เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ / ปฐมวัย


เรื่อง  การเตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (การสังเกตและเปรียบเทียบ) ของเด็กปฐมวัย ระดับ 

          ชั้นอนุบาลปีที่  2  ด้วยแบบฝึกทักษะ

ผู้วิจัย  นางสาวพรชิตา  ธรรมศิริ

หน่วยงาน  โรงเรียนบ้านมาบยางพร  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง  เขต 1 

ปี  พ.ศ.  2556

                                                                                       บทคัดย่อ

               การเตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (การสังเกตและเปรียบเทียบ) ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ด้วยแบบฝึกทักษะ เป็นการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของแผน จากการใช้แผนการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (การสังเกตและเปรียบเทียบ) ของเด็กปฐมวัย       ชั้นอนุบาลปีที่  2 ด้วยแบบฝึกทักษะ  เพื่อเตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน            2) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์ เตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (การสังเกตและเปรียบเทียบ) ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ด้วยแบบฝึกทักษะ ที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน  80/80  และ 3) เปรียบเทียบระดับความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย  ก่อนและหลังการเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ เตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (การสังเกตและเปรียบเทียบ) ของเด็กปฐมวัย  ชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่  1  ของปีการศึกษา  2555  โรงเรียนบ้านมาบยางพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง  เขต 1 จำนวน  35  คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยด้วยสถิติพื้นฐานการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (X)  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และค่าร้อยละ (P)  และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบนัยสำคัญของความแตกต่าง (Test Significance of Differences) t-test  ซึ่งผลการวิจัย  พบว่า

            1. แผนการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (การสังเกตและเปรียบเทียบ) ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่  2 ด้วยแบบฝึกทักษะ  เป็นแผนที่มีโครงสร้างที่ครบถ้วนชัดเจน  ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา  และนอกจากนั้นยัง

บ่งชี้บทบาทของครูและนักเรียนได้อย่างชัดเจน

             2. แผนการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (การสังเกตและเปรียบเทียบ) ของเด็กปฐมวัย  ชั้นอนุบาลปีที่  2  ด้วยแบบฝึกทักษะ เป็นแผนที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  95.33/90.90 

             3. เมื่อทำการเปรียบเทียบระดับความพร้อม  ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย  ก่อนและหลังการเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ เตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (การสังเกตและเปรียบเทียบ) ของเด็กปฐมวัย  ชั้นอนุบาลปีที่  2  ด้วยแบบฝึกทักษะ  พบว่า  นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีระดับความพร้อมหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา  กล่าวคือมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001  ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย


คำสำคัญ (Tags): #บทคัดย่อ
หมายเลขบันทึก: 532108เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2013 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2013 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท