วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

สรุปสาระสำคัญการแลกเปลี่ยนการจัดการความรู้ (KM) ด้านบริการวิชาการ ปีการศึกษา 2566 ประเด็น “การบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างรายได้”


 

สรุปสาระสำคัญการแลกเปลี่ยนการจัดการความรู้ (KM) ด้านบริการวิชาการ ปีการศึกษา 2566 
ประเด็น “การบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างรายได้” 

วันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ. ห้อง ห้องประชุมพวงผกา อาคารเรียน 1 ชั้น 6

วิทยากร อ.ดร กฤตพัทธ์  ฝึกฝน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

กล่าวเปิดและบรรยายพิเศษ “การพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ” โดย ผศ.ดร.อัศนี วันชัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช กล่าวถึงการจัดบริการวิชาการที่เป็นรูปธรรมอย่างครบวงจร สามารถสร้างรายได้ให้แก่สถาบันได้  

ประเด็นที่ 1 การสร้างรายได้ให้แก่สถาบันภายใต้ขอบเขตที่สามารถปฏิบัติได้

อ.ดร. กฤตพัทธ์  ฝึกฝน กล่าวถึงโครงสร้างทีมงาน กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการดังนี้

          -งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและวิเทศสัมพันธ์ มีบุคลากรจำนวน  2 คน

          -งานบริการวิชาการ Faculty Practice มีบุคลากรจำนวน  1 คน 

          -งานบริการวิชาการและคลินิกการพยาบาล มีบุคลากรจำนวน 2 คน จัดบริการวิชาการ 2 ส่วนคือ ให้เปล่าและสร้างรายได้ 

          -งานวารสารและการจัดการความรู้ มีบุคลากรจำนวน  1 คน 

          -เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน จำนวน 1 ท่าน มีอายุ 58 ปี ที่ทำหน้าที่ (1) ในการรับหนังสือเข้า –หนังสือออก (2) ดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารงานวิจัย ได้แก่ สัญญาเบิกจ่ายเงินงบประมาณ (3) การจัดดำเนินการโครงการบริการวิชาการต่างๆ 

การดำเนินงานของกลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการมีจุดประสงค์ของการดำเนินงานดังนี้

วัตถุประสงค์ของการให้บริการวิชาการ

  1. ใช้ศักยภาพสมรรถนะความเชี่ยวชาญของอาจารย์ให้เกิดประโยชน์และ เพิ่มพูนทักษะความสามารถ ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาของอาจารย์ในแต่ละสาขาวิชา 
  2. เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้  การพัฒนาตนเอง การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลของบุคลากรในพื้นที่เขตสุขภาพและพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ เพราะการเข้ารับการอบรมในมหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายสูงและมีการจำกัดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
  3. เพิ่มเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ  การวิจัย การบริการวิชาการจากทั้งสถาบันร่วมและสถาบันต้นสังกัดของผู้เข้าร่วมรับการอบรม
  4. ประชาสัมพันธ์สถาบันให้ได้การยอมรับจากหน่วยงานภายนอก
  5. เพิ่มรายได้ให้สถาบัน

ประเด็นที่ 2 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดบริการวิชาการเพื่อสร้างรายได้ ท่านดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อให้ประสบความสำเร็จ (คุ้มค่า/คุ้มทุน)

การดำเนินงานพัฒนาหลักสูตร

1.  เข้าถึงข้อมูลความต้องการพัฒนากำลังคนด้านการพยาบาลและสาธารณสุขของเขตสุขภาพ (CHRO) และของประเทศ 

เนื่องจากทางสถาบันมีจัดอบรมหลักสูตรตามนโยบายของ สบช. คือหลักสูตรการรักษาโรคเบื้องต้น (หลักสูตร NP)  ที่ทุกวิทยาลัยในสังกัด สบช. จัดอบรมเหมือนกัน ดังนั้น ทาง วพบ. พะเยา จึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้มีการจัดอบรมไม่เหมือนกับสถาบันอื่นๆ และตอบสนองความต้องการในการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ จึงได้เข้าร่วมประชุมเขตสุขภาพ ทำให้ได้รับข้อมูลความต้องการพัฒนากำลังคนและแผนการพัฒนาแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาล อีกทั้งแผนการพัฒนาความเป็นเลิศของโรงพยาบาล ในด้านใดบ้าง ในอีก 5 ปี ด้านหน้า โดยเฉพาะ รพ. ศูนย์ระบบ A ของเขต

2. วิเคราะห์เป้าหมายของการพัฒนาโรงพยาบาล เป็น Excellent center ในแต่ละสาขาของ Service plan ของโรงพยาบาลในทุกระดับในเขต สุขภาพ และของประเทศ  ตัวอย่างเช่น  

  • โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จะเปิดศูนย์รังสีรักษา ของภาคเหนือตอนบนและได้รับงบประมาณในการดำเนินการแล้วแต่ ทางโรงพยาบาล
  • โรงพยาบาลแต่ละแห่งของภาคเหนือจะเปิด ICU สาขาต่างๆ ขึ้น 
  • มีนโยบายให้ โรงพยาบาลชุมชนสามารถรองรับผู้ป่วยวิกฤติได้
  • มีนโยบายงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรปรากฏชัดเจน ว่า ในระยะ 5 ปี จะมีการพัฒนา แพทย์และพยาบาลจำนวนเท่าไรในแต่ละสาขา

จะเห็นได้ว่า แต่ละโรงพยาบาลมีแผนการในการพัฒนาแต่ยังขาดบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถดังกล่าว ขณะเดี่ยวกันก็มีงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร แต่บุคลากรไม่สามารถไปอบรมเฉพาะทางได้เนื่องจากขาดคุณสมบัติตาม เช่น ต้องเจ้าหน้าที่ ICU ถึงจะสามารถอบรมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีหลักสูตรอยู่แล้ว เพราะทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะรับเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในแผนก ICU หรือ หอผู้ป่วยวิกฤตเท่านั้น  ทำให้ทาง วพบ. พะเยา มองเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น

3. ประเมินความต้องการในการพัฒนาบุคลากรในแต่ละสาขา (Need assessment)  จากการ สอบถามหัวหน้าพยาบาลแต่ละแผนกถึงความต้องการพัฒนาบุคลากร

4. วิเคราะห์ศักยภาพความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในแต่ละสาขาตามคุณสมบัติของการเปิดหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะสาขา  ตัวอย่างเช่น การจัดอบรมหลักสูตร การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง โดยการส่งอาจารย์ไปอบรม 

5. แสวงหาเครือข่ายความร่วมมือที่มีอุมกการณ์และวิสัยทัศน์ตรงกันจากทีม service plan ในแต่ละสาขาของเขตฯ และของประเทศตามศักยภาพ  ในการจัดอบรมและเป็นวิทยากร  MOU ได้แก่ โรงพยาบาลมะเร็ง ลำปาง  , 

6. ลงนามความร่วมมือทางใจ  (Unsigned MOU) ศูนย์มะเร็งของ รพ.นครพิงค์, โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 

7. เกาะติดเสดงความคืบหน้าในการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม  โดยการจัดประชุมร่วมกันหน่วยงานที่เข้าร่วม MOU และ หน่วยงานที่ Unsigned MOU ทั้ง onsite และ online ชี้แจงความก้าวหน้าของโครงการ

8. ทำความเข้าใจร่วมและกำหนดเป็นนโยบายสำคัญของการบริการวิชาการของสถาบัน (หนึ่งภาควิชาหนึ่งหลักสูตร)  เพื่อให้พัฒนาศักยภาพของอาจารย์และบุคลากรในแต่ละหน่วยงาน คือ 

  • ส่งเสริมให้บุคลากรของเครือข่ายได้มาเป็นวิทยากรอย่างต่อเนื่อง  (เป็น receptor)
  • ส่งเสริมให้หอผู้ป่วยหรือแหล่งฝึกมีความพร้อมในการเป็นแหล่งฝึกให้กับบุคลากรที่เข้ารับการอบรมในแต่ละหลักสูตร

หน้าที่ของงานบริการวิชาการ

  1. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร โดยมีงานบริการวิชาการเป็นผู้เช่วยเลขานุการ
  2. ดำเนินการขออนุมัติหลักสูตรจากสภาพการพยาบาล
  3. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพอาจารย์พี่เลี้ยง  preceptor 
  4. ประชาสัมพันธ์หลักสูตรและดำเนินการเอกสารการรับสมัคร
  5. ประสานงานกับประธานหลักสูตร  ประธานหลักสูตรคือ หัวหน้าภาควิชานั้นๆ  เพราะอาจารย์ในแต่ละสาขาวิชารู้จักวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในหลักสูตรที่จัดอบรมเป็นอย่างดี
  6. อำนวยความสะดวกในการอบรมทั้ง online และ onsite
  7. จัดทำเอกสารรับรองการสำเร็จการอบรม ใบประกาศ หนังสือราชการ
  8. ดำเนินการเอกสารการเบิกจ่ายทั้งหมด

หน้าที่ของคณะกรรมการหลักสูตร

  1. ร่วมคัดเลือกผู้เข้าอบรมตามคุณสมบัติ
  2. ร่วมสอนและพัฒนา preceptor กับงานบริการวิชาการ
  3. ออกแบบการจัดการเรียนการสอน จัดตารางสอนภาคทฤษฎี ภาคทดลองและภาคปฏิบัติ
  4. ติดต่ออาจารย์ผู้สอนโดยการประสานงานกับประธานหลักสูตร ร่วมของฝ่ายการพยาบาล
  5. จัดการเรียนการสอนตามแผน
  6. รายงานและสรุปผลการเรียนแก่งานบริการวิชาการ

เครือข่ายความร่วมมือ

 

หลักสูตร เครือข่ายความร่วมมือ
การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง กรมการแพทย์ 
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
โรงพยาบาลนครพิงค์
การพยาบาลผดุงครรภ์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
การพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดพะเยา
โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดเชียงราย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพะเยา
การจัดการโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลพะเยา
โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดพะเยา

หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา ได้ดำเนินการจัดอบรม
ระยะเวลาการจัดอบรมเป็นช่วงเวลาเดี่ยวกัน ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันในภาคทฤษฎี ในเนื้อหาวิชาหลัก ให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียน พร้อมกันในวันและเวลาเดี่ยวกัน ได้แก่ เนื้อหานโยบายและแผนสาธารณสุข,  กฎหมายวิชาชีพ เป็นต้น

ปีงบประมาณ หลักสูตร จำนวนคน
2563 การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง รุ่นที่ 1 19
2564 การพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต (ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ) รุ่นที่ 1 40
2565

การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง รุ่นที่ 2

การพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต  

(ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ) รุ่นที่ 2

การพยาบาลผดุงครรภ์ รุ่นที่ 1

การพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป รุ่นที่ 1

19

42

 

9

50

รวม 120
2566

การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง รุ่นที่ 3

การพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต  

(ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ) รุ่นที่ 3 - 4

การพยาบาลผดุงครรภ์ รุ่นที่ 2

การพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป รุ่นที่ 2

การจัดการโรคเรื้อรัง  รุ่นที่ 1

22

76**

 

15

42

35

  รวม 158
2567

การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง รุ่นที่ 4

การพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต  

(ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ) รุ่นที่ 5 - 6

การพยาบาลผดุงครรภ์ รุ่นที่ 3

การพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป รุ่นที่ 3

การจัดการโรคเรื้อรัง  รุ่นที่ 2

24

80**

 

22*

50*

40*

  รวม 216

*หมายเหตุ
-สำหรับหลักสูตรที่เปิด 2 รอบ  ในแต่ละปีงบประมาณ จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนภาคทฤษฎีพร้อมกัน แต่สำหรับภาคปฏิบัติให้ฝึกไม่ตรงกัน
- จัดกิจกรรมมอบประกาศนียบัตรพร้อมกัน

หลักสูตรอบรมระยะสั้นอื่นๆ
ภาคทฤษฎี เรียน online

ปีงบประมาณ หลักสูตร จำนวนคน
2564

การอบรมฟื้นฟูเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) 

อบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับต้น (ผบ.ต.) 2 กลุ่ม

100

120

2565

การอบรมฟื้นฟูเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) 

อบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับต้น (ผบ.ต.) 2 กลุ่ม

144

96

2566

การอบรมฟื้นฟูเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) 

อบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับต้น (ผบ.ต.) 2 กลุ่ม

389

116

2567

การอบรมฟื้นฟูเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) 

อบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับต้น (ผบ.ต.) 2 กลุ่ม

310

100

  รวม 1375

กรณีศึกษาการจัดการอบรมหลักสูตร การพยาบาลเฉพาะทางสาขาโรคมะเร็ง 

ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเตรียมการทั้งหมด 2 ปี โดยดำเนินการตามลำดับดังนี้

  1. ร่วมทีมพัฒนาบุคลากรตาม service plane สาขาโรคมะเร็ง  ไปอบรมที่ ประเทศเนเธอร์แลนด์
  2. เครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาหลักสูตรโรคมะเร็ง
  3. รับย้ายอาจารย์ใหม่ความเชี่ยวชาญสาขาโรคมะเร็ง  (อดีตหัวหน้าหอผู้ป่วยมะเร็งจาก สถาบันวิจัยมะเร็งจุฬาภรณ์)
  4. พัฒนาอาจารย์ด้าน chemotherapy หลักสูตร 1 เดือน
  5. พัฒนาหลักสูตรฯ ด้วยความช่วยเหลือจากเครือข่าย
  6. Preceptor training ณ วพบ. พะเยา
  7. ดำเนินการเปิดหลักสูตร online และ onsite

รายได้จากการจัดอบรม

ปีงบประมาณ รายรับจากการลงทะเบียน  (บาท) รายได้สะสมรวมให้แก่สถาบัน (บาท)
2564 4,340,000 3,542,000
2565 7,102,490 5,753,090
2566 10,832,000 8,822,200
2567 11,361,000 9,088,400
รวม 33,635,490 27,205,690

ประเด็นที่ 3 ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและแนวทางการแก้ไข

          - อาจารย์ที่เป็นประธานหลักสูตรต้องมีวุฒิจบ ปริญญาเอกในสาขาวิชาและหรือผ่านการอบรมเฉพาะทางในหลักสูตรที่จัดสอน แต่ว่ามีอาจารย์ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวได้วางแผนลาออกจึงได้แก้ไขโดยการให้อาจารย์ในสาขาวิชาเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่ภาควิชาตนเองจัดในรุ่นที่ 1 ต่อจากให้อาจารย์ที่เหลือเข้ารับการอบรมในรุ่นต่อไปจนครบทุกคน

          - เริ่มแรกก่อนดำเนินการ  อาจารย์ใน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา  ยังไม่มีใครผ่านการอบรมเฉพาะทาง ดังนั้น อ.ดร กฤตพัทธ์  ฝึกฝน ได้ไปติดต่อกับกลุ่มงานพัฒนาบุคลากร (HR) ให้เสนอแผนงานดำเนินการในการส่งอาจารย์ในอบรมเฉพาะทางในมหาวิทยาลัยต่างๆ กับคณะกรรมการกลุ่มงานพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เสนอกับคณะกรรมการบริหารของวิทยาลัยในการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาอาจารย์และสนับสนุนด้านเวลาให้อาจารย์ได้ไปอบรมได้ ขณะเดี่ยวกันก็ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้อาจารย์ไปอบรม

          - อาจารย์ไม่มีเวลาเนื่องจากติดภาระงานสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ แก้ไขโดยการ ไม่จัดภาระงานให้กับอาจารย์ท่านดังกล่าวและปรับเวลาให้ อาจารย์ได้ไปฝึกอบรมเฉพาะทางได้

ประเด็นที่ 4 ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดทำการบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างรายได้

  1. วางแผนส่งอาจารย์ในสถาบันไปอบรมเฉพาะทางให้ตรงกับหลักสูตรที่จะจัดอบรม
  2. ทางสถาบันจัดให้อาจารย์ไปอบรมหลักสูตรเฉพาะทาง ให้ครบทุกคนเพื่อให้ วพบ. พะเยาได้เป็นสถาบันหลักในการจัดอบรม
  3. สถาบัน วพบ. พะเยา มีอาจารย์เป็นประธานหลักสูตรเฉพาะทาง
  4. อาจารย์ที่นิเทศภาคปฏิบัติหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ สามารถนำมาเป็น Faculty Practice ได้
  5. การเสริมแรง โดยการเพิ่มคะแนน PA ให้กับประธานหลักสูตร 2 คะแนน และคนที่เป็นกรรมการก็จะได้ 0.5 คะแนน
  6. จุดคุ้มทุนในการจัดอบรมคือ มีผู้เข้ารับการอบรมอย่างน้อย 15 คน โดยการจัดอบรมภาคทฤษฎีพร้อมกันทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน **ยกเว้นหลักสูตรผู้บริหารระดับต้นที่ยังแยกอบรมภาคทฤษฏีแยกเป็น 2 รุ่น
  7. จัดอบรมหลายหลักสูตรในเวลาเดี่ยวกัน

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ “การบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างรายได้” 

อาจารย์จิตตระการ  ศุกร์ดี  กล่าวถึงอบรมของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา มีเพียง 5 โครงการ ส่วนของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช  มีถึง 10 โครงการแต่รายได้ยังน้อยกว่าของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา ดังนั้นจะนำแนวทางการบริหารจัดการจัด มาปรับใช้ เพื่อให้มีการทำงานน้อยแต่คุ้มทุนและเกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนการส่งอาจารย์ไปอบรมเฉพาะทางเพื่อให้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ได้เป็นแกนนำและเป็นประธานหลักสูตรจัดอบรม ซึ่งเป็นงานที่ท้าทายของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

อ.ดร.จิตตระการ ศุกร์ดี ได้สอบถามเกี่ยวกับการเปิดห้องเรียน online และการส่งจดหมายเชิญเข้าร่วมอบรม

อ.ดร กฤตพัทธ์  ฝึกฝน กล่าวว่า การเปิดห้องเรียน online นั้นได้ชื้อ ห้อง Zoom ต่อเนื่องทุกปีโดยใช้เงินรายได้จากการจัดอบรม โดยจำแนกเป็นห้อง Zoom แบบ 100 คน และ แบบ 500 คน ส่วนในด้านการประชาสัมพันธ์จะใช้เวลาประชาสัมพันธ์ประมาณ 6 เดือน โดยส่งจดหมายเชิญไปยังเขตสุขภาพทุกแห่งของประเทศ และส่งหนังสือไปยังประธาน service plan แต่ละสาขาอยู่ที่ใดบ้าง ตัวอย่างเช่น 

  • ประธาน service plan  สาขาโรงมะเร็ง คือ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จึงได้ส่งจดหมายไปยังเขตสุขภาพและส่งจดหมายถึง ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา พบว่ามีผู้มาอบรมจาก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จำนวนประมาณ 10 คน
  • ประธาน service plan โรค NCD คือ สาธารณสุขจังหวัดลำปาง จึงได้ทำจดหมายไปยัง สาธารณสุขจังหวัดลำปาง 

ผศ.ดร.วิภาพร  สิทธสาตร์   กล่าวถึงความรู้สึกไม่มั่นใจที่จะต้องจัดอบรมหลายๆ หลักสูตรในเวลาเดี่ยวกัน ตัวอย่างเช่น การจัดอบรมหลักสูตรการรักษาพยาบาลเบื้องต้นนั้นมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 60 คน และยังมีผู้ที่สอนใจต้องการเข้ารับการอบรมเพิ่ม ซึ่งคิดว่าต้องการจัดอบรมเป็น 2 รุ่น แต่เนื่องจากไม่มั่นใจว่า สภาการพยาบาลจะอนุญาตหรือไม่  แต่เมื่อเห็นแนวปฏิบัติของ วพบ. พะเยาที่จัดให้ผู้เข้าอบรมเรียนภาคทฤษฎีพร้อมกันแล้วแยกการฝีกภาคปฏิบัติไปคนละรุ่น ทำให้สามารถช่วยแก้ปัญหาและลดงบประมาณได้

          การจัดโครงการอบรมของ วพบ. พุทธชินราช ใช้วิธีการส่งแบบสอบถามสำรวจความต้องการอบรมหลักสูตรต่างๆ และไปนำเสนอหลักสูตรที่จะจัดอบรบไปยังเขตสุขภาพและสาธารณสุขจังหวัด

อาจารย์เพ็ญนภา ดำมินเศก สอบถามแนวทางการนิเทศภาคปฏิบัติ อ.ดร.กฤตพัทธ์ ฝึกฝน กล่าวว่าให้พี่เลี้ยงแหล่งฝึกเป็นผู้นิเทศ ยกเว้นใน หอผู้ป่วยที่ไม่มี preceptor จึงให้อาจารย์ วพบ. พะเยาที่รับผิดชอบหลักสูตรเฉพาะทางเป็นผู้นิเทศ และให้จะไม่จัดให้อาจารย์นิเทศนักศึกษาพยาบาลในหลักสูตรปกติในช่วงเวลาดังกล่าว อีกทั้งอาจารย์ที่นิเทศหลักสูตรเฉพาะทางจะได้รับค่าตอบแทนการสอน

ผศ.ดร.อัศนี วันชัย  สอบถามถึงแนวทางการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ IT อ.ดร กฤตพัทธ์  ฝึกฝน กล่าวว่า ทาง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา จะมีเจ้าหน้าที่ โสต มีเพียงคนเดียว แต่จะมี เจ้าหน้าที่ IT สลับเวรมาดูแล ส่วนเจ้าหน้าที่ โสต จะทำหน้าที่ควบคุมห้องแม่เครือข่าย ส่วนห้อง Zoom ของผู้บรรยายจะอยู่ใกล้

หมายเลขบันทึก: 717976เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2024 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2024 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดบริการวิชาการ ร่วมถึงการบริหารการจัดโครงการต่างๆได้ดีมากค่ะ ท่านวิทยากรมีไอเดียในการจัดบริหารหลักสูตรที่ต่อเนื่องทุกปี และจัดทุกโครงการพร้อมเพื่อเพิ่มรายได้และประหยัดทรัพยากรได้ดีเลยค่ะ ได้เทคนิคและไอเดียเพิ่มมากขึ้นค่ะ

ควรส่งเสริมให้อาจารย์ได้ไปอบรม พัฒนาองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ และมาถ่ายทอดในองค์กรเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการส่งต่อความรู้ในรูปแบบการจัดบริการวิชาการ

สุรีรัตน์ ณ วิเชียร

เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการให้บริการวิชาการ ร่วมถึงการบริหารการจัดโครงการต่างๆได้ดีมาก สร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน

เนื้อหาน่าสนใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท