ความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐกับการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย


ความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐกับการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย


วันที่  15 พฤษภาคม 2561 ร่วมประชุมวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยมหาวิทยาลัย

เป็นโอกาสที่ได้เรียนรู้การวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพ 

แนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพ จะเน้นที่ กระบวนการ และองค์กร ซึ่งหมายถึงทุกๆคนในองค์กร โดยการพัฒนาปรับปรุง กระบวนงานและพัฒนาบุคลากร เพื่อให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น การใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ ความสมดุลระหว่างต้นทุนกับงานบริการสาธาณะ

ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง

1.ลดต้นทุน

2.สอบทานการดำเนินงานด้านต่างๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

ประสิทธิภาพ คือ การวัดในเชิงเปรียบเทียบ ระหว่างผลผลิตและทรัพยากรที่ใช้ 

ดังนั้น 

การวัดประสิทธิภาพ = ต้นทุนรวม/จำนวนผลผลิต

กระบวนการวัดว่างานมีประสิทธิภาพหรือไม่ วัดจาก ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต

กระบวนการให้บริการมีประสิทธิภาพหรือไม่ วัดจาก ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตงานบริการ

กระบวนและหลักการวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ


วิธีการและรูปแบบนำเสนอแผนเพิ่มประสิทธิภาพ

1.การสื่อสารกับคนในองค์กร เพื่อทราบเป้าหมายและวิธีการ

2.การนำเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาใช้ในการทำงาน

3.ลดขั้นตอน

4.ลดกระบวนการที่ซ้ำซ้อน

เมื่อถึงครึ่งปีงบประมาณมีการติดตามการดำเนินงานตามแผนเพิ่มประสิทธิภาพ หากไม่มีการบรรลุเป้าหมาย ต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และความเป็นไปไม่ได้ จัดทำแผนเพื่อปรับปรุงเพื่อให้บรรลุตามวัถุประสงค์ที่วางไว้

ดังนั้น ประสิทธิภาพกับต้นทุนต่อหน่วยคือเรื่องเดียวกัน

กระบวนการ หลักการวางแผน
1.การได้รับทรัพยากรมาเพื่อการดำเนินงาน(Input) 1.การประหยัดทรัพยากร หรือการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
-การกำหนดนโยบายการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
-การจัดโครงการรณรงค์การใช้ทรัพยากร
-การประเมินความคุ้มค่าการใช้ทรัพยากร
-การพัจารณาว่าทรัพยากรใดไม่ถูกใช้งาน หรือใช้ไม่เต็มกำลัง
การจัดซื้อจัดจ้างด้วยราคาที่เหมาะสม
2.การดำเนินงาน(Process)ได้แก่กระบวนการทำงาน 2.ประสิทธิภาพด้านกระบวนการ
- การพิจาณณากิจกรรมทั้งองค์กร เพื่อดูความซ้ำซ้อนของกิจกรรม
-การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกิจกรรมที่เหมือนกันระหว่างหน่วยงานย่อยภายในองค์กร
-การลดกระบวนการที่ไม่จำเป็นออกไป
3.การสร้างผลผลิต (Output) 3.ประสิทธิภาพของการสร้างผลผลิต
-การปรับปรุงคุณภาพของผลลิตให้ประชาชนพอใจ
-พิจารณาเพิ่มผลผลิตให้ใช้ทรัพยากรคงที่อย่างเต็มประสิทธิภาพ
-ลดระยะเวลาการรอคอยการรับบริการของประชาชน


หมายเลขบันทึก: 647267เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2018 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2018 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Great to see 'accountability' growing in Thailand's Public Service. It's high time we have 'evidence-based' reforms (not just personal/emotional preferences).

Please tell us of progress.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท