พัฒนาผู้นำรุ่นที่ 2 ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ


          ผมทำโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพให้แก่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นรุ่นที่ 2 แล้ว รุ่นนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 40 คนเริ่มไปแล้วตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2549 ไปจนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2549 อยากให้รุ่นที่ 2 ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างชุมชนกันใน blog ของผมว่าเรียนไปแล้วได้อะไร และจะนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร

   เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2549 ได้มีพิธีปิดไปแล้วอย่างอบอุ่น โดยมี ดร.อานนท์ บุณยรัตเวช เลขาธิการสำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ พร้อม ดร.ชุมพล พระประภา ประธานมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ  และผม พร้อมผู้เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 2 ที่เข้ารับประกาศนียบัตรพร้อมกับถ่ายภาพเป็นที่ระลึก และผู้บริหารโครงการได้มอบดอกไม้ให้แก่ผู้เข้าร่วมด้วย ยังไงก็ขอให้รุ่นที่ 2 เข้ามาอ่าน blog กันมากขึ้นเพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ และอย่าลืมติดตามงานของผมที่ www.chiraacademy.com เพื่อหาความรู้อย่างยั่งยืน และอย่าลืมเขียนข้อความส่งมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในรุ่นที่ 2 ด้วย

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 37324เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2006 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

Dear  Prof.Dr.Chira,

I have been so happy to have a very good opportunity to attend this course. You have got a very excellent team. We are ready for  change for the better and brighter future of the NRCT But we don't know whether our executives are ready to face the truth and ready for change. 

Best regards,               

S.J.

ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน    
เช้าวันนี้ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549  ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็ปของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ :  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนเกี่ยวกับกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่สามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานได้เป็นอย่างดี  ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม
   ·        ความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง ส่วนหนึ่งเพราะขาด Emotional Capital   เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ คนเราถ้าทำอะไร แล้ว ขาดไม่มีอารมณ์ที่ดี นอกจากจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาแล้ว โอกาสพ่ายแพ้ในชีวิต ย่อมมี การควบคุมอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องฝึกใช้ใน การดำรงชีวิต ที่บางครั้งจะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาเดียว


·        การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก  ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

เรื่องนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  คนที่มีประสบการณ์ คนเก่าแก่ สะสมทุนมนุษย์ไว้มากมาย  การบริหาราทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร มักจะมองข้ามคนที่ใกล้เกษียณอายุ มองข้ามทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวของเขา  ทำกับสูญเสียคุณค่าในตัวคน เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ   
·   การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมาพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี
-
วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว
-
วัดจาก Human Development Index  และ วัดจากคุณภาพของคน
ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล     
เรื่องการวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างของทรัพยากรมนุษย์ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์บางตัวมาวัด ด้วย อาทิเช่น ทุนทางความสุข Happiness capital ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ฯ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความสมดุล ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ตรงนี้ สามารถนำมาใช้วัดช่องว่างระหว่างประชาชนในแต่ละจังหวัด ตำบล อำเภอได้  หรือนำมาใช้วัดช่องว่างระว่างประชาชนกลุ่มคนงานในแต่ละสถานประกอบการ แต่ละหน่วยงาน เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ย่อมได้ 
 ·        ได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ
- Head
และ
- Heart 
 
ผมเห็นว่า 2 H’s เป็นหัวใจสำคัญในการจะทำการงานให้สำเร็จ  ต้องมีหัวคิด มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา(Head) และต้องมีทุนทางปัญญา ทางจริยธรรม ทุนทางความสุขต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ คือ Heart   ถือว่าเป็นหัวใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ว่าได้  
 ·        ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's  

o        I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ

 

             o       I ตัวที่ 2 เน้น Imagination เพราะ ไอ   น์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า
" Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ " เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย
  
เรื่องนี้ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เรื่องการบริหารโรงเรียนของรัฐบาล โดยเฉพาะในชนบท  มองไปทางไหน จะเห็นร่องรอยของการสอนเด็กนักเรียน แบบเก่า ไม่ได้เอื้อต่อการให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ น่าเป็นห่วงประเทศชาติ เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ รัฐบาลก็น่าจะทุ่มเทสร้างคนเพื่อสร้างชาติให้ยั่งยืน Mega project ของรัฐ น่าจะมี Innovation ทางการศึกษาของเด็ก บ้าง  
 ·        เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน  หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์  ให้เด็ก ส่ง Blog มาว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้  ใน Blog เด็กก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I’s และทฤษฎี 2 R’s ของผม    
อ่านมาถึงตรงนี้ ทำให้ทราบว่า ศ.ดร.จีระ ไม่ได้มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในระดับผุ้ใหญ่เท่านั้น  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ยั่งยืน ต้องหยั่งรากลงไปพัฒนาถึงเด็นในโรงเรียน สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดี รัฐบาลควรศึกษา นำไปเป็นแบบอย่างในการมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน  HR ในสถานประกอบการ ก็นำไปประยุกต์ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับรากหญ้า ลูกหลานพนักงานที่จะสามารถมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขององค์กรได้ อนาคต  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องคิดให้ไกล ไปให้ถึง ให้ยั่งยืนและสมดุล ครับ

  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  เชิญท่านผู้อ่าน อ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง  สร้าง Ideas ใหม่ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ได้จาก Blog ถัดไปนี้    
  
ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน  
ยม  น.ศ.ปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎี
บัณฑิต  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(รุ่น 2 กทม.)
ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"
สร้าง Ideas ใหม่ๆ[1] 
ฟุตบอลโลกใกล้จะปิดฉากแล้ว ผมไม่ค่อยเขียนถึง เพราะมีเรื่องอื่นน่าสนใจหลายเรื่อง เช่น การเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สร้างความ ปลาบปลื้มให้แก่คนไทย 64 ล้านคน

เมื่อจบงานพระราชพิธีไปแล้ว การเมืองร้อนเริ่มตึงเครียดอีกแล้ว ต้องอดทน และติดตาม ศึกษาต่อไป
มีบทเรียนมากมายจากการกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่เราสามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานของเรา

สัปดาห์นี้ ผมจึงเลือกเสนอ Ideas ใหม่ๆ 2-3 เรื่องเท่านั้นว่า ควันหลงฟุตบอลโลกทิ้งอะไร เป็นบทเรียน
-
เรื่องทุนทางอารมณ์ใน 5 K's ของผม หรือ Emotional Capital เป็นจุดหักเหในความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง การ เล่น 10 คนของอังกฤษยังเกือบชนะโปรตุเกส
Rooney สมบูรณ์ทางร่างกาย หายจากบาดเจ็บทัน แต่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ กระทืบเท้า ใส่คู่อริ แค่วินาทีเดียวก็ต้องโดนใบแดง การควบคุมอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องฝึกใช้ใน การดำรงชีวิต ที่บางครั้งจะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาเดียว
 
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก วันนี้ฟุตบอลทีม ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

อีกเรื่องหนึ่งคือ การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพ มีการพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี
-
วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว
-
วัดจาก Human Development Index วัดจากคุณภาพของคน

ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล ซึ่งจะเป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงกัน ระดับนานาชาติ ในระดับ APEC ในปีนี้และปีหน้าเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาด้วย

ในฐานะที่ผมดูแลเรื่อง APEC HRD จะต้องเน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีความสุข ในภูมิภาค APEC มากขึ้น

ส่วนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ
- Head
และ
- Heart

Heart คือ Feeling ความรู้สึกมาจากใจ มี Heart อย่างเดียวก็ไม่พอ จะต้องมี Head ด้วย
Head
คือการมองเป้าหมาย การมีข้อมูล การมียุทธวิธี เข้าใจ การเงิน การตลาด การ แข่งขัน ที่ทำให้ Heart ไปสู่ความสำเร็จ

ถ้ามี Head แต่ไม่มี Heart ก็ไม่สำเร็จ ลูกศิษย์หลายคนบอกว่า วิศวกร มี Head มาก แต่ ไม่มี Heart เลย
ให้ดูตัวอย่างคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นวิศวกร แต่มี Heart ที่เห็นคุณค่าของคน ให้การทำงานของ Heart และ Head ไปด้วยกัน
ผมยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's

- I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการคิดสร้างสรรค์และนอกกรอบ อาจารย์มหาวิทยาลัยกว่า 95% เป็นอาจารย์ที่ลอกตำรามาสอน และบางครั้งไม่เคยฝึกวิธีการสอน ให้เด็กมีส่วนร่วม และ Apply กับความจริง

- ส่วน I ตัวที่ 2 ผมเน้น Imagination เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า " Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ "

เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย

เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์ ปรากฏว่าให้เด็ก ส่ง Blog มาถึงผมว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้ นักเรียนสนใจส่ง Blog มากเกือบทุก คน และแสดงความตั้งใจ คิดเป็น ไม่ว่าคุณภาพของเด็กจะอ่อนอย่างไร ถ้าสนใจก็สามารถพัฒนา สมองได้

การสอนหนังสือยุคใหม่ จะต้องสร้างแรงกระตุ้นให้เด็กสนใจ ซึ่งผมประทับใจมากที่เด็ก โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล กระหายจะได้ความรู้ และใน Blog ก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I's และทฤษฎี 2 R's ของผม  
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร.
02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร
0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์" (ปรับปรุงใหม่)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

 

ผมปรับปรุงข้อความที่ผมเขียนเกี่ยวกับ บทเรียนจากความเป็นจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ ๆ เพิ่มเติม เนื่องจากเมื่อเช้านี้รีบเขียนไป แล้วเห็นว่าน่าจะปรับปรุงข้อความบางส่วนโดยเฉพาะในส่วนที่ผมเขียนต่อจากข้อความของ ศ.ดร.จีระ ตอนท้ายนี้/สีฟ้า/ ส่วนที่ผมเขียนแสดงความคิดเห็น ผมทำสีดำไว้   มีดังนี้ครับ

 

เช้าวันนี้ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549  ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ :  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนเกี่ยวกับกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่สามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานได้เป็นอย่างดี  ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม

 

   ·        ความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง ส่วนหนึ่งเพราะขาด Emotional Capital  ประโยคนี้จะเห็นว่า ศ.ดร.จีระ สะท้อนให้เห็น อารมณ์เป็นเรื่องสำคัญต่ออนาคต  ผมมีความเชื่อว่า คนเราถ้าทำอะไร แล้วไม่มีอารมณ์ที่ดี หรือมีอารมณ์มากเกินไป นอกจากจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาแล้ว โอกาสพ่ายแพ้ในชีวิต ย่อมมี การควบคุมอารมณ์ ความสมดุลทางอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด  ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนฯ จะมีความสมดุลทางอารมณ์ได้ดี  นักบริหาร นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือผู้เป็นบิดา มารดา ควรที่จะบริหารพัฒนาทุนมนุษย์ให้เกิดแก่สมาชิกในองค์กร สถาบันที่ตนเองเป็นผู้นำ อย่างมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มีการติดตามประเมินผล มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ถ้าปล่อยให้สมาชิกในองค์กร ไม่มีความสมดุลทางอารมณ์ จะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาได้



·        การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก  ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

ประโยคนี้น่าสนใจ ผมจับประเด็นได้ว่า  ทรัพยากรมนุษย์ ยิ่งนาน ยิ่งเก่า ยิ่งมีมูลค่าเพิ่ม  ไม่เหมือนเครื่องจักร ยิ่งนานไปยิ่งเสียค่าเสื่อม ใช้งานไม่ค่อยได้ดีเรื่องนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  คนที่มีประสบการณ์ คนเก่าแก่ สะสมทุนมนุษย์ไว้มากมาย จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความวิสัยทัศน์ ความสามารถของนักบริหาร หรือผู้นำเป็นอย่างมาก ว่าจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะทำให้คนเก่าแก่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้หรือไม่ 

 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร มักจะมองข้ามคนที่ใกล้เกษียณอายุ มองข้ามทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวของเขา  เท่ากับสร้างความสูญเสียคุณค่าในตัวคน เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ   

 

·   การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมาพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี

- วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว

- วัดจาก Human Development Index  และ วัดจากคุณภาพของคน

ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล    

 

ประโยคนี้ ผมคิดว่า เป็นผลพวงจากการใช้ระบบทุนนิยม ในการบริหารสังคมโลก ทำให้เกิดผู้ได้เปรียบ ผู้เสียเปรียบ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  จึงจำเป็นต้องมีการวัดความเหลื่อมล้ำของสังคม เป็นระยะ และควรมีมาตรฐานว่า ในแต่ละปัจจัยที่ใช้วัดความเหลื่อมล้ำนั้น ควรมีค่ามาตรฐานกำหนดไว้ เมื่อวัดออกมาแล้ว หัวข้อใดเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น ก็ควรมีสัญญาณเตือนภัย เรื่องพวกนี้ และมียุทธศาสตร์ในการแก้ไขและปัองกันภัยแห่งความเหลื่อมล้ำของสังคม ไม่ให้เกิดภัยแก่ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ของโลก

 

เรื่องการวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างของทรัพยากรมนุษย์ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์บางตัวมาวัด ด้วย อาทิเช่น ทุนทางความสุข Happiness capital ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ฯ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความสมดุล ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ตรงนี้ สามารถนำมาใช้วัดช่องว่างระหว่างประชาชนในแต่ละจังหวัด ตำบล อำเภอได้  หรือนำมาใช้วัดช่องว่างระว่างประชาชนกลุ่มคนงานในแต่ละสถานประกอบการ แต่ละหน่วยงาน เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ย่อมได้ 

 

 ·        ได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ

- Head และ

- Heart  

 

ศ.ดร.จีระ มีงานได้รับเชิญไปสอนหลายแห่งมาก  ทั้งสถานบันการศึกษา องค์กรภาครัฐและเอกชน  อาจารย์มีโอกาสทำประโยชน์ให้กับสังคมมากมาย  เป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำ เมื่อมีความรู้ เมื่อมีโอกาส ก็เผื่อแผ่เมตตา กับผู้อื่น  ผมได้มีโอกาสเรียนและใกล้ชิดกับ ศ.ดร.จีระ ทำให้ทราบว่า นอกจากท่านมีความรู้ มีประสบการณ์ มีอุดมการณ์ เหมือน ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ แล้ว ท่านยังมีความเมตตาต่อลูกศิษย์ และให้โอกาส ให้ความรู้ กับศิษย์เสมอ

 

จากประโยคข้างต้น ผมเห็นว่า 2 H’s เป็นหัวใจสำคัญในการจะทำการงานให้สำเร็จ ต้องมีหัวคิด มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา(Head) และต้องมีทุนทางปัญญา ทางจริยธรรม ทุนทางความสุขต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ คือ Heart   ถือว่าเป็นหัวใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ว่าได้  

 

 ·        ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's  

 o        I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ

 

 o       I ตัวที่ 2 เน้น    Imagination   เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า
" Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ " เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย  

 

ข้อความนี้ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึง แนวทางในการสอนเด็กของไทยเรา  ในอดีตเราสอนให้เด็กท่องจำ คนไหนท่องจำเก่ง คนนั้นคะแนนดี คนไหนคิดนอกกรอบ จะโดนข้อหาว่า นอกคอก ทำตัวไม่เหมือนคนอื่น ทำให้ผลผลิตของโรงเรียน ได้นักเรียนที่จบการศึกษา  ได้ทรัพยากรมนุษย์ ที่คิดในกรอบเท่านั้น และที่อันตรายมาก คือใครคิดไม่เหมือนตนเองคือคนไม่ดี ต้องขจัดออกไป พอโลกหรือสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการปรับตัวให้อยู่รอด ไม่มีความคิดใหม่ ๆ มาพัฒนาชาติ ใครคิดใหม่ ๆ จะถูกวิจารณ์อย่างมาก  ประเทศเราไม่สามารถพัฒนาไปได้รวดเร็วนัก

 

เมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมไปเยี่ยมโรงเรียนแห่งหนึ่งในชนบท  มีการจัดสถานที่ให้เด็กเล็กไว้เล่นคือมีสวนเด็กเล่น กั้นคอกไว้ ข้างในมีพื้นเป็นทราย และมีล้อยางรถเก่าอยู่ สี่ห้าเส้น ผมถามว่านั่นคืออะไร  ได้รับคำตอบว่าเด็กชอบเล่นทราย จึงทำไว้ให้เด็กเล่น  ของเล่นภายในไม่ได้เอื้อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์นัก ปัญหามาจากผู้ใหญ่ที่ขาดความคิดสร้างสรรค์เพียงพอ กลายเป็นวัฐจักรแห่งความทางตันแห่งความคิดสร้างสรรค์

 

เรื่องการบริหารโรงเรียนของรัฐบาล โดยเฉพาะในชนบท  ยังมีการสอนแบบนี้อยู่มาก  นโยบายของรัฐ เกี่ยวกับบริหารการศึกษา การสอนเด็กนักเรียน  ไม่ได้เอื้อต่อการให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ น่าเป็นห่วงประเทศชาติ เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ รัฐบาลก็น่าจะทุ่มเทสร้างคนเพื่อสร้างชาติให้ยั่งยืน Mega project ของรัฐ น่าจะมี Innovation ทางการศึกษาของเด็ก บ้าง  

 

 ·        เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน  หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์  ให้เด็ก ส่ง Blog มาว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้  ใน Blog เด็กก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I’s และทฤษฎี 2 R’s ของผม    

 

อ่านมาถึงตรงนี้ ทำให้ทราบว่า ศ.ดร.จีระ ให้ความรู้ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลากหลายทั้งในระดับผู้ใหญ่ และเยาวชน  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ยั่งยืน ต้องหยั่งรากลงไปพัฒนาถึงเด็กในโรงเรียน และถ้าจะลึกไปกว่านั้น ต้องพัฒนาตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา ด้วย 

  

สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดี รัฐบาลควรศึกษา นำไปเป็นแบบอย่างในการมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน  HR Manager หรือผู้บริหารในสถานประกอบการ ต่าง ๆ ก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับรากหญ้า ถึงระดับลูกหลานพนักงานที่มีแนวโน้มที่จะมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขององค์กรได้อนาคต  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ ต้องคิดให้ไกล ไปให้ถึง ให้ยั่งยืนและสมดุล อย่างมียุทธศาสตร์ครับ

 


  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  เชิญท่านผู้อ่าน อ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง  สร้าง Ideas ใหม่ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ได้จาก Blog ถัดไปนี้ 

     

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน  

 

ยม  

น.ศ.ปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต  

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(รุ่น 2 กทม.) 

ยม "บทเรียนจากความจริง โบนัส 7 พันล้าน : ได้ผลจริงไหม โดย ศ.ดร.จีระ"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษาและท่านผู้อ่านทุกท่าน จากบทความของ ศ.ดร.จีระ จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 15 ก.ค. 2549 บทเรียนจากความจริง โบนัส 7 พันล้าน : ได้ผลจริงไหม(http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97)  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนประเด็นที่ได้จากชีวิตจริง ที่อาจารย์ได้พบมานำมาสู่แนวทางในการบริหารจัดการที่ยั่งยืน เป็นบทความที่น่าสนใจ ผมได้อ่านและ comment เพิ่มเติม ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม มีดังต่อไปนี้ ครับ    การเมืองของเยอรมันสมัย Hitler ครองประเทศ 12 ปี ก็โหดร้ายทารุณมาก ฮิตเลอร์ (Hitler) สร้างความหายนะให้แก่ประชาชนมากมาย ทั้งที่คนเยอรมันก็ฉลาด  ประโยคนี้ ทำให้คิดได้ว่า เหนือฟ้า ยังมีฟ้า คนฉลาดอาจกลายเป็นคนที่ไม่ฉลาดได้ ถ้าใช้ชีวิตอย่างประมาท   คนฉลาดอย่างเดียวไม่พอ ควรควบคู่ไปกับการปฏิบัติธรรม คุณงามความดี  การประพฤติปฏิบัติธรรม ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ปฏิบัติ   ระยะหลังเด็กไทยไม่สนใจประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเด็กที่สนใจทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เลยรู้ไม่จริง ไม่เป็นสังคมการเรียนรู้ โดยเฉพาะการวิเคราะห์การเมืองของสื่อมวลชนของไทย ที่ทำข่าวไปวันๆ มองประเด็นไม่ชัดเจน ทำให้คนไทยสับสนประโยคนี้ ผมมองสองประเด็น ประเด็นแรก เป็นเรื่องเด็กไทยไม่สนประวัติศาสตร์ ไม่น่าเชื่อว่า ศ.ดร.จีระ เชื่อมโยงให้เห็นถึงผลเสียของกระทำดังกล่าว มีผลกระทบต่อการวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจเรื่องสำคัญ   ประวัติศาสตร์จึงมีบทเรียนที่ทรงคุณค่า เป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจเพื่ออนาคตได้ส่วนหนึ่ง ครูผู้สอนควรตระหนักคุณค่าของประวัติศาสตร์ ทุกแขนง และนำมาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ได้ ไม่ให้ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องน่าเบื่อ ประเด็นที่สอง การที่สื่อบางสื่อ  ทำข่าวไปวัน ๆ นอกจากมีปัญหาเรื่องขาดศักยภาพในเชิงวิเคราะห์ แล้ว ผมคิดว่า อาจเป็นเพราะถูกสภาพแวดล้อมทางธุรกิจกดดัน ให้ต้องแข่งขัน ต้องทำตามกระแส และที่สำคัญมักจะขาดวิสัยทัศน์ ในการบริหารข่าว ขาดการการควบคุมคุณภาพของข่าว ขาดความรับผิดชอบต่อสิ่งที่นำเสนอ ซึ่งอาจจะมีผลต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง  ประเทศชาติ  มีสักกี่สื่อที่ทำสื่อเพื่อแผ่นดินไทยจริง ๆ    ความเห็นเรื่อง รัฐบาลทักษิณให้โบนัสแก่ข้าราชการไทยอีก 7 พันล้านบาท ซึ่งเป็นข่าวที่น่ายินดี แต่จะขอเพิ่มเติมและมีมุมมองเพิ่มขึ้นโดยชี้ให้เห็นว่า การจะช่วยให้ระบบราชการให้อยู่รอดได้ ต้องทำ 3 เรื่อง วงกลมที่ 1 ต้องให้องค์กรราชการเป็นองค์กรที่กะทัดรัดซึ่งจะต้องทำงานเป็น process หรือกระบวนการ เป็นแนวนอนไปสู่ลูกค้า โดยต้องการทำงานที่        (1)เร็ว
(2) แม่นยำ
(3) ทำให้เสร็จในครั้งเดียว
(4) คุ้มค่ากับการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด
วงกลมที่ 2 เรื่องให้สร้าง Competencies มี 5 เรื่อง
(1) Functional Competency รู้ในเรื่องเฉพาะทางที่ตัวเองถนัด
(2) Organizational Competency รู้จักเรื่องการบริหารจัดการ
(3) Leadership Competency ต้องมีภาวะผู้นำ
(4) Entrepreneurial Competency มีจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการ
(5) Macro and Global Competency รู้จักโลกและมองภาพรวม
วงกลมสุดท้าย ผมขอชมเชยนายกฯ ที่สร้างขวัญกำลังใจให้มากขึ้น แต่ในทฤษฎี 3 วงกลม ต้องให้ทั้งการปรับองค์กร การสร้าง Competencies และ Motivation ไปด้วยกัน           ในความเห็นของผม เห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ที่ชื่นชมท่านนายกฯ  ที่สร้างขวัญกำลังใจให้มากขึ้นกับข้าราชการ   ถ้าผมอยู่ในฐานนะอย่างท่านนายกฯ ก็จะทำเช่นนั้น แต่ก็ควรทำการปรับองค์กร การสร้าง Competencies และ Motivation ไปด้วยกัน  และจะไม่สร้างอำนาจด้วยการให้เพียงอย่างเดียว  ผมขอเสนอต่อท่านนายกฯ เพิ่มเติมว่าการบริหารระบบราชการควรต้องคำนึ่งถึง  คำว่า CEO ด้วยเช่นกัน คำว่า CEO ในที่นี่ไม่ใช่ Chief Executive Officer แต่หมายถึง C = Customer Satisfaction ก็คือ ความพึงพอใจ ของลูกค้า ของผู้ใช้บริการในระบบราชการ รวมทั้งประชาชนทั่วไป แบบยั่งยืน  E =  Employee Satisfaction คือ ความพึงพอใจของพนักงาน เจ้าหน้าที่ราชการ ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ แบบยั่งยืน และ Organization Result คือ สัมฤทธิ์ผลของหน่วยงานราชการ ผลประโยชน์ที่ประเทศชาติ แบบยั่งยืน  ซึ่งจะทำให้ นายกฯ  มีทุนแห่งความเชื่อ และศรัทธามากขึ้นอย่างยั่งยืน  (Trust Capital)  ในการบริหารจัดการองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในวันนี้และวันข้างหน้า เรื่อง ความเชื่อถือ ความศรัทธา ทุนแห่งความเชื่อถือ จะมีบทบาทสำคัญต่อผลประกอบการขององค์กร  ประเทศชาติ  ประเทศใดทีประชาชน มีทุนทางความเชื่อถือ ความศรัทธาใน ผู้นำมาก ๆ จะมีผลทำให้เกิดทุนทางความสุข และทุนทางการเงิน    พูดถึงพรรคการเมือง  พรรคการเมืองทั้งหลายที่มีอยู่ขณะนี้ ควรทำงานเพื่อแผ่นดินอย่างจริงจังกันเสียที  ทำงานเพื่อแผ่นดินคือทำงานเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและประชาชน เป็นหลัก  ไม่ทำเพื่อประโยชน์ของพรรคเป็นหลัก  พรรคการเมืองควรเลิกที่จะกล่าวร้ายต่อกัน  ให้มาใช้การบริหารพรรค ตามแนวพุทธศาสตร์ และตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งสอดคล้องกับประโยคต่อไป ของ ศ.ดร.จีระ ที่เขียนไว้ว่า   ผู้นำ ต้องเอาจริง อย่าให้ยาหอมเพื่อหวังผลทางการเมืองระยะสั้นเท่านั้น   นักการเมืองที่หวังผลระยะสั้น เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่นักการเมือง นักการเมืองพันธุ์แท้ ต้องหวังผลทั้งระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว เสียสละทำเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้คุณติดตามผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ     ขอความสวัสดี จงมีแด่ผู้อ่านทุกคน ครับ  ยม  น.ศ.ปริญญาเอก  รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (กทม.2) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ยม "บทเรียนจากความจริง โบนัส 7 พันล้าน : ได้ผลจริงไหม โดย ศ.ดร.จีระ"
โบนัส 7 พันล้าน : ได้ผลจริงไหม[1] ระหว่างนี้การเมืองยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก ขอให้ทุกท่านตั้งสติให้ดี ในฐานะที่ผมเป็นนักอ่านประวัติศาสตร์อยู่บ้าง เหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่เกิดเฉพาะประเทศไทย บางประเทศก็มีปรากฏการณ์คล้ายๆ ของเราหลายครั้ง
เมื่อมองการเมือง เช่น การเมืองของรัสเซีย สมัยเปลี่ยนจากระบบพระเจ้าซาร์ มาเป็นระบบคอมมิวนิสต์ มีความโหดร้าย ทารุณ เช่น ยุคเลนิน ยุคสตาลิน
-
การเมืองของเยอรมันสมัย Hitler ครองประเทศ 12 ปี ก็โหดร้ายทารุณมาก ฮิตเลอร์ (Hitler) สร้างความหายนะให้แก่ประชาชนมากมาย ทั้งที่คนเยอรมันก็ฉลาด
-
การเมืองในจีนสมัยเหมา เจ๋อ ตุง ขึ้นปกครองระบบคอมมิวนิสต์ ก็น่าศึกษา
ระยะหลังเด็กไทยไม่สนใจประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเด็กที่สนใจทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เลยรู้ไม่จริง ไม่เป็นสังคมการเรียนรู้ โดยเฉพาะการวิเคราะห์การเมืองของสื่อมวลชนของไทย ที่ทำข่าวไปวันๆ มองประเด็นไม่ชัดเจน ทำให้คนไทยสับสน
ขอกลับเข้าเรื่องควันหลงฟุตบอลโลกมีหลายเรื่องน่าสนใจ
เรื่องแรกคือ ทุกคนถามว่า ทำไม Zidane จึงควบคุมอารมณ์ของตัวเองไม่ได้ เกิดผลเสีย ไม่ได้เตะลูกโทษ ทั้งที่ มีเวลาเหลืออยู่แค่ 10 นาที การมีการฝึกควบคุมอารมณ์ Emotional Intelligence นับว่าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ของผม มักจะ apply ได้เสมอ
Zidane
มีเรื่องการควบคุมอารมณ์ไม่ได้มานานแล้ว ในประวัติถูกใบแดงทั้งหมด 16 ครั้ง คู่ต่อสู้คงรู้จุดอ่อน เพราะถ้ายิงลูกโทษ โดยไม่มี Zidane โอกาสที่อิตาลีชนะคงมีสูง ถ้า Zidane ถูกใบแดง อิตาลีมีโอกาสชนะ ฟุตบอลคือธุรกิจ และกลยุทธ์ (Tactics) ต่างๆ ที่นำเอามาใช้ ขอให้คนไทยหรือเยาวชนไทยมองให้เป็นบทเรียนและนำมาใช้ในการดำรงชีวิต ช่วยในการทำธุรกิจ หรือช่วยในการเป็นนักกีฬาฟุตบอลที่ดีและเก่ง มากกว่าเล่นการพนันอย่างเดียว
ฟุตบอลโลกจะทำให้ฟุตบอลอังกฤษดังมากขึ้น เพราะนักฟุตบอลดีๆ จากยุโรป อยู่ในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษมากมาย คนไทยคงจะได้ดูสนุกต่อไป
ฟุตบอลกลายเป็นการทูตที่ยิ่งใหญ่ มีคนพูดกันว่า แม้กระทั่งการก่อการร้ายยังเว้นวรรค เพราะผู้ก่อการร้ายก็ชอบฟุตบอลด้วย พอฟุตบอลโลกจบก็เริ่มการก่อการร้ายอีก เช่น ในอินเดีย เป็นต้น
ผมจะทำรายการโทรทัศน์เรื่องควันหลงฟุตบอลโลก โดยเชิญอาจารย์อัษฎางค์ ปาณิกบุตร อดีตนักฟุตบอลโรงเรียนเทพศิรินทร์และทีมชาติไทยมาแสดงความเห็น และเชิญคุณอิสรพงษ์ ผลมั่ง มาออกอากาศในรายการคิดเป็น ก้าวเป็นกับดร.จีระ ในวันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม เวลา 13.00 - 14.00 น.ทาง UBC 7 ติดตามมุมมองของเราให้ดีด้วยนะครับ
ฟุตบอลกลายเป็น Global Brand อย่างแท้จริง ทำให้อเมริกาเสียหน้ามาก เพราะนึกว่ากีฬาของโลกต้องเป็นเบสบอล หรืออเมริกันฟุตบอล ทุกทวีปของโลกบ้าฟุตบอล ไม่ได้บ้าคลั่งกีฬาของอเมริกาอย่างที่คนอเมริกันคิด
ผมคิดว่าฟุตบอล อาจจะช่วยการพัฒนาประเทศและสร้างสันติภาพของโลกด้วย เช่น อีก 4 ปีข้างหน้าจะไปแข่งที่ South Africa ทวีปแอฟริกากำลังเริ่มตื่นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อจะมีฟุตบอลโลกด้วย ก็จะเร่งให้คนในโลกหันมามองทวีปแอฟริกามากขึ้น ผมจะทำรายการโทรทัศน์กระตุ้นให้คนไทยสนใจทวีปแอฟริกามากขึ้น โดยจะเชิญทูตของ South Africa ซึ่งเป็นสุภาพสตรีมาออกรายการโทรทัศน์ เป็นพันธมิตรกันมากขึ้น ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า วันนี้ประเทศจีนมีนโยบายผูกมิตรกับแอฟริกาอย่างมากมาย สิงคโปร์และมาเลเซีย ก็เข้าไปผูกมิตร ซึ่งผมจะทำเรื่องการทูตภาคประชาชนกับประเทศในกลุ่มAfrica ต่อไป เพื่อเสริมนโยบายของรัฐบาล
ก่อนจบ ผมอยากเสนอความเห็นเรื่อง รัฐบาลทักษิณให้โบนัสแก่ข้าราชการไทยอีก 7 พันล้านบาท ซึ่งเป็นข่าวที่น่ายินดี แต่จะขอเพิ่มเติมและมีมุมมองเพิ่มขึ้นดังต่อไปนี้
-
ประการแรก การปฏิรูประบบราชการของนายกฯทักษิณเป็นเรื่องดี เน้นแต่จะทำการปฏิรูปที่รวดเร็ว หวังผลง่ายๆ ไม่ได้ ต้องเน้นการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเพราะต้องใช้เวลา และทำให้ถูกต้อง
ข้อแรกคือ นายกฯทักษิณหวังดีต่อระบบราชการ แต่ต้องเข้าใจระบบราชการว่า เขามีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร ระบบราชการแตกต่างกับภาคเอกชน แต่ค่อยๆ ปรับให้ดีขึ้นได้
ข้อที่สอง ผมเคยได้ยินท่านพูดหลายครั้งว่า การปฏิรูประบบราชการ จะปฏิรูปพฤติกรรม ไม่ใช่ปฏิรูปโครงสร้างเท่านั้น
ดังนั้นการให้โบนัสถือว่าเป็นการให้ Motivation ที่ดี แต่ทฤษฎี 3 วงกลมของผมได้เน้นอีก 2 เรื่อง
ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การจะช่วยให้ระบบราชการให้อยู่รอดได้ ต้องทำ 3 เรื่อง


(1) วงกลมที่ 1 ต้องให้องค์กรราชการเป็นองค์กรที่กะทัดรัด ไม่อุ้ยอ้าย บางแห่งเรียกว่า Lean หรือ Mean ซึ่งจะต้องทำงานเป็น process หรือกระบวนการ เป็นแนวนอนไปสู่ลูกค้า โดยต้องการทำงานที่ :
(1)
เร็ว
(2)
แม่นยำ
(3)
ทำให้เสร็จในครั้งเดียว
(4)
คุ้มค่ากับการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด
ตั้งแต่มีการปฏิรูปมา ยังไม่มีการทำแบบนี้ ยุคก่อนนายกฯทักษิณ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ.ได้เคยเชิญที่ปรึกษามาปฏิรูปการทำงานแบบ Re-engineering เป็นการจัดองค์กรให้ทันสมัย ซึ่งอาจจะยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะยังไม่ทำงานต่อเนื่อง และยังไม่ได้เน้นการบริหารการเปลี่ยนแปลง อยากให้ท่านนายกฯลองพิจารณาประเด็นการปรับองค์กรให้กระทัดรัดด้วย
(2)
วงกลมที่ 2 เรื่องให้สร้าง Competencies มี 5 เรื่อง
(1) Functional Competency
รู้ในเรื่องเฉพาะทางที่ตัวเองถนัด
(2) Organizational Competency
รู้จักเรื่องการบริหารจัดการ
(3) Leadership Competency
ต้องมีภาวะผู้นำ
(4) Entrepreneurial Competency
มีจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการ
(5) Macro and Global Competency
รู้จักโลกและมองภาพรวม
ผมได้ทราบว่า การกำหนด Benchmark การลงทุนในการพัฒนาบุคลากรของรัฐยังไม่แน่นอน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ ก.พ.ร. ยังไม่ได้ทำให้ชัดเจน บางหน่วยงานก็ถูกตัดงบพัฒนาบุคลากรที่กรรมาธิการงบประมาณ เพราะต้องเอาไปใช้ในงบกลาง ถ้านายกฯจะเอาจริงเรื่องคุณภาพของข้าราชการต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง มีงบประมาณพอเพียงและทำให้ได้ผล ผมได้มีโอกาสทำงานให้หน่วยงานหลายแห่งอย่างต่อเนื่อง เช่น กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือโรงเรียนมัธยมบางแห่ง ซึ่งได้ผลมาก และกำลังจะทำให้ระดับการบริหารท้องถิ่นด้วย
การสร้าง Competency ไม่ใช่ตามตำรา แต่ต้องมีคนทำอย่างมืออาชีพ มีวิธีการเรียนที่น่าสนใจ โดยเน้น 4 L's
- Learning Methodology
วิธีการเรียนต้องน่าสนใจ
- Learning Environment
สภาพแวดล้อมในการเรียนต้องดี
- Learning Opportunity
โอกาสในการได้ปะทะกันทางปัญญา
- Learning Communities
สร้างชุมชนการเรียนรู้
และเน้น 2 R's คือ
- Reality
มองความจริง
- Relevance
ตรงประเด็น
ส่วนวงกลมสุดท้าย ผมขอชมเชยนายกฯ ที่สร้างขวัญกำลังใจให้มากขึ้น แต่ในทฤษฎี 3 วงกลม ต้องให้ทั้งการปรับองค์กร การสร้าง Competencies และ Motivation ไปด้วยกัน
ท่านเป็นผู้นำ ต้องเอาจริง อย่าให้ยาหอมเพื่อหวังผลทางการเมืองระยะสั้นเท่านั้น เพราะ ถ้าทำอย่างนั้น ก็ไม่ทำให้ราชการมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน และในยุคโลกาภิวัตน์ ข้าราชการตามโลกไม่ทันครับ

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความเป็นจริง เรือง no pain, no gain โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

 

 

เช้าวันนี้ ผมหาความรู้จาก internet เช่นเคย และศึกษาบทความจาก น.ส.พ.แนวหน้า จาก http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 ศึกษาบทความ ของ ศ.ดร.จีระ บทเรียนจากความจริง ไม่มี pain ไม่มี gain และคัดมาบางประโยคจากบทความที่ ศ.ดร.จีระ เขียนไว้ (สีนำเงิน) ส่วนที่ผมมีความเห็นเพิ่มเติม ผมเขียนไว้ทำเป็นสีดำ เพื่อแชร์ความรู้ประสบการณ์ ที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน นักศึกษาที่สนใจ  รายละเอียดมีดังนี้  

  *      วันพฤหัสบดีที่ 20 ที่ประชาชนชาวไทยทุกคน ต่างส่งจิตใจถวายพระพรด้วย ความเป็นห่วงใยขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายจากอาการพระประชวรอย่างรวดเร็ว เป็น มิ่งขวัญของคนไทยต่อไปเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ผมได้บรรยาย ศิลปะการเป็นหัวหน้า ให้กับหัวหน้างานในองค์กร ที่ผมทำงานอยู่ ผมนำภาพของในหลวง มาสอนหัวหน้างาน ให้เห็นพระอัจฉริยภาพของในหลวงในการเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้าคนไทยทั้งชาติ ท่านติดดิน ท่านไม่ยึดในตำแหน่ง ท่านมีความรัก ห่วงใยคนไทย เห็นได้จากภาพที่พระองค์ท่าน ทรงเสด็จเยี่ยมประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ ท่านมีการเตรียมพระองค์ เตรียมแผนงานสังเกตได้จากแผนที่ ที่พระองค์ท่านนำไปด้วย ท่านให้มีความจริงจังมุ่งมั่นการทรงงาน สังเกตจากพระหัตถ์ พระเนตร กล้องถ่ายภาพที่พระองค์ท่านนำติดตัวไปด้วย  ด้วยการที่พระองค์ท่าน มานะ เพียรพยายาม ปกครองแผ่นดินโดยธรรม  ทำให้ท่านเกิดบารมีแผ่ไปทั่ว ทำให้ท่านเป็นที่รักและเคารพยิ่งต่อประชาชนชาวไทย  คนเป็นหัวหน้างานเป็นผู้นำ จึงควรศึกษาและเจริญลอยตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  การที่ผมสอนหัวหน้างานเช่นนี้ เป็น Innovation ทางการสอน ศิลปะการเป็นผู้นำ ให้กับหัวหน้างานในองค์กร ด้วยความจงรักภักดี ที่ผมมีต่อพระองค์ท่าน ทำให้ผมคิดเรื่องนี้ และสอนออกไป พอถึงเวลา บ่ายสองสามโมง ผมขั้นรายการว่าขณะนี้ พระองค์ท่านคงกำลังเดินทางเข้าไปรับการถวายการผ่าตัดที่โรงพยาบาลศิริราช ขอให้พวกเราตั้งจิต อธิฐาน ขอให้พระองค์ท่านทรงปลอดภัย และมีพระวรกายที่แข็งแรง  *     

คนไทยต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง คิดเป็น วิเคราะห์ เป็น จึงจะสกัดกั้นคนไม่ดีออกไปประโยคนี้ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง การตัดสินใจ ต้อง base on information and knowledge บางครั้งคนไทยเราตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ หรือตาม ๆ กันไป แต่ถ้าทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนมนุษย์ดีเป็นพื้นฐาน มีทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์ ผมคิดว่า ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นครับ  *     

ผู้ใหญ่ที่ดี จะต้องสนับสนุนให้รุ่นเด็ก ได้โตแทน ผมเริ่มเป็นผู้ใหญ่ ก็จะต้องทำบทบาทนี้มากขึ้น เช่น สนับสนุนให้อาจารย์ยม นาคสุขมีความ เก่งและดีเพิ่มขึ้นประโยคนี้ ผมได้สองเรื่อง คือ ได้ข้อคิดว่า การจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ดูที่การปฏิบัติต่อผู้น้อย การจะเป็นผู้ใหญ่หรือผู้นำที่มีคุณค่า คือการสร้างคนรุ่นใหม่ ให้เติบโตแทน  บทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองคือสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนที่มีคุณภาพและมีคุณค่าต่อประเทศชาติ  ประการต่อมา ผมได้กำลังใจจาก ศ.ดร.จีระ ท่านให้เกียรติผมมาก ผมสังเกตท่าน มีวิธีการบริหารทีมงาน และลูกศิษย์ที่เป็นน่าสนใจมาก ท่านมีการบริหารความรัก ความศรัทธา ในทีมงานอยู่เสมอ เป็นแบบอย่างที่ดี ของผู้ใหญ่/ผู้นำที่มีคุณภาพ ขอบคุณอาจารย์มาก ที่ให้เกียรติผมและมีความคิดสนับสนุนผมให้เก่งและดีเพิ่มขึ้น   *     

กำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ยังเป็นรองชาติอื่น ๆ มาก

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างมาก กำลังคน คุณภาพของคนในชาติไทยของเรา ยังเป็นรองชาติอื่นๆ หลายด้าน โดยเฉพาะด้านที่สำคัญ ๆ เช่น ด้านภาษาอังกฤษ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ   เป็นสิ่งที่ผู้นำบ้านเมืองควร กำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์พัฒนาชาติในเรื่อง ทุนทางทรัพยากรมนุษย์ เพื่ออนาคตของประเทศในระยะยาว อย่างชัดเจนและมีตัวชี้วัด ความสำเร็จ ทั้งระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว  ส่งเสริมให้สถานบันการศึกษาและครู มีบทบาทในเรื่องนี้ 

   เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมหมู่บ้านโพธิ์ทอง ต.ภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผมเคยเข้ามาทำวิจัย เมื่อสมัยเป็นบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา  ได้แวะเยี่ยมชาวบ้านที่เคยใช้ชีวิตร่วมกันในหมู่บ้านยากจนแห่งนี้  และได้แวะเข้าไปเยี่ยม โรงเรียนเคียงศิริ ซึ่งเป็นโรงเรียนในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จย่าฯ  ซึ่งผมเคยเข้าไปช่วยสอนนักเรียนขั้นป. 6 ผมดีใจที่เห็นโรงเรียนพัฒนาขึ้น ด้วยอาคารเรียนหลายหลัง สามารถรับนักเรียนได้มากขึ้น แต่ที่น่าเศร้าใจคือ ห้องเล็ปที่มีไว้ให้นักเรียนได้เรียนวิทยาศาสตร์  แทบจะไม่มีอุปกรณ์เล็ปที่ทันสมัยให้นักเรียนได้ใช้เลย  แต่ก็ยังดีที่มีห้องคอมพิวเตอร์ให้นักเรียน ได้ฝึกใช้  ที่พบแล้วน่าคิดอีกเรื่องก็คือ  โรงเรียนมีคอกเป็นอาคารโปร่งเหมือนคอกวัว แต่ล้อมรอบด้วยไม้ระแนง จากพื้นถึงเพดาน มุงหลังคากระเบื้อง ขนาดเท่าบ้านขนาดเล็กชั้นเดียว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกำนันในหมู่บ้าน  เป็นที่ให้เด็กเล็กได้เข้าไปเล่นเหมือนที่เด็กเล่นในห้าง  แต่ภายในห้อง มีพื้นทราย ที่มีทรายและมีล้อรถยนต์เก่า ๆ อยู่ ห้าหกเส้น ผมทราบภายหลังว่า คือที่เอาไว้ให้เด็กเล่น เพราะเด็กชอบเล่นทราย  ตรงนี้สะท้อนให้เห็นนโยบายสาธารณะของรัฐ และวิสัยทัศน์ในการสร้างคนเพื่อสร้างชาติ ว่ายังไม่เข้มแข็ง รัฐยังไม่จริงจังกับการสร้างเด็กน้อย ในชนบท ในขณะที่เด็กญี่ปุ่น อเมริกา สิงค์โปร์ มีของที่ให้เด็ก ๆ เล่นเพื่อกระตุ้นความอยากรู้ อยากเรียน สติปัญญา ที่มีการวัดผลได้  ผมจึงขอฝากผู้เกี่ยวข้องในบ้านเมือง ให้ตระหนักเรื่อง การสร้างเด็กในชนบทให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของชาติในอนาคต ผ่าน Blog ของ ศ.ดร.จีระ นี้  *     

 " มาเฟียก็เก่ง แต่เป้าหมายของเขาไม่ดี ขาด คุณธรรม จริยธรรม เห็นแก่ตัว ทำเพื่อพรรคพวก ผมจึงยึดถือว่า คนเก่ง กับคนดี มีคุณธรรมควรจะต้องคู่ กัน ดูได้จาก 8 K's และ คนเก่งอย่างเดียวจะต้องแพ้คนดี ทุนทางจริยธรรมในระยะยาว 

พวกมาเฟียมีคุณสมบัติของการเป็นผู้นำอยู่บางประการคือ

 

 รู้จักครองงาน จึงมีเป้าหมายชัดเจน  มุ่งมั่นที่จะทำ มีการวางแผนอย่างรัดกุม ลงมือปฏิบัติอย่างรวดเร็ว

 

รู้จักครองคน คือคนในทีม ซึ่งมาเฟียส่วนใหญ่ทำงานเป็นทีม มีการหารือและทำงานร่วมกันได้อย่างน่าสนใจ

 

 แต่มาเฟีย ไม่รู้จักครองตน  ปล่อยให้ความไม่ดี มาครอบงำ ขาดความคิดดี ทำดี ขาดทุนทางจริยธรรม ในที่สุดท้าย จะทำให้ไม่มีทุนทางความสุข  *     

อยู่รอดไปวัน ๆ เพื่อตัวเอง ไม่ได้ อยู่เพื่อประเทศหรือส่วนรวม 

ประโยคนี้ ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับและมีความเห็นเพิ่มเติมคือ มนนุษย์มีเรื่องน่าเสียดาย 3 เรื่อง

  • วันนี้ผ่านไปโดยไร้ค่าน่าเสียดาย
  • ชาตินี้ไม่ได้ศึกษาแสวงหาความรู้น่าเสียดาย 
  •  เกิดเป็นมนุษย์ทั้งทีเอาดีไม่ได้น่าเสียดาย ไม่ได้สร้างประโยชน์ หรือคุณค่าแก่คนรุ่นหลังหรือสังคมเลย น่าเสียดาย 
 

*      ทั้งนั้น ผมโชคดีได้ทำงานท้าทาย และได้เรียนรู้

ไปด้วย
 

เป็นสิงที่น่าเอาอย่าง  คนทำงานที่เป็นเลิศ  มักมี

คุณสมบัติ 6 ท. คือ

 

ท.ท้าทาย  ทำงานที่ยากกว่า

 

ท.ท่าทีที่ดี  มาจากความคิดที่ดี นำไปสู่การทำดี พฤติกรรมดี นิสัยและบุคลิกดี

 

ท. เที่ยงธรรม มีคุณธรรม ความเที่ยงธรรมประจำใจ

 

ท. ทน มีความอดทน อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร

 

ท. ทำ  มุ่งมั่นทำงาน ในหน้าที่รับผิดชอบ ให้สำเร็จ

 

ท.ทบทวน   ผู้ใดหมั่นทบทวนตรึกตรอง สิ่งที่ได้เรียนรู้หมั่นทบทวน ก็จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางปัญญา มีความเป็นเลิศ ในการเรียนรู้

 

  *      ให้อาจารย์รับฟังลูกศิษย์แบบแลกเปลี่ยนความรู้ 2 ทางมากขึ้น ผมจะจัดให้ คณาจารย์ทุกเดือน ซึ่งครั้งหน้าจะเน้นคุณธรรม จริยธรรม ผมทำจริง หากใครเห็นว่าผมมีประโยชน์ก็บอก มาได้ ประโยคนี้ ผมได้แง่คิดที่ว่า การเรียนการสอนสมัยใหม่นี้ ต้องมี two ways communication และ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ได้ทั้งบริหารความรู้ ได้ทั้งบริหารทัศคติ ความรัก ความศรัทธา  เป็นสิ่งที่ผู้เป็นบิดา มารดา สามารถนำไปใช้สอนการบ้านบุตรธิดาได้  เป็นสิ่งที่ครู อาจารย์ ตามโรงเรียนต่าง ๆ ควรนำไปใช้ในการเรียนการสอน เลิกเสียทีการสอนแบบท่องจำ อย่างเดียว ศ.ดร.จีระ นำองค์ความรู้ เรื่อง 4L’s ไปให้อาจารย์ตามโรงเรียนต่าง ๆ เป็นสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์อย่างมากกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ เป็นสิ่งที่ดี ที่ผู้นำทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ควรนำเอาหลักการเหล่านี้ไปบูรณาการใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาองค์ความรู้ในองค์กร   *     

no pain , no gain  ทฤษฎีเจ็บปวดก่อนและไปสู่ความสำเร็จ สอนว่า ทุกคนเจออุปสรรค แต่ใช้อุปสรรคเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จ การมีความ เจ็บปวด ไม่ใช่ของเลว แต่ต้องนำไปสู่ความสำเร็จให้ได้ ผมชอบเอาชนะความเจ็บปวด เพื่อให้เรา แข็งแกร่งขึ้น

ลำบากเมื่อหนุ่ม ดีกว่ากลุ้มเมื่อแก่  ลำบากก่อน สบายทีหลัง   เมื่อสิ่งไม่ดีมาเยือน สิ่งดีมักจะตามมาภายหลัง  เป็นคำที่ผมเคยได้รับการสอน จากครูไทย และอาจารย์ต่างชาติ เมื่อสมัยผมเป็นนักศึกษาที่ บัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโครงการของอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์   คำว่า ลำบากเมื่อหนุ่ม ดีกว่ากลุ้มเมื่อแก่ สอดคล้องกับ ทฤษฎี no pain, nogain เจ็บปวดก่อนและไปสู่ความสำเร็จ 

  ในชีวิตผมตอนเป็นเด็กคุณแม่ผมฉลาดในเลี้ยงดูผมแบบชาวบ้าน คือเอาผมไปฝากไว้กับพระ ให้อยู่วัด  ถ้าปิดเทอมนาน ๆ ท่านก็ออกอุบายให้ผมบวชเณร ซึมซับในพุทธศาสนาให้เดินตามพระทุกเช้า กินข้าววัด นอนวัด ช่วยพระทำกิจประจำวัน รู้สึกลำบาก แต่อานิสงค์ที่ได้ ผมได้เรียนรู้ ชีวิตความลำบาก ได้เห็นซากศพ ก่อนเผา เห็นคนมุงดูซากศพที่มีญาติเพื่อนฝูงกล่าวอาลัยเสียดาย เพราะผู้ตายเป็นคนดี  บางศพ มีคนมุ่งดูแล้วซ้ำเติมว่าสมควรตายแล้ว ไปเสียได้ก็ดี  อยู่ไปก็ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร หนักแผ่นดินเกิด  ทำให้ผมได้คิดว่า  ชีวิตมนุษย์ แท้ที่จริงคือคุณงามความดี  ชีวิตคือละคร เราเป็นผู้กำกับบทตัวเราเองว่า ตอนจบ จะให้ผู้ชมที่มายืนดูศพเรา กล่าวถึงว่าเป็นคนดีน่าเสียดาย หรือเป็นคนร้ายสมควรตาย ตกนรกอเวจี ฟ้าลิขิตให้เราเกิด  แต่ชีวิตจากเกิดถึงตาย เราเป็นผู้กำหนด    

 ท่านผู้อ่านที่สนใจติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ท่านสามารถติดตามได้จากรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  เชิญท่านผู้อ่าน อ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง  ไม่มี pain ไม่มี gain ของ ศ.ดร.จีระ ได้จาก Blog ถัดไปนี้    

  

ขอโชคดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

  

สวัสดีครับ

 

ยม

 

น.ศ.ปริญญาเอก

 

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์

 

 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กทม.2)
ยม "บทเรียนจากความเป็นจริง เรือง no pain, no gain โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์" เ

ไม่มี pain ไม่มี gain[1]

 

วันที่ผมเขียนนี้เป็นวันพฤหัสบดีที่ 20 ที่ประชาชนชาวไทยทุกคน ต่างส่งจิตใจถวายพระพรด้วย ความเป็นห่วงใยขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายจากอาการพระประชวรอย่างรวดเร็ว เป็น มิ่งขวัญของคนไทยต่อไป


ระยะนี้เป็นช่วงอันตรายสำหรับสังคมไทย เพราะการเมืองยังไม่นิ่ง คนไทยส่วนมากที่คิดไม่เป็น อาจจะไม่เข้าใจถึงความรุนแรงของการเมืองไทย ฉะนั้นคนไทยต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง คิดเป็น วิเคราะห์ เป็น จึงจะสกัดกั้นคนไม่ดีออกไป ในประวัติศาสตร์ คนไม่ดี ไม่มีคุณธรรม ได้สร้างปัญหาไว้อย่างมาก ดังที่ผมเขียนไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว


ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของ ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต เพราะอายุท่านแค่ 76 ปี เสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็ง ผมเป็นรุ่นน้องได้รับความกรุณาจากท่านเสมอ เพราะผู้ใหญ่ที่ดี จะต้องสนับสนุนให้รุ่นเด็ก ได้โตแทน ผมเริ่มเป็นผู้ใหญ่ ก็จะต้องทำบทบาทนี้มากขึ้น เช่น สนับสนุนให้อาจารย์ยม นาคสุขมีความ เก่งและดีเพิ่มขึ้น จำได้ว่า ผมเขียนบทความมาเกือบ 20 ปีแล้วใน Chula review ฉบับแรก เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ยุคแรกของไทย ดูได้จากกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ยังเป็นรองชาติอื่น ๆ มาก ท่านยังได้พูดถึงเสมอว่าเป็นประโยชน์ และท่านได้มาช่วยแสดงปาฐกถาให้สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสมอ


จำได้มาตลอดว่า ครั้งหนึ่ง ท่านพูดว่า " จีระ รู้ไหม " มาเฟียก็เก่ง แต่เป้าหมายของเขาไม่ดี ขาด คุณธรรม จริยธรรม เห็นแก่ตัว ทำเพื่อพรรคพวก ผมจึงยึดถือว่า คนเก่ง กับคนดี มีคุณธรรมควรจะต้องคู่ กัน ดูได้จาก 8 K's และ คนเก่งอย่างเดียวจะต้องแพ้คนดี ทุนทางจริยธรรมในระยะยาว ในสัปดาห์นี้มีคำสัมภาษณ์ของคนสำคัญต่อสาธารณชน ที่น่าสนใจคือ อดีตนายกรัฐมนตรี คุณ อานันท์ ปันยารชุน ได้แสดงความเห็นเรื่องการเมือง ผมได้คุยกับท่านหลายครั้ง ทราบว่าท่านระวังในการ แสดงความเห็นเรื่องการเมืองมาก แต่ครั้งนี้ ท่านพูดว่า นายกฯ ทักษิณอยู่รอดไปวัน ๆ เพื่อตัวเอง ไม่ได้ อยู่เพื่อประเทศหรือส่วนรวม ซึ่งคำพูดแบบนี้ น่าสนใจ ท่านผู้อ่านลองไปพิจารณาดูว่าถูกหรือไม่ ผมไม่ ขอแสดงความเห็น แต่ต้องการให้คนไทยคิดเป็น วิเคราะห์ต่อไป


 พูดถึงวิกฤติการณ์ครั้งนี้ หากทุกกลุ่มที่เป็นกลางจับเข่าคุยกัน หาเหตุผล และแสดงจุดยืนบ้างก็ จะดี จะได้แง่มุมจากประชาชนที่มีความรู้ ได้ share ideas ถ้าประเทศไทยมีแต่ตัวละครเดิม ๆ พูด ค่อนข้างจะเลือกข้างมากเกินไป คือมีสองฝ่าย ฝ่ายชอบรัฐบาล กับฝ่ายเกลียดรัฐบาล ซึ่งแนวคิดจะแคบ เกินไป ทำให้สังคมไทยไม่เรียนรู้พอเพียง


ในสัปดาห์นี้ ผมเริ่มงานที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งประชุมทุกวันจันทร์ ได้ความรู้ และได้รู้จักกรรมการตุลาการที่คัดเลือกอีก 12 ท่าน รวมทั้งประธาน คือ ประธานศาลฎีกา ผมคิดว่าจุด แข็งของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ อยากให้ตุลาการเป็นส่วนหนึ่งของประชาชน จึงมีการเลือกจากวุฒิสมาชิก ช่วยให้มุมมองที่สะท้อนประชาชนมากขึ้น บรรดาคณะกรรมการตุลาการที่เลือกมาจากคนดีและเก่ง ทั้งนั้น ผมโชคดีได้ทำงานท้าทาย และได้เรียนรู้ไปด้วย


เมื่อวันพุธที่ 19 ผมบินไปเชียงใหม่ ได้ร่วมงานกับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ผ่านคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยที่ผมเป็นกรรมการ จัดให้คณาจารย์ 150 คน ทั้ง มหาวิทยาลัย รับฟังเรื่องสร้างสังคมการเรียนรู้ ซึ่งเน้นทฤษฎี 4 L's มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อนำไปปฏิบัติ เริ่มให้อาจารย์รับฟังลูกศิษย์แบบแลกเปลี่ยนความรู้ 2 ทางมากขึ้น ผมจะจัดให้ คณาจารย์ทุกเดือน ซึ่งครั้งหน้าจะเน้นคุณธรรม จริยธรรม ผมทำจริง หากใครเห็นว่าผมมีประโยชน์ก็บอก มาได้


ส่วนในวันพฤหัสบดีที่ 20 ผมในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ไปพบคณาจารย์และนักเรียนของเทพศิรินทร์พุแค ที่พุแค จ.สระบุรี เทพศิรินทร์ในปัจจุบันไม่ได้มี เฉพาะเทพศิรินทร์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ยศเส ในกรุงเทพฯเท่านั้น มีเครือข่ายอีก 6 โรงเรียน คือ เทพศิรินทร์ ร่มเกล้า เทพศิรินทร์นนทบุรี เทพศิรินทร์ปทุมธานี เทพศิรินทร์พุแค เทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี และเทพศิรินทร์ขอนแก่น ซึ่งผมได้มีนโยบายที่จะไปเยี่ยม รับฟังทุกโรงเรียน เพื่อสร้างความสัมพันธ์และ หาทางช่วยเหลือเรื่องการเรียน ดนตรีและกีฬา และความคิดสร้างสรรค์


ผมอยากบอกกระทรวงศึกษาธิการว่า การมีเทพศิรินทร์สาขาเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องสนับสนุน การเงิน และคณาจารย์ให้พอเพียงสำหรับโรงเรียนแม่ เพื่อให้สาขาดีขึ้น เช่น โรงเรียนเทพศิรินทร์พุแค ใน ระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี ก็โดดเด่นมากในต่างจังหวัด เด็กต่างจังหวัดแย่งกันเข้าเรียน แต่ฐานของเขาอ่อนแอ มาก แต่เทพศิรินทร์ร่วม จะต้องเข้มแข็งกว่าเดิม ไม่ใช่อ่อนแอลง


จะขอจบบทความถึงเรื่องกีฬา ซึ่งตั้งหัวเรื่องว่า no pain , no gain มีตัวอย่างที่น่าสนใจคือ Phil Mickelson เล่น Grand slam อยู่ 40 กว่าครั้ง ไม่เคยชนะเลย แต่ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ชนะในระดับ Grand slam 3 ครั้ง แฟนกีฬากอล์ฟ จะรู้ว่า สังคมคาดหวัง Phil Mickelson ไว้สูงมาก ว่าจะสู้กับ Tiger woods ได้และเก่งตลอดไป และอาจจะเล่นเหนือกว่า woods ด้วย


ในการแข่งขัน US open เมื่อเดือนมิถุนายน Phil Mickelson นำอยู่ 1 แต้ม เหลือหลุมสุดท้าย แค่ตี par ก็จะชนะ แต่ผลคือตี double bogey คือถ้า ตีแค่ 4 ก็ชนะ แต่เกิดปัญหาตีผิดพลาด อย่างไม่น่า เชื่อ ตีถึง 6 ครั้ง ซึ่งตีไป 6 คนเล่นไม่เก่งอย่างผม ได้ 6 ก็แย่แล้ว


ในฐานะที่ผมชอบเรียนรู้ เห็นใจว่าเขาถูกคนมองว่า ผิดพลาดอย่างรุนแรง และอาจจะถึงกับ " กู่ไม่กลับ "


ดังนั้นการแข่งขันกอล์ฟ British open ในอาทิตย์นี้ จึงน่าสนใจว่า Phil Mickelson จะใช้ บทเรียนความเจ็บปวดราคาแพง เอาชนะตัวเองได้หรือไม่ หรือมี pain แล้วไม่สามารถเอาชนะได้ เพราะ ผมชอบทฤษฎีเจ็บปวดก่อนและไปสู่ความสำเร็จ ฉะนั้นจะต้องดูว่า Phil Mickelson มี pain และไปสู่ gain ได้หรือไม่ น่าติดตาม ในวันอาทิตย์นี้


บทเรียนเรื่องนี้สอนว่า ทุกคนเจออุปสรรค แต่ใช้อุปสรรคเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จ การมีความ เจ็บปวด ไม่ใช่ของเลว แต่ต้องนำไปสู่ความสำเร็จให้ได้ ผมชอบเอาชนะความเจ็บปวด เพื่อให้เรา แข็งแกร่งขึ้น จึงเรียกว่า มี pain แล้วมี gain

 

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


โทรสาร
0-2273-0181
จารุวรรณ ภาคสุวรรณ

ดิฉันรู้สึกดีใจมากที่ได้เข้าร่วมรับการอบรมในโครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ รุ่นที่ 2 กับดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และรู้สึกประทับใจกับทีมวิทยากรของอาจารย์ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหลายสาขา ซึ่งล้วนเป็น Guru ของประเทศไทย ดิฉันมั่นใจว่าพวกเราที่เข้ารับการอบรมครั้งนี้ ได้ปรับกระบวนทัศน์ มีมุมมองปัญหาต่างๆได้ถ่องแท้มากยิ่งขึ้น  ดิฉันขอขอบพระคุณ Chira academy มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

 

จารุวรรณ  ภาคสุวรรณ

ยม "บทเรียนจากความจริง วาระแห่งาติ:การตรงต่อเวลา โดย ศ.ดร.จีระ"

วาระแห่งชาติ : การตรงต่อเวลา[1]

 

 

สัปดาห์นี้หากไม่พูดเรื่องการเมืองคงเชยเต็มที่ จะพูดอย่างไรที่สังคมจะได้ประโยชน์จากการสร้างความสมานฉันท์ เพราะในยุคนี้ สังคมแตกแยกมาก หลายคนอาจสะใจที่คณะกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 3 คนคือ พลตำรวจเอกวาสนา เพิ่มลาภ คุณวีระชัย แนวบุญเนียร คุณปริญญา นาคฉัตรีย์ ต้องถูกจำคุก แต่ก็สร้างความเจ็บปวดให้แก่อีกฝ่ายที่เชียร์กกต.มาก ผมอยากเห็นสังคมมีความสามัคคีกันมากขึ้น ระบบตุลาการศาลยุติธรรมยังทำหน้าที่ได้เที่ยงธรรม ผมภูมิใจมากที่ได้เข้าประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกวันจันทร์ เป็นโอกาสที่ได้เห็นว่า ระบบศาลยุติธรรมยังรักษาความดี ความถูกต้องไว้ได้

 


ท่านลองคิดดูว่า ถ้าการเมืองเข้ามายุ่งกับระบบศาลยุติธรรม ประเทศจะเป็นอย่างไร จึงขอเตือนสติสังคมไว้ว่า อย่านึกว่าการเมืองจะเข้ามาไม่ได้ ถ้าระบบศาลยุติธรรมอ่อนแอ การเมืองที่มีเงินมาก มีอำนาจมากและขาดคุณธรรม เข้ามาได้เสมอ และเป็นธรรมดาของทุกแห่งในโลก ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกันเมื่อไร จะเกิดปัญหาทันที

 


ผมยังนึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างสุดซึ้ง


-
พระองค์ท่านทรงเน้นการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 24 สิงหาคม 2549 ซึ่งทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ชุดนี้ ไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มกัน
-
ตอนท้ายพระราชกฤษฎีกา ทรงเน้นให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ ยุติธรรม


หากไม่มีพระองค์ท่าน การแก้ปัญหาของชาติ จะทำได้ยาก เพราะถ้าสองฝ่ายสู้กันต่อไป จะไม่มีทางสำเร็จ ประชาสังคมก็อ่อนแอ คนไทยส่วนมากใช้ชีวิตผ่านไปวันๆ ไม่คิดเป็นระบบ คิดไม่เป็น และส่วนมากไม่สนใจการเมือง ทำนองว่า ไม่ใช่ธุระของฉัน

 


คนไทยเก่งเฉพาะทาง เช่น จากการที่ผมสอนปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พยายามให้นักเรียนที่เรียน Food science มองให้กว้าง ข้ามศาสตร์ มองประเทศของตัวเองอย่างหวงแหน และมองปัญหาของประเทศให้ทะลุ

 
ไม่เช่นนั้น นักการเมืองที่ไม่ดีก็ชนะตลอด เพราะเขาสามารถคุมสื่อ คุมระบบราชการ ผมไม่ได้พูดเฉพาะนักการเมืองซีกรัฐบาล แต่นักการเมืองทุกระดับทั้งชาติและท้องถิ่น
การเมืองต้องสะท้อนความจริง กว่าจะเข้ามาเป็นรัฐบาลได้ ต้องใช้เงินทอง ใช้อำนาจ จะทำอย่างไรให้การเมืองไม่ต้องใช้เงินมากนัก และให้ราชการ ทหาร ตำรวจ ปลอดการเมือง เป็นโจทย์ที่ทุกคนต้องคิดต่อไป
การสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ คงจะดีกว่าเก่าแน่นอน เพราะศาลฎีกาเป็นผู้นำ ฉะนั้น
-
คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ 5 คน มาจากความยุติธรรม น่าจะโปร่งใสมากขึ้น
-
ตั้งแต่ระดับเลขาธิการ รองเลขาธิการ หรือผู้อำนวยการต่างๆ รวมทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด จะดูแลให้ทำงานโปร่งใสได้อย่างไร จะมีการแต่งตั้งคนใหม่เข้ามาหรือไม่ เพราะ 5 ปีที่ผ่านมา ข้าราชการประจำที่ กกต. ก็ทำงานไม่น่าไว้วางใจนัก


- บรรดาตำรวจ ทหาร และข้าราชการที่เคยรับใช้นักการเมืองแบบไม่เป็นกลางจะทำอย่างไร จะมีวิธีดูแลให้เกิดความยุติธรรมได้อย่างไร


- นายกฯทักษิณสัญญาเรื่ององค์กรกลาง (Pollwatch) โดยพูดไปเรื่อยๆ หรือจริงใจ เพราะขณะที่พูด กกต.ชุดเดิมยังอยู่ ก็ต้องดูต่อไปว่า ท่านจะทำอย่างไร เมื่อมี กกต.ชุดใหม่แล้ว ยังจะสนับสนุนองค์กรกลางจริงหรือไม่

 


วันนี้พูดเรื่องการเมืองค่อนข้างมาก ผมเป็นคนไทยที่รักชาติ ก็ต้องใช้จังหวะให้เหมาะสม การเมืองต้องมองไปข้างหน้า และให้ยั่งยืน

 


ผมขอฝากอีกประเด็นคือ ไม่ว่าจะมีองค์กรกลาง หรือ กกต.ชุดใหม่ ประชาธิปไตยจะต้องพัฒนาตลอดเวลา ความจริงการพัฒนาจิตวิญญาณประชาธิปไตย คือการพัฒนาสังคมการเรียนรู้ พัฒนาจิตใจ และพัฒนาวิธีการคิด ผมคิดว่าทฤษฎี 4L's ของผมน่าจะใช้ได้กับการพัฒนาประชาธิปไตย

 


สมัยคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดแรก มีอาจารย์โคทม อารียา เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม และนำการเรียนรู้ไปสร้างจิตสำนึก ระยะหลัง ไม่มีบทบาทหน้าที่นี้เลย กกต.ชุดนี้ เป็นการมองการเมืองแบบเอาชนะกัน แบ่งข้าง

 
คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่จะต้องหลากหลาย ไม่ใช่มีเฉพาะศาลฎีกาเป็นตัวยืนเท่านั้น ต้องมีคนที่สนใจการสร้างสังคมการเรียนรู้ สร้างจิตสำนึก และให้เกียรติชาวบ้าน (Respect) รับฟังความคิดเห็นอย่างจริงใจว่า ประชาธิปไตยจะต้องรักษาอย่างไร ถ้าได้คนที่สร้างสังคมการเรียนรู้อย่างแท้จริงเข้าไปบ้าง ก็คงจะดี  สัปดาห์นี้ ผมได้จบการอบรมหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำ 60 ชั่วโมง ให้สภาวิจัยไปแล้ว มีความสุขมากที่เห็นข้าราชการระดับ C8 เอาจริง


สุดท้าย ขณะผมนั่งเครื่องบินกลับจากขอนแก่น เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม ได้พบว่าที่สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ และอดีตประธานรัฐสภา คุณอุทัย พิมพ์ใจชน ซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่เทพศิรินทร์ ท่านเมตตาต่อผมมาก ได้บอกผมว่า "จีระ พี่อุทัยอยากให้เน้นเรื่อง การตรงต่อเวลาของคนไทย ผมจึงขอรับหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้คนไทย มองเรื่องเวลาให้มากขึ้น ผมคิดว่าการตรงต่อเวลา คงไม่ใช่คำสั่ง เหมือนสั่งให้อ่านหนังสือ ไปบอกไม่ได้ว่า คุณต้องตรงต่อเวลา ผมคงจะเน้นวัฒนธรรมการรักษาเวลา เพราะเป็นแนวคิดที่ดี


ผมเห็นด้วย อย่างผมเอง เมื่อตอนหนุ่ม ก็ไม่ตรงต่อเวลานัก แต่พออายุมากขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ จึงขอฝากให้พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ สื่อมวลชน เน้นเรื่องนี้ให้มาก และจะมีการจัดรายการโทรทัศน์กับพี่อุทัยในเรื่องนี้ด้วยครับ

 


ผมตั้งใจจะจุดประกายให้เป็นวาระแห่งชาติ

  

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


                    โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง วาระแห่งาติ:การตรงต่อเวลา โดย ศ.ดร.จีระ"(ต่อ)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /ชาวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและท่านผู้อ่านทุกท่าน   
หวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่านคงสบายดี  และได้มีโอกาสร่วม ตั้งจิตอธิษฐานให้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแร็ง และทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน

เช้าวันนี้ ผมหาความรู้จาก internet เช่นเคย และศึกษาบทความจาก น.ส.พ.แนวหน้า จาก http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 ศึกษาบทความ ของ ศ.ดร.จีระ บทเรียนจากความจริง วาระแห่งชาติ : การตรงต่อเวลา

และคัดมาบางประโยคจากบทความที่ ศ.ดร.จีระ เขียนไว้ (สีนำเงิน) ส่วนที่ผมมีความเห็นเพิ่มเติม ผมเขียนไว้ทำเป็นสีดำ เพื่อแชร์ความคิด ที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน นักศึกษาที่สนใจ  รายละเอียดมีดังนี้  
  

วาระแห่งชาติ : การตรงต่อเวลา

 

 ผมภูมิใจมากที่ได้เข้าประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกวันจันทร์ เป็นโอกาสที่ได้เห็นว่า ระบบศาลยุติธรรมยังรักษาความดี ความถูกต้องไว้ได้

ประโยคนี้ เห็นได้ว่า ศ.ดร.จีระ ปฏิบัติภารกิจ ที่เป็นประโยชน์กับสังคม ประเทศชาติหลากหลาย  การที่จะเข้าไปเป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในตุลาการศาลยุติธรรม ไม่ใช่งานที่ใครก็ได้ ที่จะเข้าไป   ขึ้นชื่อว่า ตุลาการศาลยุติธรรม คนที่จะเข้าไปได้ผมมั่นใจว่า ต้องเป็นคนเก่งมีความรู้ความสามารถ เป็นคนดีมีฝีมือ และเป็นคนที่เป็นกลาง รักความยุติธรรมเหมือน ขงเบ้ง ซึ่งแน่นอน ผมและลูกศิษย์ เชื่อมั่นว่า ศ.ดร.จีระ มีครบถ้วน และพวกเราก็ภูมิใจในตัว ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างมาก

 

  การเมืองที่มีเงินมาก มีอำนาจมากและขาดคุณธรรม เข้ามาได้เสมอ และเป็นธรรมดาของทุกแห่งในโลก ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกันเมื่อไร จะเกิดปัญหาทันที

เรื่องการเมืองในบ้านเรา ยังเป็นการเมืองที่ต้องพัฒนาอีกมาก  ต้องเป็นการเมืองเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน อย่างบริสุทธิ์ อย่างยั่งยืน  ใช้คุณความดี มากกว่าเงิน ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนาน   การเมือง เหมือนคน  ถ้ามีอำนาจมาก และขาดคุณธรรม ย่อมสร้างความเสียหาย มากกว่าความเจริญของบ้านเมือง  การเมืองที่มีการใช้อำนาจมาก มีเงินมากและขาดคุณธรรม ร้ายแรงยิ่งกว่าไข้หวัดนก แต่มีลักษณะคล้ายกันตรงที่ สามารถแพร่ระบาดเข้าไปในระบบบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างรวดเร็วและมีอิทธิพลสูง  ก็ต้องฉีดวัคซีนด้วยการรีบวางรากฐานการศึกษาให้ประชาชนมีการศึกษาที่ดีมากขึ้น โดยเร็ว  ถึงแม้การฉีดวัคซีนดังกล่าวอาจจะเห็นผลช้า แต่ดีกว่าที่จะปล่อยให้บ้านเมืองเป็นเช่นนี้ตลอดไป การกำหนดคุณสมบัตินักการเมืองควรทบทวน เรื่องทุนทางจริยธรรม ทุนมนุษย์ ทุนปัญญา และที่สำคัญ คือ ทุนความยั่งยืน ให้มาก คนที่มีทุนความยั่งยืนมากพอแล้ว จะไม่โกงกิน ไม่บ้าอำนาจ

 

  พระองค์ท่านทรงเน้นการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 24 สิงหาคม 2549 ซึ่งทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ชุดนี้ ไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มกัน

เรื่องนี้ เป็นสิ่งที่น่าปิติยินดีและน่าศึกษาเจริญรอยตามฝ่าพระบาท เป็นอย่างมาก พระองค์ท่านทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำ การตัดสินใจในฐานะผู้นำนี้แฝงไปด้วยทุนทางความรู้/ทักษะ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน  รอบคอบเป็นอย่างยิ่ง  ไม่ตกเป็นเครื่องมือของใคร ผู้นำในบ้านเมือง  นักเรียน นักศึกษา ควรเรียนรู้เจริญรอยตามพระองค์ท่านในเรื่องนี้ 

 

   หากไม่มีพระองค์ท่าน การแก้ปัญหาของชาติประโยคนี้ ผมเชื่อว่า คนไทยทั้งชาติคิดเหมือนกับ ศ.ดร.จีระ  ในหลวงของเรา มีพระบารมีล้นพ้น เป็นที่รักและศรัทธาของปวงชนชาวไทย ท่านนายกรัฐมนตรี ควรเรียนแบบพระองค์ท่านในเรื่องการบริหารทุนทางความรัก ความศรัทธา รู้จักบริหารจัดการอำนาจ คือรู้จักสร้าง รู้จักใช้ และรู้จักรักษาอำนาจ โดยยึดทศพิศราชธรรมเป็นที่มั่น ซึ่งโดยตำแหน่งแล้ว ท่านนายกฯทำได้ง่ายกว่าคนทั่วไป  คนใกล้ชิดท่านนายกฯ น่าจะแนะนำท่านเรื่องนี้ ด้วย ที่กล่าวมานี้ ด้วยความเป็นห่วงท่านนายกฯ 
  
ผมสอนปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พยายามให้นักเรียนที่เรียน Food science มองให้กว้าง ข้ามศาสตร์ มองประเทศของตัวเองอย่างหวงแหน และมองปัญหาของประเทศให้ทะลุการสอนของ ศ.ดร.จีระ เป็นเช่นนั้นจริง ไม่ใช่แค่สอน ป.โท แม้แต่ ป.เอก และการสอนให้กับองค์กรทั่ว ๆ ไป ศ.ดร.จีระ ก็สร้างบรรยากาศแบบนี้ คือเน้นให้มองปัญหาบ้านเมือง ปัญหาองค์กร จากภาพกว้าง มาสู่ภาพลึก  จะทำให้เข้าใจเห็นสภาพปัญหาที่แท้จริงในบ้างเมือง ในองค์กร โดยใช้องค์ความรู้ข้ามศาสตร์ เช่น การสอนเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ศ.ดร.จีระ จะให้ความรู้หลากหลาย มาบูรณาการให้การสอนเข้มข้น มีสาระ  ที่สำคัญคือลูกศิษย์ ต้องตามท่านให้ทัน ต้องเรียนแบบคนมีบุญเรียนคือ สนใจ+ใส่ใจ+เอาใจใส่ และต้องหมั่นทบทวนสิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ได้สอนไป  ที่สำคัญ คือ ศ.ดร.จีระ พยายามจะเปลี่ยนิสัยนักเรียน นักศึกษาไทย ให้ตรงต่อเวลา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นคนรักการอ่าน คิดวิเคราะห์และใช้ IT ให้มากขึ้น ซึ่งเป็นประโยขน์ต่อการเรียนรู้ชีวิตในโลกปัจจุบันและอนาคต
การเมืองต้องสะท้อนความจริง กว่าจะเข้ามาเป็นรัฐบาลได้ ต้องใช้เงินทอง ใช้อำนาจ จะทำอย่างไรให้การเมืองไม่ต้องใช้เงินมากนัก และให้ราชการ ทหาร ตำรวจ ปลอดการเมือง เป็นโจทย์ที่ทุกคนต้องคิดต่อไปการเมือง ทุกประเทศต้องใช้เงิน แต่บ้านเราใช้เงินมาก ๆ ในเรื่องการเมือง ตั้งแต่กระบวนการแรกของการที่จะเข้ามาเป็นนักการเมือง ก็ต้องใช้เงิน  พอเข้ามาเป็นนักการเมือง ก็ต้องใช้เงินดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ใช้เงินเพื่อรักษาตำแหน่งหน้าที่ ใช้เงินเพื่อให้หลาย ๆ อย่างออกมาดี ใช้เงินเพื่อให้มีโอกาสได้กลับมาเป็นนักการเมืองอีกต่อไป พอมีการเลือกตั้งการเงินในประเทศสะพัดมาก การเมืองบ้านเรายังคงเป็นเช่นนี้อีกต่อไป ตราบใดที่ประชาชนคนส่วนใหญ่ ยังมีการศึกษาน้อย ยากจน และไม่มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม เพียงพอ  นักการเมืองที่ทำงานเพื่อชาติจึงควรจริงจังกับการเสริมสร้างประชาธิปไตย ด้วยการเร่งพัฒนาการศึกษาทุกระดับในประเทศให้ดียิ่งขึ้น  
ผมเป็นคนไทยที่รักชาติ ก็ต้องใช้จังหวะให้เหมาะสม การเมืองต้องมองไปข้างหน้า และให้ยั่งยืน เรื่องความรักชาติ ของ ศ.ดร.จีระ มีมากมาย ผมสังเกตจากการที่ได้มีโอกาสเรียนกับท่านในห้องเรียน ป.เอก และการได้มีโอกาสได้ฟัง ท่านสอน นักศึกษา ป.โท ที่ลาดกระบัง  ท่านพูดและสอนให้ คนรักชาติมากยิ่งขึ้นอยู่เสมอ  ทำหน้าที่เป็นครูและยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนแผ่นดิน ประชาสัมพันธ์ให้คนรักชาติ โดยไม่ได้หวังผลตอบแทนที่เป็นเม็ดเงินใด ๆ นี่เรียกว่า ทำไปด้วย อุดมการณ์รักชาติ น่ายกย่องสรรเสริญท่าน  เป็นอย่างมาก  
ประชาธิปไตยจะต้องพัฒนาตลอดเวลา ความจริงการพัฒนาจิตวิญญาณประชาธิปไตย คือการพัฒนาสังคมการเรียนรู้ พัฒนาจิตใจ และพัฒนาวิธีการคิด ผมคิดว่าทฤษฎี 4L's ของผมน่าจะใช้ได้กับการพัฒนาประชาธิปไตย ให้เกียรติชาวบ้าน (Respect) รับฟังความคิดเห็นอย่างจริงใจว่า ประชาธิปไตยจะต้องรักษาอย่างไร ถ้าได้คนที่สร้างสังคมการเรียนรู้อย่างแท้จริงเข้าไปบ้าง ก็คงจะดีประชาธิปไตย เหมือนต้นไม้ใหญ่ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ในการบริหารประเทศชาติ ประชาธิปไตย ในอังกฤษ ในอเมริกา เติบโตมานาน เป็นต้นไม้ใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขา มีเมล็ดพันธ์ปลิวไปทั่วโลก  ประชาธิปไตยในประเทศไทย เป็นผลพวงจากความเจริญเติบโตทางด้านประชาธิปไตยของอังกฤษ อเมริกา  ประชาธิปไตยในบ้านเราเป็นต้นไม้ที่กำลังเติบโต  แต่ที่น่าห่วงก็คือ ที่รากเหง้าของต้นไม้แห่งประชาธิปไตย คือความรู้ การศึกษา ฐานะของประชาชนส่วนใหญ่นั้น ยังไม่แข็งแรงพอ ที่จะให้ต้นไม้แห่งประชาธิปไตยในประเทศไทย เติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแรงได้  การหันมาพัฒนาและให้เกียรติชาวบ้านอย่างที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยในบ้านเรา ให้แข็งแรง โตวัย ครับ  
"จีระ พี่อุทัยอยากให้เน้นเรื่อง การตรงต่อเวลาของคนไทย ผมจึงขอรับหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้คนไทย มองเรื่องเวลาให้มากขึ้น ผมคิดว่าการตรงต่อเวลา คงไม่ใช่คำสั่ง เหมือนสั่งให้อ่านหนังสือ ไปบอกไม่ได้ว่า คุณต้องตรงต่อเวลา ผมคงจะเน้นวัฒนธรรมการรักษาเวลา เพราะเป็นแนวคิดที่ดี  ผมเอง เมื่อตอนหนุ่ม ก็ไม่ตรงต่อเวลานัก แต่พออายุมากขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ จึงขอฝากให้พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ สื่อมวลชน เน้นเรื่องนี้ให้มาก และจะมีการจัดรายการโทรทัศน์กับพี่อุทัยในเรื่องนี้ด้วยครับ ผมเพิ่งทราบว่า ศ.ดร.จีระ เป็นรุ่นน้อง ท่านอุทัย พิมพ์ใจชน ที่เทพศิรินทร์  ผมไม่มีโอกาสรู้จักกับคุณอุทัย เป็นการส่วนตัว แต่รู้จักท่านจากการทำงาน จากสื่อต่าง ๆ ดูท่านเป็นคนมีอุดมการณ์ รักชาติ มุ่งมั่นพัฒนาการเมือง ศ.ดร.จีระ มีทุนทางสังคม มาก และแน่น  น่าศึกษาเอาอย่าง  การพัฒนาชาติ จำเป็นต้องมีทุนทางสังคมนี้ สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษา  ส่วน เรื่องการตรงต่อเวลาของคนไทย นี้ก็สำคัญ คนไทยเรา ทำอะไรตามใจคือไทยแท้ น่าจะแก้ไขเป็นทำอะไรตรงเวลาคือคนไทย คงต้องเริ่มแก้กันตั้งแต่ผุ้เป็นพ่อ แม่ ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องนี้ ครูต้องเน้น ต้องสอน ต้องส่งเสริม  เมื่อเด็กนักเรียน ออกมาสู่สังคม สังคมก็ต้องเอื้อให้เด็กได้เห็นได้ทำอะไรที่ตรงเวลา เช่น รถเมลล์ รถไฟ ก็ต้องตรงเวลา ตามกันไป การปลูกฝังเรื่องการตรงต่อเวลาในคนไทย พวกเราคงต้องช่วยกันทุกฝ่าย   เพราะเป็นงานใหญ่ที่ต้องยกเครื่องทุนทางความรู้ ทุนทางจริยธรรม ทุนทางปัญญาให้แก่คนไทยทุกระดับกันใหม่ การเปลี่ยนนิสัยคน ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ผมได้ตรงนี้จาก ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างมาก ท่านจะมาสอนตรงเวลา ใครเป็นลูกศิษย์อาจารย์จีระ แล้วมาสาย จะร้อน ๆ หนาว ๆ เป็นแน่ เรื่องนี้ น.ศ. ป.โท และ ป.เอก ที่ท่านสอน ทราบเป็นอย่างดี 
  

ท่านผู้อ่านที่สนใจติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ท่านสามารถติดตามได้จากรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์ บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ   

 

ขอโชคดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

    
สวัสดีครับ  
ยม   
น.ศ.ปริญญาเอก  
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์  

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กทม.2)

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)"
ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)
โดย ศ.ดร.จีระ (คัดมาจาก หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 5 ส.ค. 2549)
การจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทาย การเขียน บทความของผมก็เช่นกัน ระยะแรกก็ไม่นึกว่า จะมีคนอ่าน และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะผมมักจะ พูดเรื่องที่กว้างไปสู่แคบ ที่ไม่ใช่กระแสหลักแบบการเมืองหรือธุรกิจ
เพราะอยากเห็นคนไทยสนใจเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์
ผมได้พบกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น คุณเจตน์ ธนวัฒน์ เมื่อวันพุธที่ 2 สิงหาคม ในการ ประชุมที่สภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านบอกผมว่า ได้อ่านบทความ รู้สึกว่ามีค่าและมีประโยชน์ เพราะ พูดความจริงและตรงประเด็น
ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ นายกเทศมนตรี ที่สนใจเรื่องระยะยาว ชอบสังคมการเรียนรู้ แบบสด ทันสมัย ข้ามศาสตร์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ผมก็มีกำลังใจที่จะทำและเขียนต่อ ผมรู้สึกมีความสุขมาก นับเป็นโชคดี ที่ท่านผู้ว่าฯเจตน์ จะไปรับตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครองคนต่อไป คง จะสร้างการเรียนรู้ในหมู่นักปกครองมากขึ้น
เมื่อดูทฤษฎี 3 วงกลม ที่ผมคิด ผม highly motivated มีแรงกระตุ้น แรงผลัก แรงดึง เพื่อไปสู่ ความเป็นเลิศ 
 หากพูดถึงเรื่อง motivation คนไทยมักจะมองแคบ คือ มองถึงอำนาจ เงินทอง เพชร นาฬิกา รถ แพงๆ คอนโดมิเนียม เป็นต้น เท่านั้น ไม่นึกถึงสิ่งที่วัดไม่ได้ เช่น ความสุข ความมีสมาธิ การแบ่งปัน การ มองส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว หรือสำหรับผม ให้คนอ่าน คิดเป็น วิเคราะห์เป็น
ดังนั้น สิ่งที่เขียนมาทั้งหมด คือ ผมพยายามทำ แลกเปลี่ยน แบ่งปัน หากใครสนใจก็เป็นแนวร่วม ได้ ยิ่งแนวร่วมขยายวง ประเทศก็จะเจริญขึ้นแน่นอน
มีลูกศิษย์ถาม อาจารย์ป๋วยว่า "ทำอะไรมากมาย ซึ่งเน้นทำความดีและเสียสละเพื่อส่วนรวม ทำไป เพื่ออะไร" ท่านตอบว่า "ในประเทศไทย ถ้าคนดีไม่ทำอะไร คนชั่วก็ต้องชนะ เพราะคนชั่วมีมากกว่าคนดี "
ผมมีความเห็นต่อว่า คนดีมักจะเก็บตัวเงียบ อาย ไม่มีแนวร่วม ขาด social capital อยู่อย่างสงบ แต่คนไม่ดีจะบ้าอำนาจ ใช้อำนาจเหนือทุกอย่างที่ตนเองมีพลัง
บทความผมอยู่ใน website ของแนวหน้า www.naewna.com ทุกวันเสาร์ โดย click ไปที่ " บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ "
ผมสังเกตว่า ยิ่งนานวัน บทความของผม ยิ่งมีคน click ไปมากขึ้นทุกสัปดาห์
อีกประการหนึ่ง ผมสอนหนังสือเกือบจะทุกอาทิตย์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งให้ นักเรียนอ่าน
 บทความ โดยให้วิเคราะห์ว่า
- ผมเขียนโดยใช้ style อะไร
- ได้อะไรที่โป๊ะเชะบ้าง
- สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไรและปรับใช้กับตัวเองอย่างไร
เช่นสัปดาห์ที่แล้ว เรื่องตรงต่อเวลา สอนให้ผมดำเนินชีวิตอย่างมีวินัย พยายามไม่ผิดเวลา โดยเฉพาะยิ่งเราเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ต้องขอขอบคุณพี่อุทัย พิมพ์ใจชน มากที่แนะนำสิ่ง ดีๆ
สัปดาห์นี้มีกิจกรรมเรื่อง เทพศิรินทร์ ซึ่งคิดว่ามีประโยชน์ต่อกลุ่มอื่นด้วย จึงขอแบ่งปันให้อ่าน

เรื่องแรกคือ วันที่ 1 สิงหาคม คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชุดใหม่ เข้าไปเยี่ยมคำนับและรายงานผลให้องคมนตรี พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของ เรา การได้ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ที่เมตตาต่อโรงเรียน นักเรียนเก่า และนักเรียนปัจจุบัน รวมทั้งคณาจารย์ด้วย เป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์ พี่กำธนของเรา ได้เน้นว่า เด็กเทพศิรินทร์ต้องเก่งและดี ทั้งกีฬาและวิชาการ ต้อง เป็นคนมีมารยาท มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และเน้นว่าเทพศิรินทร์มี 7 แห่ง ไม่ใช่มีแห่งเดียวเหมือนเดิม แต่เทพศิริ นทร์ 7 แห่งเป็นหนึ่งเดียว คือ สถานที่อาจจะแยกกันอยู่ แต่จิตวิญญาณมีเทพศิรินทร์หนึ่งเดียว
ในวันรุ่งขึ้น ผมและคณะไปเยี่ยมโรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่น ซึ่งนักเรียนเก่าท่านหนึ่ง คือ คุณ อดิศร เพียงเกษ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น ผลักดันให้เทพศิรินทร์มีสาขาที่ภาคอีสาน ด้วย
ผมภูมิใจมาก เพราะผมมาขอนแก่นบ่อย แม้เมื่อยังไม่ได้เป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ผมได้มา 2 ครั้งแล้ว ครั้งนี้ได้พบนักเรียนกว่า 600 คน และคณาจารย์ด้วย ผมได้ให้กำลังใจว่า อะไรที่ผม และสมาคมช่วยได้ จะทำอย่างสุดความสามารถ เพราะการศึกษาของนักเรียนต่างจังหวัดเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นการยกฐานะของโรงเรียนต่างจังหวัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
เด็กเทพศิรินทร์ขอนแก่น มีความภาคภูมิใจมาก ที่มีส่วนเป็นเทพศิรินทร์ ได้ศึกษาประวัติความ เป็นมาของเทพศิรินทร์ ผมได้มอบทุนก้อนหนึ่งให้เด็กที่ชนะการประกวดเรียงความเรื่อง "ขอนแก่นกับโลกา ภิวัตน์" ปรากฏว่า เด็กเทพศิรินทร์ขอนแก่นสามารถเขียนเรียงความได้ดี
ในอนาคต จะพยายามส่งครูเทพศิรินทร์ทั้ง 7 แห่ง ไปฝึกอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ มาก ขึ้น ในโครงการ "Super Teacher" ให้ต่อเนื่อง
ผมภูมิใจในบรรยากาศการเรียนรู้แบบ 4 L's ระหว่างผมกับนักเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่น 600 คน
สุดท้าย ผมขอหยิบยกหนังสือเล่มล่าสุดของ Alvin Toffler เรื่อง "Revolutionary Wealth" มาเล่า สู่กันฟัง เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ดร.อำนวย วีรวรรณ ได้เชิญ Toffler มาพูดที่ประเทศไทย ผมได้ใกล้ชิดและ สัมภาษณ์เขา Toffler เป็นนักทำนายอนาคต Futurist เป็นที่ยอมรับที่สุดของโลกในปัจจุบัน หนังสือเล่มที่ดังมาก ที่สุดคือ "The Third Wave" มอง

เกษตร-----------อุตสาหกรรม-----------เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

แต่มาวันนี้ เขาบอกว่า นอกจาก IT แล้ว จะมีความรู้เป็นคลื่นลูกที่ 4 และความรู้เป็นทรัพย์สินที่ สำคัญที่มองไม่เห็น ( Intangibles ) ทรัพย์สินไม่ใช่เฉพาะ ที่ดิน เงิน หรือวัตถุ แต่ทรัพย์สินในอนาคตเป็นสิ่ง ที่มองไม่เห็น ( Intangibles ) เช่น

- Happiness
- Blog
- การสร้างสังคมการเรียนรู้
- การเสียสละให้แก่ส่วนรวม
- การอ่านหนังสือ
- การใช้เวลากับลูก
- การสอนหนังสือ
- การมีสุขภาพทางกายและใจที่สมบูรณ์
- การนั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ
- การทำงานอาสาสมัครให้ส่วนรวม

ซึ่งตรงกับทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ของผมในบางส่วน

เพราะผมได้ wealth จากการที่ใช้ชีวิตโดยแสวงหาความรู้อย่างไม่หยุดยั้ง และมีความสุขที่ได้ แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ แต่ความรู้และความสุขไม่ได้มาฟรีๆ ต้องเปลี่ยนทุนมนุษย์มาเป็นทุนทาง ปัญญา คือต้องคิดเป็น ทำเป็น ทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีก 2 ทุนคือ ทุนทางจริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน ซึ่ง 2 Kนี้วัดไม่ได้ คนไทยจึงไม่เข้าใจ
แต่ผมและ Alvin Toffler เข้าใจครับ  
จีระ หงส์ลดารมภ์

โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3

โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /ชาวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ /และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

 

  เช้าวันนี้วันที่ 5 สิงหาคม  2549 หลายท่านคงดีใจ ปิติยินดีกันทั่วหน้า ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ทรงปลอดภัยและเสด็จกลับไปพักรักษาพระองค์ที่พระราชวังสวนจิตฯ ได้แล้ว  วันนี้ ผมศึกษาบทความจาก น.ส.พ.แนวหน้า จาก http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 ศึกษาบทความ ของ ศ.ดร.จีระ บทเรียนจากความจริง ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)และคัดมาบางประโยคจากบทความที่ ศ.ดร.จีระ เขียนไว้ (สีนำเงิน) ส่วนที่ผมมีความเห็นเพิ่มเติม ผมเขียนไว้ทำเป็นสีดำ เพื่อแชร์ความคิด ที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน นักศึกษาที่สนใจ  รายละเอียดมีดังนี้    
  
  การจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทายเรื่องนี้ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง กับ ศ.ดร.จีระ ที่ว่า คนเราจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทาย  ผมขอเสริมตรงนี้ อยากจะฝากครู อาจารย์ในบ้านเมืองเรา ให้เข้าใจ และเห็นความสำคัญของสิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวในประโยคนี้  เพื่อนำไปใช้กระตุ้นให้เด็กนักเรียน เกิดความชอบ สนุก และอยากเรียนรู้ และท้าทายที่จะทำและคิดสิ่งใหม่ ๆ ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ได้ เช่น การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  ตามโรงเรียน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญในเรื่องการกระตุ้นเด็กนักเรียน ให้เกิดความชอบ ในการเรียนภาษาอังกฤษ สนุกที่จะเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ และอยากเรียนต่อ ไม่ใช่บังคับให้ท่องศัพท์ ท่องจำ เป็นต้น   
การจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทาย ที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้นี้  ยังสอดคล้องกับแนวพุทธศาสตร์ กล่าวคือพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า ธรรมแห่งความสำเร็จ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา  รวมกันเรียกว่า อิทธิบาท 4  เป็นรากฐานแห่งความสำเร็จ เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น 4 คือ 
1.      ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น 
2.      วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น 
3.      จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น 
4.      วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น ตรงนี้ อยากจะจุดประกายให้นักศึกษา ลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ และลูกศิษย์ของผมได้ยึดเป็นหลักแห่งความสำเร็จ ในการเรียน และการดำเนินชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคต  
บทความ รู้สึกว่ามีค่าและมีประโยชน์ เพราะ พูดความจริงและตรงประเด็น

บทความของ ศ.ดร.จีระ ถ้าอ่านแล้วคิดวิเคราะห์ต่อยอดจะเกิดประโยชน์กับตนเองและสังคม  เพราะ ศ.ดร.จีระ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ทันสมัย มีความรู้ใหม่ สด และยังเป็นผู้มีอุดมการณ์ คล้ายกับ ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ คือ มีความเป็นชาตินิยมสูงมาก คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมของ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นที่ตั้ง ด้วยความเป็นคนเช่น การคิด การเขียน การกระทำ การพูดก็ตาม ล้วนมีสาระ จริง ตรงประเด็นและเกิดประโยชน์ (อย่าไปคิดแค่พูดเพราะ หรือไม่เพราะ) ลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ ที่ฟังแล้วคิดวิเคราะห์ ต่อยอดเป็นคือ ฟังและเรียนรู้อย่างผู้มีบุญ คือ ฟังอย่างสนใจ ใส่ใจและเอาใจใส่ ก็จะเกิดปัญญา ลูกศิษย์บางคนเริ่มแรกอาจจะตามอาจารย์ไม่ทัน อาจจะเกิดอาการมึนบ้าง แต่ถ้าตามติด อ่านต่อ จะเริ่มเห็นสัจจะธรรม คุณประโยชน์ ในบทความนั้น   
“motivation คนไทยมักจะมองแคบ คือ มองถึงอำนาจ เงินทอง เพชร นาฬิกา รถ แพงๆ คอนโดมิเนียม เป็นต้น เท่านั้น ไม่นึกถึงสิ่งที่วัดไม่ได้ เช่น ความสุข ความมีสมาธิ การแบ่งปัน การ มองส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว หรือสำหรับผม ให้คนอ่าน คิดเป็น วิเคราะห์เป็น
เรื่อง Motivation เป็นเสมือนเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถ้าใช้โดยปราศจากความรู้ ความเข้าใจ จะไม่เกิดประโยชน์กลับจะมีโทษตามมา
 การ Motivation ยังเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง ใช้และรักษาอำนาจ กล่าวคือเป็นการสร้างอำนาจได้ด้วยการให้  Motivation เป็นการให้อย่างหนึ่งที่ผู้บริหาร ผู้นำ มักใช้กันทั้งภาครัฐและเอกชน   
ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบ อย่างที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้ ว่า Motivation ไม่ใช่แค่เรื่องการให้ทางวัตถุ เงินทอง ครับ แต่หลายองค์กรนำไปใช้ ด้วยการให้แก้ว แหวน เงินทอง ของใช้ต่าง โดยปราศจากความรู้และเทคนิคของการให้  การให้ดังกล่าว สมาชิกในองค์กรจะรู้สึกว่า การให้ให้แก้ว แหวน เงินทอง ของใช้ต่างดังกล่าว ถ้าเป็นการให้ครั้งแรก ผุ้ได้รับจะรู้สึกชื่นชมผู้ให้  ครั้งที่สองผู้ได้รับ จะรู้สึกขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง พอครั้งที่สาม จะขอบคุณผู้ให้และเริ่มคาดหวังว่าจะได้อีกมากขึ้นในคราวต่อไป พอถึงเวลาที่ควรจะให้ครั้งที่สี่ แล้วไม่ได้หรือได้น้อยกว่าที่เคยได้ ก็จะเกิดปัญหา ความผิดหวังเกิดขึ้น ทำให้เกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรมากมาย เป็นมูลเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสหภาพแรงงานในองค์กรได้ และมีปัญหาตามมาอีกมากมาย  แนวทางในการแก้ไขและป้องกัน ผมแนะนำว่า การให้แก้ว แหวน เงินทองเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าให้โดยปราศจากเหตุผลของการให้   และควรให้ความรู้ ควบคู่จริยธรรม หลักศาสนา ไปให้มากกว่า ทรัพย์สินที่ให้  พระพุทธเจ้า ได้ให้หลักการให้  Motivation ไว้ว่า การให้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการให้ความรู้ ให้โอกาส ให้อภัย ให้ธรรมตามกาล   
อาจารย์ป๋วยว่า "ทำอะไรมากมาย ซึ่งเน้นทำความดีและเสียสละเพื่อส่วนรวม ทำไป เพื่ออะไร" ท่านตอบว่า "ในประเทศไทย ถ้าคนดีไม่ทำอะไร คนชั่วก็ต้องชนะ เพราะคนชั่วมีมากกว่าคนดี "

คนดีมักจะเก็บตัวเงียบ อาย ไม่มีแนวร่วม ขาด social capital อยู่อย่างสงบ แต่คนไม่ดีจะบ้าอำนาจ ใช้อำนาจเหนือทุกอย่างที่ตนเองมีพลัง

  ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาคงไม่ถามกันใช่ไหมครับอาจารย์ เพราะคนส่วนใหญ่ในประเทศเหล่านั้น ล้วนมีหน้าที่ต้องทำความดี เสียสละเพื่อส่วนรวม เช่นประเทศญี่ปุ่นเป็นต้น  
 ในประเทศของเรา กำลังพัฒนา  ศ.ดร.ติน ปรัชพฤกษ์ ท่านเคยสอนไว้ว่า การพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดการเจ็บปวด คนเป็นผู้นำ คนเป็นนักพัฒนาต้องพร้อมรับและกล้าเผชิญกับความเจ็บปวดเหล่านี้ จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง  ขอให้คนดีทั้งหลายอย่าได้ท้อใจ เพราะท่านกำลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาครับ ถ้าคนดีไม่ทำ แล้วใครจะทำ พอไม่มีใครทำความดี คนชั่วก็จะได้ใจ และเป็นใหญ่ในสังคม จะทำให้เกิดปัญหาความไม่สงบสุข ความไม่เจริญเกิดขึ้นในบ้านเมืองได้ 
ผมเชื่อมั่นว่า คงมีหลายคนถามประโยคนี้กับ ศ.ดร.จีระ ด้วยเช่นกัน เพราะอาจารย์ ทำงานอุทิศตนเหมือนเป็นนายกรัฐมนตรีผู้รักชาติ ทำงานพัฒนาคน พัฒนาชาติ โดยไม่ยึดมั่นในตำแหน่ง ไม่ต้องรอให้มีตำแหน่งแล้วจึงจะทำ  ผมหวังว่าสังคมประเทศชาติของเราจะพัฒนาขึ้นโดยเร็วและให้ผู้นำประเทศหันมาให้ความสำคัญกับบุคคลผู้ทรงคุณค่า บุคคลของแผ่นดิน เช่นนี้ ด้วยการให้การสนับสนุนทุกรูปแบบ 

บทความผมอยู่ใน website ของแนวหน้า www.naewna.com ทุกวันเสาร์ โดย click ไปที่ " บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ "

นอกจากที่อาจารย์กล่าวไว้  บทความดังกล่าวของ ศ.ดร.จีระ ยังมีอยู่ใน http://gotoknow.org/blog/chirakm ด้วย ครับ

  

ผมสอนหนังสือเกือบจะทุกอาทิตย์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งให้ นักเรียนอ่านบทความ โดยให้วิเคราะห์ว่า
-
ผมเขียนโดยใช้ style อะไร
-
ได้อะไรที่โป๊ะเชะบ้าง
-
สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไรและปรับใช้กับตัวเองอย่างไร

 

 ผมเป็นลูกศิษย์ในโครงการปริญญาเอก คนหนึ่ง ที่ ศ.ดร.จีระ เป็นผู้สอน  และส่วนหนึ่งที่ผมได้จาก ศ.ดร.จีระ คือ ได้นิสัยแห่งการเรียนรู้ การคิด การเขียน โดยเฉพาะการเขียนผ่าน Blog มากขึ้น จากการสอนของ ศ.ดร.จีระ ที่ต้องการเปลี่ยน และสร้างนิสัย ที่ดีให้กับลูกศิษย์  การเขียน Blog นี้ได้ประโยชน์มาก ผมต้องอ่าน คิด วิเคราะห์ และต่อยอดให้ได้ และผมจะฝึกต่อว่าต้องให้ได้ในเวลาที่ต้องให้รวดเร็ว การเขียน Blog นี้ จะปรากฏต่อสาธารณะชน  จึงต้องคิดไตร่ตรอง เขียนให้ดี ได้นิสัยระมัดระวังในการเขียนด้วย คือต้องเป็นกลาง มีสาระ เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน เป็นต้น ขอบคุณอาจารย์ที่เพิ่มทุนเรื่องนี้ให้ผม 
   คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชุดใหม่ เข้าไปเยี่ยมคำนับและรายงานผลให้องคมนตรี พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของ เรา การได้ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ที่เมตตาต่อโรงเรียน นักเรียนเก่า และนักเรียนปัจจุบัน รวมทั้งคณาจารย์ด้วย เป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์ พี่กำธนของเรา ได้เน้นว่า เด็กเทพศิรินทร์ต้องเก่งและดี ทั้งกีฬาและวิชาการ ต้อง เป็นคนมีมารยาท มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี 
ผมเพิ่งทราบว่า ที่เทพศิรินทร์ มีท่านองค์คมนตรี พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพ ศรัทธาอย่างยิ่งเป็นศิษย์เก่าด้วย  เทพศิรินทร์สร้างคนที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม ประเทศชาติเป็นอย่างมากไว้หลายท่าน น่าภูมิใจแทนคนไทยทั้งชาติ 
  ศ.ดร.จีระ ยังมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ทั่วทุกแห่งมีคุณภาพเท่าเทียมกัน คือสร้างเด็กนักเรียนที่เทพศิรินทร์ให้เป็นคนเก่งและดี ทั้งกีฬาและวิชาการ ต้องเป็นคนีมารยาท มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี  ผู้ปกครองนักเรียนถ้าได้เห็นได้ยินเช่นนี้ คงจะสบายใจ  เพราะจากบทความของ ศ.ดร.จีระ แสดงให้เห็นว่า โรงเรียนเทพศิรินทร์แสดงมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม และมีการปฎิบัติอย่างจริงจัง เช่นนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี
 โรงเรียนหลาย ๆ แห่ง โดยเฉพาะนโยบายของรัฐ ในการบริหารด้านการศึกษา และพัฒนาเด็กนักเรียน น่าจะมาศึกษานโยบายในการบริหารโรงเรียนเทพศิรินทร์ แล้วนำไปเป็นหนึ่งในยุทธ์ศาสตร์บริหารโรงเรียน สร้างคนเพื่อสร้างชาติ ต่อไป  

การศึกษาของนักเรียนต่างจังหวัดเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นการยกฐานะของโรงเรียนต่างจังหวัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

 

 เรื่องการบริหารการศึกษา ในต่างจังหวัด น่าเป็นห่วงครับ ผมดีใจที่ ศ.ดร.จีระ มีความคิดที่จะยกฐานะของโรงเรียนต่างจังหวัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งน่าจะเป็นงานสำคัญของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ มาช่วยสนับสนุนความคิดของอาจารย์ให้เป็นจริงโดยเร็ว  ท่านนายกฯทักษิณ น่าจะบริจาคเงินสร้างโรงเรียน ตัวอย่างทั่วทุกภาค เป็นโรงเรียนแห่งอนาคต เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพทั้งคุณภาพครู อาจารย์ คุณภาพสถานศึกษา สภาพแวดล้อม เพื่อที่จะเอื้ออำนวยในการสร้างคนที่มีคุณภาพให้ชาติ เพื่อวางรากฐานความเข้มแข็งทางทุนมนุษย์ของชาติในอนาคต  
  ”Toffler เป็นนักทำนายอนาคต Futurist เป็นที่ยอมรับที่สุดของโลกในปัจจุบัน หนังสือเล่มที่ดังมาก ที่สุดคือ "The Third Wave" มอง

เกษตร-----------อุตสาหกรรม-----------เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

แต่มาวันนี้ เขาบอกว่า นอกจาก IT แล้ว จะมีความรู้เป็นคลื่นลูกที่ 4 และความรู้เป็นทรัพย์สินที่ สำคัญที่มองไม่เห็น ( Intangibles ) ทรัพย์สินไม่ใช่เฉพาะ ที่ดิน เงิน หรือวัตถุ แต่ทรัพย์สินในอนาคตเป็นสิ่ง ที่มองไม่เห็น ( Intangibles )
-  Happiness
- Blog
- การสร้างสังคมการเรียนรู้
- การเสียสละให้แก่ส่วนรวม
- การอ่านหนังสือ
- การใช้เวลากับลูก
- การสอนหนังสือ
- การมีสุขภาพทางกายและใจที่สมบูรณ์
- การนั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ
- การทำงานอาสาสมัครให้ส่วนรวม

ซึ่งตรงกับทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ของผมในบางส่วน “ใช้ชีวิตโดยแสวงหาความรู้อย่างไม่หยุดยั้ง และมีความสุขที่ได้ แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ แต่ความรู้และความสุขไม่ได้มาฟรีๆ ต้องเปลี่ยนทุนมนุษย์มาเป็นทุนทาง ปัญญา คือต้องคิดเป็น ทำเป็น ทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีก 2 ทุนคือ ทุนทางจริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน ซึ่ง 2 Kนี้วัดไม่ได้ คนไทยจึงไม่เข้าใจ “

จากประโยคที่ ศ.ดร.จีระ เขียนไว้ ผมสรุปได้ว่า คลื่นลูกที่สี่ คือ ความรู้ เกษตร-------อุตสาหกรรม-------เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) --------ความรู้
ในอดีตประเทศใด องค์กรใด สังคมใด จะมีความเจริญมั่งคั่งหรือไม่ ดูที่การเกษตร ต่อมาดูที่การอุตสาหกรรม ต่อมาดูที่การเทคโนโลยีสารสนเทศ ในประเทศ ในองค์กร ในสังคมนั้น ๆ ตรงนี้ ในประเทศญี่ปุ่นเห็นชัดเจนมาก  ญี่ปุ่นพัฒนาตนเอง จากประเทศเกษตร เป็นประเทศอุตสาหกรรม และพัฒนามาทำเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รวดเร็วมาก
ในประเทศอินเดีย จากประเทศยากจน กำลังจะพลิกผันเป็นประเทศผู้นำด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ในประเทศจีน หลายท่านคงทราบดีว่า จีนมีครบหมด เกษตรอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และฐานความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ของจีนที่มีคุณค่าสะสมมานับพันปี ก็มีหลายศาสตร์
ในสังคม ในองค์กร ยุคปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องหันมาทบทวนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ และเรื่องการจัดการด้านความรู้  ส่งเสริมให้คนในสังคม ในองค์กร เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ในยุคนี้ถ้าคนในองค์กร ในประเทศ มีทุนทางความรู้มากเท่าใด ยิ่งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทุกรูปแบบ ความรู้ที่คู่คุณธรรมจึงเป็นฐานของทุนมนุษย์   ทั้งภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากกว่ารถประจำตำแหน่ง วัตถุนิยมต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่ความยั่งยืนขององค์กร ของชาติ
  

ท่านผู้อ่านที่สนใจติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ท่านสามารถติดตามได้จากรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ   

ขอโชคดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน 
   
สวัสดีครับ 
ยม   
น.ศ.ปริญญาเอก   
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์   
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กทม.2)
ยม "ภาวะผู้นำ Nano MBA Marketing Guru

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  ชาวสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และผู้เข้ารับการอบรม Nano MBAกับทาง Marketing Guru

ผมขอใช้ Blog นี้ แชร์ไอเดียเกี่ยวกับเรื่องภาวะผู้นำ ซึ่งจัดโดย Marketing Guru  เนื่องจาก Blog ของ Marketing Guru  ขัดข้องอยู่

 

วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เวลาบ่ายโมง ที่โรงแรม Maxx ผมต้องขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่ได้เปิดโอกาสให้ผมได้แชร์ความคิด Comment ในสิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ได้แชร์ไอเดียใหม่ ๆ เกี่ยวกับภาวะผู้นำ   ผมสังเกตเห็นได้ว่า ศ.ดร.จีระ ไม่ใช่แค่เลกเปลี่ยนหรือแชร์ความคิดเห็นเท่านั้น ท่านได้ทำการฝึกภาวะความเป็นผู้นำให้กับผู้เข้ารับการอบรม โดยที่หลายท่านอาจจะไม่ทันตั้งตัว

  การเดินพูดไปวนไปมา เปรียบเสมือนโลกที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  สิ่งต่าง ๆ ที่ ศ.ดร.จีระ พูดขณะเดินเปรียบเสมือนกระแสโลก ผู้นำ ต้องมีสายตาที่เฉียบคม กว้างไกล ไม่มึนไปกับการหมุนเวียนของโลก และการหลั่งไหลของกระแสต่าง ๆ ต้องจับประเด็นให้ได้ว่าขณะนี้ โลกเป็นอย่างไร และอนาคตจะเป็นอย่างไร  มีสติ มีความคิดสร้างสรรค์ มองสองด้าน หยินและหยางเสมอ  ถ้ามองด้านเดียว  หนักยิ่งกว่านั้นคือมองด้านลบด้านเดียว ก็ใช้สมองไม่ครบ ศ.ดร.จีระ ฝึกภาวะผู้นำผู้เข้ารับการอบรม ด้วยการพูดแบบบูรณาการ ข้ามศาสตร์ ผู้นำต้องจับประเด็นกระแสความรู้ต่าง ๆ ได้ คิดต่อยอดได้ ผู้นำต้องอดทน ต้องเอาชนะตนเองให้ได้  นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายประเด็น ที่น่าจับประเด็นจาก ศ.ดร.จีระได้ เช่น*      ผู้นำ รู้ลดละอัตตา ไม่ยึดมั่นถือมั่น คิดว่าตัวตนเป็นของสาธารณะชน มุ่งมั่นทำการใหญ่เพื่อส่วนรวม*      ทำอะไรรู้ คิด แบ่งบันให้ผู้อื่น รู้จักแชร์ รู้จักให้*      รู้จักรักษากาย ใจ ฝึกสมาธิ เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นอยู่กับสมาธิ*      กอบโกยเพื่อน มี Good connection ทุนทางสังคม*      รู้จักปรับปรุงตนเอง เปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ *      รู้เขา ลูกน้องต้องรู้ ทุก Profile ต้องศึกษา ทำความเข้าใจ *      รู้เรา  รู้ว่าตัวเองมีจุดเด่น จุดด้อยอะไร จุดเด่นรักษาและพัฒนา จุดด้อยนำมาปรับปรุงให้เป็นจุดเด่นในอนาคต*      ตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ ทดสอบพฤติกรรมผู้นำของตนเอง เพื่อหาจุดอ่อนแล้ววางยุทธ์ศาสตร์ในการพัฒนา*      ทันโลก ทันเหตุการณ์ จับประเด็นได้ วิเคราะห์สถานการณ์ได้ดี*      กระจายอำนาจ (Empowerment) จะทำได้ต้องมีความเชื่อ บริหารความเชื่อ ทุนทางความเชื่อต้องมี  ไม่มีความเชื่อ บริหารธุรกิจไม่ได้*      ศึกษา ค้นคว้า อยู่ตลอดเวลา ทันโลก ทันเหตุการณ์ (Long life learning)*      ต้องมีวิสัยทัศน์ รู้ว่า อีก 20 ปีจะเกิดอะไรขึ้นและจะแก้ไข ป้องกันได้อย่างไร*      ทำให้คนอื่นอยากเดินตามด้วยความเต็มใจ ด้วยความรักและศรัทธา*      ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มองเห็นความแตกต่างในสรรพสิ่งทั้งหลาย*      สนใจเรื่อง Feedback นั่นหมายถึงการให้ความสำคัญกับ การสื่อสารสองทาง Two ways communication และไม่เผด็จการเกินไป*      ผู้นำ สร้างและพัฒนาระบบ เป็นพี่เลี้ยง นำระบบพัฒนาคน ให้คนพัฒนาระบบ*      มีความอยากจะเป็นผู้นำ  มีบุญพอที่จะเป็นผู้นำ คำว่า บุญ คือ สนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ เป็นผู้มีบุญในการเป็นผู้นำ หมายถึง สนใจ ใส่ใจ เอาใจเกี่ยวกับการเป็นผู้นำ อย่างต่อเนื่อง*      แก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ ดี เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของปัญหา*      มีทักษะเรื่องคน ชำนาญเรื่องคน *      มีความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ คือมีเหตุ มีผล มีคุณธรรม*      มีเสน่ห์ ไม่น่าเบื่อ  แต่น่าเคารพ รัก และศรัทธา ผู้นำ ต้องมีสมรรถนะ 4 ด้านด้วยกันดังนี้ 1.     สมรรถนะหลักในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์และทุนมนุษย์(เก่งคน)2.     สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (เก่งงาน)3.     สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (เก่งคิด)4.     สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์(เก่งคิดและเก่งทำ) 

ในช่วงเวลาที่จำกัด ผมต้องขออภัยด้วย ที่ไม่ได้อยู่รอจนสัมมนาจบ  เนื่องจากต้องรีบเดินทางไปร่วมกิจกรรม ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  จึงเขียนมาสั้นเพียงเท่านี้ก่อน ผมหวังว่าสิ่งที่ผม Comment ไป จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่าน และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมคบหากันเป็นเพื่อน เป็น Good Connection ต่อกัน ผมชื่อยม นักศึกษา ปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี   

[email protected]

[email protected]

Tel 01-9370144

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /ชาวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

เช้าวันนี้ ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า  http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์   ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

สัปดาห์นี้ ผมมี 3 เรื่องมาแบ่งปันให้ได้รู้กัน
เรื่องแรกคือ ได้รับเชิญไปเป็นองค์ปาฐก ( keynote ) ของการประชุมนานาชาติ Science and Technology for Sustainable Development of the Greater Mekong Sub-region 

เรื่องที่สอง ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เป็นต้นไป เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที สุดท้ายวันพุธที่ 16 สิงหาคม มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้จัด Learning forum เรื่อง Lesson study in Mathematics เป็นครั้งที่ 2 

สัปดาห์นี้ ศ.ดร.จีระ เขียนบทเรียนจากความจริง ท่านได้ทำสิ่งดีมีประโยชน์กับสังคมแล้วนำมาเขียนให้ศึกษาครั้งนี้ 3 เรื่อง เป็นสิ่งที่นักศึกษา ลูกศิษย์ ลูกหา ของอาจารย์ควรเอาอย่างอยู่สองประการ

ประการแรก  คือเรื่องการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แบบข้ามศาสตร์  อาจารย์ทำงานที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวมประเทศชาติ มากกว่าเพื่อส่วนตน ตรงนี้น่ายกย่องสรรเสริญ และควรยึดถือเป็นตัวอย่างที่ดี  

ประการที่สองเรื่องการเขียน ศ.ดร.จีระ เขียนบรรยายสิ่งที่ปฏิบัติภารกิจในสัปดาห์ สรุปเป็นเรื่อง ๆ สามเรื่อง ให้ผู้สนใจได้อ่านหาสาระได้หลากหลาย   ที่สำคัญคือแนวทางในการเขียนสรุป ของท่าน ศ.ดร.จีระ ทำได้ดีไม่ติดขัด ถึงแม้เป็นสามเรื่อง แต่ก็ดูเหมือนเรื่องเดียวกัน โดยใช้วันเวลา เป็นตัวเรียงลำดับเรื่องราว คือวันที่ 15 16 และ วันที่ 18  อ่านได้เข้าใจง่าย เป็นหลักการเขียนเรื่องที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่าย ถ่ายทอดความคิดผ่านสื่อได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญคือการสอดแทรกข้อคิด ที่ชวนให้ศึกษาและเกิดปัญญาได้ดี 
มีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย จากกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมากันมากมายกว่า 300 คน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน นอกจากนี้ ยังมีมาจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษด้วย  ในฐานะที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความรู้สึกว่าการประชุมเช่นนี้ทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีภาพลักษณ์ที่ดี มีชื่อเสียงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเรื่อง networking หรือการร่วมพันธมิตรทางวิชาการ การวิจัย การสร้างการทูตภาคประชาชน ( People to People Diplomacy : PPD)”
ศ.ดร.จีระ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง ม.ขอนแก่นโชคดีที่มี ศ.ดร.จีระ ร่วมอยู่ในสภาฯ เพราะท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ สดเสมอ และเป็นผู้มีความเมตตา มีคุณธรรม จากประโยคนี้ ทำให้ทราบว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณาจารย์ที่นั่นทำงานใหญ่เพื่อชาติ  การที่มีนักวิชาการ นักวิจัย จากกล่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง และสหรัฐอเมริกา อังกฤษ มาร่วมกิจกรรมนี้ นอกจากจะเป็นการทำงานด้านวิชาการระดับชาติแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมด้านการทูต ด้วย ผมคิดว่าเนื้อหาสาระที่เสวนากันน่าจะเป็นเรื่องสำคัญระดับชาติและความร่วมมือต่อกัน คงไม่มาคุยกันเรื่องต้นไม้ข้างถนน หรือขยะในชุมชน 
 โดยพูดเรื่อง ทุนแห่งความยั่งยืนในทฤษฎี 8 K's มานาน ความยั่งยืนเป็นทุนเพราะการจะได้ความยั่งยืน ต้องเสียสละเพื่ออนาคต ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง นักการเมืองควรต้องรู้ 
เรื่องทุนแห่งความยั่งยืน ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นสิ่งสำคัญ การบริหารกิจการบ้านเมืองก็ดี นโยบายสาธารณะต่าง ๆ ก็ดี นโยบายพรรคการเมืองต่าง ๆ ก็ดี ควรคิดถึงความยั่งยืนให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ผมได้เรียนรู้เรื่องทุนแห่งความยั่งยืน และการจะทำสิ่งใด ก็ตามขอให้คิดถึงความยั่งยืน จาก ศ.ดร.จีระ  ศ.ดร.บุญทัน ศ.ดร.ติน ศ.ดร.อุทัย อาจารย์แม่คุณหญิงเต็มศิริ และจากบทความต่าง ๆ ของ ศ.ดร.ป๋วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง  ประเทศเราผมคิดว่า ยังขาดทุนแห่งความยั่งยืนอยู่มาก รัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรจัดให้ครู อาจารย์ผู้สอนนักเรียนตั้งแต่ประถม มัธยม ให้มีองค์ความรู้ รู้จริงเกี่ยวกับทุนแห่งความยั่งยืน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  รวมทั้งทุนตามทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ เพื่อให้บรรดาครูทั้งหลายได้เข้าใจ เพื่อนำไปสอนนักเรียนได้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่ไปสอนเด็กว่า เศรษฐกิจพอเพียงคือการจัดการพื้นที่น่าอย่างไร 
ผมจึงนำเอาความคิดของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ เรียกว่า 6 ปัจจัยของความยั่งยืน ( Chira 's 6 factors ) ซึ่งผมจะสรุปว่า
ปัจจัยแรกคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเน้นให้ระยะสั้นสร้างความสมดุลย์ในระยะยาว 

ปัจจัยที่สองคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย

ปัจจัยที่ 3 คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กัน

ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้

ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชนหรือประเทศ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย

สุดท้าย ต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว
 

ตรงนี้ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ศ.ดร.จีระ ท่านสรุปไว้ได้ดี ทำให้เข้าใจถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้มากขึ้น เข้าใจถึงหลักแห่งความยั่งยืนมากขึ้น

 ปัจจัยแรก การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องเริ่มที่การทำโครงการระยะสั้นให้ดี ทำอะไรอย่างคิดสั้นอย่างเดียว ต้องคิดให้ยาวด้วยว่าจะมีผลกระทบหรือไม่ 

ปัจจัยที่สอง การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ  ที่มีอยู่ นอกจากไม่ทำลาย แล้วควรเป็นการทำเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ให้คงอยู่ไปถึงรุ่นลูก หลานในอนาคตด้วย ต้องคำนึงถึงตรงนี้ให้มาก ๆ มิฉะนั้นแล้วในอนาคตไทยอาจจะต้องซื้อข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะนี้เวียดนามเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวรายใหญ่รองจากไทยแล้ว  และถ้าเราไม่หันมาอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติกันให้ดี เวียดนามแซงหน้าไทยแน่นอน 
ปัจจัยที่สาม การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริธรรม  ควบคู่ไป ในความเข้าใจของผม สรุปสั้น ๆ ว่า คุณธรรม คือรู้ว่าอะไรควร ไม่ควร รู้ว่าปฏิบัติอย่างไรแล้วจะเกิดคุณประโยชน์ และเกิดความเป็นธรรม คือรู้  ส่วนจริยธรรม เป็นพฤติกรรมที่ควรต้องปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะตามหลักคุณธรรม และเป็นที่ยอมรับของสังคม  การพัฒนาอย่างยั่งยืน คนพัฒนาต้องมีตรงนี้  นักการเมืองที่กำหนดนโยบายพรรค รัฐมนตรีที่กำหนดนโยบายสาธารณะ ต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรม จึงจะเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราท่านตรงเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ 
ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้ ตรงนี้ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง การจะทำอะไรให้ยั่งยืน ต้องคิดแบบมีเหตุ มีผล มีที่มาที่ไป ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้ผ่านการศึกษา พิสูจน์ วิเคราะห์มาแล้ว ไม่ตัดสินใจด้วยอารมณ์และความคิดของตนเองเป็นหลัก สังคมใด องค์การใดมีผู้นำที่ตัดสินใจโดยเอาตนเองเป็นใหญ่ คงไปได้ไม่ยั่งยืน ในระยะยาวจะสร้างปัญหาตามมาอย่างมาก เพราะปกติการตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ปัญหาอื่นมักจะตามมาเสมอ การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล ที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว จะทำให้ทราบว่าจะเกิดอะไรและจะแก้ไขป้องกันอย่างไรการหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ยั่งยืนได้เพราะโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความรู้ ความสำเร็จในอดีต อาจไม่สามารถรับรองความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคตได้ การหาความรู้อย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับความยั่งยืน 
ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ผมเห็นด้วยกับเรื่องนี้ ประเทศจะขับเคลื่อนได้ด้วยคุณภาพของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ  เรื่องนี้ ประเทศอินเดียรู้ปัญหาดีและมีการเตรียมการไว้ดีมาก อินเดียกำลังจะเป็นประเทศมหาอำนาจแข่งกับจีน  แต่อินเดียมีปัญหาว่า ความเจริญกำลังกระจุกตัวอยู่ที่บางเมืองและกับคนบางกลุ่ม รัฐบาลอินเดียมีมาตรการรองรับด้วยการปรับปรุงคุณภาพคนด้วยการศึกษา ยกระดับความสามารถของครู ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน และมีการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง โดยเน้นที่ภูมิปัญญา ไม่เน้นฟอร์ม  คนอินเดียไม่เน้นฟอร์มแต่เน้นว่าในหัวมีความรู้ มีปัญญาดีหรือไม่ ซึ่งในอนาคตเราจะเห็นคนอินเดียส่วนใหญ่มีความรู้ดีมากขึ้น  คนอินเดียพูดภาษาอังกฤษได้เป็นส่วนใหญ่ทำให้ง่ายต่อการพัฒนาศาสตร์อื่น ๆ

การจะทำอะไรให้ยั่งยืน ถ้าทำให้เกิดความเจริญเฉพาะกลุ่ม ไม่กระจายออกไปอย่างทั่วถึง ปัญหาความขัดแย้งแก่งแย่งชิงดีกันจะตามมา   

ปัจจัยสุดท้ายต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ การให้ที่ทรงคุณค่าที่สุดคือการให้ผู้อื่นได้มีมีเข้มแข็งขึ้นทั้งความรู้ สติ สมาธิ ศีล ปัญญา ให้เขาได้มีความสามรถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ และสามารถขยายผลสามารถช่วยผู้อื้น ต่อได้จะยิ่งเกิดความยั่งยืน  การให้วัตถุให้เงินเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าไม่ให้เขาได้มีโอกาสพึ่งตัวเองอย่างที่ ศ.ดร.จีระ ว่า ก็คงยั่งยืนได้ยากครับ 
เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที เป็นความร่วมมือกันของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ Chira Academy ธนาคารกรุงไทยมี ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ มาร่วมผนึกกำลังกัน น่าติดตามว่ามีอะไรน่าสนใจในประเด็น
คนไทยสับสนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ยังรู้ไม่จริง
สับสนเรื่องโลกาภิวัตน์ ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรและนึกว่าเศรษฐกิจพอเพียง จะแก้ปัญหาเฉพาะภาคคนจน 

รายการโทรทัศน์ ที่ท่าน ศ.ดร.จีระจัดเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ เดิมทราบว่าจะออกรายการทางช่อง 5 ต่อมาทราบภายหลังว่าจะออกทางช่อง 11 รายการนี้ ผมคิดว่าสำคัญและจะเกิดประโยชน์ ทางกระทรวงศึกษาธิการน่าจะร่วมด้วย เพื่อจัดทำรายการนี้เป็นวีดีโอทัศน์ ประกอบการพัฒนาองค์ความรู้ให้ครู เพื่อให้ครูใช้สอนนักเรียน ต่อไป รัฐบาลต้องเร่งพัฒนาครูให้มีความรู้เรื่องนี้ให้มาก ก่อนจะสายเกินไป ผมเคยได้ยินครูสอนนักเรียนเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครูตั้งใจดีมาก แต่สอนเรื่องการจัดสรรที่นา ที่เลี้ยงปลา ที่เพาะปลูก ไม่ได้สอนแก่นแท้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้สอนเรื่องโลกาภิวัตน์ว่าคืออะไรและมีผลกระทบอย่างไร และในฐานะคนไทยควรต้องทำอย่างไร 

 

 ผมหวังว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่เกี่ยวข้อง ควรทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง กระจายความรู้เหล่านี้ไปอย่างทั่วถึงประชาชนส่วนใหญ่ และมีการติดตามประเมินผล และพัฒนาการให้ความรู้ด้านนี้อย่างต่อเนื่องทั้งระยะสั้นและระยะยาว   

 

ดร.ไมตรี อินทรประสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูกว่า 20 คน โดยดร.ไมตรี ต้องการสร้างเด็กให้คิดเป็น ไม่ปิดกั้นการคิดของเด็ก โดยให้เด็กได้คิดอย่างเสรี คิดนอกกรอบ คือการสอนแบบ Lesson study ซึ่งได้พัฒนาในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 100 ปี

วิธีการนี้อาจจะขัดกับวัฒนธรรมของไทย เพราะการศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตมักจะกำหนดการคิดให้เด็ก ไม่ค่อยรับฟังความคิดของเด็ก และไม่ยอมให้ใครมาวิจารณ์การสอนของตนเอง การศึกษาไทยจึงล้มเหลว แต่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจะทำงานต่อเนื่องต่อไปในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย
ท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาน่าจะอ่านตรงนี้ และเชิญ ศ.ดร.จีระ ไปเป็นที่ปรึกษากระทรวงศึกษาธิการ เชิญ ดร.ไมตรี เข้าไปร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาด้วย  เพื่อรีบปฏิรูปการทำงานของครู  รูปแบบการสอนของครูที่เป็นแบบดั้งเดิมถือเป็นโรคร้ายอย่างหนึ่งทางการพัฒนาเด็กไทย

ผลการวิจัยที่อินเดีย ซึ่งทาง BOI ได้จ้างนักวิชาการที่อินเดียวิจัยค้นหาอุปสรรคในการพัฒนาของไทย พบว่า ครูของไทยยังด้อยประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องภาษา และหลักการสอน ข้อเสนอแนะก็คือควรมีแผนระยะสั้นและระยะยาวในการพัฒนาครูอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมให้เกิดรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ ผมเห็นด้วยกับ ดร.ไมตรี ครับ รัฐบาลควรเข้ามาช่วยส่งเสริมแนวคิดนี้ให้เป็นจริง โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ครับ

  

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ 

   

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน

ยม   
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์" (ต่อ)
 เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์[1]

สัปดาห์นี้ ผมมี 3 เรื่องมาแบ่งปันให้ได้รู้กัน
เรื่องแรกคือ ได้รับเชิญไปเป็นองค์ปาฐก ( keynote ) ของการประชุมนานาชาติ Science and Technology for Sustainable Development of the Greater Mekong Sub-region ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันอังคารที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ผมประทับใจการจัดการประชุมครั้งนี้มาก โดยเฉพาะคณบดี ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง ที่ทำงานอย่างหนักและได้ผล เพราะมีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย จากกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมากันมากมายกว่า 300 คน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน นอกจากนี้ ยังมีมาจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษด้วย
ในฐานะที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความรู้สึกว่าการประชุมเช่นนี้ทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีภาพลักษณ์ที่ดี มีชื่อเสียงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเรื่อง networking หรือการร่วมพันธมิตรทางวิชาการ การวิจัย การสร้างการทูตภาคประชาชน ( People to People Diplomacy : PPD )
ผมคงเป็นนักวิชาการคนเดียวที่ไม่ได้จบทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ต้องพูดในหัวข้อเรื่องวิทยาศาสตร์ล้วนๆ ที่เน้นการสร้างทรัพยากรมนุษย์ในส่วนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อไปสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยพูดเรื่อง ทุนแห่งความยั่งยืนในทฤษฎี 8 K's มานาน ความยั่งยืนเป็นทุนเพราะการจะได้ความยั่งยืน ต้องเสียสละเพื่ออนาคต ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง นักการเมืองควรต้องรู้
ในวันนี้ ผมจึงเน้นมากๆ ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนคืออะไร
ความจริง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนนั่นเอง
ผมจึงนำเอาความคิดของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ เรียกว่า 6 ปัจจัยของความยั่งยืน ( Chira 's 6 factors ) ซึ่งผมจะสรุปว่า
ปัจจัยแรกคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเน้นให้ระยะสั้นสร้างความสมดุลย์ในระยะยาว อย่าให้ระยะสั้นดี แต่ทำลายระยะยาว ผมได้ตัวอย่างมาจากเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในประเทศไทย คือรวยระยะสั้น แต่มีปัญหาระยะยาวมากมายอย่างที่เห็นกัน
ปัจจัยที่สองคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย และต้องไปด้วยกันกับ การพัฒนา บางแห่งเรียกว่าเป็น Green development
ปัจจัยที่ 3 คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันกับความเจริญ คือมีศีลธรรม คุณธรรมคู่ไปกับกับพัฒนา
ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้
ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชนหรือประเทศ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็กๆ
และสุดท้ายต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว
ผมคิดว่า การเน้นเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่จะทำได้จริงหรือไม่ มีปัจจัยหลายอย่างที่ไปไม่ถึงเพราะ เหตุผลทางการเมือง ความโลภและความเห็นแก่ตัวของสังคม
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย เราคิดว่ารัฐบาลจะมีหน้าที่ต้องทำ แต่จริงๆ แล้ว ประชาชน โดยเฉพาะชุมชนของนักวิทยาศาสตร์ก็สามารถมีส่วนร่วมกับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นได้ เพื่อจะพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผมจึงขอเน้นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะช่วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น
-
สาขาแรกคือ ช่วยให้การศึกษาของชุมชนหรือสังคมดีขึ้น ในวันนั้น ผมเน้นเป็นพิเศษคือ การใช้ Internet การใช้ Blog การเรียนแบบทางไกลหรือ E-Learning
-
สาขาที่สองคือ การใช้เทคโนโลยี มาช่วยในการแพทย์ ซึ่งปัจจุบันการแพทย์มีต้นทุนสูงขึ้นเรื่อย การแพทย์ จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสังคม ไม่ใช่เฉพาะเรื่องรักษา แต่เป็นเรื่องการป้องกันด้วย ผมจึงเสนอเรื่อง Tele - Medicine ไปด้วย
-
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากคือ การพัฒนาชนบท และการพัฒนาศักยภาพของภาคเกษตรของประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงที่ยังล้าหลังอีกมาก
-
ต่อมาจะช่วยเรื่องการลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มศาสนาต่างๆ ในสังคม เพื่อสร้างสันติภาพ รวมทั้งการลดการก่อการร้ายข้ามชาติ
-
การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน Global warming หรือภัยธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่งมีมากขึ้นทุกวัน และกระทบต่อประชาชนมาก
-
การแสวงหาพลังงานทดแทนน้ำมัน
-
และสร้างความสามารถในการแข่งขัน competitiveness แบบยั่งยืน ในสังคมในภูมิภาคนี้มากขึ้น แทนที่จะเน้นเฉพาะสินค้าส่งออกแรงงานราคาถูกเท่านั้น ให้มีการใช้ความรู้และวิทยาศาสตร์สำหรับการพัฒนาสินค้ามากขึ้น
ถ้าจะพัฒนาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ผมขอให้นักวิทยาศาสตร์มองอะไรที่กว้าง เชื่อมโยงกับการพัฒนา ไม่ใช่สนใจแต่เรื่องวิจัยเฉพาะทางที่ตัวเองถนัด ต้องมี networking มากขึ้น รับฟังและเรียนรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มากขึ้น
เรื่องที่สอง ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เป็นต้นไป เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที เป็นความร่วมมือกันของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ Chira Academy ธนาคารกรุงไทยมี ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ มาร่วมผนึกกำลังกัน น่าติดตามว่ามีอะไรน่าสนใจในประเด็น
-
คนไทยสับสนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ยังรู้ไม่จริง
-
สับสนเรื่องโลกาภิวัตน์ ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
-
และนึกว่าเศรษฐกิจพอเพียง จะแก้ปัญหาเฉพาะภาคคนจน
ซึ่งแท้จริงแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ซึ่งผู้ส่งออก นักลงทุน นักการเงิน นักวิทยาศาสตร์ นำไปใช้ได้ เพื่ออยู่ในโลกาภิวัตน์แบบยั่งยืน ซึ่งรายการโทรทัศน์นี้จะเชื่อมโยงให้ได้อย่างดี ผมอยากให้ผู้อ่านได้ติดตามชม
และสุดท้าย เมื่อวันพุธที่ 16 สิงหาคม มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้จัด Learning forum เรื่อง Lesson study in Mathematics เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเชื่อมโยงกับ APEC ที่ผมเคยเขียนถึงว่า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ขอเงินสนับสนุนโครงการเรื่อง Lesson study โดยร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ศึกษา และเผยแพร่ในประเทศไทย เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งที่ไทยได้รับจาก APEC
ครั้งนี้มี ดร.ไมตรี อินทรประสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูกว่า 20 คน โดยดร.ไมตรี ต้องการสร้างเด็กให้คิดเป็น ไม่ปิดกั้นการคิดของเด็ก โดยให้เด็กได้คิดอย่างเสรี คิดนอกกรอบ คือการสอนแบบ Lesson study ซึ่งได้พัฒนาในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 100 ปี การสอนแบบนี้ต้องมีการสังเกตว่าเด็กคิดอย่างไร ทำไมเขาถึงคิดแบบนี้ มีการสร้างคำถามลักษณะปลายเปิด ที่เด็กสามารถคิดหาคำตอบที่หลากหลาย จะมีการถกเถียงกัน ซึ่งจะนำไปสู่การบูรณาการที่ดี และมีการสังเกตการสอนของครู ครูจะต้องอภิปรายถกเถียงกันหลังจากเสร็จสิ้นการสอน คล้ายเป็นการวิจัยชั้นเรียน นับเป็นการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง
แต่วิธีการนี้อาจจะขัดกับวัฒนธรรมของไทย เพราะการศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตมักจะกำหนดการคิดให้เด็ก ไม่ค่อยรับฟังความคิดของเด็ก และไม่ยอมให้ใครมาวิจารณ์การสอนของตนเอง การศึกษาไทยจึงล้มเหลว แต่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจะทำงานต่อเนื่องต่อไปในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย และสิ่งสำคัญที่ได้รับนอกเหนือจากความรู้แล้วคือ networking ซึ่งครูทุกคนที่ได้มาร่วมกันในวันนั้น คงจะได้ร่วมมือกันเพื่อพัฒนาแผนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กไทยต่อไปในอนาคต
หวังว่าท่านผู้อ่านคงได้แนวทางจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ยุคนี้ สื่อดีๆ ต้องสร้างความรู้ใหม่ให้ผู้อ่าน และนำไปต่อยอด

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


                            โทรสาร 0-2273-0181  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท