เข้าใจความตาย "สหายธรรม"


ตายดีทางพระพุทธศาสนา หมายถึง การที่เราสามารถประคองจิตให้เป็นปกติได้แม้จะตายในสภาพทุกข์ทรมานก็ตาม

ผู้เขียนได้ทราบข่าวการจากไปของท่านหนานเกียรติ (เกียรติศักดิ์ ม่วงมิตร) ในตอนเช้าตรู่ของวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และได้เข้าไปอ่านบันทึกและอนุทินของท่านหนานเกียรติ รวมทั้งติดตามการแสดงความรู้สึกไว้อาลัยของกัลยาณมิตรทุกท่าน

             อริยาบถที่งดงามยามเมื่ออยู่ในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

                 ความสุขที่ได้เห็นสองท่านมีความสุข

 

เมื่อครั้งแรกของการทราบข่าวการจากไปอย่างไม่มีวันกลับนี้ ไม่มีใครที่จะไม่รู้สึกเศร้าโศกเสียใจ สะเทือนใจ และเจ็บปวดใจอย่างที่ไม่เคยรู้สึกแบบนี้มานานแล้ว เพราะเราคงไม่ได้สูญเสียหรือพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักบ่อยนัก และจนถึงเวลานี้ ความรู้สึกสะเทือนใจก็ยังคงมีร่องรอยไม่จางหาย

สำหรับ "คุณงามความดี" ที่ท่านหนานเกียรติได้ฝากไว้ในโลกใบนี้  พวกเราต่างทราบกันดีแล้ว และการแสดงความอาลัยของกัลยาณมิตรใน G2K คงไม่แตกต่างกันเพราะเราเคารพรักและยกย่องวีรบุรุษท่านเดียวกัน  ผู้เขียนจึงขอแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของท่านผู้กล้าด้วยการยกบทความของพระไพศาล วิสาโลมาเป็นอนุสรณ์ และเชื่อว่าท่านหนานเกียรติก็คงปรารนาให้เราถือตัวเขาเป็นครูสอนธรรมะให้พวกเราที่นี้ทุกคน เพราะเราคือครอบครัวเดียวกันกับท่านหนานเกียรติ

พระไพศาล วิสาโล กล่าวถึง ความตายตามแนวทางพุทธศาสนาที่ทุกคนควรพิจารณาให้เห็นทุกแง่ตามความเป็นจริง  เพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้อย่างเหมาะสม โดยต้องเข้าใจธรรมชาติของความตาย ดังนี้

 

ประการแรก ความตายเป็นทั้งความแน่นอน และความไม่แน่นอนไปพร้อม ๆ กัน  ที่แน่นอนคือ ทุกคนต้องตาย แต่ที่ไม่แน่นอน คือ ไม่ทราบว่าจะตายเมื่อไร ที่ไหน ด้วยโรคอะไร แม้จะเป็นเอดส์ หรือมะเร็ง แต่อาจตายด้วยอุบัติเหตุ หรือตายด้วยโรคหัวใจก็ได้ เป็นต้น

 

ประการที่ 2 ความตายเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด

ทางพุทธศาสนากล่าวว่า มีสิ่งหนึ่งที่สืบเนื่องต่อไปจากความตาย อาจเป็นชีวิตใหม่ ภพใหม่ หรืออาจจะหมายถึงสิ่งที่มากไปกว่านั้น ดังนั้น ความตายไม่ใช่เป็นจุดสิ้นสุดอย่างเดียวแต่อาจะเป็นจุดเริ่มต้นด้วย

 

ประการที่ 3 ความตายเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่

ดังนั้น จึงไม่ควรคิดว่าชีวิตกับความตายแยกจากกัน หรือชีวิตเริ่มเมื่อเกิดและตายเมื่อหมดลม แต่พระพุทธศาสนากล่าวว่า ความตายมีอยู่ในความมีชีวิต พิจารณาง่าย ๆ เช่น ในขณะที่เราหายใจอยู่ เซลล์ในร่างกายตายวันละห้าหมื่นล้านเซลล์ ความตายจึงมีอยู่ตลอดเวลาในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ สิ่งที่ให้ชีวิตก็ให้ความตายด้วย เหมือนกับที่ออกซิเจนให้ชีวิตเมื่อเราหายใจ แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เราแก่ลงและใกล้ชิดความตายมากขึ้นด้วย

 

ประการที่ 4 ความตายเป็นทั้งวิกฤตและโอกาส

กล่าวคือ เป็นวิกฤตทางกาย และเป็นโอกาสทางจิตวิญญาณ พระพุทธศาสนาเชื่อว่าแม้ในภาวะที่ใกล้ตาย ยังมีโอกาสที่จะไปสู่ความหลุดพ้นหรือนิพพานได้ หรือแม้จะไปไม่ถึง แต่อาจยกระดับจิตวิญญาณให้สูงขึ้นได้ เช่น ได้ค้นพบชีวิต ค้นพบตัวเอง ได้สัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัวคืนมา ได้ให้อภัยและคืนดีกับที่ที่เคยขัดแย้ง เป็นต้น

 

ประการที่ 5 ความตายมีทั้งมิติทางกายภาพและทางจิตวิญญาณ ในทางพุทธศาสนา ถือว่าการหมดลมหายใจเป็นเพียงการตายทางกายภาพ แต่ยังไม่นับว่ากระบวนการตายสิ้นสุดลง เพราะจิตยังทำงานอยู่ ดังนั้น หลังหมดลมยังต้องรอให้การแตกดับทางจิตสิ้นสุดลงด้วย จึงจะถือว่าการตายนั้นสิ้นสุดลงอย่างสมบูรณ์ ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติธรรมในขั้นสูงจะสามารถประคองจิตอยู่ในภาวะนี้จนสามารถนิพพานได้

 

ประการที่ 6 การประคองรักษาจิตให้สงบเป็นปกติท่ามกลางสภาพความเจ็บป่วยทุกข์ทรมานนั้นเป็นไปได้ โดยผู้ป่วยสามารถฝึกจิตเองหรืออาจอาศัยสภาพแวดล้อมช่วย

 

ประการสุดท้าย การตายที่ดีทางพระพุทธศาสนาไม่ใช่ตายอย่างไร สภาพแบบไหน  แต่อยู่ที่สภาพจิตก่อนตายว่าเป็นอย่างไร  การตายดีในสายตาคนทั่วไป อาจหมายถึง ตายโดยไม่รู้สึกเจ็บ ตายในขณะที่นอนหลับ หรือตายสวย  ร่างกายไม่มีบาดแผล แต่ตายดีทางพระพุทธศาสนา หมายถึง  การที่เราสามารถประคองจิตให้เป็นปกติได้แม้จะตายในสภาพทุกข์ทรมานก็ตาม

แหล่งข้อมูล เข้าใจความตาย 

http://portal.in.th/ms-pcare/pages/6556/

ความตายของคนใกล้ชิด http://portal.in.th/ms-pcare/pages/7916/

ผู้เขียนขอนำ "ความตาย" ของท่านหนานเกียรติมาพิจารณา "ความตาย" ของตนและคนใกล้ชิด และถือว่าท่านเป็น "ครู" ผู้สอนให้เรารู้คุณค่าของการมีลมหายใจ และสอนให้เรารู้ว่า "การทำความดีเพื่อความดี" นั้นเป็นเช่นไร เพื่อจะได้ตายอย่างเป็นสุข

   

        

                           ขอแสดงความคารวะด้วยจิตเป็นกุศล

 

                        

 

หมายเลขบันทึก: 449970เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2011 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ชีวิตคนเราเปรียบได้เหมือนธูปเทียนที่จุดแล้วก็ย่อมมีวันดับ

เพียงแต่ว่า เมื่อยามเรามีชีวิตอยู่ เราจะทำความดีไว้มากมายเพียงใด

ขอร่วมไว้อาลัยร่วมกับท่านอาจารย์นพลักษณ์ ๙ เจ้าของบันทึก ณ ที่นี้ด้วยครับ

  • ความตายเตือนสติเรา ให้เร่งทำความดี
  • ขอให้หนานเกียรติไปสู่สุขคติ

เราเรียนรู้เรื่องการพลัดพรากไม​่ใช่เพื่อหดหู่ แต่เพื่อที่จะอยู่กับคนที่เรารั​กอย่างมีความสุขที่สุด คุ้มค่าที่สุด (ว.วชิรเมธี) ขอบคุณที่ทำให้เข้าใจความตายมากขึ้น

ขอบคุณค่ะ...ทำให้ได้รู้ว่า..จะเตรียมตัวก่อนตายอย่างไร

ขอบคุณค่ะ  สำหรับข้อธรรมเตือนสติ

เศร้า  ซึม  มึน แบบไม่อยากทำงานเลยค่ะ

"การทำความดีเพื่อความดี" นั้นเป็นเช่นไร เพื่อจะได้ตายอย่างเป็นสุข

ขอดวงปฏิสนธิวิญญาน ของคุณหนานเกียรติ ได้รับทราบถ้อยคำในเบื้องต้น ด้วยนะครับ

...

ผมขออธิษฐานจิตให้...เช่นกันครับ คุณsila

"หนานเกียรติ"...ยืนยัน สัจธรรม            สิ่งเลิศล้ำ ปัจฉิมโอวาท นั่นจริงแท้

"อย่าประมาท"ยังจำได้ไม่เปลี่ยนแปร      ให้แน่วแน่ ทำดี มิชั่วทราม

ขัดจิตใส ใจสว่าง ทางแห่งสุข                 จักพ้นทุกข์ สุคติ ที่เลิศล้ำ

เทวโลกวิมานผู้ปฏิบัติธรรม                    ผู้ละกามสิ้นได้ไปนิพพาน

"หนานเกียรติ" ครูคนใหม่ให้ตัวอย่าง      "อนิจจัง"จงมองกองสังขาร

ล้วนขันธ์ห้าดับสลายไปตามกาล             แต่กรรมนั้นนำจิตไปสู่ปลายทาง            

พี่ใหญ่มาร่วมรำลึกถึงความดีของน้องหนานเกียรติเช่นกันค่ะ..เขียนบันทึกข้างล่างไปด้วยใจแอบมีความหวังว่า เธอจะเข้ามาอ่านด้วยญาณวิถีใดๆค่ะ..

http://www.gotoknow.org/blog/nongnarts/449923

  • สวัสดีค่ะท่านอาจารยนพลักษณ์ ๑๐ Ico48 
  • 

ชีวิตคนเราเปรียบได้เหมือนธูปเทียนที่จุดแล้วก็ย่อมมีวันดับ

เมื่อยามเรามีชีวิตอยู่ เราจะทำความดีไว้มากมายเพียงใด"

    เทียนที่ดับแล้ว คงดับเพียงกาย แต่ยังดูสว่างไสวกลางใจทุกคน ณ ที่นี้ ท่านอาจารย์คิดเหมือนกันไหมคะ
  • ท่านมหาเหรียญชัย Ico48  กล่าวไว้ถูกต้องค่ะ

ความตายเตือนสติเรา ให้เร่งทำความดี

เป็นคำกล่าวที่เตือนสติผู้เศร้าหมองได้ดีมาก ๆ เลยค่ะ คุณ Nopparat Pongsuk

เราเรียนรู้เรื่องการพลัดพรากไม่ใช่เพื่อหดหู่ แต่เพื่อที่จะอยู่กับคนที่เรารั​ก อย่างมีความสุขที่สุด คุ้มค่าที่สุด (ว.วชิรเมธี)

  • การเตรียมตัวก่อนตายเป็นสิ่งสำคัญที่เรามักจะหลงลืม ขอบคุณมากเลยค่ะ คุณ tamtam1 Ico48
  • สวัสดีค่ะคุณ ชาดา ~natadee Ico48 ตอนนี้มองไปทางไหนก็เห็นแต่คนเศร้าหมอง หลายครั้งก็รู้สึกวูบ และห่อเหี่ยว แต่ก็เชื่อว่าไม่นานเกินไป เราจะร่วมกันเปลี่ยนความเศร้าเป็นพลังที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีคุณค่านะคะ

เจริญพรคุณโยมSila Phu-Chaya

                                                 เสียดายคนดี
            

               Large_loveness_landscape
               ทัศนียภาพของความรัก : รำลึกหนานเกียรติ เกียรติศักดิ์ ม่วงมิตร 
               โดยดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

               กลิ่นของสัตบุรุษ(คนดีมีคุณธรรม)

              นะ ปุปผคันโธ ปฏิวาตเมติ
              นะ จันทนัง  ตครมัลลิกา วา
              สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ
              สัพพา ทิสา สัปปุริโส ปวายติ.

             กลิ่นดอกไม้ฟุ้งทวนลมไปไม่ได้
            
กลิ่นจันทน์ กฤษณา หรือมะลิ
             ก็ฟุ้งทวนลมไปไม่ได้

             ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษ(คนดีมีคุณธรรม)
             หอมฟุ้งไปได้ทั่วทุกทิศ

สัตบุรุษสุดดีกลิ่นศรีสม           หอมทวนลมโบกพัดสะบัดหวน
กระจายกลิ่นรินฟุ้งจรุงอวล       แสนชื่นชวนชอบจิตสนิทใจ
กลิ่นศีลธรรมนำผลให้พ้นทุกข์  หอมเป็นสุขนานเนิ่นเกินสมัย
ถึงหอมกลิ่นบุปผาสุมาลัย        เพียงชื่นใจพักครู่ไม่สู้นาน
ประพันธ์โดย : พระพิพัฒน์ปริยัตยานุกูล 


คุณหนานเกียรติต้องได้อานิสงค์ผลบุญจากการที่การจากไปนี้เป็นการจากไปของผู้ที่ทำความดี สร้างคุณค่าให้ครอบครัวและสังคม จึงมีผู้กล่าวถึงความดีกันไม่ขาดสาย และยังทำให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้เตือนตนถึงความไม่แน่นอนของชีวิต

ชีวิตนี้สั้นนักเราจึงต้องหมั่นสร้างความดี ให้จิตคุ้นกับความดี ยิ่งได้ศึกษาปฏิบัติธรรมจนสามารถประคองจิตให้สงบระลึกถึงความดีในเสี้ยววินาทีที่กำลังจะละสังขารนั้นสำคัญยิ่ง ดังที่ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ว่าเป็น "นาทีทอง"ทีเดียวนะคะ พี่เชื่อว่าคุณหนานเกียรติเป็นผู้ได้บวชเรียน ศึกษาธรรม คิดดี ปฏิบัติชอบอยู่เสมอ จึงไปสู่สุคติแน่นอนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท