การกำหนดอายุ "พระสมเด็จ" จากประเภทบ่อ จำนวนบ่อ ความยาวของสายธารน้ำตา และ "ผิวงอก"


ธารน้ำตายุคแรกจะเป็นรูกลมๆออกมาจากผิวเดิมของพระ ในขณะที่รูใหม่ๆ จะมาจากรอยแยก และรูระแหงของผิวมุก ที่ทำให้เกิดการรักษาแผลรอยแยกขององค์พระอย่างต่อเนื่อง

พระสมเด็จผิวมุก ปลายเกศพริ้วไหว อ่อนช้อยงดงาม

ที่พบน้อย ทั้งความละเอียดของพิมพ์ และผิว (ที่ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นมุกขาวด้านๆแบบเปลือกไข่)

ถ้าสังเกตที่ฐานพระ จะมีทั้งผิวมุกเดิมและบ่อน้ำตาใหม่จากรอยแยก ที่แสดงว่า พระองค์นี้มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี ขึ้นไป และควรจะถึงอายุ ๑๔๐ ปี ที่บันทึกไว้ในตำนานพระสมเด็จ

 

หลังจากผมมีโอกาสพิจารณาผิวของพระสมเด็จที่มีอายุต่างๆกัน เชิงวิเคราะห์เชิงลึกแบบเปรียบเทียบจากหลายวัด และหลายยุค ผมได้พบประเด็นที่พอจะหาความสัมพันธ์กับอายุได้โดยง่าย ก็คือ

  • จำนวนบ่อน้ำตา
  • ขนาดและความเก่าของบ่อน้ำตา
  • ความยาวไกลของสายธารน้ำตา
  • ความหลากหลายรูปแบบของบ่อน้ำตา และ
  • การครอบคลุมของธารน้ำตาบนองค์พระ
  • จนเกิดเป็น "ผิวมุก" ของเนื้อปูนงอก คลุมพระทั้งองค์

โดยเฉพาะ

  • พระสมเด็จที่มีเนื้อแก่ปูนเปลือกหอยอย่างถูกต้อง
  • ส่วนผสมแก่ปูน และ มีผิวปิดแน่นจากเนื้อปูนซึมออกมาปิดที่ผิว และหรือใต้ผิว
  • จึงทำให้ปิดกั้นกันการระเหยของน้ำปูนตามผิวทั่วไป
  • การระเหยของความชื้นที่มีอยู่ในองค์พระ จึงเกิด "รูน้ำตา" หรือ รูน้ำปูน และธารน้ำตา หรือ ธารน้ำปูนใส (แคลเซี่ยมไฮดร็อกไซด์)
  • แล้วออกมา ทำปฏิกริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ เป็นแคลเซียมคาร์บอนเนต "ตกผลึก" แบบผิวหินอ่อน หรือผิวมุก
  • มีลักษณะเป็นเกล็ดๆเล็กๆแบบคราบแป้งก่อน แล้วต่อมาจึงรวมตัวเป็น แผ่นผิวหินอ่อน หรือผิวมุก หรือ แบบผิวเปลือกหอยด้านใน ที่มีลักษณะหลากหลายแบบ 
  • จึงควรเรียกว่า ผิวองค์พระสมเด็จว่า "ผิวหินอ่อน" หรือ "ผิวมุก" ก็แล้วแต่ใครจะมองเห็นเป็นอะไร
  • ที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงจาก พระโรงงาน
    • ที่ทำใหม่ๆเป็นเนื้อปูนดิบๆ หรือ
    • ใช้สารเคมี "โปะ" หลอกตามือใหม่ หรือใช้เรซินหรือพลาสติกหล่อขึ้นมาเป็น "ผิวหินอ่อน"
    • หรือ ทำมานานจนเกิด "รูน้ำตา" เล็กๆ น้อยๆ หรือใช้แป้งโปะได้เช่นกัน

แต่โดยหลักการแล้ว พระสมเด็จนั้น สร้างจากปูนเปลือกหอยเป็นหลัก ก็ควรเรียกว่าผิวเปลือกหอย หรือ ผิวหินอ่อน น่าจะใกล้เคียงมากกว่า

และน่าจะดีกว่า เพราะ

  • ทำให้เข้าใจหรือพิจารณาดูพระสมเด็จสวยๆ รุ่นเนื้อแก่ปูน ได้ง่าย
  • จะได้ไม่หลงทางไปหยิบพระโรงงาน (ที่ยังไม่พบว่าสามารถทำผิวเปลือกหอย หรือผิวมุกได้ อย่างมากก็อาจมีรูน้ำตาเล็กๆน้อยๆ) ให้เสียความรู้สึก

การเกิดการเตลือบของน้ำปูนจนคลุมพระทั้งองค์ เป็น "ผิวมุก" ที่ว่านั้น ตามการประเมินจากอายุพระสมเด็จ น่าจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปี

กล่าวคือ

  • พระสมเด็จอายุประมาณ ๓๐ ปี จะเริ่มมีรูน้ำตาแบบรุ่นแรก กลมๆ เล็กๆ ๒-๓ รู และมีธารน้ำตาสั้นๆ ไม่เกิน ๒ มม.
  • พระสมเด็จที่อายุ ๕๐ -๘๐ ปี บางองค์จะเริ่มมีผิวมุกประปราย และมีธารน้ำตายาวประมาณ ๕ มม.
  • พระสมเด็จที่มีอายุ กว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป มักมีผิวมุกทั่วองค์ แต่ธารน้ำตาที่เกิดใหม่ประมาณ ๑๐ มม. ขึ้นไป

สำหรับจำนวนธารน้ำตานั้นขึ้นอยู่กับความแน่นของเนื้อพระ

  • ถ้าละเอียดและแน่นมาก ก็จะเกิดมาก
  • ถ้าเนื้อหยาบๆ มีผงมาก เนื้อร่วนๆจะเกิดน้อย

สำหรับขนาดบ่อจะขึ้นอยู่กับ

  • การใช้ และ
  • ระดับความแปรปรวนของความชื้นในองค์พระ
  • พระที่เก็บไว้บนหิ้ง แห้งๆ ร้อนๆ อาจไม่พบบ่อน้ำตา มักมีแค่ผิวมุก

โดยยังพบว่า

  • "บ่อ" ธารน้ำตายุคแรกจะเป็นรู กลวง ลึก กลมๆ หรือมนๆ ออกมาจากผิวเดิมๆ หรือผืวมุกของพระ
  • ในขณะที่ "รู" ใหม่ๆ จะเกิดมาจากรอยแยก และรูระแหงของผิวมุก หรือผิวหินอ่อน
  • ที่ทำให้เกิดการรักษาแผลรอยแยกขององค์พระอย่างต่อเนื่อง
  • ทำให้พระมีความแกร่ง แน่น
  • ขอบรู ขอบระแหงมีความมน ไม่มีมุมแหลมคม
  • ที่ดูเป็นพระเนื้อ "นุ่ม" หรืออ่อนนุ่ม แม้จะมีอายุยาวนาน กว่า ๑๔๐ ปี

ที่ทำให้พระสมเด็จที่แก่ปูน ไม่ว่าจะเป็นวัดระฆัง หรือบางขุนพรหม มีความแกร่ง และแน่นแข็งมาก

 

สำหรับพระสมเด็จที่แก่ผงอย่างวัดเกศไชโย หรือวัดระฆังบางชุดจะเกิดการขาดปูน

  • แตกระแหงมาก
  • มีรูน้ำตาน้อย
  • มีธารน้ำตาน้อย
  • มีผิวในกร่อน
  • รักษาแผล หรือพอกผิวตัวเองได้น้อย หรือช้า
  • มีความเปราะ แตกหัก หรือ กร่อนได้ง่าย

ดังนั้นพระสมเด็จที่แก่ผงจึงอาจต้องพิจารณาตามรอยแยกของอาการ "ขาดปูน" หรือ "แรงปูนไม่พอ" หรือ "หมดแรงปูน"

ถ้าหมดแรงปูนแตกระแหงแล้วก็ถิอว่า "อายุมาก"

ที่อาจจะไม่จริงทั้งหมด เพราะ

พระที่แก่ปูน

  • แม้จะอายุมากก็ยังมีธารน้ำตาไหลต่อเนื่อง และ
  • ไม่แตกระแหง
  • มักจะเรียกแบบเข้าใจผิดว่า "พระเนื้ออ่อน"

ที่น่าจะเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของการพิจารณาอายุพระโดยดูจาก "แรงปูน" เพียงอย่างเดียว

ที่พระแก่ผง (อ่อนปูน) ย่อมหมดแรงปูนเร็วกว่า แมัจะอายุเท่ากัน

แต่พระเนื้ออ่อน หรือเนื้อไม่จัด น่าจะใช้ในกรณีของ

  • บ่อน้ำตาน้อย
  • ผิวเคลือบน้ำปูนมีน้อย ค่อนข้างบาง หรือ
  • แม้กระทั่งแตกระแหง

แต่ในประเด็นแตกระแหงของผิวปูน ผิวมุก หรือผิวหินอ่อนเคลือบ เซียนพระทั่วไปกลับมองว่าเป็นพระเนื้อจัด

ทั้งๆที่ตามความเป็นจริงนั้น การแตกระแหงของผิวพระสมเด็จ เกิดจาก "แก่ผง" หรือ "อ่อนปูน"

  • ที่ควรจะเรียกว่า "พระเนื้อเปราะ" ที่เป็นเช่นนั้นจริงๆ
  • เพราะ เมื่อเป็นพระเนื้อปูนเปลือกหอย เมื่ออ่อนปูน ก็ต้องกำหนดว่า พระเนื้ออ่อน (ปูน) แต่แก่ผง
  • ไม่ควรเรียกว่า "พระเนื้อจัด"

จึงเสนอมาเพื่อพิจารณาพัฒนาการการเรียนรู้ ความโปร่งใส ชัดเจน ให้ใครดูก็ได้ ไม่ต้องรอ "เซียนใหญ่"

เพื่อความเข้าใจตามหลักการ หลักวิทยาศาสตร์ และความเป็นจริงที่ตรงกัน

โดยการพึ่งตนเองได้ ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 438248เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2011 04:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2014 08:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

อาจารย์สบายดีนะครับ

ผมเองก็เริ่มพลอยสังเกตพระเครื่องแล้วครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับคำแนะนำที่ดีดี จากอาจารย์

่ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ

ขอสมัครเป็นลูกศิษย์ด้วยคนครับอาจารย์ ผมเริ่มศึกษาพระสมเด็จวัดระฆังเพราะเหตุุผลความเลื่อมใสในตัวของหลวงปู่ครับ

ครับ สงสัยอะไรโทรมาคุยได้ครับ

เห็นแล้วก็จะไม่งง บอกเท่าไหร่ก็ไม่มีทางเห็น

พระผมเองครับขอความรู้ด้วยครับ

จะเล่นพระแบบนี้ไปทำไมครับ ขายได้ไม่เกินร้อย

ธาลน้ำตาคือทางไหลของคราบปูนปะคับ

ขอบคุณครับอาจารย์ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากแต่สงสัยว่าสายธารบ่อน้ำตาขอดูรูปครับ..

ขอบคุณอาจารย์ครับที่แบ่งปันความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท