ธรรมะจากโทนเสียง...สามัญ เอก โท ตรี จัตวา


สวัสดีครับทุกท่าน

        สบายดีกันไหมครับ คนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ คงเคยเรียนรู้การผันเสียงในภาษาไทยกันได้เป็นอย่างดีนะครับ

โทนเสียง หรือระดับเสียงที่ว่านี้คือ

  1. สามัญ

  2. เอก

  3. โท

  4. ตรี

  5. จัตวา


พอเราเรียนสูงขึ้นมาอีกหน่อยทำให้เราได้ยินปริญญาต่างๆ ขึ้นมาได้แก่

  1. ปริญญาตรี

  2. ปริญญาโท

  3. ปริญญาเอก


 ปริญญาจัตวา หายไปไหนหนอ...และคนที่จบปริญญาเอกนั้นไม่ใช่สุดยอดนะครับ เพราะจะต้องศึกษา ปริญญาสามัญด้วย ซึ่งนับว่าเป็นปริญญาที่สุดยอดของคนแล้วนะครับ เหมือนคำกล่าวที่ว่า สูงสุดสู่สามัญ เพราะไม่ใช่เรียนจบแล้วเป็นดาวค้างฟ้า

จะเห็นว่ามีหลายๆ คนมุ่งหน้าเข้าสู่ ปริญญาสามัญ

ปริญญาสามัญนั้นมีคุณสมบัติดังนี้

  1. ใช้ตัวเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นครูให้กับตัวเอง

  2. ศึกษาตัวเอง ศึกษาใจ ศึกษาธรรมชาติ เข้าถึงใจของตัวเอง เพื่ออยู่ร่วมกับกับธรรมชาติอย่างสามัญ ธรรมดา

  3. แต่ละคนสามารถเข้าถึงปริญญานี้ได้ด้วยตัวเอง มอบให้กับตัวเองได้ ไม่มีข้อแม้ว่าจะต้องจบปริญญาใดๆ มาก่อน ไม่เหมือนกับปริญญาอื่นๆ ในขั้นต่ำกว่านี้ที่จะต้องไต่ตามระดับบันได

  4. ปริญญาสามารถนั้น สามารถเรียนรู้คู่ขนานไปกับปริญญาระดับอื่นๆ ได้ ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อความรู้ ไม่ต้องแก่งแย่งกันสอบ หรือสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะปริญญาสามัญ มีธรรมชาติเป็นห้องเรียน

  5. ปริญญาสามัญ สามาถเรียนรู้ได้ทั้งชีวิตครับ ไม่มีเงื่อนไขใดๆ

  6. ท่านสามารถคิดและเติมกันต่อได้นะครับผม ว่าจะให้ปริญญาสามัญให้กับตัวเองได้อย่างไร แล้วแต่ตัวท่านเองนะครับ

  7. ผมถือว่าปริญญาสามัญนี้ สำคัญกับคนที่จะต้องเรียนรู้ครับ วิชาหลักๆ คือ การเข้าใจตัวเองและธรรมชาติ

ขอขอบคุณมากๆ นะครับ มีความเห็นใดๆ เพิ่มเติม จักเป็นพระคุณยิ่งครับผม

แรงบันดาลใจของบทความนี้ มาจากบทความนี้ครับ 3 หลักสูตรที่ผมไม่มีวันเรียนจบ...ในมหาวิทยาลัยชีวิต...

ของพี่ชาย

P

นายขำ

 

ด้วยศรัทธาและธรรมชาติคุ้มครองครับ

เม้ง 

หมายเลขบันทึก: 135984เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2007 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ผมเห็นด้วยกับบทความนี้มากครับ อย่างน้อยก็เตือนตัวเอง เตือนกลุ่มที่ลุ่มหลง อัตตาสูง ...มีไม่น้อยที่ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด หรือรอดก็เอาแต่ตัวเอง ใครจะล่มจมช่างมัน...แบบนี้ก็เยอะ..

ปรากฏการณ์วิกฤตการศึกษาในระบบก็บอกเราหลายอย่าง...บอกถึงคุณภาพการศึกษษา บอกถึงวิธีคิดของนักการศึกษา ที่มองไม่ทะลุ ระบบปัญญาของชาติวุ่นวายไปหมด

ความผยองตนนี่เอง เป็นหลุมดำที่คอยดักผู้ที่อัตตา ไม่ยอมรับผู้อื่น..หลายท่านตกในวังวนของวิธีคิดที่มีปัญหา

ปริญญาไหนก็ตาม...ไม่ได้เป็นสิ่งชีบอกว่าคนๆนั้นเปี่ยมด้วยปัญญา อาจมีความรู้มาก แต่ปัญญาไม่เกิดเลยก็มี

ช่วงสองสามวันมีโอกาสได้รับใช้ปราชญ์ ผมได้มีโอกาสได้รับรู้วิธีคิด และวิถีแห่งปัญญาที่ท่านพร่ำบอกผม ...ทำให้ผมได้ข้อคิดได้แรงบันดาลใจที่ยอดเยี่ยม

ปริญญาไหนไม่สำคัญ เท่า "ปริญญาสามัญ"  จริงๆ

ของปลอมเกลื่อนเมือง...กรรมของระบบ!!!

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

      เห็นด้วยค่ะเราจะต้องเรียนรู้จากธรรมชาติ ในการดำเนินชีวิตของเราจะต้องดำเนินชีวิตไปพร้อมกับธรรมชาติค่ะ  การเรียนรู้จากธรรมยกตัวอย่างง่าย ๆ  เลยนะคะ  ณ ตอนนี้ตัวดิฉันยังไม่ทราบชื่อของต้นไม้หลายชนิดเลยค่ะ  ( เกี่ยวข้องกับธรรมชาติไหมค่ะเนี้ย )

ขอบคุณเม้งมากค่ะ

     

สวัสดีน้องชาย

  • สบายดีมั้ย พี่อยู่ปัตตานียังสบายดีอยู่จ้า
  • อาจารย์ชาริณี เกษียณอายุแล้วนะ มหาลัยและคณะจัดงานเลี้ยงอำลาแล้ว ท่านจะไปอยู่กทม.กับลูกๆจ้า
  • ส่วนเรื่องปริญญาสามัญนี้ พี่อยากจะเรียกว่าปริญญาชีวิต เพราะตอนนี้พี่กำลังเรียนรู้ปริญญาชีวิตเกือบจบแล้ว งานที่รับหน้าที่อยู่กำลังจะหมดวาระในปีหน้านี้แล้ว พบเจอประสบการณ์ชีวิตมากมายจากหลากหลายชีวิตที่ร่วมงานด้วยทั้งดีและไม่ดี นับเป็นรสชาดในเสี้ยวหนึ่งของชีวิตจ้า
  • รักษาสุขภาพนะน้อง

สวัสดีค่ะ

 มาขอแสดงความเห็นด้วยกับสิ่งที่คุณเม้งบอก และอยากให้จบกันมากๆ  ขณะนี้ เขากำลังจัดข้าราชการเข้าแท่งระบบกัน ใครจบปริญญก็จะมีค่าวิชาชีพ อะไร ต่ออะไรมากมาย ส่วนคนที่ไม่จบ ดีแต่ปฏิบัติงาน ถึงเก่งขนาดไหน ไม่ได้รับความสำคัญเลย ทำให้ช่วงนี้ คนหนุ่มสาวหนีไปเรียนกัน ทิ้งให้คนแก่ทำงานไป จะเรียนก็สายเกินไปเสียแล้ว

น่าคิดครับ ปริญญาสามัญ เอก โท ตรี จัตวา ผมเดาๆ ว่า อีกหน่อย คงจะมีระดับปริญญาเพิ่มนะครับ เพราะตอนนี้มีคนจบปริญญาเอกเยอะแยะเลย

เห็นด้วยครับ

มีความรู้ท่วมหัว แต่เอาตัวไม่รอด ถ้าไม่รู้จักเรียนรู้เรื่องตัวเอง หรือไม่มีปริญญาสามัญมาไว้ในหัวซะบ้าง

P
1. จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

 

สวัสดีครับเพื่อนเอก

  • สบายดีไหมครับเพื่อน คิดว่าเพื่อนมีความสุขกับการต้อนรับท่านครูบาฯ และมีความสุขกับการสัมผัสชีวิตชุมชนนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่มาช่วยเติมรสให้บทความมีชีวิตมากขึ้นนะครับ
  • ปัญหาเรามีทันทีเมื่อเราแยกหลายๆ อย่างออกเป็นส่วนๆ แล้วระหว่างสิ่งที่แบ่งออกมา มีกำแพงทั้งกำแพงกาย และกำแพงใจซ่อนอยู่ครับ
  • ดังนั้น ทุกอย่างเกิดมาแบบองค์รวม เราก็ต้องเรียนรู้แบบองค์รวม
  • เสียงภาษาไทยนั้น มีการแบ่งเป็นห้าโทนก็จริง เมื่อแบ่งกันแต่ละโทนก็จะได้เสียงที่ต่างกันออกไป และความหมายก็ต่างไปด้วย แต่หากมีการนำคำเหล่านั้นมารวมกัน การพูดภาษาไทยก็เหมือนกันร้องเพลง มีเสียงขึ้นลง บูรณาการเข้ากลมกลืนได้
  • ในเรื่องปริญญานั้น เราแยกไม่ได้เลยครับ ที่เราแบ่งกันอยู่ทุกวันนี้ จริงๆ ตัวเนื้อหาเราก็มาแบ่งๆ กันเรียนทั้งๆ ที่จริงๆ การเรียนรู้ไม่ว่าระดับใดๆ นั้นก็ไม่มีเพดานกั้นเลย
  • เพราะผมเชื่อว่าเด็กที่เรียนในระดับปริญญาตรีนั้น ก็สามารถทำงานวิจัยได้ไม่แพ้ นศ.ปริญญาโท เช่นกันครับ เพียงแต่เค้าอยู่ในช่วงที่เสริมพื้นฐานในเรื่องนั้นๆ ให้แน่นก่อน
  • แต่ไม่ว่าจะเรียนระดับใดๆ ระดับสามัญนั้น รอให้ระดับต่างๆ นั้นเชื่อมต่ออยู่เสมอครับ แต่หากเราไม่มองหน้าต่าออกไปดูระดับสามัญเลย เราจะตัดโลกธรรมชาติออกจากโลกแห่งการเีรียนรู้ที่แท้จริง ล้วนส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาในภายหลังได้ครับ
  • ขอบคุณเพื่อนมากครับ
P
2. ปริญากรณ์

สวัสดีครับคุณปริญากรณ์

  • ขอบคุณครับผม มีอะไรอีกมากมายครับ ให้เราเรียนรู้ตัวเราเทียบกับแผนที่ประเทศไทยแล้ว เล็กนิดเดียวครับ และเมื่อเทียบประเทศไทยกับผิวโลกแล้วก็เล็กนิดเดียวครับ และเมื่อเทียบโลกกับดวงอาทิตย์ก็ยิ่งเล็กนิดเดียวครับ
  • ดังนั้นมีสิ่งมากมายให้เราเรียนรู้ ความรู้มีมากมายครับ แต่ใบไม้ใบเดียวก็ทำวิจัยได้มากกว่าหนึ่งชีวิตแล้วครับ (ต่อยอดจากคำกล่าวของพระพุทธเจ้าครับ) กว่าเราจะอธิบายโครงสร้างและปรากฏการณ์ภายในเส้นใบได้นั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายครับ
  • ศึกษาและอยู่ร่วมไปเรื่อยๆ ก็จะเข้าใจรู้จักคุ้นชินกันมากขึ้นครับ ปลูกรอบๆ บ้านไปเลยก็ได้ครับผม
  • ตอนผมเรียนเกษตรสมัย ม.ต้น คุณครูพานักเรียนในวิชาเกษตร เดินทั่วโรงเรียนเลยครับ แล้วก็แนะว่าต้นนี้ชื่ออะไร ทำความรู้จักต้นไม้ในรั้วโรงเรียน พอถึงวันสอบก็จะีมีกิ่งไม้ใบไม้มาถามว่าต้นอะไร เป็นก้าวแรกในการรู้จักธรรมชาติ ต้นไม้ พ่อครัวแม่ครัวของโลกใบนี้ที่เราลืมจะขอบพระคุณเค้า
  • ขอบคุณมากครับ
P
3. รัช

สวัสดีครับพี่สาว

  • ขอบคุณพี่มากครับที่แจ้งข่าวให้ทราบครับ คงมีโอกาสไปกราบท่านอาจารย์ครับ
  • ดีจังครับ ปริญญาชีวิต (พี่นายขำเรียกว่า ปริญญาสามัญชีวิต)
  • ชีวิตการทำงานและเรียน ผมมองว่าเป็นช่วงเดียวกัน ผสมกันอยู่ เพราะเป็นกิจกรรมการพัฒนาสมองได้ทั้งสองครับ เพียงแต่จะเน้นหนักในด้านไหน
  • ชีวิตนั้นคงมีแนวทางเดินได้มากมายอยู่ที่ว่าเราจะเดินในเส้นทางใด เส้นทางใดที่ใช่สำหรับเราและให้และรับสมดุลกับสิ่งแวดล้อมหรือชุมชน
  • ผมเองคงไปอยู่ในดินแดนที่ผมศรัทธาอีกนานเช่นกันครับ ตามที่วางไว้นั้น ยังไม่ีมีแนวคิดใดๆ จะเปลี่ยนแปลงครับ
  • รักษาสุขภาพเช่นกันนะครับพี่รัช
P
4. ตันติราพันธ์

สวัสดีครับคุณตันติราพันธุ์

  • สบายดีนะครับ ขอบคุณมากครับผม หากเราเรียนรู้แบบธรรมชาติตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าเราจะต่อยอดเป็นอนุบาล ประถม ยัน ปริญญาเอก แล้วลงกลับไปสู่สามัญ ผมว่ารสของคน(มนุษย์) นี้น่าจะกลมกล่อมมากขึ้นครับ เพราะบางคนขึ้นแล้วลงไม่ได้
  • จริงๆที่เรียนกันนั้น เรารู้กันแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นแม้แต่ตัวเราเองก็เรารู้น้อยมากครับ เพราะอย่างปวดท้องเนี่ย เกิดจากอะไร เราก็วินิจฉัยตัวเองไม่ได้ จะเห็นว่าธรรมชาติในตัวเราเรายังเข้าไม่ถึงเลยครับ นี่เพียงแค่กายนะครับ ต่อมาเรื่องของจิตอีกครับ ไม่ใช่ง่ายที่จะขับขี่จิตได้ให้ไปทางไหนมาไหนได้
  • เพราะแนวทางของสังคมเปลี่ยนไป วนเวียน แต่หนีไ่ม่พ้น เกิด แก่ เสื่อม ดับ ครับ วัฏจักรนี้จะบอกเราว่าเราควรจะแสวงหาอันใดกันแน่ในชีวิตนี้ บางทีอย่างตัวผมเอง กว่าจะคิดได้ก็สายไปเสียแล้วครับ แล้วผมก็เข้าสู่ยุคของการเสพ การบริโภค นิยมนำ ทุนนำ เทคโนโลยีนำ หากผมค้นหาทางสายกลางไม่ได้ในฉบับของผม ผมก็จะเจอสภาพทุกข์เช่นกันครับ
  • ความไม่พอเพียงทำให้ทุกคนดิ้น เพื่อหาความอบอุ่นที่ไ่ม่ต้องดิ้น แต่หากทุกคนในประเทศดิ้นกันหมด ปัญหาก็เกิดครับผม การหนีบ้านเข้าเมืองจึงเป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนคิดว่าดิ้นในเมืองจะได้มาซึ่งสิ่งที่มากกว่าดิ้นในชนบท
  • ว่าแล้วทำให้ผมต้องย้อนมองดูตัวผมมากๆ เลยครับ ยิ่งเรียนยิ่งห่างไกลรากเหง้า แต่ขอให้จบแล้วกลับไปสู่สามัญเิถิดเม้งเอ๋ย...ทุ่งนายังคอยเจ้าอยู่ พร้อมกระดานดำ
  • ขอบคุณพี่มากๆ นะครับ
P
5. ธวัชชัย

สวัสดีครับคุณธวัชชัย

  • ยินดีต้อนรับนะครับผม และขอบคุณมากๆ เลยครับ
  • จบมากหรือน้อยก็เท่านั้นนะครับ หากไม่ได้เราผลของการเรียนไปประยุกต์ใช้เพื่อรับใช้มวลมนุษย์และสังคมนะครับ
  • เพราะสิ่งที่สร้างขึ้นหากสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลเรื่องของการค้าขาย ธุรกิจการศึกษาวันหนึ่งก็เสื่อมครับ เพราะท้ายที่สุดแล้ว ของที่เราต้องกินติดอยู่กับความสามัญธรรมดาที่ทุกคนต้องเข้าหา
  • หากเราคิดว่าเราเรียนสูงแล้วเรียกสิ่งอื่นๆ และหาโอกาสให้กับตัวเองได้ง่ายแล้วนั้น ก็ไม่ได้จะเกิดประโยชน์ใดๆ ให้สมคุณค่าของการเสพทรัพยากรก่อนจะได้มาถึงวันนั้น
  • ผมเองเป็นหนี้ประเทศนี้มาก หากมีความรู้ใดที่ช่วยสังคมไทยได้และเราพอจะช่วยได้ ด้วยความยินดีเสมอครับ
  • เงินทองนั้นไม่สำคัญเท่าไปเข้าบ้านคุณแล้วมีน้ำให้ดื่มเย็นๆสักขันได้หรอกครับ
  • ขอบคุณมากครับ
P
6. ธนพันธ์ ชูบุญ

สวัสดีครับคุณหมอ

  • สบายดีนะครับ ขอบคุณมาก ครับผม
  • ความรู้ที่ท่วมหัวนั้น ควรจะให้ท่วมแล้วล้นไปสู่่ชุมชนบ้างก็ดีนะครับ จะได้เกิดประโยชน์กับสังคมครับ
  • ร่วมกันศึกษานะครับ ไม่ว่าทางโลกทางธรรม
  • ทางธรรมก็จะมีนักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก นักธรรมสามัญ ด้วยได้หรือเปล่าครับ
  • และท้ายที่สุดแล้ว นักธรรมสามัญหรือปริญญาสามัญก็น่าจะเชื่อมต่อเป็นอย่างเดียวกันได้
  • ขอบคุณมากครับผม

 

Dear P'Bang Trai,

Wowow, thank you very much for greeting me from Vietnam, have a good trip back to Dongluang. Krap.

Kind regards,

Meng 

พี่ตามเข้ามาอ่านถึงกับอึ้งเลย...

น้องเม้งของพี่(ที่แฟนคลับเยอะที่สุดในG2K...อิอิ)ยังคงความเป็นปราชญ์อัจฉริยะรุ่นใหม่ที่ทำใหม่พี่ลำคอตีบตันได้อยู่เสมอ...

 

ที่จริงต้องขอบคุณมหาชีวาลัยของท่านครูบาสุทธินันท์ ที่สร้างวาทกรรมให้ซึมซับเข้าสู่เส้นสายระบบวิธีคิดของพวกเรา...

การต่อยอดความคิดของน้องเม้งคือกุศลกรรมที่ควรค่าแห่งการนำสืบทอดต่อไปจริง ๆ....

ข้อคิดที่ดีครับ

ปริญญาเอก ผมไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร

อาจเป็น "ปริญญา" ระดับชั้นหนึ่งมั้งครับ

แต่ถ้าเป็นแค่นั้น ก็เป็นเชิงเปรียบเทียบเท่านั้น ไม่มีความหมายในตัวเอง

ผมจึงไม่สะดวกใจที่จะพูดถึง คำนี้

แต่ถ้าจะใช้คำว่า "ดุษฎีบัณฑิต" น่าจะสื่อมากกว่า ว่า

เป็นใบรับรองว่าเป็นปริญญาขั้นมองทุกอย่างทะลุปรุโปร่ง (ดุษฎี)

แต่ผมว่า ภาษาอังกฤษ อาจจะชัดเจนกว่า

Doctor of Phylosophy

(หมอแห่งปรัชญา)

หมอ แปลว่า ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ

ปรัชญา คือ ความรู้ สัจจธรรม

 

ดังนั้น

หมอแห่งปรัชญา จึงน่าจะ เป็นผู้รู้ และมีปรัชญา ที่ใช้งานได้จริง

นั่น น่าจะเป็นปริญญาขั้นสูงสุด ที่ควรจะเป็น ที่อยู่ในระบบ

(ไม่รวมถึง คนที่จบมาแบบไม่เข้ามาตรฐานที่ว่ามา)

แล้ว สูงกว่านั้น ควรจะมีไหม

ในโลกแห่งความเป็นจริง ผมว่า

ระดับปริญญา เสมือนหนึ่งเป็นช่วงของ  visible light เท่านั้น

แต่ ในธรรมชาติ น่าจะกว้างไกลกว่านั้นมากมาย

ปริญญาสามัญ ที่ควรจะมีจึงน่าจะมี เหมือนเป็น

Non visible wavelength

  • ไม่กี่คนที่รู้ว่ามี
  • ไม่กี่คนที่เชื่อว่ามี
  • และ น้อยคนที่ค้นหาในสิ่งตัวเองก็ไม่รู้ว่ามีหรือเปล่า
  • และอาจไม่มีใครเลยจะชื่นชอบในสิ่งที่ไม่รู้ว่ามีหรือเปล่า

แต่ผมก็เห็นด้วยในหลักการ

แต่ทางปฏิบัติ ยังนึกไม่ออกครับ

 

  • วันนี้ขออ่านอย่างสามัญค่ะ..อิอิ
P
15. นายขำ

สวัสดีครับพี่สอน

  • สบายดีนะครับพี่ ขอบคุณมากครับ แต่ว่าเข้ามาชมกันอีกแล้วครับผม
  • ขอเป็นแบบสามัญชน คนธรรมดานะครับ แบบว่าไปไหนมาไหน พี่สอนชวนดื่มน้ำสักขันก็อิ่มเอมแล้วครับ
  • จริงๆ ก็ใช่นะครับ ผมว่าต้องขอบคุณมหาชีวาลัย โดยเฉพาะท่านครูบาฯ ที่ให้เกียรติผมและตีผมด้วยความหวังดีครับ ตลอดจนเครือข่ายทั้งหมดใน G2K ด้วยครับ ผมรู้สึกว่าตัวเราได้คิดเยอะมากครับ หลังจากที่คิดเองเออเองทวนเองมานานในช่วงที่เรียนที่นี่นะครับ
  • คงช่วยๆ กันดู ส่องกระจกเข้าหากันนะครับ
  • น้ำท่วมลดลงบ้างแล้วยังครับผม รักษาสุขภาพครับ
  • ขอบคุณพี่มากๆ นะครับ
P
16. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

สวัสดีครับท่านอาจารย์แสวง

  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากๆ เลยนะครับ ที่ได้ชี้แจงละเอียดเลยนะครับ สำหรับคำว่า ปริญญา และดุษฏีบัณฑิต
  • Doctor of Phylosophy

    (หมอแห่งปรัชญา)

    หมอ แปลว่า ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ

    ปรัชญา คือ ความรู้ สัจจธรรม

  • ระดับปริญญา เสมือนหนึ่งเป็นช่วงของ  visible light เท่านั้น

    แต่ ในธรรมชาติ น่าจะกว้างไกลกว่านั้นมากมาย

    ปริญญาสามัญ ที่ควรจะมีจึงน่าจะมี เหมือนเป็น

    Non visible wavelength

  • ไม่กี่คนที่รู้ว่ามี
  • ไม่กี่คนที่เชื่อว่ามี
  • และ น้อยคนที่ค้นหาในสิ่งตัวเองก็ไม่รู้ว่ามีหรือเปล่า
  • และอาจไม่มีใครเลยจะชื่นชอบในสิ่งที่ไม่รู้ว่ามีหรือเปล่า

แต่ผมก็เห็นด้วยในหลักการ

แต่ทางปฏิบัติ ยังนึกไม่ออกครับ

สำหรับในทางปฏิบัตินั้น ผมขอไม่อธิบายดีกว่านะครับ แต่จะขอยกคำกล่าวของพระราชบิดามาแล้วกันนะครับ ผมว่าสื่ออะไรได้เยอะมากเลยครับ

  1.  True success is not in the learning, but in its application to the benefit of mankind.
  2. “I don't want you to be only a doctor, but I also want you to be a man”

เป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการปฏิบัติได้เลยนะครับ เพราะว่าประโยคที่หนึ่งนั้น บอกความเป็นประโยชน์ว่าคือส่วนใด และประโยคที่สองจะกำกับให้เรารู้สึกคำว่า ปริญญาสามัญ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์แสวงมากๆ นะครับ 

P
17. Gutjang

สวัสดีครับคุณครูกั๊ตจัง

  • สบายดีนะครับ ยินดีต้อนรับอย่างสามัญในการอ่านอย่างสามัญ เพื่อความพร้อมในการเรียนรู้และเดินบนเส้นทางสามัญนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
  • เมื่อก่อนเคยสะสมกระดาษคะ
  • แต่ตอนนี้ความคิดเปลี่ยนเพราะวัยเปลี่ยนมั้งคะ..อิอิ
  • รู้แค่ใบไม้ในกำมือไม่ดีกว่าหรือคะ
  • เพราะในความเป็นจริง...หลายสิ่งที่ถูกบังคับให้รู้นั้นไม่ได้มาใช้ประโยชน์อันใด...และปัจจุบันได้ลืมเลือนไปหมดสิ้น
  • ความรู้อาจเรียนทันกันหมด ใช้ไม่ได้ในปัจจุบันคะ...
  • ในกระแสธารแห่งความรู้ที่ถาโถมเข้ามา..ขอเลือกรับรู้แล้วคะ...หากเลือกตามใจตนเองจะเลือกความรู้ที่ทำให้มีความสุขคะ...
  • ดังนั้นปริญญาสามัญในมุมมองของตนเองคือการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข...รับให้น้อยลง..และให้กลับคืนให้มากขึ้น...โดยไม่คำนึงว่าจะได้สิ่งใดตอบแทนคะ
P
21. naree suwan

สวัสดีครับคุณนารี

  • ขอบคุณมากครับ อาหารสมองของผมอีกแล้วครับ แนวคิดของคุณนารี ส่งทำให้ผมได้คิดอะไรเพิ่มเติมอีกเยอะเลยครับ
  • ขอบคุณมากๆ สำหรับข้อสรุปนี้ครับ

    ปริญญาสามัญในมุมมองของตนเองคือการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข...รับให้น้อยลง..และให้กลับคืนให้มากขึ้น...โดยไม่คำนึงว่าจะได้สิ่งใดตอบแทนคะ

  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท