ดอกไม้


ครู อรุณี สะมะแอ
เขียนเมื่อ



  ชื่อรายงาน    ผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ใช้
                        ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในโรงเรียนเทศบาลบ้านตะลุบัน
                        ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบคำถาม

ชื่อผู้รายงาน  นางอรุณี  สะมะแอ

                      ตำแหน่งครู  ชำนาญการ

หน่วยงาน  โรงเรียนเทศบาลบ้านตะลุบัน

ปีที่ศึกษา    2555

                                                               บทคัดย่อ


            การศึกษาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  เพื่อหาคุณภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบคำถามที่พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในโรงเรียนเทศบาลบ้านตะลุบัน อำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในโรงเรียนเทศบาลบ้านตะลุบันก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบคำถาม
3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบคำถาม


          กลุ่มตัวอย่าง  เป็นเด็กปฐมวัย  อายุ 5 – 6 ปี ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล      ปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2555  ของโรงเรียนเทศบาลบ้านตะลุบัน  อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี           ซึ่งมี 1 ห้องเรียน จำนวน 30  คน กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม ซึ่งได้มาด้วยวิการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive Sampling)  แบบแผนการศึกษาเป็นแบบ One Group Pretest – Posttest Designเด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองสอนโดยให้ได้รับประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบคำถาม
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบคำถาม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยที่ 4.05 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.69 มีคุณภาพระดับมาก
แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และแบบประเมินพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบคำถาม
ซึ่งค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)

  ผลการศึกษาพบว่า

  1. แผนการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบคำถาม
ซึ่งมีคุณภาพค่าเฉลี่ยที่ 4.05 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.69 มีคุณภาพระดับมาก

  2.  เด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในโรงเรียนเทศบาลบ้านตะลุบันหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบคำถาม
มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบคำถามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   

  3. พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบคำถามมีพฤติกรรมการปฏิบัติในระดับมาก




2
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท