ลูกอ๊อดในบ่อปลา


บ่อปลาเล็กๆก็บูรณาการการสอนได้

ลูกอ๊อดในบ่อปลา

    เปิดภาคเรียนปีการศึกษา ๒๕๕๔ ได้ราวเดือนเศษ มีนักวิชาการเข้ามาเยี่ยมชมบ่อปลาปูนซีเมนต์ สี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างยาว ๓ คูณ ๕ เมตร มีทางเดินโดยรอบ ข้างๆบ่อปลูกไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัว รั้วกินได้ และปลูกต้นอัญชันหลายต้น ทำร้านให้เลื้อยขึ้น ปกคลุมเป็นร่มเงาให้บ่อปลา ตอนนี้กำลังออกดอกสีน้ำเงินงามสะพรั่งดีจริงๆ

    ในบ่อปลาที่เคยเลี้ยงปลาดุก ปีนี้เปลี่ยนเป็นปลาทับทิม ลำตัวออกสีส้มๆปนสีขาว เหมือนปลาสวยงามทั่วไป ที่ต้องเปลี่ยนชนิดของปลาที่เลี้ยง ก็เนื่องมาจาก ปลาดุกกินจุมาก ต้องเปลี่ยนไปเลี้ยงเพียง ๑๐๐ ตัว ในบ่อเล็ก (ถังน้ำฝน) หลังโรงเรียน บ่อปลาทับทิมต้องการให้นักเรียนเลี้ยงไว้ดูเล่นเพื่อความเพลิดเพลินเจริญใจ แต่ต้องช่วยครูดูแลทำความสะอาดบ้าง ให้อาหารบ้าง และรดน้ำต้นไม่้รอบๆบ่อ ตลอดจนต้องช่วยกันรื้อผักบุ้งออก ที่ตอนแรกนำมาให้ปลากิน ตอนนี้ผักบุ้งงอกงามเต็มบ่อมากเกินไป นักเรียนก็ช่วยกันแยกออกไปทิ้งลงสระน้ำของโรงเรียนบ้าง

     นักวิชาการ และผู้รู้ทั้งหลายที่มาเยี่ยมชม ต่างแนะนำคล้ายกันว่าบ่อปลาทับทิมนี้ สามารถบูรณาการการสอน เรื่องระบบนิเวศน์ได้ ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งพิชและสัตว์ สามารถพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สิ่งที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ ต้องอาศัยปัจจัยแวดล้อม ทั้งน้ำ อากาศ และอาหาร ในสภาวะที่เหมาะสม ไม่มากไม่น้อยเกินไป พอเพียงและสมดุล และการดำรงชีวิตแบบ "ห่วงโซ่อาหาร" ก็สามารถมองเห็นและเข้าใจได้ในบ่อปลาทับทิมแห่งนี้

      ผู้เขียนได้แต่ฟังเพลิน และคิดตามอย่างอัศจรรย์ใจ เหมือนจะอุทานในใจด้วยว่า โอ้โฮ บ่อปลาเล็กๆอย่างนี้ ก็ให้คุณูประการมากมายเช่นนี้เชียวหรือ

       สัปดาห์ต่อมา ผมแนะนำให้ครูทุกคน นำเด็กไปเรียนรู้ยังแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ไปชมบ่อปลาพร้อมกับเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ไปด้วย ตกเย็นมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งครูและนักเรียนดังเซ็งแซ่ ว่ามีลูกอ๊อดตัวดำหัวใหญ่เต็มบ่อปลานับล้านตัว เป็นลูกอ๊อดของกบแน่ๆ โรงเรียนจะได้เลี้ยงกบด้วย กบราคาแพงมาก โรงเรียนจะมีรายได้ดี โดยไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย

       ผมเก็บอาการตื่นเต้นไว้ในใจ พอนักเรียนกลับบ้านหมดแล้ว ผมไปสำรวจบ่อปลา พบเห็นลูกอ๊อดมากมายจริงๆ น่าตกใจ ลูกกบหรือลูกอะไรกันแน่ เมื่อแหวกกอผักบุ้งดู กลับพบคางคกตัวใหญ่ ๒ - ๓ ตัว ยืนนิ่ง ลำตัวอ้วนกลม บ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ ผมก็คิดไปว่า หรือว่าแม่กบ อาศัยอยู่ในน้ำ ไม่โผล่มาให้เห็น

     สองสัปดาห์ต่อมา ลูกอ๊อด สีดำ หายหน้าหายตาไปราว ๓ ใน ๔ ส่วน ปลาทับทิมเริ่มโตขื้น และยังไม่เห็นลูกกบเลยสักตัว และแล้ว มาต้นเดือนสิงหาคมนี่เอง ก็เกิดลูกอ๊อดใบบ่อปลาครั้งใหญ่ มีมากกว่าเดิมด้วย ชนิดมืดฟ้ามัวดินทีเดียวเชียวผมต้องให้ผู้เชี่ยวชาญในหมู่บ้านมาดู ก็เลยได้คำตอบว่า ลูกอ๊อดคางคกแน่นอน คราวนี้ก็เดือดร้อนคุณครู ต้องช่วยกันลุยลงไปในบ่อ ตักลูกอ๊อดไปเทลงสระใหญ่ ผมติดประชุม เลยไม่ได้อยู่ดู กลับมาเห็นลูกอ๊อดเหลือน้อยนิดก็เบาใจ ที่มันไม่ทำลายทัศนียภาพไปมากกว่านี้ ส่วนลูกอ๊อดที่ย้ายลงสระ ข่าวว่าเป็นอาหารปลาไปเรียบร้อย

     ตกลงว่าโรงเรียนไม่ได้เลี้ยงกบเสียแล้ว ไม่ได้ขายกบอย่างที่คิด ส่วนคางคกตัวใหญ่หายหน้าไป มีลูกคางคกกระโดดโลดเต้นขอบบ่ออยู่ ๔-๕ ตัว  ตอนนี้ มีผู้รู้แนะนำอีกว่าปลาทับทิมเมื่อโตมากแล้ว ยังไงก็ไม่กินลูกอ๊อด ควรเลี้ยงปลาดุกแทน เพราะปลาดุก จะกินลูกอ๊อดไม่เหลือหรอ เป็นอาหารอย่างดีของปลาดุก จะช่วยลดต้นทุนไปได้เยอะ

     ผมยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำอย่างไร เพราะการเลี้ยงปลาทับทิมก็เดินทางมาไกลพอสมควรและปลาก็เริ่มใหญ่แล้ว..สงสัยต้องอดทนไปสักพัก

 

เรื่องเล่าจากโรงเรียนเล็ก www.bannongphue.com

 

หมายเลขบันทึก: 453528เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2011 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 21:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มีปลาบึกไหมครับ ค่อยๆ เลี้ยงไปสัก 2-3 ตัว แล้วรอดูท่าทีว่าเป็นอย่างไร 

ได้ผลอย่างไรบอกด้วยครับ จะขอลูกปลามาใส่บ่อที่ บ้านสวนโสภณบ้างนะครับ 


  • รอดูการหยอดหลุมข้าว
  • การเอาภาพขึ้นทำแบบนี้ครับ
  • เข้าระบบ
  • ไปที่เมนูของฉัน
  • ไปที่ไฟล์อัลบัม
  • กดนำไฟล์ขึ้น
  • browse หาภาพจากเครื่อง (ไฟล์ภาพต้องย่อประมาณ 500x400 pix และต้อง ตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษครับ)
  • กดบันทึก
  • ไปที่บันทึก
  • กดแก้ไขบันทึก
  • ข้างล่างมีเขียนว่า
  • แทรกรูปภาพ
  • กดที่แทรกภาพ
  • จะเห็นภาพปรากฏ
  • กดที่ภาพ
  • ภาพจะไปอยู่ที่บันทึก
  • กดบันทึกเก็บ
  • รอดูภาพครับ เย้ๆๆ

ขอบคุณครับ ขอบคุณ ท่านอาจารย์ขจิตมากๆเลย

ท่านอาจารย์เป็นกัลยาณมิตร กับครูและโรงเรียนที่ด้อยโอกาสจริงๆ

ผมจะพยายามสร้างสรรค์งาน เพื่อเด็ก โรงเรียนและชุมชน

ให้สมกับได้ชือว่า เป็น ผู้บริหารโรงเรียน ครับ

อ้อ หยอดข้าว แทนการหว่านข้าว ดำเนินการ วันที่ ๑๗ สิงหาคม ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท