เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ ... (4) การดูแลและการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุไทย


ประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีการเตรียมความพร้อม และมีการตรวจสุขภาพเมื่อถึงวัยผู้สูงอายุ ได้รับการคัดกรองเพื่อการรักษาที่สถานบริการสาธารณสุข ตามขั้นตอน และมีหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข ที่รับผิดชอบในเรื่องของผู้สูงอายุ

 

ดร.พวงเพ็ญ ชั้นประเสริฐ นักวิชาการจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขค่ะ ได้มาเล่าให้ฟังในเรื่อง "การดูแลและการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุไทย"

  • ประเทศไทยกำลังเข้าไปสู่ Aging society และภาระโรคก็มากขึ้นตามอายุ
  • มีประชากรผู้สูงอายุที่มีปัญหาภาวะโรคมากกว่า 1 โรค มากกว่า 70% และจากการศึกษาของสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ก็พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาต้องรับการรักษาถึง 62% กรณีปัญหาด้านสายตา 27% โรคข้อ 26% โรคไต 24% ความดันโลหิตสูงประมาณ 14% การได้ยิน 14% เบาหวาน 8% อัมพาต 3% ซึ่งโรคต่างๆ ก็ก่อให้เกิดภาระ 5 อันดับแรก ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมองแตกตีบตัน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ซึ่งโรคเหล่านี้ก็เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตต่อมาในผู้สูงอายุด้วย
  • ในบทบาทของกระทรวงสาธารณสุขนั้น มีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพผู้สูงวัย โดยเน้นที่ว่า ประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีการเตรียมความพร้อม และมีการตรวจสุขภาพเมื่อถึงวัยผู้สูงอายุ ได้รับการคัดกรองเพื่อการรักษาที่สถานบริการสาธารณสุข ตามขั้นตอน และมีหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข ที่รับผิดชอบในเรื่องของผู้สูงอายุ
  • เช่น กรมการแพทย์ โดยสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ รับผิดชอบท่างด้านวิชาการการบำบัดรักษาผู้สูงอายุ ด้านกรมอนามัย โดยสำนักส่งเสริมสุขภาพดูแลในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพกาย กรมสุขภาพจิต ดูแลด้านของการส่งเสริมสสุขภาพจิต กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สนับสนุนการวิจัยและการบริการสุขภาพผู้สูงอายุทั่วประเทศ และทางด้านนโยบายและแผน มีส่วนกำหนดนโยบาย และประสานงานใน และนอกกระทรวงสาธารณสุข
  • ประเด็นของผู้สูงอายุ เราได้มีการเตรียมตัวจากที่องค์การอนามัยโลกได้มีการคาดประมาณ และชี้ให้เห็นถึงปัญหาของผู้สูงอายุ และได้มีการรณรงค์ต่างๆ ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญ ก็ได้ยึดแนวนโยบายตาม
  • 1. รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาตร 54 ... เกี่ยวกับการช่วยเหลือแก่การยังชพ และมาตรา 80 ที่ส่งเสริมในเรื่องการพึ่งพาตนเอง
  • 2. ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2540 ... ข้อที่ 5 ผู้สูงอายุควรได้เรียนรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ต้องมีหลักประกัน เข้าถึงหลักประกัน และบริการด้านสุขภาพอย่างครบวงจร โดยเท่าเทียมกัน รวมทั้งได้รับการดูแลจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
  • 3. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564)
  • 4. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ซึ่งเน้น 4 เรื่อง คือ ให้มีกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กองทุนผู้สูงอายุ สิทธิผู้สูงอายุ ภาษีเงินได้
  • และการดูแลผู้สูงอายุนั้น เราจะแบ่งผู้สูงอายุเป็น 4 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี มีโรคเรื้อรัง/ช่วยเหลือตัวเองได้ ภาวะทุพพลภาพ/ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ภาวะทุพพลภาพ/ช่วยเหลือตนเองไม่ได้เลย
  • ตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545-2564 จะมียุทธศาสตร์ต่างๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมการดังนี้
  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 เป็นการเตรียมความพร้อมของประชากรเมื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ มีโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ และมีโครงการครอบครัวอบอุ่นโดยกรมอนามัยเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกให้สังคม ให้มีครอบครัวที่อบอุ่นแข็งแรง โดยมีเกณฑ์ข้อหนึ่งในนั้นว่า สมาชิกของครอบครัวอยู่รวมกันทั้ง 3 วัย ในบ้านเดียวกัน หรือในบริเวณเดียวกัน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 ทางด้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จะมีการส่งเสริมการจัดตั้ง และการดำเนินงานผู้สูงอายุและเครือข่าย กรมอนามัยจัดทำคู่มือการดูแลส่งเสริมสุขภาพ ชุดนิทรรศการ 5 อ. และ CD ผู้สูงวัยออกกำลังกายด้วยภูมิปัญญา มีเวปไซต์ที่จะบอกข้อมูลผู้สูงอายุ
  • มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมแม่บ้านสาธารณสุข สมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ที่ได้ร่วมส่งเสริมการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ในทุกจังหวัด ทุกตำบล และมีกิจกรรมร่วมกัน และมีตัวชี้วัดของกรมอนามัยว่า ผู้สูงอายุต้องมีการออกกำลังกายร่วมกันอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง มีการประกาศเกียรติคุณดีเด่นแก่ชมรมผู้สูงอายุปีละ 1 ครั้ง มีการจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุใน รพ. สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทุก รพ. คือ รพท. และ รพช. 818 แห่ง ในคลินิกจะมีการออกกฎกระทรวงที่จะทำ Green track หรือ Fast track เพื่อจัดบริการให้กับผู้สูงอายุใน รพ.
  • และผู้สูงอายุก็จะได้รับการประเมินทั้งในด้านสุขภาพ ได้รับคำแนะนำ รักษา และฟื้นฟู
  • มีอาสาสมัคร ช่วยบริการในโรงพยาบาล
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านระบบการคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ... ให้บริการผ่านโครงการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน และจัดสถานที่ให้เอื้อต่อผู้สูงอายุ เช่น ห้องน้ำคนพิการ และผู้สูงอายุ มีสถานที่ให้ผู้สูงอายุ และชมรมออกกำลังกาย เป็นที่ถ่ายทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม หรือส่งเสริมอาชีพให้ชาวบ้าน ในโครงการนี้เราเรียกว่า โครงการวัดส่งเสริมสุขภาพ และมีการมอบโล่ให้กับวัดส่งเสริมสุขภาพทุกจังหวัด ทุกปี
  • โครงการ Home Health Care เป็นการบริการสาธารณสุขโดยทีมสหวิชาชีพ และอาสาสมัครในการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ต่อเนื่องการดูแลสุขภาพจาก รพ. สู่บ้าน
  • โครงการฟันเทียมพระราชทาน ให้ผู้สูงอายุได้รับการใส่ฟันเทียม ทำต่อเนื่อง 3 ปี 80,000 ราย ปีนี้เป็นปีสุดท้าย 25,000 ราย ได้รับการสนับสนุนจาก สปสช. ในเรื่องการใส่ฟันเทียม
  • รูปแบบของการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นการบริการตามขั้นตอน ถ้าอยู่ใกล้สถานีอนามัยก็มารับบริการที่ สอ. และถ้ามีปัญหา ต้องการได้รับบริการต่อเนื่อง ก็ส่งต่อมาที่ รพช. ถ้าต้องการผ่าตัดพิเศษที่ รพช. ไม่สามารถให้บริการดูแลได้ ก็จะส่งมา รพท. หรือ รพศ. เมื่อได้รับการรักษาแล้ว ก็จะส่งกลับไปที่นั้นๆ และให้ดูแลโดย Home Health Care
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุระดับชาติ และการพัฒนาบุคลากร ... มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ และเผยแพร่ผ่านเวปไซต์
  • ยุทธศาสตร์ที่ 5 การประมวล และพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ และการติดตามประเมินผล ... ดำเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ เป็นการพัฒนารูปแบบบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ และสวัสดิการสังคมเชิงบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุ ขณะนี้ หลังจากเราได้เริ่มงานผู้สูงอายุไประยะหนึ่ง เราก็จะดูว่าที่ไหนเป็น Best practice ดูทั้ง 4 ภาค เพื่อบูรณาการงานทั้งของกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพัฒนาความมั่นคงและสังคมของมนุษย์เข้าด้วยกัน
  • อีกอันหนึ่งก็เป็นโครงการสร้างสรรค์ พัฒนาภูมิปัญญาผู้สูงวัย โดยกรมสุขภาพจิต ที่จะไปทดสอบทางด้านภูมิปัญญาผู้สูงวัยที่จะนำไปใช้
    การให้บริการผู้สูงอายุ
  • นอกจากนี้ ยังมีกระทรวงอื่นๆ และภาคเอกชน ที่เข้าทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อเป้าหมายผู้สูงอายุ ให้ถึงหลักชัยของสังคม

 

หมายเลขบันทึก: 87411เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2007 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

แผน home health care มีทันตบุคลากรไปร่วมเยี่ยมบ้านด้วยรึเปล่าค่ะ?

อยากให้มีการประเมินว่า ใน กลุ่มผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองไม่ได้นั้น มีการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง ใครเป็นคนดูแล  ถ้าไม่มีจะวางแผนอย่างไรต่อไป เพราะถ้ามีโรคในปาก มีเศษอาหารสะสมตามกระพุ้งแก้ม หรือ มีสภาวะปากแห้งมากๆ ก็มีผลต่อร่างกายทั่วไป เช่น การกิน การกลืน หรือ aspiration pneumonia อย่างที่ทราบๆกันอ่ะค่ะ

 

  • มีบางพื้นที่ค่ะ ที่มีทันตบุคลากรไปเยี่ยมบ้านด้วย ซึ่งยังไม่มากนัก เท่าที่ทราบจะเป็นในระดับศูนย์สุขภาพชุมชน ซึ่งจะอยู่ในระดับตำบล ที่บุคลากรทำงานเยี่ยมบ้านไปพร้อมๆ กับ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  • เรามีแผนดำเนินการต่อเนื่องอย่างเข้มข้น ปี 2551 (เสร็จจากโครงการฟันเทียมพระราชทาน) จะรุกในเรื่องส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
  • ช่วงนี้เริ่มทำไปบ้าง ตามที่ หมอมัท ได้เห็นบางเรื่องราวที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชุมชนนะคะ ซึ่งบทบาทนั้น ต้องการเรียนรู้ว่า ชุมชนดูแลผู้สูงอายุด้วยกันเองอย่างไร
  • เรื่อง Home health care ส่วนของกองทันตฯ ทำร่วมไปกับสำนักส่งเสริมสุขภาพ ด้วยส่วนหนึ่ง และเรียนรู้เรื่องราวจากพื้นที่อีกส่วนหนึ่ง
  • ขอบคุณ อ.หมอมัท มากค่ะที่แนะนำ

สพก. เปิดศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพผู้สูงอายุ เริ่ม 15 พ.ค.นี้

นายสมบัติ คุรุพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคน ให้คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ โดยการเสริมสร้างสุขภาวะของคนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรงและมีการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างครบวงจร มุ่งการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงต้องลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคและสร้างภูมิคุ้มกัน

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพราะเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้เพิ่มสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ การออกกำลังกายจะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพและสมรรถภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ รวมทั้งนันทนาการก็จะทำให้จิตใจแจ่มใส ผู้สูงอายุก็ควรที่จะมีความรู้หรือศึกษาให้เข้าใจถึงขบวนการของการออกกำลังกายด้วย เช่น การเตรียมตัวอย่างไรก่อนออกกำลังกาย การตรวจร่างกายก่อนออกกำลังกาย จะออกกำลังกายแบบไหนถึงจะดีเหมาะสมกับตัวเรา ขั้นตอนในการออกกำลังกายต่างๆ ทำอย่างไร สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ล้วนอยู่ในเรื่องของวิทยาศาสตร์การกีฬา

นอกจากนี้ หากเกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายแล้วจะทำอย่างไร เป็นสิ่งที่ทุกคนควรต้องศึกษาให้เข้าใจ สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ มีหน้าที่ให้บริการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาแก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยสูงอายุที่ควรดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ จึงได้เปิดศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพผู้สูงอายุขึ้น เพื่อให้คำแนะนำปรึกษาต่างๆ แก่ผู้สูงอายุ และให้การรักษาผู้ที่ประสบปัญหาหรือบาดเจ็บจากการออกกำลังกายและเล่นกีฬา โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการบาดเจ็บทางการกีฬา และบุคลากรทางการแพทย์ คอยดูแล แนะนำ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้บาดเจ็บตามหลักของวิทยาศาสตร์การกีฬา จนสามารถกลับมาเล่นกีฬาและออกกำลังกายได้เหมือนเดิม นอกจากนี้ ยังมีบริการของศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย เช่น ห้องเอ็กเซอร์ไซต์ ห้องเวทเทนนิ่ง ห้องแอโรบิก ห้องซาวน่า หรือห้องทดสอบสมรรถภาพทางกายอีกด้วย

ทั้งนี้จึงขอเชิญชวนผู้สูงอายุใช้บริการในศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพผู้สูงอายุ ได้ตลอดเวลา ตามตารางให้บริการพบแพทย์ ซึ่งเปิดให้บริการทุกวันศุกร์ เวลา 13.00 – 16.00 น. โดยจะเริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 ณ สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ชั้นล่างอาคารกีฬานิมิบุตร(ทางเข้า AB) สนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกการกีฬา สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ โทร.0-215-4646 ในวันและเวลาราชการ

--------------------------------------------------------------------------------------------------

ประสานงาน :

คุณธนพร สุขมี (แหม่ม) โทร.0-2618-7780-4 ต่อ 105 / (086) 707-4263

คุณปัจฉิมา พรมวงษ์ (นิก) โทร.0-2618-7781-4 ต่อ 109 / (089) 720-9848

  • สวัสดีค่ะ คุณ ok.mass
  • เรื่องดีดีเช่นนี้ สมควรให้การสนับสนุนค่ะ
  • อนาคตลูกค้าเยอะแน่นอนเลยนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

ขอเชิญร่วมวิพากษ์ แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564)

http://thenationalplan2forolderpersons.blogspot.com/

  • ขอบคุณค่ะ คุณ cps ไปเยี่ยมชมมาแล้วค่ะ

อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งกีฬาผู้สูงอายุที่ส่งไปแข่งยังประเทศมาเลเซียช่วงต้นเดือนธันวาคม 53 ไม่ทราบว่าจะหาข้อมูลจากที่ไหนได้บ้างค่ะ  ถ้ามีใครทราบรบกวนช่วยตอบเมล์ให้ดิฉันด้วย  ขอบคุณเป็นอย่างสูง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท