เศรษฐกิจพอเพียง


1.ถ้าไม่อธิบายเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข แล้วท่านจะอธิบายเรื่องนี้อย่างไร

2.ถ้าไม่ใช้ตัวชี้วัด ตามโมเดลที่สภาพัฒน์ฯกำหนดท่านจะใช้ตัวชี้วัดใด จึงจะตอบโจทย์เศรษฐกิจพอเพียงได้

3.ตัวชีวัดใดที่ชาวบ้านจะเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงได้ดีที่สุด ตามความเห็นของท่าน



ความเห็น (7)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

not yet answered


ความเห็น (7)

สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่เหมือนกันคะ ถ้าใครมีคำตอบรบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ จะเป็นพระคุณอย่างสูงคะ

ตอบ 1. เคยไปฟังสัมมนาโดย อ.อภิชัย พันธเสน อ. เสนอว่ามีพฤติกรรม 12 อย่างที่เป็นพฤติกรรมที่สะท้อนถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พอดีว่ากำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้อ่ะคะ และได้พูดคุยกับอ. ท่านเล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อ. ก็แนะนำมาพอสมควร

2. ตัวชี้วัดอื่นๆ ดิฉันก็กำลังศึกษาดูอยู่เช่นกันว่ามีใครทำไว้หรือไม่ แต่ยังไม่พบ ส่วนใหญ่บอกคราวๆว่า น่าจะประกอบด้วยองค์ประกอบอะไรบ้าง และส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับดิฉันกำลังจะสร้างมาตรวัดการดำรงชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติคะ เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์อยู่พอดีคะ

3. ตัวชี้วัดตรงๆที่ทำให้ชาวบ้านอย่างเราเข้าใจเลย คงหายากสักหน่อย แต่ถ้าพูดถึงเรื่องการประยุกต์กับหลักพุทธศาสนาน่าจะดีกว่าคะ เพราะมีงานวิจัยจำนวนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว หลักเศรษฐกิจพอเพียง ก็คล้ายกับหลักธรรมในศาสนาของเราเอง เช่น สัปปปุริสธรรม 7 ทศพิศราชธรรม มรรค 8

 

วันที่ 16 ธันวาคม 2550  พอมีเวลา เชิญ แวะเข้ามาพูดคุยกันได้ ที่นี่  ตั้งแต่ 12.00 น. เป็นต้นไป

    

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำตอบ ที่หลายคนกำลังค้นหา 

วารสาร UN CHRONICLE (หน้า ๗๘-๗๙) ฉบับที่ ๒ ประจำปี ๒๐๐๖ โดย นาย Hakan Bjorkman ซึ่งเป็น UNDP Deputy Resident Representative ประจำประเทศไทย, ได้ประกาศเกียรติคุณพระมหากษัตริย์นักพัฒนาของโลก สรุปสาระสำคัญได้คังนี้

หลังจากที่ นายโคฟี อานัน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น)ได้เดินทางมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล Human Development Lifetime Achievement Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๙ เพื่อเป็นการแสดงให้โลกได้รับรู้ถึงพระปรีชาสามารถและการทุ่มเทพระวรกายเพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยมาตลอดระยะเวลา ๖๐ ปี ตั้งแต่ที่พระองค์ได้ทรงขึ้นครองราชย์
นายโคฟี อานัน กล่าวในการทูลเกล้าฯถวายรางวัลในครั้งนี้ ว่า “หากการพัฒนาคนหมายรวมถึงการให้ความสำคัญกับคนเป็นอันดับแรกแล้วละก็ ก็คงไม่มีใครที่จะเหมาะสมไปกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกแล้ว” (If human development is about putting people first, there can be no better advocate for it than His Majesty.) คำกล่าวดังกล่าวนี้ได้สร้างความประทับใจแก่ประชาชนชาวไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากปวงชนชาวไทยทุกคนต่างตระหนักในความสำคัญของรางวัลนี้ ว่าเป็นรางวัลที่จะมอบให้แก่บุคคลที่มุ่งมั่นและทุ่มเทตลอดชีวิตของเขาให้กับภารกิจการพัฒนาคนทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาคและโลก ภารกิจนี้นับเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของยูเอ็นในการส่งเสริมและสนับสนุนหน้าที่การพัฒนาคน ซึ่งนับเป็นวิธีการพัฒนาวิธีหนึ่งในกระบวนการพัฒนาของโลกในยุคปัจจุบัน
ทั้งนี้ การทูลเกล้าถวายรางวัลของยูเอ็น โดยผ่านยูเอ็นดีพี ในครั้งนี้ นับเป็นการแสดงให้เห็นถึงความชื่นชมและการเล็งเห็นถึงความสำคัญในวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ได้พระราชทาน “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ให้แก่พสกนิกรชาวไทยในการเตรียมความพร้อมและรับมือกับกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้ มีหัวใจสำคัญคือ ทางสายกลาง หรือความพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการพัฒนาของยูเอ็น ที่ให้ความสำคัญกับคน โดยถือว่าเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และส่งเสริมกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนอันจะนำไปสู่การพัฒนาคนในที่สุด
ทั้งนี้ ในช่วงที่ประเทศไทย เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๑ หากพิจารณาตามองค์ประกอบของหลักปรัชญาฯ จะพบว่า หลักปรัชญานี้สนับสนุนให้เสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าจะให้ความสำคัญกับการเติบโตทางที่ไม่อาจควบคุมได้ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ให้ประชาชนในทุกระดับและทุกสาขาอาชีพมีหลักยึดเหนี่ยวในจิตใจในการดำเนินชีวิต
ทั้งนี้ในระดับชุมชน หลักปรัชญาฯให้ความสำคัญกับการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีของชุมชน โดยสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนและเสริมสร้างความสามารถให้ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วจากผลกระทบของวิกฤตที่เกิดจากปัจจัยทั้งจากภายนอกและภายใน

ดังจะเห็นได้ว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ส่งเสริมให้เกษตรกรทำวนเกษตรหรือไร่นาสวนผสม ผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือนก่อนเป็นเบื้องต้น เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนและลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้นี้มิได้หมายความถึงแค่การสร้างความหลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับภาคการผลิตได้ด้วย กล่าวคือ สร้างวิธีการหารายได้ที่หลากหลาย เช่น สนับสนุนให้แม่บ้านในหมู่บ้านรวมกลุ่มกันผลิตหัตถกรรม หรือสิ่งทอ ที่ใช้วัสดุและทรัพยากรในท้องถิ่น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้นับเป็นการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่กลุ่มสตรีในหมู่บ้านและชุมชนในชนบทได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เมื่อครัวเรือนแต่ละครัวเรือนเข้มแข็งและอยู่รอดได้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็สนับสนุนให้สมาชิกในชุมชนรวมกลุ่มกันเพื่อจัดตั้งสหกรณ์ เพื่อสร้างกองทุนหมุนเวียน ช่วยให้ชาวบ้านหันมาร่วมมือร่วมใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้ชุมชนนั้นๆมีความเข้มแข็งและมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนชนบทต่างๆ นั้นสามารถมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจในวงกว้างและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางธุรกิจได้อย่างมั่นคง
ปัจจุบันนับเป็นโชคดีของชาวโลกที่ได้มีโอกาสเรียนรู้จากพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์นี้ที่ได้ทุ่มเทพระวรกายเพื่อการพัฒนาคนอย่างแท้จริง และได้รับรู้วิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาของพระองค์ ยูเอ็นหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รางวัลในครั้งนี้จะได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของชาวโลกให้ตระหนักในประสบการณ์และภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเช่นนี้

********************************************************

รศช.กิติศักดิ์ สินธุวนิช กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนเกิดการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงอย่างหยั่งลึกในจิตใจ วิถีชีวิต และขยายผลสู่สังคมไทยอย่างเข้มแข็ง คือ ผู้นำองค์กรและชุมชน ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงขยายผลสู่สังคมไทยอย่างเข้มแข็ง สศช. จึงจัดโครงการเสวนาผู้นำแห่งความพอเพียง ณ มฤคทายวัน : ผู้นำแห่งความพอเพียง พื้นฐานหลักขององค์กรและชุมชนที่ดีงาม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้นำเพื่อตกผลึกองค์ความรู้คุณลักษณะของผู้นำแห่งความพอเพียง ปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างผู้นำแห่งความพอเพียง และเติมเต็มความรู้-ประสบการณ์ในการพัฒนาองค์กรและชุมชนซึ่งกันและกัน ตลอดจนระดมความคิดหาแนวทางการเสริมสร้างผู้นำแห่งความพอเพียง และแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคมไทย และสร้างเครือข่ายผู้นำที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในองค์กรและชุมชนอย่างสัมฤทธิ์ผล และเป็นหลักในการขยายผล สู่องค์กรและชุมชนอื่นๆ ในสังคมไทยต่อไป

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวว่า การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะต้องมีความพอประมาณ ดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง มีสติปัญญา มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และคุณธรรมจริยธรรม เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเป็นคนดีด้วย ซึ่งคุณธรรมที่อยากให้ผู้นำทุกคนนำมาปฏิบัติ คือ ทศพิธราชธรรม อันประกอบด้วย 1) ทาน คือ การให้โดยไม่หวังประโยชน์ 2) ศีล คือ การประพฤติดีงามทั้งทางกาย วาจา ประกอบแต่สิ่งที่สุจริต 3) ปริจาคะ คือ การเสียสละของเล็กเพื่อประโยชน์ที่ใหญ่กว่า 4) อาชชวะ คือ ความซื่อตรง ความซื่อสัตย์สุจริต 5) มัททวะ คือ ความสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน 6) ตบะ คือ ความเพียร ความอุตสาหะ 7) อักโกธะ คือ ความไม่โกรธ 8) อวิหิงสา ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน 9) ขันติ คือ ความอดทน และ 10) อวิโรธนะ คือ การไม่ยอมทำผิดทั้งทางกฎหมาย ศีลธรรม และจารีตประเพณี

สำหรับการเสวนาผู้นำแห่งความพอเพียงครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมเสวนาประมาณ 70 ท่าน ประกอบด้วย ผู้นำองค์กรและชุมชนที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผลในภาคผู้นำความคิด ชุมชน ราชการ โรงเรียน ธุรกิจ องค์การการเงิน ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ จากที่ต่างๆทั่วประเทศ รวมทั้งผู้แทนจากกองกำกับการ 1 กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวณชายแดน ค่ายพระรามหก และผู้แทนจาก สศช.

โดยผู้เข้าร่วมเสวนาได้หารือร่วมกันใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นเรื่อง(1) คุณลักษณะผู้นำแห่งความพอเพียง (2)ปัจจัยเสริมสร้างผู้นำแห่งความพอเพียง และ(3)การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคมไทย สรุปได้ ดังนี้

1) คุณลักษณะผู้นำแห่งความพอเพียง สำคัญที่สุดต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและยึดคุณธรรมเป็นแนวทางในการทำงาน โดยเฉพาะในเรื่องความอดทน เสียสละ มีสัจจะและความมุ่งมั่นที่จะทำเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม นอกจากนี้ ต้องเป็นผู้ที่มีวิธีคิดแบบพอเพียง ระเบิดความพอเพียงมาจากข้างใน รู้จักน้อมนำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมของภูมิสังคมและบริบทของแต่ละบุคคล มีจิตสาธารณะและจิตบริการ คำนึงถึงผลแห่งความสุขและความยั่งยืน

2) ปัจจัยเสริมสร้างผู้นำแห่งความพอเพียง พบว่า เริ่มต้นนั้นอยู่ที่วิธีคิด ผู้นำแต่ละคนจะต้องมีวิธีคิดที่พอเพียงก่อนเป็นพื้นฐาน เสริมหนุนกับหลักศาสนาที่ยึดถือ นอกจากนี้ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับและเชื่อมั่นจากสมาชิก และอาศัยอยู่ในชุมชนที่เข้มแข็งและสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร

3) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคมไทย จะสัมฤทธิ์ผลได้นั้น สำคัญที่สุดคือ ข้อมูลที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิก ให้ทุกคนได้รู้จักอัตภาพของตนเอง ซึ่งข้อมูลจะเป็นพื้นฐานสำหรับแปลงหลักการขับเคลื่อนฯ ได้แก่ การยึดหลักศาสนา ค้นหาความยุติธรรม นำการออกแบบ แยบยลความคิด ติดยึดการกระทำ ล้ำเลิศวิชาการ ประสานความร่วมมือ ยึดถือคุณค่า เพื่อพัฒนาร่วมกันในสังคมเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

*********************************************

สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์(นิด้า) ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติ เรื่อง ทางเลือกในการพัฒนาและเศรษฐกิจพอเพียง ที่โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน กรุงเทพฯ เชิญ นายอมาตยา เซน
[*]นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ๒๕๔๑ มาเป็นองค์ปาฐกพิเศษ

ในที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๖.๐๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นประธานในพิธีการเปิดการประชุมฯ ต่อจากนั้น อมาตยา เซน ได้แสดงปาฐกถา เรื่อง Capability and Development in the Contemporary World ต่อหน้าพระที่นั่ง สรุปได้ ดังนี้

- อมาตยา เซน เน้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กันไป โดยเน้นความหลากหลายและเต็มไปด้วยข้อเท็จจริงที่สอดรับกับกระแสเรียกร้องให้คนไทยทั้งประเทศหันมายึดหลักเศรษกิจพอเพียง

- ในส่วนแรกของคำกล่าว อมาตยา เซน ได้อธิบายเกี่ยวกับคำนิยามของ Capability Approach และความเกี่ยวข้องกับของทฤษฎีดังกล่าวกับความมีอิสรภาพ โดยตามความเห็นของ เซน นั้น เห็นว่า Capability Approach นั้นจะให้ความสำคัญกับชีวิตมนุษย์ และการมีอิสรภาพในการมีทางเลือกของชีวิตได้ตามต้องการ มากกว่าที่จะเน้นแต่เรื่องเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่เขาครอบครอง ในความเห็นของ เซน จะให้ความสำคัญกับโอกาสของแต่ละคนในการเข้าถึงทางเลือกตามที่ตนปรารถนา ไม่ว่าทางเลือกนั้นจะเป็นไปในรูปแบบใดก็ตาม

- ในส่วนที่สอง เซน ได้ชี้แจงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีCapability Approach กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) โดย เซนได้ออกตัวว่า เขาอยากจะขอศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้ละเอียดกว่านี้ ก่อนที่จะสามารถให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวได้อย่างลึกซึ้ง แต่ ณ ตอนนี้ เขาเห็นว่า แนวคิดทั้ง ๒ เกี่ยวพันกัน เนื่องจาก ทฤษฎี Capability Approach นั้น ต้องอาศัยแนวคิดพอเพียง ในเรื่องการ ประเมินผลกระทบที่มีต่อศักยภาพขีดความสามารถของมนุษย์

เนื่องจาก แนวคิดพอเพียง นั้น ให้ความสำคัญกับการสร้างศักยภาพและขีดความสามารถของกลุ่มต่างๆ รวมถึงกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในสังคมด้วย ไม่เหมือนกับทฤษฎีการพัฒนาเดิมๆ ที่เน้นให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านรายได้หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) เป็นหลัก ดังนั้น ทฤษฎี Capability Approach จึงคำนึงความเท่าเทียมกันในสังคมและให้ความสำคัญกับการสร้างระบบคุ้มกันภัยทางสังคม (Social Safety nets) ตามสภาพแวดล้อมในแต่ละแห่งด้วย

- ในส่วนที่สาม ได้กล่าวถึงคุณลักษณะสำคัญของทฤษฎี Capability Approach ว่า เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับการประเมินข้อได้เปรียบของแต่ละบุคคล ซึ่งมาจากหลายปัจจัยได้แก่ ความแตกต่างในด้านคุณสมบัติของแต่ละบุคคล ความแตกต่างของทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หรือ ความแตกต่างอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ตลอดจน ความแตกต่างอันเป็นผลมาจากสถานภาพทางสังคม

ดังนั้น การที่จะเข้าใจความไม่เท่าเทียมทางสังคมให้ได้อย่างถ่องแท้นั้น จึงจำเป็นที่ต้องศึกษาถึงความแตกต่างของศักยภาพในมิติต่างๆ ที่แต่ละบุคคลมี ไม่เฉพาะแต่เพียงความแตกต่างทางด้านรายได้ ทุนเศรษฐกิจ หรือ สินทรัพย์ เท่านั้น

- ในส่วนที่สี่ เซน ได้กล่าวย้ำถึงประเด็นทางด้านนโยบายสาธารณะ ปัจจัยทางด้านศีลธรรมและจริยธรรม ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทฤษฎี Capability Approach คำนึงถึงในการประเมินศักยภาพและขีดความสามารถของมนุษย์แต่ละคน เนื่องจากการประเมินขีดความสามารถของแต่ละบุคคลนั้น เป็นผลมาจากสภาพทางการเมือง บริบทในสังคมและจริยธรรมของสังคมที่คนๆ นั้นอาศัยอยู่ด้วย

ดังนั้น หากยึดถือตาม ทฤษฎี Capability Approach คนทุพลภาพหรือคนด้อยโอกาสในสังคมจะได้รับความยุติธรรมและความสนใจจากสังคม เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะถูกจัดว่าเป็น คนที่มีความสามารถอันจำกัดในการหารายได้หรือในการแปลงรายได้ (income handicap) ไปเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (conversion handicap)

- ในส่วนสุดท้าย จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า Capability Approach นั้นเป็นแนวคิดพื้นฐานของการมีอิสรภาพในการดำเนินชีวิต โดยอิสรภาพในที่นี้นั้น ครอบคลุมไปถึง อิสรภาพในด้านของการมีโอกาสและอิสรภาพในกระบวนการต่างๆ (เช่นในเรื่องของการได้รับการรักษาที่เท่าเทียมกัน)

แม้ว่าการมีศักยภาพของแต่ละบุคคลนี้นับเป็นข้อได้เปรียบ แต่บางครั้งหากพิจารณา ในแง่สิทธิมุนษยชน ประเด็นดังกล่าวก็อาจกลายเป็นประเด็นถกเถียงในเรื่องความยุติธรรม เช่น ในเรื่องของการได้รับสวัสดิการต่างๆ จะเห็นว่า ตามหลักสิทธิมนุษยชนแต่ละคนจะต้องได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน แต่ในความเป็นจริง เนื่องจากศักยภาพของแต่ละบุคคลนั้นมีความแตกต่างกัน จึงทำให้ประโยชน์ที่แต่ละคนได้รับไม่เท่าเทียมกัน นำไปสู่ข้อครหาในเรื่องของความยุติธรรมในการให้บริการได้

โดยสรุปจะเห็นได้ว่า ทฤษฎี Capability Approach นี้ ไม่มีกฎตายตัวในการนำไปใช้ โดยเป็นแนวคิดที่ต้องพิจารณาทั้งกระบวนการ ครอบคลุมในทุกระดับและทุกมิติ สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เน้นในเรื่องของการพัฒนาคน ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ


 

[*] อมาตยา เซน เป็นชาวอินเดีย เกิดและได้รับการศึกษาในอินเดีย จนถึงระดับปริญญาตรี และไปศึกษาต่อด้านเศรษฐศาสตร์ – ปรัชญา ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ เขาเคยเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และมีผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ซึ่งผลงานของเขามีทั้งเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ เศรษฐศาสตร์การพัฒนา และทฤษฎีความอดอยากและความยากจน รวมถึงทฤษฎีการเลือกทางสังคมและความเสมอภาค

************************************************************************

การใหโอวาทและใหขอคิดเห็นตอ
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงดานการศึกษา และสื่อประกอบการเรียนการสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดย ศาสตราจารย นายแพทยเกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในงานสัมมนาเครือขายเศรษฐกิจพอเพียงดานการศึกษา เพื่อขยายผลสื่อประกอบการเรียนการสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วันจันทรที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๐.๑๕ น. ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด คอนเวนชัน กรุงเทพฯ

ทานประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อาจารยจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ทานรองเลขาธิการสภาพัฒน รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รองผูอํานวยการ สมศ. และทานผูมีเกียรติที่เคารพ

กอนอื่นขอแสดงความยินดีกับทุกทานที่เปนตัวแทนของโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ไดบากบั่น นําเอาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต โดยการออกแบบสื่อการเรียนการสอน จนกระทั่งประสบผลสําเร็จเปนที่ยอมรับของคณะกรรมการฯ และนําผลงานมาแสดงในการสัมมนาในวันนี้ รวมทั้งไดเปนตัวแทนรับมอบรางวัล ซึ่งเปนการยืนยันถึงความสําเร็จที่ไดรวมกันทําขึ้นมา

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เปนเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวไดพระราชทานใหชาวไทยมาเปนเวลากวา ๓๐ ปแลว จริงๆ เรานาจะตั้งคําถามวา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีวัตถุประสงคเพื่ออะไร ทําไมพระองคทานจึงทรงมีพระเมตตาพระราชทานใหพวกเรา หากเราอานความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สภาพัฒนไดอัญเชิญมาเปนแนวทางในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ ๙ (ป ๒๕๔๕-๒๕๔๙) ซึ่งปนี้เปนปสุดทาย โดยในแผนเขียนวัตถุประสงคไวชัดเจนวา ปรัชญาฯ นี้ตองการใหคนไทยดํารงชีวิตอยูไดอยางมีความสุข และอยูอยางสมดุลทามกลางการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดจากเหตุปจจัยทั้งภายในและภายนอก โดยใชเปนเครื่องมือในการรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงจากภายในประเทศและภายนอกประเทศ และไมใหเกิดวิกฤตหรือลมละลาย การเปลี่ยนแปลงนี้ พระองคทานมีรับสั่งวา ปจจัยในการเปลี่ยนแปลงมาจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ และภายในหรือภายนอกโรงเรียน ที่ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงและมีผลกระทบตอโรงเรียน มาจากนอกครอบครัวและมามีผลกระทบตอครอบครัว หรือเปนปจจัยภายในครอบครัวและมีผลกระทบกับครอบครัวก็ได ปจจัยที่ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงเปนความประพฤติของเราเอง กับปจจัยที่อยูนอกตัวเราแตมากระทบเรา หรือถาจะเอาไปใชระดับประเทศ ปรัชญาฯ นี้ก็บอกวา การเปลี่ยนแปลงอาจจะเกิดจากภายในประเทศก็ได หรือจะเกิดจากภายนอกประเทศ แลวมากระทบกับประเทศไทยก็ได เราจะทําอยางไรจึงจะรับมือได และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงก็จะไมทําใหเกิดวิกฤตอีก หรือไมทําใหถึงกับลมละลาย หากเอาปรัชญาฯ นี้ไปใชกับธุรกิจเอกชน คําถามคือ ทําอยางไรไมใหลมละลาย หรือเอาไปใชกับโรงเรียน ทําอยางไร โรงเรียนจะไมลงไปถึงขีดต่ําสุด โรงเรียนจะเจริญพัฒนาขึ้นมาอยูเรื่อยๆ ถาเราจะเอาปรัชญาฯ นี้ไปใชในระดับบุคคล ก็สามารถนําไปปรับใชไดทุกระดับและทุกคน ทั้งนักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู ผูบริหาร และประชาชนทุกคน

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยูที่ “ทางสายกลาง” โดยยึดคําวา “พอเพียง” ไมสุดโตง ซึ่งมีอยูในคําสอนของทุกศาสนา ไมวาจะเปนศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต พราหมณ ฮินดู อิสลาม และศาสนาซิกส วา การใชชีวิตนั้น อยาสุดโตงดานใดดานหนึ่ง แตใหอยูในทางสายกลาง เชน การใชเงินใชทองระดับบุคคล นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือครูก็ดี เรื่องการใชเงิน ใชใหพอเพียง พอประมาณ หากสุดโตงขางหนึ่งคือ ตระหนี่หรือขี้เหนียว ตระหนี่ก็คือไมใชเงิน แมวาจําเปนตองใชเงินก็ไมยอมใช แลวไปสรางความเดือดรอนใหตนเอง คนในครอบครัว หรือคนในโรงเรียน สวนอีกสุดโตงคือ ฟุงเฟอ ฟุมเฟอย ใชเงินในสิ่งที่ไมจําเปนตองใช และไมมีเหตุผลความจําเปนตองใช เห็นเขามีก็อยากมีตามเขา เขามีเงินเปนแสนลาน เราจะไปมีตามเขาไดอยางไร ในเมื่อเงินเดือนเราหมื่นสอง

อีกรายเงินเดือนหาหมื่น เขาอาจจะซื้อกระเปาสามพัน ก็ชางเขา กระเปาเราก็มี มีตั้งสามใบแลวจะไปซื้อทําไมใบที่สี่ใหเปนหนี้เขาเปลาๆ หรือเห็นเขาผอนของที่เอามาขายตามบาน ตามโรงเรียน ก็อยากจะผอนตามเขา เสร็จแลวก็ไมไดเอาไปใชประโยชน เอาไปวางตามตูโชว เอาไวแขวนผาขาวมา คือไมรูจักใชเหตุผล ซึ่งปรัชญาฯ นี้ตองการสอนเราวา การที่จะใชชีวิตก็ดี การที่จะใชเงินใชทองก็ดี การที่จะตัดสินใจบริหารโรงเรียนก็ดี ตองวางอยูบนความพอเพียง มี ๓ องคประกอบ

คําวา “ความพอเพียง” ทานพระราชทานวา ประกอบดวย ๓ องคประกอบ หนึ่ง พอประมาณ ทั้งปริมาณและคุณภาพ ไมสุดโตง ไมขี้เหนียว ไมฟุงเฟอ ฟุมเฟอย นอกจากพอประมาณแลวยังไมพอ สอง ตองมีเหตุมีผลในการบริโภค เชน เรามีเงินเดือน ๑๒,๐๐๐ บาท และมีกระเปา ๓ ใบ เราขอซื้อใบที่ ๔ อีกใบราคา ๓๐๐ บาท ก็พอประมาณ แตมีคําถามที่สองตามมาวา มีเหตุผลเพียงพอหรือที่จะซื้อใบที่ ๔ แมวาราคาจะถูก เหมาะกับคนเงินเดือน ๑๒,๐๐๐ แตไมจําเปนตองเสียเงินอีก ๓๐๐ บาท ไปซื้อใบที่ ๔ นักเรียนนักศึกษาก็เหมือนกัน นักเรียนบอกวาคืนนี้จะไปเที่ยวคลับกับเพื่อน เอาคลับที่ราคาปานกลาง เพราะเงินเรานอย แลวทําไมตองไปเที่ยว มีเหตุมีผลไหม หากใชเหตุผลไตรตรองก็จะคิดไดวาควรไปหรือไม คําวาเหตุผล จะทําใหเรายับยั้งชั่งใจได

และองคประกอบที่สาม มีภูมิคุมกันในตัว เมื่อเราใชเงินพอประมาณ เราใชเงินอยางมีเหตุมีผล คําถามสุดทายคือ มีภูมิคุมกันในตัวพอที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อปองกันวิกฤต เชน ไดรับเงินเดือน ๑๒,๐๐๐ บาท แลวใชเงินใหหมดเลย ถาเดือนหนามีใครสักคนในบานไมสบาย เบิก ๓๐ บาทก็ยังไมพอ คารถเดินทางไปโรงพยาบาลเขาก็ไมไดใหดวย เราไมกันเงินไวสวนหนึ่งเชียวหรือ เอาไวเวลาเดือดรอน เวลาเกิดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เราไมคาดฝน ดังนั้น จึงตองกันเงินไวสวนหนึ่งเมื่อเวลาเดือดรอน หรือมีสิ่งที่ไมคาดฝนเกิดขึ้น นี่คือภูมิคุมกันในตัวที่ดีพอสมควร ที่ไดพูดไวและที่สภาพัฒนใหไวในกรอบแผนฯ ๙ ในนั้นจะมีคําพูดอยูทุกคํา ใหดึงขึ้นมา นํามาวิเคราะห นํามาใช

ดังนั้น วัตถุประสงคคือใหเรามีชีวิตอยูทามกลางการเปลี่ยนแปลง เกิดจากปจจัยภายในและภายนอก อันที่สอง หลักก็คือทางสายกลาง โดยยึดคําวา “พอเพียง” ความพอเพียงมีองคประกอบ ๓ ประการ คือ พอประมาณ มีเหตุผล และยังตองเหลือเก็บ เปนระบบภูมิคุมกันในตัวที่ดี เหมือนกับการใชงบประมาณโรงเรียน เราจะใชหมด หรือเราจะติดหนี้ ผมไดขาววามีผูอํานวยการโรงเรียนฆาตัวตาย หรือพยายามฆาตัวตาย เพราะไปติดหนี้เขา อยากเปนโรงเรียนหนึ่งอําเภอ หนึ่งโรงเรียน ตายไปแลวก็มี นาสงสาร เพราะไมรูจักสรางภูมิคุมกันในโรงเรียน แตไปสรางหนี้โรงเรียนมากกวาปกติ หรืออีกขาวเมื่อเร็วๆ นี้ พบวา ๕ ปที่ผานมา หนี้ของครูเพิ่มจากแสนลาน เปนสี่แสนลานแลว ครูในปจจุบันเปนหนี้กันทั้งนั้น

รางกายมนุษยเราก็มีภูมิคุมกันอยูในตัว เชื้อโรคเขาตัวเราทุกวัน แตหากมีภูมิคุมกันที่ดี จะมีสารและเซลลตางๆ ที่ไปทําลายเชื้อโรคที่มาโจมตีเรา ดังนั้น คนที่ภูมิคุมกันบกพรอง เชน โรคเอดส พวกนี้จะแพสิ่งตางๆ อยูตลอดเวลา มักจะอายุสั้น ตายดวยโรคซึ่งคนอื่นสูได แตตัวเขาสูไมได เพราะภูมิคุมกันเขาต่ํา เหมือนกับการเปนหนี้ เพราะมีภูมิคุมกันทางการเงินไมดี

ภูมิคุมกันของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลายดาน ที่เห็นเดนชัดคือ ภูมิคุมกันทางการเงิน เมื่อสักครูยกตัวอยางนักเรียนไดรับเงินจากพอแม แลวใชจนหมดไมเหลือและยืมเพื่อนอีก เรียกวา ภูมิคุมกันทางการเงินออนแอ ครูที่เปนหนี้ก็มีภูมิคุมกันทางการเงินออนแอ ไมกลาสบตาใคร เพราะเปนหนี้เขาทั่วตลาด เวลาเขาตลาดก็ไมกลาพบใคร เดินกมหนา แลวจะมีกําลังใจทํางานอีกหรือสําหรับคนที่เปนหนี้ ผลโอเน็ตออกมาก็นาเปนหวง ทั้ง ๕ วิชาสาระการเรียนรู ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร สังคมศาสตร และวิทยาศาสตร ไมมีวิชาไหนถึงหาสิบเปอรเซ็นต ครูที่เปนหนี้จะมีกําลังใจสอนหนังสือหรือ

และ ภูมิคุมกันทางศีลธรรม นับเปนภูมิคุมกันที่สําคัญอีกประการหนึ่ง ทําไมนักเรียนบางคนจึงงายตอการไปลองยาเสพติด ทําไมนักเรียนอีกหลายคนจึงงายที่จะไปเที่ยวส่ําสอน เสียเนื้อเสียตัว เรียนไมจบก็ตั้งทอง ตองไปทําแทง ทําไมถึงใจงาย เพราะวา เขามีภูมิคุมกันทางศีลธรรมต่ํา เมื่อปที่แลวครูทั้งหลายเคยพานักเรียนเขาวัดกี่ครั้งบาง ครูทั้งหลายที่ไดรับรางวัลในวันนี้เคยพานักเรียนไปเขาวัดบางไหม การที่ภูมิคุมกันทางศีลธรรมต่ํา เวลาถูกสื่อลามก เพื่อน

ลามก ชักชวนไปในทางที่ชั่วที่เลวก็ไปหมด เพราะภูมิคุมกันทางศีลธรรมต่ํา ผมอยากใหครูทั้งหลายชวยเสริมในเรื่องนี้ และนํานักเรียนเขาวัดกันบาง

คําวา “ขวัญ” เปนภาษาไทยแท ขวัญ แปลวา ภาวะพรอมที่จะทํางาน นักรบมีขวัญ ก็พรอมที่จะรบ ครูที่มีขวัญก็คือครูที่พรอมจะสอน ครูที่เปนหนี้ คือครูที่ขวัญหนีดีฝอ คือ ขวัญหนีไปแลว แลวดีที่อยูในทองก็ยังฝออีก เพราะไมกลา การเปนหนี้ทําใหความเชื่อมั่นในตัวเองลดลง เพราะฉะนั้น จะเห็นไดวาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใชไมยาก โดยใหเริ่มใชกับตัวเองกอนในเรื่องการมีภูมิคุมกันในตัว และสามารถใชกับใครก็ได ทั้งกับครู นิสิต นักศึกษา ผูบริหาร โรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา หรือกระทรวงศึกษาธิการก็ใชได ฝากทานรองปลัดฯ ใหเอาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใชระดับกระทรวงไดหมดเลย

สําหรับ “เงื่อนไขสําคัญ” ที่จะนําปรัชญานี้ไปใชแลวประสบความสําเร็จมี ๒ ขอคือ หนึ่ง “คุณธรรม” ตองปรับพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ทั้งเจาหนาที่ของรัฐ นักทฤษฎี นักวิชาการ และผูประกอบการธุรกิจทั้งหลาย ไมวาจะเปนเอกชนหรือธุรกิจของรัฐ ตองยึดมั่นอยูในคุณธรรม ความซื่อสัตย สุจริต ตองปรับพื้นฐานจิตใจของคนในชาติใหมีคุณธรรม และมีความซื่อสัตยสุจริต ที่จริงเรื่องความซื่อสัตยสุจริตก็เปนเรื่องของคุณธรรม แตที่ดึงขึ้นมาใชเพราะเห็นวาเรื่องของการเปนคนขี้โกงเปนเรื่องไมดีอยางมาก จึงดึงขึ้นมาวาทําอยางไรจะใหนักเรียน ครู และผูบริหารทุกคนในโรงเรียนของเรามีความซื่อสัตยสุจริต

เรื่องคุณธรรมนี้เปนภาพใหญ และเปนกลไกการคิดตัดสินใจของแตละคนในเรื่องความดี ความงาม และความจริง ถาเราคิดและตัดสินใจออกมาในสิ่งที่คนทั่วโลกบอกวาเปนความดี ความงาม ความจริง แสดงวาคนๆ นั้นมีคุณธรรม แตถากลไกคิดแลวออกมาแลวตรงกันขาม ทําความชั่ว ทําความเสื่อมเสีย สกปรก อันนั้นเรียกวา คนไรคุณธรรมหรือคนมีกิเลส ตรงนี้พอแมตองคอย ๆ สั่งสมตั้งแตเด็กเริ่มรับรูโลกภายนอกได พอแมมีหนาที่ตองเอาสิ่งที่สะทอนคุณธรรมใสไปคือ ความดี ความงาม ความจริงใสเขาไป

ดังนั้น เมื่อครูรับเด็กมาจากพอแม รับมาอยูอนุบาล ประถม มัธยม ครูตองรับมาสรางคุณธรรมตอใหกับเด็ก วิธีสรางที่ดีที่สุดคือ ครูทําตัวเปนตนแบบ หากเราบอกวาความซื่อสัตยสุจริตเปนเรื่องสําคัญมาก ครูก็ตองทําใหเด็กเห็น เด็กก็จะจําไป พอแมสอนลูกวา ตองรักษาคุณธรรมขอนั้นขอนี้ แลวพอแมไมทํา เด็กก็ไมเห็นความสําคัญ หรือพอแมไปแอบกระซิบวา ลูกโตขึ้นถาเอาเปรียบใครไดใหเอาเปรียบไป พอเขาโตเขาก็จะเอาเปรียบ เพราะเขาติดนิสัยตั้งแตเด็ก หรือถาสังคมภาพรวม ผูใหญมีแตเอาเปรียบ ชิงดีชิงเดนกัน ทําผิดกฎหมายบางก็ไมเปนไร เด็กก็จะเห็นตัวอยาง และจดจําไปทําบาง

ฉะนั้น คุณธรรมจึงเปนเรื่องใหญและสําคัญมากที่สุด เราไมสามารถเปลี่ยนไดภายในวันสองวัน เปนเรื่องที่ตองใชเวลา ตองใชความอดทน และความพยายามอยางมาก ดังนั้น

หากจะเอาปรัชญาไปใช เงื่อนไขขอแรกคือตองมีคุณธรรม ตองปรับพื้นฐานจิตใจใหมีคุณธรรมและความซื่อสัตยสุจริต

และเงื่อนไขที่สอง “ดานวิชาการหรือความรู” ขอนี้สําคัญไมแพกัน ในการวางแผนและการลงมือทํางานอะไรก็ตาม ตองใชหลักวิชาที่เหมาะสม ความรูจริง และความรอบคอบเปนตัวตัดสิน ตรงนี้ถือวาเปนเงื่อนไขหลักวิชา จะทําอะไรโดยใชอารมณไมได หรือจะใชอคติก็ไมดี เงื่อนไขสุดทาย เปนเงื่อนไขในการดําเนินชีวิต “ตองใชความอดทน ใชสติ ใชปญญาในการดําเนินชีวิต” ถาเปนคนขี้เกียจ แลวบอกวา นําหลักปรัชญาฯ ไปใชแลวไมเห็นสําเร็จเลย ไมสําเร็จแนนอน เพราะเปนคนเกียจคราน เชน เวลาจะสอบก็บอกวา เอาคะแนนพอประมาณ ขี้เกียจ ใชไมสําเร็จ เพราะมีขออางผิดๆ ถูกๆ ไปเรื่อยๆ

ฉะนั้น ขอฝากไววา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวพระราชทานใหพวกเรานั้น ลึกซึ้ง ครอบคลุม ใชไดทุกสถานการณ ทุกระดับ และทุกคน มีความหมายอยูคําหนึ่ง คือ คําวาพอเพียง เพราะมีคนเขาใจปรัชญาฯ นี้ผิดแลวก็เอาไปพูดจริงบาง พูดเลนบาง คลายๆ วา ปรัชญาฯ นี้จะไมใหเรารวยเลยหรือ จะใหเราจนตลอดเลยหรือ คนที่พูดเชนนั้นแสดงว

 

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำตอบ ที่หลายคนกำลังค้นหา 

สนั่น ชูสกุล นักพัฒนาเอกชน ผู้มีประสบการณ์ในการทำงานพัฒนาร่วมกับชุมชนในภาคอีสานมากว่า 25 ปี นำเสนอบทความ จาก “เศรษฐกิจพอเพียง” สู่การคิดค้นสังคมอนาคต ในการประชุมเชิงวิชาการ เรื่องเหลียวหลังแลหน้าการเปลี่ยนแปลงสังคมชนบทอีสานช่วงทศวรรษ 2540-2550 กรณี “เศรษฐกิจพอเพียง: ความรู้และความไม่รู้” ที่จัดโดยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2550 ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมี ผศ.ดร.นลินี ตันธุวนิตย์ อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมแสดงความเห็น “ประชาไท” ขอนำเสนอโดยสรุป เพื่อการถกเถียง ดังนี้

00000

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เมื่อปลายปี 2540 นั้น ได้ก่อให้เกิดการตื่นตัวในทุกภาคส่วน เกิดการขบคิด ขยายคำ นำไปใช้ สู่การคิดค้นนโยบาย วางแผน ปฏิบัติ ทั้งในหน่วยงานรัฐ องค์กรธุรกิจ วงวิชาการ องค์กรทางสังคม และองค์กรประชาชน แต่ด้วยจุดยืน ผลประโยชน์ ระดับความเข้าใจ และความคาดหวังที่แตกต่างกัน

ในสายตาของตนเองซึ่งทำงานองค์กรพัฒนาเอกชน เห็นว่า หลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการนำเสนอทางเลือกทางเศรษฐกิจสังคมอันเป็นอุดมการณ์ท้าทายสังคมปัจจุบัน ท่ามกลางแนวคิด/ทางเลือกใหม่ๆ ในการพัฒนา/เปลี่ยนแปลงสังคมที่ถูกนำเสนอเพื่อตอบโต้อุดมการณ์ทุนนิยม แนวคิดเหล่านี้ล้วนสอดคล้องกับหลักคุณค่าในชุมชนท้องถิ่นของเรา อันได้แก่วัฒนธรรมชุมชนและคุณธรรมทางศาสนา อย่างไรก็ตาม ตนเองมีข้อพิจารณาต่อหลักเศรษฐกิจพอเพียงและข้อเสนอต่อการคิดค้นสังคมอนาคต

ในเบื้องต้น ขอพิจารณาความหมายและฐานะของเศรษฐกิจพอเพียง หลังมีพระราชดำรัสฯ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในปี 2540 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ มาร่วมกันกลั่นกรองพระราชดำรัสฯ สรุปเป็นนิยาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำแผนฯ 9 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจ และนำไปประกอบการดำเนินชีวิต ต่อมาจึงปรากฏนโยบาย แผนงาน โครงการต่างๆ ของหน่วยราชการทุกระดับ ป้าย “เศรษฐกิจพอเพียง” ถูกติดตั้งขึ้นทุกหนแห่ง รวมทั้งสองข้างถนน และในไร่นาของเกษตรกร วาทกรรม “เศรษฐกิจพอเพียง” จึงแพร่หลายไปในสังคมอย่างรวดเร็ว

การขยายความของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ใน สศช. กล่าวได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแบบจำลองทางความคิดที่มุ่งเสนอแนวทางการพัฒนาสังคมในมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และด้านอื่นๆ โดยเน้นการสร้างแบบจำลองทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน ไปพ้นจากวิกฤติอันเกินความพอเพียงของมนุษย์ หรือวิกฤติของระบบทุนนิยม อันเป็นบริบทของสังคมไทยในปี 2540

หากกล่าวถึงระบบทุนนิยม โดยหัวใจของระบบ คือ เชื่อว่าความต้องการที่จะบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ เป็นสิทธิส่วนบุคคล จึงต้องหาวิธีการผลิตให้ทันความต้องการของมนุษย์ซึ่งไม่มีขีดจำกัด ในขณะที่ ทรัพยากรในโลกมีจำกัด เกิดเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมที่มีเป้าหมายใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดผลิตให้มีประสิทธิภาพ เกิดกลไกการตลาดที่จะช่วยให้การแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวเป็นไปเพื่อผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพการผลิต คือ มีแรงจูงใจให้เกิดการแข่งขัน ทำให้เกิดการผลิตให้เพียงพอความต้องการ มีการสะสมทุนเพื่อขยายการผลิต/การบริโภค เกิดลัทธิทุนนิยม บริโภคนิยม

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ทุนเป็นใหญ่ เงินเป็นพระเจ้า ผลิตล้นเกิน บริโภคแหลกลาญ ผลาญทรัพยากร แย่งชิงไปจากชนบท ทำให้คนเห็นแก่ตัว เกิดช่องว่างระหว่างคนรวย/คนจน เมือง/ชนบท สังคมเสื่อม ศีลธรรมเสื่อม เกิดธุรกิจการเมือง เศรษฐกิจแบบยังชีพของชุมชนที่สามารถพึ่งตนเองได้ กลายเป็นเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพิงภายนอก

ท่ามกลางความเป็นไปนี้ ได้เกิดแนวคิด/อุดมการณ์ต่างๆ มากมายที่วิเคราะห์ความเป็นไปของทุนนิยม ตอบโต้ และเสนอทางออกแก่สังคม ได้แก่

1.อุดมการณ์สังคมนิยม วิเคราะห์ให้เห็นว่าทุนนิยมมีการขูดรีดส่วนเกินของแรงงานไปอย่างไร มีการทำนายว่าสังคมต้องเกิดความขัดแย้งทางชนชั้น และชนชั้นกรรมาชีพจะลุกขึ้นมาโค่นล้มชนชั้นนายทุน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมนิยมในหลายประเทศทั่วโลก แต่ในที่สุดเราก็พบว่า ประเทศสังคมนิยม เช่น จีน ก็ต้องเปิดประเทศเพื่อใช้เศรษฐกิจแบบทุนนิยม เพราะแบบแผนการพัฒนาที่มีความเสมอภาค มีการปฏิวัติที่ดินมาเป็นของรัฐ กิจกรรมการผลิตใช้ระบบการวางแผนงานจากส่วนกลางจัด เป็นคอมมูน รัฐเป็นคนแบ่งปันผลผลิตนั้น ไม่มีแรงจูงใจในการผลิต เกิดการอดอยากขาดแคลน เต็มไปด้วยคอร์รัปชั่น

2.แนวคิดมนุษยนิยม วิพากษ์ทุนนิยมและสังคมนิยมว่าเน้นการพัฒนาเชิงวัตถุ ระบบ และโครงสร้าง โดยไม่เห็นความเป็นมนุษย์ แนวคิดนี้จึงเสนอว่า การพัฒนาที่แท้ควรที่จะพัฒนาเพื่อให้คนเกิดคุณภาพ โดยหันกลับไปสู่เรื่องจิตใจ

3.การพัฒนาแนวพุทธ ได้แก่ ขบวนการสรรโวทัยในศรีลังกา เสนอแนวทางการพัฒนาที่เน้นความเป็นมนุษย์ ความสามัคคี การมีส่วนร่วม และต้องปฏิวัติวัฒนธรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกให้คนหลุดพ้นจากการครอบงำทุกชนิด เป็นการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง โดยใช้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และต้องเป็นการพัฒนาแบบมีจริยธรรม

4.เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ เป็นการประยุกต์พุทธธรรมมาอธิบายหลักเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธเสนอว่า การบริโภคต้องทำด้วยปัญญา มีความเข้าใจ รู้เท่าทัน และพอประมาณ ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตที่พอประมาณ ไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น และที่สำคัญ การบริโภคเป็นเพียงกระบวนการที่มีเป้าหมายไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี

5.ธัมมิกสังคมนิยม เป็นแนวคิดที่ท่านพุทธทาสได้เสนอเป็นทางเลือกของสังคม เป็นแนวคิดสังคมนิยมที่ อยู่บนฐานของธรรมะ มีหลักการใหญ่ๆ คือ คำนึงถึงผลประโยชน์ของมหาชน, ไม่มีใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใดๆ อย่างเด็ดขาด, จัดสรรที่ดินอย่างเป็นธรรม, ใช้หลักสหกรณ์ คือ ร่วมมือกัน พึ่งพิงอาศัยกัน, ใช้ระบบคอมมูน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาทั้งในระดับชุมชนและในเชิงประเด็นปัญหา, มีวินัย, และมีธรรมะ

6.แนวคิดนิเวศวิทยาการเมือง เป็นแนวคิด/อุดมการณ์ที่มีพลังและการเคลื่อนไหวที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน แนวคิดนี้ถือว่า ระบบนิเวศ และสังคมต้องพึ่งพากัน โดยมีหลักการ คือ รักษาระบบนิเวศ, มีความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของสังคมนิยม, มีประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน คือ ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกระดับ, และใช้สันติวิธี

หากกลับมาดูความคลี่คลายขององค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรประชาชนในภาคอีสาน ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 2520 ซึ่งด้านหนึ่งเป็นแรงกระเพื่อมจากสากล อีกด้านหนึ่งเป็นการคลี่คลายของการเมืองไทยเอง โดยเริ่มจากการที่คนเล็กๆ 3-5 คนลงไปอยู่กับชาวบ้าน ทำงานในเรื่องต่างๆ ตามความเชื่อและความถนัด คำหลักในขณะนั้นคือ “คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน”, “การพึ่งตนเอง”, “การมีส่วนร่วม” ฯลฯ เมื่อเวลาผ่านไป เราได้พบว่า ชาวบ้านส่วนหนึ่งได้สรุปบทเรียนความล้มเหลวของเกษตรแผนใหม่ และคิดค้น “ระบบเกษตรผสมผสาน”ที่สอดคล้องกับธรรมชาติ/วิถีชีวิต และพัฒนาเป็นระบบเกษตรที่เป็นทางเลือก ไม่ร่วมมือกับระบบทุนนิยม เกิดแนวความคิดเชิงระบบ โดยยืนอยู่บนขา 4 ขา คือ

(1) ในด้านอาชีพ คิดค้นการผลิตที่ผสมผสาน เกษตร หัตถกรรม ปศุสัตว์ และพัฒนาให้ครบวงจร ทั้งการผลิต แปรรูป การตลาด

(2) การรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง และอำนาจในการจัดการตนเอง

(3) ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ,

(4) ประสานความร่วมมือกับภายนอก

และในที่สุดองค์ความรู้ต่างๆ ก็ยกระดับเป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับชุมชน เช่น วัฒนธรรมชุมชน, เศรษฐกิจชุมชน, สิทธิชุมชน, วิสาหกิจชุมชน, ป่าชุมชน ฯลฯ

ถ้าพิจารณาสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด จะพบว่า เศรษฐกิจพอเพียง มีความหมายเช่นเดียวกับเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ โดยเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการสถาปนาอำนาจนำ และมีการผลักดันแนวคิดนี้ไปทางระบบราชการ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ค้ำจุนการดำรงอยู่ของระบบทุนนิยม ในแง่นี้จึงต้องพิจารณาว่า เศรษฐกิจพอเพียงวิเคราะห์สังคมที่เป็นอยู่อย่างไร มีสมมติฐานว่าปัญหาของสังคมเกิดเพราะอะไร หากเชื่อตามที่ท่านพุทธทาสกล่าว ก็คือ ปัญหาอยู่ที่โครงสร้างและระบบที่เป็นเงื่อนไขให้เกิดความสามานย์ในระบบทุนนิยม ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียง ก็ต้องหาวิธีการดำเนินการเพื่อให้เกิดการแก้ไขให้ตรงกับเหตุของปัญหา และต้องไม่มองอยู่ในปริมณฑลของเศรษฐกิจเท่านั้น ต้องเอาการเมือง สังคม วัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

สุดท้าย ขอเสนอว่า ในการคิดค้นสังคมอนาคตต้องนำแนวคิด/ทฤษฎี/อุดมการณ์ที่ชี้นำการเปลี่ยนแปลงของสังคม มาผสมผสาน ใช้จุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละส่วน เพื่อให้เป็นพลังในการอธิบายปรากฏการณ์ และเป็นพลังในการต่อสู้ สร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น ก่อนที่โลกจะร้อนไปกว่านี้

00000

ในทางตรรกะ ด้านหนึ่ง เศรษฐกิจพอเพียงกล่าวโทษระบบทุนนิยมที่ไม่เป็นธรรม
อีกด้านหนึ่ง ยุยงให้คนจนปรับปรุงตัวเองโดยไม่ต้องแตะต้องระบบ
ในทางปฏิบัติการของรัฐ ด้านหนึ่งบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น
อีกด้านหนึ่ง บอกว่าเราต้องรณรงค์สิ่งนี้ในท้องถิ่น โดยคนที่ไปรณรงค์เป็นคนชั้นกลางรวมทั้งคนชั้นสูง

ผศ.ดร.นลินี ตันธุวนิตย์ อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: เห็นด้วยในข้อที่ว่าเศรษฐกิจพอเพียงเท่ากับเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หมายถึงทั้งสองอย่างมีตรรกะที่เหมือนกัน คือบอกว่าความยากจนมีสาเหตุจากปัจเจก แนวทางแก้ไข คือ แก้ที่ปัจเจก แก้นิสัย ความโลภ บริโภคล้นเกิน แต่ไม่เหมือนธัมมิกสังคมนิยม ที่บอกว่าปัญหาเกิดจากระบบ/กลไก/โครงสร้างของทุนนิยมที่ทำให้ปัจเจกเป็นอย่างนั้น การแก้ไขจึงต้องแก้ที่กลไก/โครงสร้างของระบบทุนนิยมด้วย เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้คำนึงถึงการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง มองที่ปัจเจกเท่านั้น

คุณสนั่นมองเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกระบวนการสร้างขั้วตรงข้ามอย่างเด็ดขาด หรือผ่านการสร้างเรื่องเล่าแบบเหมารวม 2 เรื่อง เรื่องที่หนึ่ง ว่าด้วยความชั่วร้ายของระบบทุนนิยม ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นปัญหาที่เกิดจากทุนนิยมทั้งสิ้น ยิ่งพัฒนายิ่งจน ทำลายทั้งคนและระบบนิเวศน์ เรื่องที่สอง ว่าด้วยคุณค่าที่ดีงามของท้องถิ่น มีความพอเพียง แบ่งปัน มีภูมิปัญญาในการอยู่ร่วมกันของคนกับธรรมชาติ

การเล่าเรื่องเล่าแบบเหมารวมแบบนี้ จูงใจให้เชื่อว่ามี 2 ขั้ว เปิดทางให้เศรษฐกิจพอเพียงมีที่ยืน คือยืนอยู่ฝ่ายธรรมะเพื่อต่อสู้กับอธรรม ไม่ต้องพูดถึงว่าตัวแทนของฝ่ายธรรมะคือพระมหากษัตริย์ ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงมีภาพเยอะแยะ มีชุมชนตั้งหลากหลาย ข้อมูลจากงานศึกษาหลายชิ้นอธิบายว่า พื้นที่ในชนบทไม่ว่าอีสานหรือภาคเหนือในอดีตไม่มีความพอเพียง และไม่สามารถที่จะผลิตและอยู่รอดได้ด้วยตนเอง เนื่องจากเงื่อนไขของระบบนิเวศน์และภูมิศาสตร์ที่ไม่เอื้ออำนวย แต่เราก็ทำประวัติศาสตร์ตรงนี้ให้เป็นชุดเดียวชิ้นเดียว เหมือนกันกับระบบทุนนิยม ซึ่งไม่ได้มีด้านชั่วร้ายเพียงด้านเดียว เราได้ใช้ประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยี และระบบเครือข่ายข้ามชาติ

ประเด็นต่อมา คือ การสร้างเรื่องเล่าแบบเหมารวมแบบนี้ ทำให้เรามองไม่เห็นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยมและเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทั้งสองมีข้อเหมือนกัน และเอื้อซึ่งกันและกันใน 2 เรื่อง คือ 1) ทำให้คนจนยอมจำนนอยู่ภายใต้ระบบ ไม่ต่อสู้กับระบบ เพราะเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้พูดถึงเงื่อนไขเชิงโครงสร้างและกลไกของระบบที่ทำให้ชีวิตคนยากลำบาก แต่บอกว่าความยากจนยากลำบากเกิดจากความไม่พอเพียง 2) เศรษฐกิจพอเพียงประคับประคองให้ทุนนิยมอยู่ได้ ให้คนจนเป็นฐานการผลิตสินค้าราคาถูก อย่างน้อยก็หาเลี้ยงตัวเองได้ รัฐไม่ต้องช่วย ทุนไม่ต้องช่วย ทุนนิยมรังเกียจคนจน แต่ไม่รังเกียจความยากจน เพราะความยากจนทำให้ทุนนิยมอยู่รอด ทำให้คนยอมไปขายแรงงานราคาถูกให้ระบบอุตสาหกรรม ทำให้คนยอมขูดรีดแรงงานของตัวเองเพื่อผลิตสิ่งที่ขายได้ต่ำกว่าต้นทุน เช่น ข้าว

ถ้าเราไม่สร้างเรื่องเล่าแบบเหมารวม จะทำให้เราเห็นประเด็นเหล่านี้ชัดเจนขึ้น ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว อยากเห็นการเลื่อนไหล การขอยืม การปล้นนิยามของเศรษฐกิจพอเพียงจากฝ่ายธรรมะเพื่อเอาไปใช้ มากกว่าตรึงไว้กับภาพเรื่องเล่าเหมารวม

สุดท้าย สิ่งที่เห็นจากบทความคือ ความขัดกันของตรรกะและปฏิบัติการของเศรษฐกิจพอเพียง ในทางตรรกะ ด้านหนึ่ง เศรษฐกิจพอเพียงกล่าวโทษระบบทุนนิยมที่ไม่เป็นธรรม อีกด้านหนึ่ง ยุยงให้คนจนปรับปรุงตัวเองโดยไม่ต้องแตะต้องระบบ ในทางปฏิบัติการของรัฐ ด้านหนึ่งบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น อีกด้านหนึ่ง บอกว่าเราต้องรณรงค์สิ่งนี้ในท้องถิ่น โดยคนที่ไปรณรงค์เป็นคนชั้นกลางรวมทั้งคนชั้นสูง

::: ¾ÃÐÁËÒ¡ÃسҸԤس´éÒ¹Êѧ¤Á : »ÃѪ­Ò¢Í§àÈÃÉ°¡Ô¨¾Íà¾Õ§¡ÑºÊѧ¤Áä·Â :::

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ๖๐ ปี พระองค์ทรงยึดหลักธรรมะเป็นแนวทางและทรงงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดมา ส่งผลให้การพัฒนาประเทศเกิดความมั่นคงและยั่งยืน ด้วยพระราชปณิธานที่จะทรงเสียสละประโยชน์ส่วนพระองค์เพื่อพสกนิกรชาวไทยทั้งมวล โดยไม่แบ่งแยกสถานะ ศาสนา ชาติพันธุ์ หรือหมู่เหล่า และทรงถือว่า ทุกข์ของพสกนิกรคือทุกข์ของพระองค์ ดังจะเห็นได้ว่า พระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัตินั้น แสดงให้เห็นถึงพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรทั้งแผ่นดินให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งสิ้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำและมุ่งมั่นเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่พสกนิกรทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั่วประเทศ ทรงเข้าไปช่วยเหลือราษฎรในด้านต่างๆ ทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ และทรงหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างแยบยล ด้วยทรงตระหนักดีว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมโดยพื้นฐาน ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ดังนั้น เพื่อที่จะช่วยให้ประชาชนมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พระองค์จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนและศึกษาความเป็นอยู่ของพสกนิกรในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยในปัญหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมและมีประสิทธิผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน นำไปสู่การพระราชทานแนวพระราชดำริที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อ “เศรษฐกิจพอเพียง”

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานวางแผนของประเทศ ได้ศึกษาและเรียนรู้การทรงงานของพระองค์ พบว่า เป็นการดำเนินงานในลักษณะของทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัวและสามารถปฏิบัติได้จริง ทุกคนควรเรียนรู้และน้อมนำมาเป็นแบบอย่างในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท นำมาปฏิบัติให้บังเกิดผลต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติ ในด้านต่างๆ ดังนี้

ประการแรก การพัฒนาต้องเอา “คน” เป็นตัวตั้ง ยึดหลัก “ประโยชน์สุขของประชาชน” และการมีส่วนร่วมตัดสินใจของประชาชน โดยในการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกโครงการ ทรงยึดหลักประชาชนทุกคนต้องได้รับประโยชน์จากโครงการและคนส่วนใหญ่ต้องเสียสละดูแลช่วยเหลือคนส่วนน้อย ยึดหลักคุ้มค่ามากกว่าคุ้มทุนหรือขาดทุนคือกำไร คือ เน้นการให้และการเสียสละ เพื่อผลแห่งความอยู่ดีมีสุขของประชาชน และต้องให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโครงการตั้งแต่ตอนก่อนเริ่มต้นโครงการ แล้วจึงให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการร่วมกันต่อไป

ประการที่สอง ยึดหลัก ภูมิสังคม ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคและท้องถิ่น ดังจะเห็นได้ว่า การพัฒนาตามแนวพระราชดำริจะเน้นกระบวนการศึกษาและวางแผนที่สอดคล้องกับ ภูมิสังคม หรือลักษณะภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ สภาพธรรมชาติแวดล้อมรอบๆตัวคน คำนึงถึงการดำเนินวิถีชีวิตของคนในสังคมที่จะเข้าไปพัฒนา ตามลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อและศาสนา ประเพณีที่ต่างกัน

นอกจากนี้ ยังทรงให้ความสำคัญกับการใช้หลักวิชาในการศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ และพัฒนาคน โดยสร้างความรู้ ความเข้าใจของคนในพื้นที่ต่อหลักการและประโยชน์จากการพัฒนา ก่อนส่งเสริมให้ข้าราชการทุกคนยึดหลัก เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา คือ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสภาพภูมิสังคมของคนในพื้นที่นั้นๆ ว่ามีปัญหาเช่นไรและมีความต้องการอะไร ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การวางแผนและดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริช่วยแก้ปัญหาและตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่มากที่สุด

ประการที่สาม การพัฒนาต้องเริ่มต้นจาก การพึ่งตนเอง ให้ได้ก่อน รู้จักประมาณตน
รู้ศักยภาพของตน และดำเนินการด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และทำตามลำดับขั้น สร้างพื้นฐานความเป็นอยู่ของประชาชนและครอบครัวให้พอมี พอกิน พอใช้ก่อน โดยวิธีการที่ประหยัดและถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อพัฒนาตนเองให้เข้มแข็งและเป็นอิสระแล้ว จึงค่อยพัฒนาขึ้นมาเป็นการแลกเปลี่ยน การรวมกลุ่มพึ่งพากันและร่วมกันพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้แล้ว จึงขยายเครือข่ายเชื่อมสู่สังคมภายนอก ดังที่ทรงใช้คำว่า ระเบิดจากข้างใน

จากหลักการทรงงานข้างต้น จะเห็นว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน โดยทรงให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกในศีลธรรมแก่ประชาชน ให้รู้จักประมาณตน ไม่โลภ เสียสละ มีคุณธรรมและความเพียรและซื่อสัตย์สุจริตอยู่เสมอ ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า การพัฒนาคนตามแนวพระราชดำรินั้นจึงเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของคนในทุกมิติ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่สำนึกในคุณธรรม มีความเพียรและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต อันจะเป็นการขยายโอกาสและทางเลือกให้แก่ประชาชนในการดำเนินวิถีชีวิตได้อย่างมั่นคง ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนตามไปด้วย

หลังจากที่ได้ศึกษาพระราชกรณียกิจ พระราชดำรัส และพระบรมราโชวาท ตลอดจนโครงการในพระราชดำริต่างๆ แล้ว สศช. จึงได้เชิญคณะผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ มาร่วมกันพิจารณากลั่นกรองพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้พระราชทานเนื่องในโอกาสต่างๆ สรุปออกมาเป็นนิยาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่เพื่อเป็นแนวปฏิบัติของทุกฝ่าย และได้อัญเชิญมาใช้เป็นปรัชญานำทางในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (๒๕๔๕ - ๒๕๔๙) ต่อเนื่องมาจนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ (๒๕๕๐ - ๒๕๕๔)

ทั้งนี้ หากพิจารณานิยามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับพระราชทานมานั้น จะพบว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิตในลักษณะพหุนิยมที่ยอมรับการดำรงอยู่ร่วมกันของสิ่งที่แตกต่าง ซึ่งนับเป็นแนวคิดที่มีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย เชื่อมโยงทุกมิติของวิถีชีวิตเข้าด้วยกันอย่างเป็นองค์รวม ตลอดจนเป็นปรัชญาฯที่มองสถานการณ์โลกในเชิงระบบที่มีลักษณะเป็นพลวัตร มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด มีผลและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ผู้นำไปปฏิบัติสามารถมีความสุขได้ตามอัตภาพที่เหมาะสมกับเวลาและสถานะของตน ประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับทั้งระดับครอบครัว ชุมชนและรัฐ เป็นแนวทางในการวางแผนและพัฒนาประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี

แนวคิดในการพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะต้องยึดหลักการความพอเพียง ซึ่งมีคุณลักษณะสำคัญ ๓ ประการที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ ต้องใช้หลักความมีเหตุผลในการคิดวิเคราะห์ เหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องและคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ รู้จักประมาณคือ
รู้เรา” รู้ว่า สถานะของประเทศเป็นอย่างไร มีจุดแข็งจุดอ่อนในการพัฒนาเรื่องใดบ้าง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกยุคโลกาภิวัตน์ คือ รู้เขา” โดยต้องเข้าใจถึงโอกาสและภัยคุกคาม ข้อดี ข้อเสีย ที่จะเกิดขึ้นจากกระแสโลกาภิวัตน์ จะได้รู้จักเลือกรับและนำสิ่งที่ดี มีความเหมาะสมมาประยุกต์ใช้และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงหรือใช้หลักความพอประมาณ ในการพัฒนาประเทศให้เป็นไปอย่างสมดุล บนพื้นฐานของความพอดีระหว่างความสามารถในการพึ่งตนเองกับความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก และระหว่างสังคมชนบทและสังคมเมือง โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และเตรียมการจัดการความเสี่ยงด้วย ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ให้พอเพียง พร้อมรับผลกระทบและเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนกระบวนการวางแผนและการพัฒนาทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามหลักความพอเพียงนั้น ต้องใช้ความรู้ในหลักวิชาและความรู้ในแต่ละคนอย่างรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง ควบคู่ไปกับการมีสำนึกในคุณธรรม จริยธรรมและมีความซื่อสัตย์
ในการปฏิบัติหน้าที่ และดำเนินชีวิตด้วยความเพียร ให้พร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ

ในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ สศช. จึงได้น้อมนำหลักการทรงงานมาเป็นแนวทาง และใช้เงื่อนไขความรู้ เริ่มต้นจากการวิเคราะห์บริบทการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนา เพื่อให้รู้ว่าประเทศไทยในขณะนั้นอยู่ในสถานะใด ความรู้มีอยู่ในระดับไหน ซึ่งพบว่า ขณะนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลายด้านที่สำคัญ ที่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบจากทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนา ใน ๕ บริบท ได้แก่

๑) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก

ขณะนี้ เป็นศตวรรษแห่งเอเชียที่มีจีนและอินเดียเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ทำให้การเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้าและบริการ รวมทั้งคนในและระหว่างประเทศมีความคล่องตัวมากขึ้น ปัญหาความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจของโลกที่สะสมมานานจึงได้ระเบิดขึ้น ประเทศไทยเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ และเผชิญกับปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก

๒) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุและนาโนเทคโนโลยี ทำให้เกิดการถ่ายโอนองค์ความรู้และภูมิปัญญาระหว่างประเทศอย่างท่วมท้น ประเทศไทยจำเป็นต้องบริหารจัดการลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร และคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ

๓) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม ประเทศไทยจะเริ่มก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ขณะที่อิทธิพลของสื่อและความก้าวหน้าของการเดินทางอันเป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของประชาชนจะเปลี่ยนแปลงไป มีแนวโน้มที่จะยอมรับวัฒนธรรมต่างชาติมากขึ้น

๔) การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการขนส่งและกระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลให้เกิดการเดินทางทั้งเพื่อท่องเที่ยวและการทำธุรกิจในที่ต่างๆ ทั่วโลกมากขึ้น มีการทำธุรกิจข้ามชาติ บรรษัทข้ามชาติ ประชาชนเริ่มยอมรับและเรียนรู้วัฒนธรรมระหว่างกัน สังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้เกิดการขยายตัวมากขึ้น

๕) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลกแบกรับไม่ไหว เกิดความเสื่อมโทรมและแปรปรวน รวมทั้งเกิดการแพร่ระบาดและเกิดการแพร่ของเชื้อโรคในรูปแบบพันธุกรรมใหม่ๆ มากขึ้น

บริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้ง ๕ ด้านนี้ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้างจากการพัฒนาประเทศที่ไม่สมดุลและไม่ยั่งยืน ประเทศไทยจึงต้องหันมาทบทวนตนเองและปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาให้เป็นไปในทิศทางของการพึ่งตนเองและสร้างภูมิคุ้มกันต่อประเทศให้มากขึ้น จำเป็นที่จะต้องหันมายึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางปฏิบัติควบคู่ไปกับการพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นองค์รวม ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

ดังนั้น สศช. จึงได้เริ่มวิเคราะห์ในเรื่องของโลกาภิวัตน์และสภาพบริบทการเปลี่ยนแปลงข้างต้น ตลอดจนพิจารณาทุนที่ประเทศไทยมี มาประกอบการกำหนดยุทธศาสตร์ ๕ ยุทธศาสตร์ ได้แก่

๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

๒. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ

๓. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน

๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

๕. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ

ภายใต้วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ สศช.ได้นำมาพัฒนาเป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดทำยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ผ่านกระบวนการระดมความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคีพัฒนา และชุมชนในภูมิภาคต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับ เห็นความสำคัญ และเกิดการนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข และใช้เป็นเครื่องมือในการปรับทิศทางการพัฒนาประเทศ และกำหนดนโยบายสาธารณะ ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนแนวคิดและสร้างกระแสหลักในสังคมให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการคิด และค่านิยมของสังคมไทย เพื่อให้เกิดคุณค่าใหม่ในการดำรงชีวิตเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขและสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

โดยได้รับแรงบันดาลใจจากพระองค์ ที่ทรงเป็นนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ และด้วยความจงรักภักดีที่มีต่อพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งพระองค์นี้ สศช. จึงได้น้อมนำหลักการพัฒนาของพระองค์ และเรียนรู้จากพระราชดำรัส พระบรมราโชวาทและพระจริยวัตรปฏิบัติมาเป็นพื้นฐานในการวางรากฐานของการพัฒนาประเทศ นำสู่ผลแห่งอยู่เย็นเป็นสุขของปวงชนชาวไทย บนพื้นฐานของการรู้รักสามัคคี ไม่ทอดทิ้งกัน เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นของขวัญล้ำค่า ในฐานะที่เป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะร่วมกันทำความดีนี้เพื่อเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตา ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่เปรียบมิได้ สมดังพระราชปรารถนาที่ได้ทรงเคยดำรัส เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๔๖ พระราชทานไว้เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๕ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ ว่า

...ข้าพเจ้าปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเห็นชาวไทยมีความสุขถ้วนหน้ากัน ด้วยการให้
คือให้ความรัก ความเมตตากัน ให้น้ำใจไมตรีกัน ให้อภัย ไม่ถือโทษ โกรธเคืองกัน ให้การสงเคราะห์ อนุเคราะห์กัน โดยมุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน ด้วยความบริสุทธิ์ และจริงใจ...”

อยากทราบเกี่ยวกับความหมายของเสถียรภาพทางธุรกิจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท