ข้อมูลเมื่อ 9 สิงหาคม 2549


ข้อมูลจากคัดลอกจากhttp://www.2poto.com/html2/viewtopic.php?topic=3348&forum=39&1 สำหรับชาว KPRU เข้ามาชมและทำความเข้าใจเรื่องการใช้บล็อกค่ะ

(สงสัยว่าเช้ามือวันที่ 10 สิงหาคม 2549 อาจจะมึนแล้วก็ได้ค่ะ จึงนำข้อมูลมาใส่ในส่วนคำถาม)

หมายเหตุ:  บล็อกที่ท่านกำลังใช้งานอยู่นี้เป็นบล็อกในเว็บไซต์  www.GotoKnow.org ของสถาบันส่งเสริมความรู้เพื่อสังคม(สคส.)  ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผล  ให้บริการสร้างและใช้บล็อกเพื่อพัฒนาสังคมอุดมปัญญาให้กับประเทศไทยค่ะ 

การเขียนบันทึกความทรงจำโดยจรดปากกาลงบนกระดาษ เล่าเรื่องราวหรือบอกความรู้สึกถ่ายทอดผ่านตัวอักษร อาจเชยไปซะแล้วค่ะ สำหรับเด็กยุคใหม่ หลังจากที่การเปิดตัวให้บริการไดอารี่ออนไลน์ของหลายๆ เวบไซต์เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น ซึ่งรูปแบบการเขียนเรื่องราวต่างๆ หรือที่เราเรียกกันว่า web blog (เวบบล็อก) นั้น ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในรูปแบบของไดอารี่ออนไลน์เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว บล็อกคือเวบไซต์รูปแบบหนึ่งที่มีเรื่องราวต่างๆ มากมายให้ได้อ่านกันนั่นเองค่ะ

"กติกา สายเสนีย์" หรือ "เก่ง" เจ้าของเวบไซต์ www.keng.com บอกถึงความหมายของเวบบล็อกให้ฟังว่า web blog คือเวบไซต์ชนิดหนึ่งที่มีการอัพเดทข้อมูลโดยเรียงลำดับจากข้อมูลใหม่สุดขึ้นก่อน นั่นคือ ข้อมูลใหม่จะอยู่ในหน้าแรก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเพียงคนคนเดียวที่จะคอยอัพเดทข้อมูล

ส่วนรูปแบบของ web blog นั้น จะอำนวยความสะดวกกับผู้ชมเวบให้สามารถติดต่อกับเจ้าของเวบหรือที่เรียกกันว่า บล็อกเกอร์ (bloger) ได้ง่าย ภาษาที่ใช้จะเป็นภาษาง่ายไม่เป็นทางการ ทำให้เกิดความสนิทสนมระหว่างผู้ชมเวบกับเจ้าของเวบไซต์มากกว่าเวบแบบอื่นๆ ซึ่งการที่หลายคนเข้าใจว่าไดอารี่ออนไลน์เป็นบล็อกก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ไดอารี่ออนไลน์เป็นเพียงชนิดของบล็อกเท่านั้นค่ะ เพราะคำว่า บล็อกยังรวมไปถึงการให้ความรู้เฉพาะเจาะจงลงลึกในแต่ละเรื่อง แต่มีการจัดเรียงข้อมูลและรูปแบบของเวบไซต์ที่ทำให้เกิดความเป็นกันเอง เราถึงจะเรียกเวบนั้นว่าเป็นบล็อก ซึ่งคำว่าบล็อกมาจากชื่อของเอ็นจิ้นที่ใช้ในการเขียนเวบที่เรียกว่า "blog software"

ด้วยข้อดีของการใช้ซอฟต์แวร์บล็อกจะทำให้บล็อกเกอร์สร้างเวบได้เร็วมากขึ้น โดยใช้เวลา install เพียง 10 นาทีเท่านั้น และซอฟต์แวร์ที่ใช้เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปอยู่แล้ว ซึ่งหากใครไม่มีหัวทางด้านการออกแบบเทมเพลตหรือเลือกธีมสำหรับเวบบล็อกของตัวเองก็อย่างเพิ่งน้อยอกน้อยใจค่ะ เพราะสามารถเลือกจากรูปแบบที่ต้องการจากโปรแกรมที่ได้มีการออกแบบมาให้อยู่แล้วได้

หากใครเคยมีโอกาสลองคลิกเข้าไปดูเวบไดอารี่ทั้งหลายที่มีอยู่มากมายก็จะพบว่า บล็อกที่น่าสนใจจนเตะตาทำให้คนคลิกเข้าไปดูเป็นครั้งแรกได้นั้น ต้องมีรูปแบบที่สวยงามดูสะอาดตาค่ะ ส่วนเนื้อหาเป็นส่วนที่สำคัญไม่แพ้รูปแบบ เพื่อให้คนเข้ามาอ่านครั้งแรกแล้วกลับเข้ามาอ่านเป็นครั้งที่ 2 และ 3 ต่อไปเรื่อยๆ

"เนื้อหาในบล็อกเป็นส่วนที่สำคัญมาก หากต้องการให้เป็นบล็อกที่ดี ต้องมีการอัพเดททุกวัน บางครั้งอาจจะต้องอัพเดทวันละหลายครั้งด้วยซ้ำไป เพื่อให้คนติดบล็อกของเราจริง และบล็อกยังแสดงความเป็นตัวตนที่แท้จริงของผู้เขียนทั้งวิธีการเล่าเรื่องและเรื่องที่เล่าด้วย" กติกา กล่าว

และไม่ใช่เพียงแต่การเล่าเรื่องราวหรือให้ความรู้เฉพาะด้านที่เป็นการสร้างบล็อกส่วนตัวเท่านั้น บล็อกยังสามารถนำไปใช้ในธุรกิจได้ด้วย เช่น บริษัท กูเกิ้ล เสิร์ชเอ็นจิ้นชื่อดังของโลก ที่สนับสนุนให้พนักงานในบริษัทเขียนบล็อกของตัวเองขึ้นมา เพื่อให้คนทั่วไปได้เข้าไปอ่าน โดยใช้ภาษาที่ง่ายและไม่เป็นทางการ ทำให้ยูสเซอร์หรือผู้ใช้ที่เข้ามาอ่านเกิดความผูกพันกับแบรนด์กูเกิ้ล ซึ่งบางครั้งการประกาศเปิดตัวการให้บริการใหม่ๆ ของกูเกิ้ลอาจไม่มีในเวบไซต์หลัก แต่จะอยู่ในบล็อกของพนักงานที่ทำงานในส่วนนั้นๆ แทน ทำให้คนเกิดความสนใจกับข่าวมากขึ้นโดยที่ข่าวนั้นไม่มีตามสื่อทั่วไป

เรียกว่า เป็นวิธีการที่แยบยลจริงๆ ค่ะ และจากการเพิ่มจำนวนของบล็อกทั่วโลกที่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีตัวเลขยืนยันจาก www.technorati.com พบว่าปัจจุบันนี้การเพิ่มขึ้นของบล็อกมีทุกวัน เฉลี่ยแล้ววินาทีละ 1 บล็อก เท่ากับว่าภายใน 1 วันจะมีบล็อกเกิดใหม่มากกว่า 8 หมื่นบล็อก ไม่น่าเชื่อเลยนะคะว่าการสร้างบล็อกจะได้รับความนิยมมากขนาดนี้ และจากการเพิ่มจำนวนบล็อกที่มากมายขนาดนี้ คงเปรียบได้กับการเพิ่มขึ้นของเวบไซต์ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

การค้นหาบล็อกบนโลกของอินเทอร์เน็ตจึงเกิดขึ้นโดยการใช้บล็อกเสิร์ชเอ็นจิ้น สิ่งที่ตามมา คือ การแข่งขันเพื่อให้บล็อกของตัวเองเป็นที่รู้จัก สิ่งเหล่านี้สามารถที่จะค้นคว้าหรือหาอ่านได้ในเวบไซต์ที่เกี่ยวกับบล็อกรวมถึงเวบบล็อกภาษาไทยอย่าง www.keng.com

และหากใครอยากมีบล็อกของตัวเองไว้เขียนเรื่องราวหรือเล่าความรู้สึกต่างๆ ก็ลองศึกษากันได้ เพื่อให้ใครอีกหลายคนรู้จักตัวตนที่แท้จริงของคุณมากขึ้น ซึ่งนั่นอาจหมายถึงตัวคุณเองด้วยค่ะ

 



ความเห็น (1)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

not yet answered


ความเห็น (1)
แล้วทำไมยังนำกลับมาใส่ช่องคำถามเหมือนเดิมอีก ในวันที่ 27 สิงหาคม ?   ... เดี๋ยว  blogger ท่านอื่นๆ จะเข้าใจผิดคิดว่ามีบันทึกใหม่น่ะสิคะ  55  บางทีการไม่ได้บอกเล่าความคิด เพราะคิดว่าเพียงพอ  ก็อาจเกิดความเข้าใจผิดก็เป็นได้ค่ะ..
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท