ทักษะชีวิต จิตอาสา พัฒนาอาชีพ ตามไปดู..การเสริมสร้างการเรียนรู้แก่เด็กและเยาวชนภาคใต้ (๓)


" ศีลธรรมของยุวชน คือสันติภาพของโลก "

 

                                 

                                     20090521173411_146

 

             ตอนที่ ๓ ของการถอดบทเรียนชุดนี้ ของ สรส.ด้วยความสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จะเป็นการถ่ายทอดเรื่องเล่า " เยาวชนจิตอาสา " ในเวทีตลาดนัดความรู้ของเยาวชนในชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๖-๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ โรงแรมลิกอร์ จ.นครศรีธรรมราช ...

             น้องๆในกลุ่มตัวอย่างที่นำประสบการณ์ดีๆมาแบ่งปัน คือ"ยุวชนสร้างสรรค์สุราษฏร์ธานี " ซึ่งได้เริ่มต้นสร้างตนเองจากสิ่งเล็กๆ มาเป็นเวลานาน โดยอาศัยธรรมะของท่านพุทธทาส แห่งสวนโมกข์ มาเป็นจุดเริ่มต้น หลังจากนั้นจึงได้ขยายรูปแบบอย่างเป็นขั้นตอน จนขยายวงผู้เข้ามาร่วมกลุ่มมากขึ้นเป็นลำดับ กล่าวคือ :

             - ได้ก้าวเดินที่ละก้าว ด้วยความเชื่อมั่นในธรรมะ และการเรียนรู้ตามธรรมชาติ ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยกรอบของระบบการศึกษา..ทำให้เกิดจินตนาการ และการแสวงหาความรู้ ดังนั้นกิจกรรมที่นี่ จึงเติบโตจนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

            - ได้ขยายกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อมุ่งหวังให้เยาวชนของชาติ เกิดสิ่งที่เรียกว่า "การเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ตนเองอยู่รอด "

           - ในปัจจุบันกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ สุราษฏร์ธานี มีเครือข่ายการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้งภาคีการทำงานที่มีพลัง และพร้อมที่จะนำเสนอ " การเรียนรู้แบบใหม่ เพื่อชีวิตใหม่ ให้อยู่รอดทั้งตนเองและผู้อื่น "

                             20090521181542_175 
  

                  น้องเอี้ยง รุ่นพี่กลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์ สุราษฏร์ธานี ได้เป็นตัวแทนของกลุ่มเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมาว่า...

                     -- กลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์ฯ ใช้เวลาส่วนใหญ่ทำงานในพื้นที่ พวกเราสนใจ การศึกษาทางเลือก โดยมีครูอู๊ด และครูจิต จากมอ.ปัตตานี เป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยง เราเริ่มต้นกิจกรรมที่สวนโมกข์ โดยจัดค่ายเล็กๆมาแล้ว ๔-๕ รุ่น ฝึกสมาธิ และฝึกหัดการพึ่งตนเอง ตั้งเป็นกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ ที่ได้มาจากคำสอนของท่านพุทธทาสที่กล่าวว่า " ศีลธรรมของยุวชน คือสันติภาพของโลก " ทั้งนี้ ความหมายของยุวชน มิได้หมายถึงแต่ผู้มีอายุน้อยเท่านั้น แต่ ทุกคนเป็นยุวชนที่ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

                    -- ต่อมากิจกรรมของเราได้ขยายไปสู่การทำร่วมกับ กลุ่มเด็กและเยาวชนในโรงเรียนมากยิ่งขึ้น โดยสมาชิกเยาวชนได้เข้าร่วมในกิจกรรมทุกประเภทของโรงเรียน

                    -- เพื่อให้ได้บทเรียนในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น สมาชิกในกลุ่มจึงตั้งวงพูดคุยแลกเปลี่ยนกันว่า การศึกษาที่เราอยากได้จะเป็นอย่างไร หลังจากได้ข้อสรุปรูปแบบแล้ว จึงเริ่มกิจกรรมในรูปแบบใหม่มากยิ่งขึ้น โดยเริ่มจากที่บ้านของสมาชิกกลุ่มก่อน  หลังจากนั้นจึงขยับเข้าสู่กิจกรรมร่วมกับชุมชน  ... จึงเป็นช่วงจังหวะที่น่าเรียนรู้อย่างยิ่ง ที่สำคัญคือ ได้มีโอกาสทบทวนในระหว่างทำกิจกรรมตลอดเวลาว่า บทเรียนที่ได้รับคืออะไร และจะมีการพัฒนาต่ออย่างไร  เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้นไปอีก รวมทั้งยังขยายการเรียนรู้ จากตนเองสู่ครอบครัวและชุมชน ด้วยการตั้งกลุ่มกิจกรรมต่างๆขึ้น เช่น กลุ่มกิจกรรมต้นกล้านาใหญ่ กลุ่มคลองน้อย เป็นต้น

                       -- โดยมิได้คาดหวังมาก่อน  สกว.มีความสนใจทำวิจัยกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์นี้ สสส.ได้ให้ทุนสนับสนุนด้วยเช่นกัน

                       -- การดำเนินงานต่อเนื่องของกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์จากรุ่นพี่..สู่รุ่นน้องอย่างเป็นระบบ ย่อมสร้างต้นกล้าเยาวชนเข้มแข็งต่อไป

                               --------------------------------------

 

                    

            

หมายเลขบันทึก: 262520เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2009 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

วันนี้แวะมาชวน   ไปตรวจกรุ๊ปเลือดหน่อยค่ะ

กำลังรวบรวมสถิติ...ชาวบล็อกค่ะ

ที่นี่นะคะ....

 

★.• •★ ทานอาหาร...ตามกรุ๊ปเลือด...เพื่อสุขภาพที่ดี★... •★

 

 

Ann_003  P

 ขอบคุณค่ะ..คุณ°o.O ปลายฟ้า O.o°พี่หมู่เลือด AB ..อาหารที่แนะนำชอบทุกอย่างค่ะ..และหลีกเลี่ยงของต้องห้ามอย่างเคร่งครัด !! ...You are what you eat .....
  • พี่ใหญ่ครับ
  • สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนครับ
  • ติดตามไปได้ที่ใด
  • ขอบคุณมากๆๆครับ

 ขอบคุณค่ะ P อ.ขจิต ฝอยทอง ที่มาอ่าน สำหรับเรื่องที่สนใจงานวิจัยพัฒนาเยาวชนนั้น..พี่เองมีประสบการณ์แต่การเข้าไปร่วมรับรู้การขับเคลื่อนการพัฒนาเยาวชนทางภาคปฏิบัติของหลายองค์กร ดังที่นำมาเล่าต่อให้ทราบ...

  อ.ขจิตลองค้นที่ สกว. หรือ สสส....รวมทั้งขอคำแนะนำจากอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช นะคะ เพราะท่านเคยพูดถึงเรื่องนี้บ่อยๆ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท