วิจัย "วัฒนธรรมสร้างสรรค์ ย้อมดินให้เป็นดาว"


"วัฒนธรรมสร้างสรรค์ ย้อมดินให้เป็นดาว จาก ม.ดินแดง (ชุดดินยโสธร)

ผ้าอาบแดง  ผ้าย้อมดินแดงจังหวัดมุกดาหาร   ผ้าย้อมสีธรรมชาติจากดินภูเขาสำหรับพระสงฆ์สายวิปัสนากรรมฐาน  ใช้สำหร้ับถวายแด่พระสงฆ์ก่อนเข้าพรรษา

                  "ผ้าภูอัคนี  จ.บุรีรัมย์                         "ผ้าขาวม้าย้อมดิน  ไอดินกลิ่นไพร" จ.กาฬสินธุ์

 

วัฒนธรรมสร้างสรรค์ย้อมดินให้เป็นดาว: ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าพื้นเมืองด้วยการย้อมสีธรรมชาติจากดินแดงภาคอีสานเพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน

Creative Cultural Dye Soil into Stars : Local WisdomNaturalDyeingFabricWithRedSoilNativeISAANTo CreateIdentityProductFortheCommunity

ดร.ธีรกานต์โพธิ์แก้ว

สาขาสังคมศาสตร์คณะเทคโนโลยีสังคมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

วิทยาเขตกาฬสินธุ์083-3270087[email protected]

บทคัดย่อ

วัฒนธรรมสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าพื้นเมืองด้วยการย้อมสีธรรมชาติจากดินแดงในภาคอีสาน สร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยการย้อมดินให้เป็นดาวมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติด้วยดินแดงในภาคอีสานเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติด้วยดินแดงในภาคอีสานและเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างเอกลักษณ์ให้กับผ้าย้อมสีธรรมชาติจากดินแดงในภาคอีสานเป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการขอบเขตการศึกษาในพื้นที่จังหวัดมุกดาหารบุรีรัมย์และกาฬสินธุ์ระยะเวลา 1 ปีวิธีดำเนินการวิจัยศึกษาจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างในภาคอีสานแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่มรวมจำนวน 90 คน ประกอบด้วยกลุ่มผู้นำชุมชนจำนวน 20 คนกลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน 20 คนและกลุ่มบุคคลทั่วไปจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสำรวจ แบบสังเกตที่ไม่มีโครงสร้างแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง การประชุมกลุ่มย่อยและการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยภูมิปัญญาในการทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติจังหวัดมุกดาหารยังคงสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามด้วยกรรมวิธีการย้อมผ้าด้วยดินแดงแบบโบราณเรียกว่าการย้อมผ้าอาบแดงจังหวัดบุรีรัมย์รื้อฟื้นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่มีการนำดินแดงจากดินภูเขาไฟนำมาย้อมและทอเป็นผืนผ้าในนาม “ภูอัคนี” สำหรับจังหวัดกาฬสินธุ์ร่วมรื้อฟื้นภูมิปัญญาวัฒนธรรมการทอผ้าพื้นเมืองแบบโบราณเชิงสร้างสรรค์โดยการย้อมดินแดง จากชุดดินยโสธร ในนาม “ไอดินกลิ่นไพร”

คำสำคัญ: วัฒนธรรมสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการย้อมสีธรรมชาติ ดินแดง

Abstract

Creativelocalcultureoftraditionalweavingusingnaturalred soildyescouldbuildan identityof finecommunityproductsas dyeingsoiltobe a star in Isan.Theobjectivesofresearchweretoexaminethe historicalbackgroundandtechnologytransfer of weavingwisdomusingnaturalredsoildyes ; and to develop productsand create an identityfabricswithnaturalre soildyes in Isan.The researchmethodusedwasa mixofqualitativeand action research and was carried out in Mukdahan, Buriram, and Kalasin Provinces.The90sampleweredividedintothree groups : 20 community leaders, 20 casualinformants and 50 general informants. The instruments used were a basicsurvey, observations, interviews, Focus groups and Workshops.The analysis of data was donedescriptively. The results wereasfollows:

Mukdahan Upon the historicalbackground and technologytransfer of weavingwisdomusingnaturalred soil dyes, the studyfoundthatthere was a transfer of weavingusingancientnaturalred soildyescalledthe reddyebathrobes. For Buriram.Therewasa revitalizationofnaturaldyesusingvolcanicredsoil.For Kalasin, Thetechnologyof weavingwisdomwastransferredfrom the originalvillage.The natural red soil wastheYasothon soilseries

Key words :Creative culture, local wisdom, cloth dyeing using natural,

red soil

บทนำ

วัฒนธรรมการทอผ้าจัดเป็นศิลปหัตถกรรมที่แสดงถึงวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าและมีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มซึ่งมนุษย์ชนชาติต่างๆได้สร้างสรรค์ขึ้นมาจากภูมิปัญญาของเผ่าพันธุ์เอกลักษณ์ของผ้าในแต่ละพื้นที่เป็นภูมิปัญญาของกลุ่มคนที่สร้างสรรค์ขึ้นมาถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากวัฒนธรรมประเพณีคติความเชื่อรวมไปถึงวิถีชีวิตความจำเป็นสำหรับประโยชน์การใช้สอยในชีวิตประจำวันปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นอิทธิพล ที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์งานทอผ้าจากอดีตจนถึงปัจจุบัน (สุวรรณเพชรนิล. 2552 :5อ้างถึงใน อารีวรรณอุ่นเจริญ.2552 :1)การทอผ้าพื้นเมืองจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่ายิ่งผลิตภัณฑ์บางชิ้นงานนั้นประเมินค่ามิได้เพราะผลงานแต่ละชิ้นเป็นผลงานที่มีคุณค่ามีการใช้สีสัน และสอดแทรกลวดลายเรื่องราวแห่งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ความคิดความฝันมีความเป็นลักษณะเฉพาะตัว (ขนิษฐาสุวรรณชาด.2531 :4)

ภาคอีสานประกอบด้วย 20จังหวัดมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน เป็นแอ่งอารยธรรมโบราณ มีพื้นที่หนึ่งในสามของประเทศ ซึ่งมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย พื้นที่หลายแห่งเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมสำคัญของเอเชียอาคเนย์หากวิเคราะห์ปัญหาโดยภาพรวมพบว่าประชาชนยังขาดจิตสำนึกการจัดการอย่างมีส่วนร่วม และขาดแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ปัจจุบันจึงมีการส่งเสริมให้ชุมชนเริ่มหันมาอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นรวมถึงรื้อฟื้นภูมิปัญญาพื้นบ้านในการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติจากดินแดงไม่ว่าจะเป็นการทอผ้าอาบแดงจากดินแดงชุดดินดาลสำหรับพระสงฆ์สายวิปัสสนากรรมฐานของบ้านวังไฮอำเภอหนองสูงจ.มุกดาหารการทอผ้าพื้นเมืองย้อมดินแดงจากดินภูเขาไฟ บ้านเจริญสุขอำเภอเฉลิมพระเกียรติจ.บุรีรัมย์และการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบการทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองย้อมดินแดง บ้านคำไผ่อำเภอเมืองจ.กาฬสินธุ์ เป็นการศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาตั้งแต่บรรพกาลมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์สืบสานวัฒนธรรมสร้างความโดดเด่น และเป็นการสื่อสารเรื่องราวที่มีคุณค่าอีกหนึ่งภูมิปัญญาไทย ที่ควรค่าแก่การส่งเสริมสืบสานและรักษาให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติด้วยดินแดงในภาคอีสาน

2. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติด้วยดินแดงในภาคอีสาน

3.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างเอกลักษณ์ให้กับผ้าย้อมสีธรรมชาติจากดินแดงในภาคอีสาน

วิธีดำเนินการวิจัย

1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1ประชากรในภาคอีสาน

1.2กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพเลือกแบบเจาะจงจำนวน90 คนประกอบด้วย

1.2.1กลุ่มผู้นำชุมชนจังหวัดมุกดาหารบุรีรัมย์ และกาฬสินธุ์จำนวน 20 คน

1.2.2กลุ่มผู้ปฏิบัติการทอผ้าพื้นเมืองจำนวน20 คน

1.2.3กลุ่มบุคคลทั่วไปจำนวน50คน

2.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือแบบสำรวจแบบสังเกตที่ไม่มีโครงสร้างแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง การประชุมเชิงปฏิบัติถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ การจัดประชุมกลุ่มย่อยจากกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติจากดินแดง

1. การสร้างเครื่องมือ

1.1ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือศึกษาเอกสารแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสร้างแบบสอบถามที่ได้จากเอกสารแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.2ออกแบบสำรวจบริบทพื้นที่และดินที่นำมาใช้ในการทอผ้าพื้นเมือง

1.3ออกแบบสัมภาษณ์และนำแบบสัมภาษณ์ที่ได้ไปทดลองใช้จากนั้นนำแบบสัมภาษณ์ไปปรับปรุงแก้ไข้ให้สมบูรณ์

1.4จัดทำโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติ

1.5จัดทำแบบประชุมกลุ่มการทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติจากดินแดง

2.เก็บรวบรวมข้อมูล

1.ศึกษาภูมิปัญญาและกระบวนการย้อมสีธรรมชาติดินแดงโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาคอีสาน

2.วางแผนการทดลองย้อมสีธรรมชาติจากดินแดงโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์

3.ทดลองย้อมสีธรรมชาติด้วยดินแดงโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดกาฬสินธุ์ จากเส้นด้ายตัวอย่าง 3 ครั้ง

4.ทดลองย้อมสีธรรมชาติดินแดงโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากเส้นด้ายจริง 2 ครั้ง

5.นำผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือที่ย้อมจากดินแดงมาออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นงานสร้างสรรค์สร้างความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์แก่ชุมชน

6.เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้

3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3.1แบบสำรวจพื้นที่ดินแดง

3.2แบบสังเกตการมีส่วนร่วมของกลุ่มในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมดินแดง

3.3.ลักษณะของแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและแบบสอบถามปลายเปิด

ชุดที่ 1ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านและภูมิปัญญาในการทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติจากดินแดง สัมภาษณ์กลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มผู้ปฏิบัติ

ชุดที่2กระบวนการย้อมสีธรรมชาติจากดินแดงและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสัมภาษณ์กลุ่มผู้ปฏิบัติ

ชุดที่3แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ผ้าทอมือพื้นเมืองที่ย้อมสีธรรมชาติสัมภาษณ์กลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ

3.4แบบสนทนากลุ่มย่อยของหมู่บ้านต้นแบบกลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติจากดินแดงในภาคอีสานเกี่ยวกับกระบวนการผลิตการออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์สนทนากลุ่มผู้ผลิตพื้นที่ละ 5 คนรวมทั้งสิ้นจำนวน 15 คนใช้เวลาครั้งละไม่เกิน30 นาทีจำนวน 3 ครั้ง

4.การวิเคราะห์ข้อมูล

การตรวจสอบและการวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยมีการตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า (Tringulation)คือ การตรวจสอบข้อมูลในด้านแหล่งที่มาของข้อมูลแหล่งเวลาของข้อมูลและแหล่งบุคคลจากนั้นจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์แบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)

ผลการวิจัยและการอภิปรายผล

ผลการวิจัย

1.ความเป็นมาของภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติด้วยดินแดงใน

ภาคอีสาน

1.1ผ้าฝ้ายย้อมดินแดงลูกรังในจังหวัดมุกดาหาร

ผ้าฝ้ายย้อมดินแดงในจังหวัดมุกดาหารเรียกว่า “ผ้าอาบแดง” หรือผ้า

สารพัดประโยชน์สำหรับพระสงฆ์ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดตั้งแต่สมัยบรรพกาลบ้านวังไฮ อำภอหนองสูงจังหวัดมุกดาหารได้มีการสืบทอดภูมิปัญญานี้มาจากบรรพบุรุษยังมีการย้อมผ้าอาบแดงแบบดั้งเดิมจากดินดาล หรือชาวบ้านเรียกว่า “ดินตับหมู”เป็นดินภูเขาก้อนสีแดงนำมาฝนให้ละเอียดเพื่อย้อมเป็นผ้าอาบน้ำฝน โดยจะย้อมกันในช่วงเดือนมีนาคมก่อนประเพณีเข้าพรรษาของทุกปีเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์สายวิปัสสนากรรมฐานในพื้นที่ใกล้เคียงและยังมีการย้อมผ้าอาบน้ำฝนจำหน่ายตามคำสั่งซื้อของลูกค้า

1.2ผ้าฝ้ายย้อมดินแดงภูเขาไฟในจังหวัดบุรีรัมย์

ผ้าฝ้ายย้อมดินแดงจากภูเขาไฟบ้านเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

จังหวัดบุรีรัมย์จากผืนดินถิ่นภูเขาไฟสู่ผืนผ้าในนาม“ภูอัคนี”ผ้าเอกลักษณ์พื้นถิ่นย้อมดินภูเขาไฟจากภูเขาไฟเขาอังคาร

1.3ผ้าฝ้ายย้อมดินแดงในจังหวัดกาฬสินธุ์

การทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีจากดินแดงของบ้านคำไผ่ อำเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

การทดลองนำดินแดงชุดดินยโสธร มาย้อมผ้าฝ้ายได้ผ้าสีโอรสสวยงาม ในนาม “ไอดินกลิ่นไพร”

2.การถ่ายทอดเทคโนโลยีการทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติด้วยดินแดงในภาคอีสาน

2.1 กระบวนการย้อมผ้าฝ้ายด้วยดินแดงจากภูเขาบ้านวังไฮอำเภอหนองสูงจังหวัด

มุกดาหารเป็นชุดดินดาลภูเขา หรือชาวบ้านเรียก “ดินตับหมู”นำมา ฝนตำ หรือบดให้ละเอียดเป็นฝุ่นแล้วเอาผ้าด้ายดิบซึ่งเป็นผ้าฝ้ายคุณภาพดีไปแช่น้ำ 1 คืนขั้นต้นซักเอาแป้งหรือสิ่งสกปรกออกให้หมดเอามือบิดพอหมาดๆเตรียมกะละมังแล้วใช้ดินแดงที่ตำ ฝนละเอียดแล้ว 1 ถ้วยตวงต่อการแช่ผ้าหนึ่งผืน นำมาคนผสมให้เข้ากันเอามือขยำให้น้ำสีจากดินแดงผสมกลมกลืนกับผ้านำไปตากเมื่อแห้งแล้วนำมาย้อมอีกครั้งเพื่อให้สีเข้มขึ้นเมื่อย้อมครั้งสุดท้าย จะสองครั้ง หรือสามครั้งควรล้างด้วยน้ำสารส้มจะทำให้สีไม่ตก และสีติดทนนานการย้อมผ้าอาบแดง สำหรับพระสงฆ์สายวิปัสสนากรรมฐาน ณ จังหวัดมุกดาหารนี้ มีคุณภาพ และมีชื่อเสียงในด้านการสืบสานภูมิปัญญาดั้งเดิมสีที่ได้คือ สีอิฐ หรือสีน้ำตาลอมแดง

2.2กระบวนการย้อมผ้าฝ้ายด้วยดินแดงภูเขาไฟบ้านเจริญสุขอำเภอเฉลิมพระเกียรติ

จังหวัดบุรีรัมย์ การย้อมสีผ้าฝ้ายย้อมดินภูเขาไฟไ เริ่มจากนำก้อนดินภูเขาไฟที่หาได้จากท้องถิ่นมาตำให้ละเอียด แล้วกรองให้ได้ฝุ่นสีแดง นำไปผสมกับน้ำสะอาดตามสัดส่วนที่พอเหมาะ นำเส้นฝ้ายที่มีคุณภาพลงไปหมักไว้ 1 วัน 1 คืน ถ้าหากไม่ต้องการสีเข้มก็หมักไว้แค่ 4-5 ชั่วโมงจากนั้นนำไปต้มที่อุณหภูมิ 60-70 องศาเซลเซียส เติมเกลือและน้ำมะขามลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง ก็จะได้ผ้าฝ้ายสีสวยงามเป็นธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ที่ย้อมสีจากดินภูเขาไฟจะแตกต่างจากผ้าฝ้ายทั่วไป ตรงที่มีการย้อมดินแดงผสมเปลือกไม้เพื่อรักษาสีให้คงทนสีที่ได้ คือ สีส้มแดง

2.3กระบวนการย้อมฝ้ายด้วยดินแดงบ้านคำไผ่อำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้วิจัยได้ทดลองนำดินแดงชุดดินแดงยโสธรที่มีลักษณะร่วนเป็นเนื้อทรายละเอียดสีแดงนำมาร่อนให้ได้เม็ดดินเนื้อละเอียดขนาดเล็กเมื่อได้ดินเนื้อละเอียดแล้วนำมาแช่ย้อมเส้นเส้นฝ้ายทิ้งไว้หนึ่งคืนนำมาล้างทำความสะอาด และล้างน้ำสุดท้ายด้วยสารส้มจากนั้นนำไปตากในที่ร่มนำมาเข้าสู่กระบวนการทอในรูปแบบที่ต้องการสีที่ได้ คือสีส้มโอรสความพิเศษของการย้อมสีธรรมชาติดินแดงจังหวัดกาฬสินธุ์จะมีการย้อมผสมน้ำซาวข้าวเป็นการเคลือบรักษาสี และทำให้สีเข้มสวย เป็นสีส้มแก่

2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างเอกลักษณ์ให้กับผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติจากดินแดงใน

ภาคอีสาน

 

1ผลิตภัณฑ์การย้อมผ้าอาบแดง จากดินแดงลูกรังภูเขา ชุดดินดาล “ดินตับหมู”

จังหวัดมุกดาหาร

2ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ผ้าภูอัคนีผ้าย้อมจากดินแดงลูกรังจากภูเขาไฟ จังหว

 3เอกลักษณ์เชิงสร้างสรรค์ผ้าย้อมดินแดงชุดดินยโสธรจังหวัดกาฬสินธุ์

4ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ผ้าย้อมดินแดงจังหวัดกาฬสินธุ์

การอภิปรายผล

1.ความเป็นมาของภูมิปัญญาการย้อมสีธรรมชาติด้วยดินแดงในภาคอีสานจะให้สีเข้มอ่อน

แตกต่างกันไปตามพื้นที่ตามชนิดของดินแดง ที่นำมาย้อมเรียงลำดับความเข้มของสีตามพื้นที่ดังนี้ดินแดงลูกรังจากชุดดินดาลภูเขาของจังหวัดมุกดาหารให้สีอิฐน้ำตาลอมแดงดินแดงภูเขาไฟจังหวัดบุรีรัมย์ให้สีส้มแดงสำหรับดินแดงชุดยโสธรจังหวัดกาฬสินธุ์จะให้สีส้มโอรสการย้อมดินแดงในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดบุรีรัมย์มีเฉดสีที่ใกล้เคียงกันเนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นเนื้อดินเหนียวจากดินภูเขาจึงให้สีค่อนข้างเข้มแต่ชุดดินยโสธรในจังหวัดกาฬสินธุ์นั้นจัดเป็นเนื้อดินทรายละเอียดในพื้นที่เนิน จึงให้สีค่อนข้างอ่อนสอดคล้องกับทฤษฎีนิเวศวิทยาในวิถีการเรียนรู้ระหว่างคนกับธรรมชาติ คือ ดินที่แตกต่างให้สีแตกต่าง พื้นที่แตกต่างให้สีแตกต่าง คนย้อมแตกต่างให้สีแตกต่าง

2.การถ่ายทอดเทคโนโลยีการทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติด้วยดินแดงในภาคอีสานพบว่า

การย้อมสีด้วยดินแดงจะต้องมอร์แดนด้วย เกลือสารส้มและน้ำซาวข้าว จะทำให้สีดินแดงที่ย้อมนั้นเข้มติดทนนานสอดคล้องกับงานวิจัยของนันทิยาอัจฉราวรรณ์ไพรัชวงศ์ยุทธไกรและสมพลมงคลพิทักษ์สุข(2554 : 26-27) ได้ทำการวิจัยเรื่องการสกัดสีย้อมผ้าจากดินแดงวัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาการสกัดสีย้อมผ้าจากดินแดงบริเวณเขาคลุกคลีในเขตพื้นที่หมู่12ตำบลรางหวายอำเภอพนมทวนจังหวัดกาญจนบุรีและหาประสิทธิภาพความคงทนของสีตามมาตรฐานอุตสาหกรรมในด้านความคงทนของสีต่อการซักความคงทนของสีต่อแสงความคงทนของสีต่อเหงื่อความคงทนของสีต่อการขัดถูผลการวิจัยพบว่าผ้าฝ้ายย้อมสีผสมสารช่วยติดชนิดเกลือสารส้มและผงชูรสมีประสิทธิภาพความคงทนของสีต่อแสงและประสิทธิภาพความคงทนของสีต่อการซักอยู่ในระดับดี

3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างเอกลักษณ์ให้กับผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติจากดินแดงในภาคอีสานเดิมทุกพื้นที่จะเน้นไปที่การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายเนื่องจากใช้ผ้าฝ้ายเป็นวัสดุหลักในการย้อม เนื้อผ้าจะติดสีได้ง่ายมีเนื้อนุ่มยิ่งซักยิ่งนุ่มสวมใส่สบาย ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ดึงดูดใจให้อยากสวมใส่สอดคล้องกับงานสร้างสรรค์ของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์สาขาแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร(2556)ได้มีการจัดทำSpecial Project ผลงานมีชื่อว่า “ชุดค๊อกเทลวัยรุ่นจากการย้อมผ้าฝ้ายด้วยสีดินลูกรัง”ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากสภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน การย้อมสิ่งทอด้วยสีเคมี ที่มีสารเคมีปะปนและสารตะกั่วตกค้าง เป็นอันตรายสำหรับผู้บริโภครวมถึงผู้ปฏิบัติการย้อม และส่งผลไปยังแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้เกิดความเป็นพิษ อีกทั้งเป็นกระแสแฟชั่นGreen FashionGreenProductที่สร้างทางเลือกใหม่ให้แก่นักเสพแฟชั่นอารมณ์อนุรักษ์ธรรมชาติสำหรับพื้นที่ต้นแบบจังหวัดกาฬสินธุ์กำลังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาให้กลายเป็นนวัตรรมเชิงสร้างสรรค์จากการแปรรูปผ้าย้อมดินแดงให้เป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ในบ้าน ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปเพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ในภาคอีสาน

4.จุดเด่นของหมู่บ้านทั้ง 3 พื้นที่ทำการศึกษานั้นเป็นหมู่บ้านที่ยึดมั่นในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความเข้มแข็งชอบช่วยเหลือตนเองมีความภาคภูมิใจในตนเองมีคุณธรรมจริยธรรมยึดมั่นในความดีงามและพร้อมที่จะสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5.ข้อเสนอแนะ

1.ควรมีการศึกษาการทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติจากดินแดงในประเทศไทย

เพราะการทอผ้าจากการย้อมดินแดงนับเป็นเอกลักษณ์ด้านหัตถกรรมที่ทรงคุณค่า แต่ละพื้นที่มีกระบวนการย้อมที่แตกต่างมีความโดดเด่น ควรค่าแก่การสืบสานให้ยั่งยืนสืบไป

2.ควรมีการสร้างเครือข่ายกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติให้เข้มแข็ง มีการ

ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้คนไทยหันมาสนับสนุนสินค้าเพื่อสุขภาพมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย้อมสีจากเคมี ที่มีอันตรายต่อสุขภาพในอนาคต

3.ควรมีการศึกษาออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าย้อมดินแดงในรูปแบบที่หลากหลาย

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณคณะบุคคลและองค์กรต่างๆที่มีส่วนร่วมในการวิจัยผลักดันส่งเสริมคอยให้กำลังใจผู้วิจัยในการทำงานด้วยดีตลอดมา ขอบคุณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานในการสนับสนุนทุนในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ขอบคุณสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 จังหวัดขอนแก่นในการร่วมพัฒนาอาชีพสนับสนุนด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตอย่างยิ่งสำหรับการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมการนำเสนอผลงานวิจัยในครั้งนี้

 

7.เอกสารอ้างอิง

ขนิษฐาสุวรรณชาด. (2531)“เส้นฝ้าย-ใยไหม...จากหมู่บ้านหัตถกรรมอีสาน,” ใน อนุสาร อ.ส.ท.

หน้า 4-93.กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.

นันทิยาอัจฉราวรรณ์ไพรัชวงศ์ยุทธไกรและสมพลมงคลพิทักษ์สุข.การสกัดสีย้อมผ้าจาก

ดินแดง.วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษาปีที่ 5ฉบับที่ 1มกราคม – มิถุนายน 2554

(26-35).

อารีวรรณอุ่นเจริญ.(2552)แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาผ้าทอพื้นเมืองโดยการมีส่วนร่วมของ

ชุมชนในจังหวัดยโสธร.ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวัฒนธรรมศาสตร์

มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุดมเดช เจริญธนพรและศุภนิตย์ นาคสุข.(2556)การออกแบบชุดค็อกเทลวัยรุ่นจากการย้อม

ผ้าฝ้ายด้วยสีดินลูกรัง.คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์เอกแฟชั่น มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร23 พฤศจิกายน 2551, ค้นเมื่อ มกราคม 2556.

http://www.designer.co.th/7682.

เอ็กซ์-ไซท์(2556)ฟื้นปัญญาบรรพบุรุษย้อมสีผ้าฝ้ายด้วยดินภูเขาไฟ.ไทยโพสต์วันที่ 15

มกราคม 2556หน้า 7.

ประวัตินักวิจัย

1. ประวัติส่วนตัว
ชื่อ-นามสกุลนางธีรกานต์โพธิ์แก้วตำแหน่งปัจจุบันอาจารย์สาขาสังคมศาสตร์
วันเดือนปีเกิด 9 มกราคม2523
ที่อยู่ปัจจุบันสาขาสังคมศาสตร์คณะเทคโนโลยีสังคมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตกาฬสินธุ์เลขที่ 62/1 ถ.เกษตรสมบูรณ์ต.กาฬสินธุ์อ.เมืองจ.กาฬสินธุ์46000เบอร์โทรศัพท์มือถือ083-3270087

2. ประวัติการศึกษา
ปี พ.ศ. ที่จบ วุฒิการศึกษา สาขาวิชา สถานที่
2552 ปร.ด. วัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2549 ศศ.ม. ยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
2545 บธ.บ. การบัญชี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
3. ประวัติการทำงาน
ช่วง พ.ศ. ตำแหน่ง หน่วยงาน
2550-2552 อาจารย์พิเศษ
จิตอาสา
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่น ศูนย์วิทยบริการ     จ.มหาสารคาม
2553-2554 อาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
2555-2557 อาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตกาฬสินธุ์

4.งานวิจัยที่สำเร็จแล้ว

ธีรกานต์โพธิ์แก้ว.(2554)การเรียนรู้ประเพณีท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนของนักศึกษา

ระดับปริญญาตรีสาขาพัฒนาชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.ภูเก็ต : คณะ

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ธีรกานต์โพธิ์แก้ว.(2554)การใช้เทคนิคการสอนแบบบูรณาการในชั้นเรียนโดยใช้สื่อตามสภาพ

จริงในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ภูเก็ต : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ธีรกานต์โพธิ์แก้ว.(2555)ผลการเรียนรู้งานสร้างสรรค์การเพ้นท์หน้ากากอนามัยจากสี

ธรรมชาติโดยใช้น้ำยางกล้วยเป็นตัวประสานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตกาฬสินธุ์.กาฬสินธุ์ : คณะ

เทคโนโลยีสังคมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตกาฬสินธุ์.

5.งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ

ธีรกานต์โพธิ์แก้ว.(2556)ผลการเรียนรู้งานสร้างสรรค์การเพ้นท์ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติโดยใช้

น้ำยางกล้วยเป็นตัวประสานของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลอีสานวิทยาเขตกาฬสินธุ์.กาฬสินธุ์ : คณะเทคโนโลยีสังคมมหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตกาฬสินธุ์.

ธีรกานต์โพธิ์แก้ว. (2556-2557)วัฒนธรรมสร้างสรรค์ : ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าพื้นเมือง

ด้วยการย้อมสีธรรมชาติจากดินแดงภาคอีสานเพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับ

ผลิตภัณฑ์ชุมชนกาฬสินธุ์ : คณะเทคโนโลยีสังคมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

อีสานวิทยาเขตกาฬสินธุ์.

  

หมายเลขบันทึก: 568735เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท