือนหน้า

อยากเห็นความหลากหลาย ภาคีที่เข้ามาร่วมมากกว่านี้การพูดคุยมากกว่านี้

อยาก ให้ กระจายความคิดการคุย  ไม่ให้  กองอยู่กับคนไม่กี่คน  อยากให้คนที่ปฏิบัติงานกับเด็ก จริงๆ ได้เล่าเรือง พูดคุยมาก

อยากให้คุณค่าของคนทำงานที่นี่ได้แผ่ และติดต่อไปที่เยาวชนของเราได้ มีพลังที่ดี มีคุณค่าของตัวพวกเรา ซึ่งส่งให้ คนที่อยู่รอบๆได้ และตามทฤษฎีคุณค่าในตัวคน สามารถแผ่ ติดต่อไปได้จริงๆ

อยากฟังเสียงชุมชน อบต ผู้นำชุมชน อสม เจ้าหน้าที่สถานพินิจ ผู้ดูแล นักจิตวิทยาจาก สถานพินิจ และจากเรือนจำ

คราวหน้าจะเอาเรื่องจากชุมชนมาแลกเปลี่ยน จะเล่าเรื่องมากขึ้น

จะเสาะหาจิตอาสาเพื่อสาธารณะ มาเข้าประชุมมากขึ้น

 

ปล. ขอบคุณวิทยากร และผู้ให้ความเห็นทุกท่าน  น้องปริม สำหรับการเตรียมผป ป้ายิ้ม ป้าตู่ พี่เดชและแม่เล็กของเด็กๆ ที่ช่วยจัดเบรกและประสานงานทั้งหมด  และน้องอิ๋ม ตุลาลักษณ์สำหรับภาพประกอบอันฉับไวค่ะ

หมายเลขบันทึก: 142233เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2007 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีครับ (ไม่ได้แวะมาเยี่ยมนานมากแล้วครับ)

อ่านแล้วให้บทเรียนเยอะมากกกกกกก......กจริงๆ ครับ

วิธีเลี้ยงลูกที่ดีที่สุด คือ เลี้ยงด้วยรัก ครับ

วิธีอยู่ร่วมกันที่ดีที่สุด คือ อยู่ร่วมกันด้วยรักครับ

วิธีที่จะทำให้ตัวเราเองอยู่ได้นานที่สุด ก็ด้วยรักครับ รักตัวเอง 

          ไม่ทราบว่ามันคืออะไร  คงเป็นคลื่นสัญญาณแห่งความผุกพันที่มองไม่เห็น  มันแรงมากเลยค่ะ ทำให้ดิฉันแวะมาเยี่ยมหมอหน่อย  มาเปิด blog หมอหน่อยอ่านหลาย blog อ่านแล้วแม้ไม่ทราบจะ comment อะไร เพราะดีมากอยู่แล้ว 

          ที่ว่าดีนั้น หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะอ่าน อ่านแล้วชุ่มชื่นใจ  อ่านแล้วมองเห็นหน้าคนเขียนกำลังยิ้ม มองทะลุเข้าไปเห็นดวงจิตที่สดใส เปี่ยมไปด้วยพลังแห่งความรัก และความเมตตา  อ่านแล้วสุขใจ...สุขใจจริงๆ

          ขออนุญาตทิ้งรอยไว้ที่นี่นะคะ เพราะอยากบอกว่า รักและคิดถึงเสมอ 

เรียนขอบคุณ อาจารย์ จารุวัจน์

รักเป็นการแก้ปัญหา ทุกอย่างจริงๆค่ะ

รักลูก รักคนรอบตัว และรักตัวเอง

อยู่ท่ามกลางความรัก

 

อ มาลินี ที่รัก ขอบคุณค่ะ เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่อาจารย์ มาทัก

อาจารย์ได้คลื่นความคิดถึง ที่ส่งไปจากเชียงราย  แรงด้วยหรือเปล่าค่ะ

เห็นรูปอาจารย์ (เหมือน จังกึมจริงๆด้วย)ในบล็อกทีไรก็ดีใจ

อาจารย์ให้ ความคิดเห็นที่ไหน ก็ชอบอ่านค่ะ

อ่านมันดีบางทีมีกิ๊กๆ

หายไปก็คิดถึง ด้วยนะคะ

 

สวัสดีครับพี่หมอ

ผมอ่านแล้วผมประทับใจการพูดคุยในแบบนี้จังเลยครับ

ผมเห็นการมองภาพในทางที่ดี เห็นคุณค่าของการประชุมสนทนา พูดคุยกันแบบเปิดใจมองกันในเื่รื่องดีๆ

ขอให้ทีมงานทีมนี้มีความสุขตลอดไปนะครับ ขอชื่นชมในการมองเรื่องของ Mentality 

ผมมองว่าเป็นการสนทนาที่เป็นแบบจรรโลงใจมากๆ เลยครับ  แบบนี้ทำให้เราแก้ปัญหาต่างๆ ได้สบายๆ เลยนะครับ หนทางที่จะแก้ไขปัญหาจุดเริ่มต้นที่ระบบคิดจริงๆ เลยครับผม

ขอเป็นกำลังใจครับ ผมมั่นใจครับ ว่าสังคมจะดีขึ้นครับ

ขอบคุณพี่และทีมงานมากๆ นะครับ 

จิตเรามันไวค่ะ น้องเม้ง

ทั้งที่พี่เป็นประธานทีมเวทีสัญจร ที่ไปเยี่ยมตามหน่วยต่างๆของโรงพยาบาล

เน้นให้เล่าเรื่องดีๆ เน้นให้เล่าความสำเร็จ เป็นประจำ

เขาเล่เรื่องปัญหาเราจะขอว่าวันนี้เราจะคุยแต่สิ่งดี สิ่งสำเร็จ

พอวันนั้นมัวแต่คิดถึงแต่จะแก้ปัญหา เอาปัญหาตั้ง

เริ่ม ลากทีมไปคุยทางเรื่องล้มเหลว เรื่องเป็นทุกข์

ถ้า อ ประเสริฐไม่ดึงไว้ให้กลับมาเล่าความสำเร็จ

ก็คงจบแบบหดหู่ออกมาจากห้องประชุมกันหมด

น้องปริม และทีมเตรียมผู้ป่วยถึง 3 ราย

แต่เราไม่เสียใจเลยที่คุยกันแค่รายเดียว

เพราะได้อะไรงอกเงยออกมาจากรายเดียว

เยอะมากค่ะ

มาเยี่ยมและให้กำลังใจคุณหมอค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ อ อัจฉรา ที่รัก และนับถือ

ที่ท่าน แวะมา

ท่านคงสบายดี และมีความสุขกับงาน

งานหลังเกษียนยังเต็มตารางเลยนะเจ้าคะ

ขอบคุณที่ทำลิงค์ให้ได้มาอ่านบันทึกดีๆบันทึกนี้นะคะ คุณหมอหน่อย อ่านแล้วน้ำตาเอ่ออีกแล้ว เพราะเคยสงสารเด็กหลายๆคนที่เราเคยได้เห็นว่า เขาถูกทำร้ายจากผู้ใหญ่ใกล้ตัวด้วยการเลี้ยงตัวไม่เลี้ยงใจ แล้วสะท้อนใจที่เราช่วยอะไรเขาไม่ได้ วันนี้ได้เห็นได้รู้ว่า เราช่วยได้จริงๆค่ะ ช่วยขยายเครือข่ายแนวคิดดีๆเช่นนี้กันต่อๆไป

ขอกอดคุณหมอหน่อยนิ่งๆนานๆสักทีนะคะ

บันทึกนี้ได้อ่านความเห็นของผู้หญิงเก่งที่แสนดีอีกคน คืออ.มาลินีด้วย ดีใจจังค่ะ กำลังตั้งหน้าตั้งตารอวันประชุมงานมหกรรมความรู้แห่งชาติปีนี้ จะได้กอดตัวจริงๆของท่านอีกครั้ง

เมื่อไหร่จะได้กอดตัวเป็นๆคุณหมอหน่อยหนอ รักมากๆค่ะ ขอบอก...ยิ่งอ่านก็ยิ่งรักมากขึ้นทุกๆครั้ง ขอบคุณความรู้สึกดีๆที่คุณหมอหน่อยส่งมาให้เสมอๆผ่านบันทึกนะคะ  

นิ่งๆ รับการกอดจาก อโอ๋

รับความรักความหวังดี เต็มเปี่ยมค่ะ

ขอกอดคืนนิ่งนานอีก หนึ่งครั้ง

ต้องเจอ ต้องพบกัน กอดกันตัวเป็นๆในงานมหกรรมความรู้แห่งชาติ

อยากไปตั้งนานแล้วค่ะ

ยังจะไปกอด อ โอ๋ แถมจะได้กอด อ มาลินีด้วย

ไม่ไปไม่ได้แล้ว

  • สวัสดีครับ
  • อ่านแล้วสนุกกับการทำ KM ครับ
  • การสัมผัสเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกคนในครอบครัว ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังสังคม
  • การโอบกอดจะรู้สึกดีทั้งสองฝ่าย และอีกฝ่ายหนึ่งสามารถรับรู้ได้ถึงเจตนาแห่งการกอดครับ
  • ขอบคุณที่มาเล่าเรื่องดีๆให้อ่านครับ

คุณหมอหน่อยไปจริงๆใช่ไหมคะ ดีใจจังเลยค่ะ เป็นเหตุให้ตั้งตารอวันประชุมที่เราจะได้พบกันอีกเรื่องแล้วค่ะ โอ๊ย...ดีใจจังเลยสงสัยโอ๋ต้องเที่ยวมองหาคุณหมอหน่อยทันทีเป็นเรื่องแรกๆแน่ๆค่ะ ตื่นเต้นจัง 

ความจริงเรื่องราวของร.พ.ที่คุณหมอหน่อยทำก็น่าจะได้มีโอกาสนำมาเผยแพร่เป็นแรงบันดาลใจดีๆให้กับงานบริการสาธารณสุขที่อื่นๆทั้งประเทศด้วยนะคะ 

ท่านอัยการชาวเกาะ เหรอ .........................อื๋อ

ท่านบัณฑูร ที่นับถือ

ไปอ่านบล็อกท่าน มันๆ ดี 

 พอท่านมาทัก

 โอ     เป็นเกียรติมากเลย

ยินดี มากๆด้วย ขอบคุณ และขอบพระคุณ เจ้าค่ะ 

 

 

 

อ โอ๋  ที่รัก

ตั้งใจนะคะ ว่าจะไป ไปกอด อโอ๋

ได้ เรียนรู้ KM จากบล็อกตั้งนาน อ่านก็ว่าได้เยอะ

 คราวนี้จะไป พบ ไปเจอ ไปทักทาย และเรียนรู้แบบ F 2F สักที

ตั้งตารอ   อ โอ๋ ได้ข่าว วันประชุม เมื่อไร เราเป็นนัดสถานที่ เจอ กันเลย นะคะ

คุณหมอหน่อยลงทะเบียนหรือยังคะ เขานับถอยหลังกันแล้วล่ะค่ะ เช้าวันที่ 30 พ.ย.50 พบกันนะคะ จะนับวันรอทีเดียวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท