สรุปการเรียนรู้ AT For hearing and communication


บันทึกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา PTOT 366 อุปกรณ์ช่วยและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักกิจกรรมบำบัด โดยเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ได้เดินทางไปที่ สถาบันสิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เพื่อศึกษาเรื่อง AT For hearing and communication บรรยายโดย นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายชำนาญการพิเศษ สมจิต รวมสุข


ความรู้สึกที่ได้เรียนรู้ในวันนี้?

  ความรู้สึกที่ได้มาเรียนที่สถาบันสิรินธร ค่อนข้างที่จะเป็นความรู้สึกที่น่าทึ่ง และตื่นเต้นมาก เพราะ สถาบันสิรินธรเป็นสถาบันที่ส่งเสริมและมีอุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้พิการเยอะมาก ดังนั้นการที่เราจะเห็น AT ของจริงที่ผ่านตาเรามาในบทเรียน และ AT ใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนนั้นเป็นเรื่องไม่แปลกเลยสำหรับที่นี่ แต่สำหรับนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 คนนี้รู้สึกตื่นเต้นและยิ่งมีกำลังในการเรียนรูัต่อมากๆ การบรรยายภายในชั้นเรียนก็เป็นบรรยกาศสบายๆ ไม่เครียด เหมือนพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และท้ายคาบยังมีการแบ่งกลุ่มทำแลป ที่เป็นแลปชวนคิดอีกด้วย ทำใฟ้บรรยากาศในชั้นเรียนสนุกมากๆ ในช่วงการเดินทางไปดูสถานที่ทำงานในส่วนของการบำบัดก็ค่อนข้างตื่นเต้นมากเช่นเคย เพราะว่าเป็นฝ่ายที่นักกิจกรรมบำบัดหลายท่านคงจะคุ้นเคยกับชื่อเรียกมามาก แต่ก็คงมีไม่กี่ท่านที่ได้เข้ามาดูบรรยากาศห้องฝึกแบบนี้ ดังนั้นการมาดูงานครั้งนี้ค่อนข้างเปิดประสบการณ์ใหม่ๆมาก มีความสุขและยินดีมากค่ะที่ได้มาศึกษาดูงานที่นี่

สิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้

  วันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ AT For hearing and communication บทเรียนประกอบไปด้วย บทนำของ AT บทนี้ทำให้เรารู้จักว่า AT คืออะไรได้ชัดเจนกว่าเดิม โดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่บกพร่องเรื่องการได้ยินและการสื่อสาร ได้เรียนรู้ตั้งแต่ความพิการแบ่งยังไง รายละเอียดความพิการเป็นยังไง และอุปกรณ์ช่วยสำหรัยคนกลุ่มนี้มีอะไรบ้าง บทเรียนต่อไปจะได้รู้ว่า AT มีอะไรบ้างมากขึ้นกว่าเดิม ในบทนี้จะได้เรียนรู้ทั้งรายละเอียด คุณสมบัติ วิธีใช้งาน หรือเรียกได้ว่าเป็นการเจาะลึกข้อมูลของ AT เข้าไปมากกว่าเดิม บทที่ 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ACC : Augmentative Alternative Communication = การสื่อสารที่นำมาทดแทนการพูดหรือเขียน การสื่อความหมายทดแทน ในบทนี้เราจะได้เรียนเกี่ยวกับ ACC คืออะไร ประเภทของ ACC มีอะไรบ้าง ตัวอย่างของ ACC มีอะไรบ้าง และวิธีการนำ ACC ไปใช้อย่างถูกต้อง และบทสุดท้าย บทที่ 4 เราได้เรียนเกี่ยวกับการดูแลอุปกรณ์ช่วยฟัง การทำความสะอาด การเก็บรักษา บทเรียนที่เราได้เรียนทั้งหมดในวันนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ในการไปทำงานจริง เพราะได้รู้จักคน อุปกรณ์และวิธีดูแลด้วย

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดทางกิจกรรมบำบัด

  จะนำเอาความรู้ที่ได้มาไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง จากหัวข้อ 2 ที่บทเรียนทำให้รู้ทั้งผู้รับบริการ อุปกรณ์และวิธีดูแลรักษาซึ่งนักศึกษาคิดว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์มากในการไปทำงานจริง เพราะเราจะไม่เพิ่มความเสี่ยงอันตรายอะไรให้ผู้รับบริการและยังสามารถคิดกิจกรรมส่งเสริมได้ถูกประเด็นมากขึ้น ได้แนวคิดและวิธีการทำงานของแต่ละอุปกรณ์ช่วยจึงน่าจะเป็นประโยชน์มากในนำไปปรับประยุกต์ใช้ในวิชาชีพกิจกรรมบำบัด

 

 

หมายเลขบันทึก: 717167เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2024 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2024 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท