เมื่อไรถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง


ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการเสื่อมสภาพของอวัยวะต่างๆ และมีความสัมพันธ์กับภาวะ
หลอดเลือดแดงแข็ง ในปัจจุบันมีการจัดการดูแลโรคความดันโลหิตสูง หลายโปรแกรมทำให้อุบัติการ
ของโรคความดันโลหิตสูงลดลง และอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โรคของหลอดเลือดหัวใจ ลดลงในช่วง
ทศวรรษที่ผ่านมา การเพิ่มบทบาทดูแลทางด้านการรักษาโดยไม่ใช้ยา บทบาทหนึ่งนั่นคือ การจัดการ
ทางด้านโภชนาการในการป้องกันและ รักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคอื่นที่เกี่ยวข้อง

1.
ความหมายและการจำแนก

ความดันโลหิตสูง คือ ค่าความดันโลหิตที่สูงกว่าปกติ แบ่งออกเป็น 4 ระดับตาม Joint National Committee,1993

ความดันซิสโตลิก (Systolic) เกี่ยวข้องกับปริมาณเลือดในหัวใจ  ส่วน
ความดันไดแอสโตลิก
(Diastolic) เกี่ยวข้องกับความต้านทานของหลอดเลือด 
ประมาณกันว่าชาวอเมริกันเป็นโรคความดันโลหิตสูง 10 ถึง 20% และเป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบ
สาเหตุ (essential hypertension) ในกลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงประเภทนี้อยู่ในระดับระยะที่
ร้อยละ 68 การจัดการให้มีแผนการรักษาทำให้อุบัติการของโรคลดต่ำลงในเวลาต่อมา ความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ (secondary hypertension) มีประมาณ 6 ถึง 8% ของประชากร
ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นผลมาจากการเป็นโรคอื่น เช่น โรคของต่อมไร้ท่อ โรคของตับ โรคของไต


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (0)

ไม่มีคำตอบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท