รบกวนถาม


kanlaya

สวัสดีค่ะ

อาจารย์คะขอถามหน่อย อาจารย์พอจะทราบเรื่องการนำRegression กับ Logistic regressionมาใช้ร่วมกับข้อมูลทางGIS ไหมคะ คือเอาข้อมูลส่วนที่เป็นAttribute data ส่งออกมาในรูปของexcell แล้วนำมาเข้า โปรแกรม SPSS หรืออาจทำในโปรแกรมทางด้านนี้เช่น IDRISI ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือเปล่า รบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ



ความเห็น (12)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

จรัณธร
เขียนเมื่อ

การวิเคราะห์ทางสถิติเช่น การวิเคราะห์ regression แบบต่างๆ นำมาใช้ร่วมกับ GIS ได้ดีครับ 

  • ผมยังไม่เคยใช้ idrisi ร่วมกับการวิเคราะห์ทางสถิติเลยครับ แต่ผมแน่ใจว่าสถิติใช้ร่วมกับโปรแกรม GIS ได้ทุกโปรแกรม โดยเฉพาะสามารถทำได้ใน Excel อย่างที่คุณกัลยากล่าวไว้ครับ

ผมขออนุญาตแนะนำ บางทีคุณกัลยาคงทราบแล้ว ว่ามีงานหลายชิ้นที่นำใช้การวิเคราะห์ discriminante หรือ k-means cluster มาใช้ร่วมกับเทคนิคทาง GIS   

ลิงค์ข้างล่างเป็นโครงการตัวอย่างที่ใช้ GIS ร่วมกับการวิเคราะห์ทางสถิติเกี่ยวกับเรื่องภัยแล้ง ของ รศ.ดร.ชฎา ณรงค์ฤทธิ์ และคุณสีใส ยี่สุ่นแสง จากมหาวิทยาลัยนเรศวรครับ 

 http://www.agi.nu.ac.th/research/Research_Water/default.htm

http://www.agi.nu.ac.th/research/Research_Water/Html/D_publication.htm

คุณกัลยาอาจจะติดต่ออาจารย์ชฎา หรือคุณสีใสก็ได้ครับ ขอทราบรายละเอียดได้ครับ

ขาดเหลืออะไรก็ติดต่อผมได้นะครับ  หลังจากสอบเสร็จแล้ว คงมีเวลามากขึ้นครับ



ความเห็น (12)

การใช้ gis กับโมเดล MLR และ LGR ทางด้านการใช้ที่ดิน และการพยากรณ์ปรากฎการต่างๆ มีให้ศึกษามากเลยครับในเนต

  • ถ้าคุณกัลยาอยากใช้ logistic regression ทำ model ก็ลองศึกษาข้อดีข้อด้อยของ LGR นะครับ ว่าข้อมูลประเภทไหนที่เหมาะสมจะนำมาใช้   หรือไม่อย่างนั้นอาจจะใช้เพียง multiple linear regression ก็ได้

ในความเห็นของผม ทั้งนี้คงขึ้นกับรายละเอียดด้านต่างๆ ของข้อมูลที่คุณกัลยาจะนำมาใช้ทำ model ครับ

อย่างไรก็ตามผมขอคำแนะนำเรื่อง model เช่นกันครับ

เนื่องจากท่านอาจารย์ชฎา  กำลังศึกษาเรื่องการจัดการระบบ logistics จากภาคตะวันตกถึงฝั่งตะวันออกของประเทศอยู่ 

  • ทำให้ผมคิดว่า ในการศึกษาของคุณกัลยานั้น คงเน้นการจัดการทรัพยากรเพื่อนำในใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนใช่ไหมครับ........ดังนั้น ถ้าคุณกัลยาได้ศึกษาการบริหารโลจิสติส์ในระบบธุรกิจควบคู่ไปด้วย  นั่นคงเป็นสิ่งเติมเต็มการศึกษาให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้น 

อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยหลายอย่างที่จำกัด เช่น คุณกัลยาต้องสำเร็จการศึกษาในระยะเวลาที่กำหนด หรือ งบประมาณในการทำวิจัยที่จำกัด

  • งานวิจัย (re-search) ไม่ได้จบหรือหยุดอยู่เพียงแค่เราสำเร็จการศึกษาไปแล้ว  แต่เราสามารถสานต่อหลังจากนี้ได้....เป็นอย่างที่อาจารย์หมอวิจารณ์ กล่าวไว้เลยครับ

ขอบคุณค่ะอาจารย์

ทำให้มีกำลังใจทำงานมากขึ้น

ถ้ามีอะไรที่อาจารย์ให้ช่วยสามารถบอกนะคะยินดีค่ะ

สวัดีค่ะอาจารย์

ตอนป.โทอาจารย์ทำงานวิจัยเรื่องไฟป่าใช่ไหมคะ อาจารย์พอจะมีpaperไหมคะ พอดีเพื่อนทำthesisไฟป่าในประเทศไทยค่ะ

 

สวัสดีครับ คุณกัลยา

การศึกษาเรื่องปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดไฟป่าตอนเรียนป.โท ที่อินโดนีเซีย...ผมใช้กระบวนการเดียวกันกับที่ทำวิจัยเรื่อง deforestation ที่ทุ่งแสลงหลวงครับ.

  • ผมมี reprint from ของ paper นี้ แต่เป็นรูปแบบกระดาษ ไม่มีในอินเตอร์เนตครับ เพราะตีพิมพ์ในวารสารของมหาวิทยาลัยที่อินโดนีเซีย  และผมก็ไม่ได้นำข้อมูลของตอนที่เรียน ป. โท ติดตัวมาเลยครับ
  • อย่างไรก็ตาม สามารถกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ได้จาก ลิงค์ เรื่อง deforestation ที่ผมเคยแนะนำ (file อยู่ใน บล็อกนี้แล้ว) ให้นะครับ

ผมแนะนำว่า มีวิทยานิพนธ์เรื่องไฟป่าของพี่ ป.โท ที่ ม. มหิดล  ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบด้าน GIS ที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์มากกว่าของผมครับ   น่าจะสำเร็จการศึกษาในราวๆ ปี 2544 

ผมคิดว่าสามารถหาดูได้ที่หอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย หรือที่คณะทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล  

  • ที่นั่นถ้าเป็นด้าน GIS... ผมคงแนะนำ รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ และ ดร.ชาลี นาวานุเคราะห์ พอดีท่านเป็นอาจารย์ของผมที่ ม. เกษตรศาสตร์ มาก่อนน่ะครับ
  • ผมอยากแนะนำอีกคนหนึ่งครับที่เป็นทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาและหัวหน้าผมตอนที่อยู่กรมป่าไม้  คือ อาจารย์ ดร.สุวิทย์ อ๋องสมหวัง  ตอนนี้คงย้ายไปสอนที่ มหาวิทยาลัยสุรนารีแล้วครับ สำหรับเรื่อง RS และ GIS ด้านป่าไม้และไฟป่า อาจารย์สุวิทย์สามารถให้คำแนะนำได้เป็นอย่างดีครับ

คุณกัลยาและเพื่อนๆ ติดต่ออาจารย์ของผมได้เลยนะครับ ไม่ต้องเกรงว่าท่านจะไม่ว่าง ท่านยินดีช่วยเหลือเสมอนักศึกษาเสมอครับ

  • ณ ช่วงเวลานี้ผมมีหน้าที่ ที่จะต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะแลปเคมีด้านธาตุอาหารและคุณลักษณะต่างๆ ของดิน น่ะครับ ก็เลยห่างเหินจาก GIS เป็นเวลาเกือบๆ สามปีแล้ว

ผมเอง เมื่อเรียนจบกลับไป ก็อยากศึกษาด้านการจัดการระบบการเกษตรในชุมชนท้องถิ่น ถึงอย่างไรเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศก็ยังจำเป็นสำหรับงานของผมน่ะครับ

ปล. มีอะไรถ้าคิดว่าผมช่วยเหลือได้ อย่าลังเลที่จะติดต่อมานะครับ

สวัสดีค่ะ

ใกล้สอบหัวข้อแล้วอาจารย์เป็นไงบ้าง ตื่นเต้นไหมคะ

พอดีจะถามอาจารย์ว่าระหว่างอาจารย์สุระ กับอาจารย์ชาลี ใครเชี่ยวชาญทางด้านเกษตร พอดีต้องการให้อาจารย์มาเป็นกรรมการสอบหัวข้อน่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • อาจารย์ชาลี ท่านเคยทำงานอยู่กรมพัฒนาที่ดินครับ ผมคิดว่าผลงานทางวิชาการด้านการเกษตรอยู่มาก
  • ส่วนอาจารย์สุระเคยสอนที่คณะวนศาสตร์ครับ ผมไม่ได้พบท่านอาจารย์ทั้งสองมาประมาณเกือบสิบปีแล้ว
  • ที่จริงอาจารย์สุระ ได้รับเชิญเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่ ม. นเรศวร บ่อยมากมากเลยครับ

ผมต้องขอโทษที่ไม่สามารถระบุได้ว่าใครเชื่ยวชาญด้านการเกษตรมากกว่ากัน...คุณกัลยาลองศึกษาจากผลงานการวิจัยของท่านอาจารย์ทั้งสองนะครับ ว่าท่านใดทำงานที่เกี่ยวของกับงานวิจัยของคุณกัลยา

พรุ่งนี้ผมก็จะสอบวิทยานิพนธ์แล้ว ผมยอมรับว่ารู้สึกตื่นเต้นมากครับ...ถึงวันซ้อมนำเสนอทีไร ทำให้นอนไม่หลับทุกทีเลย....ผมจะทำให้เต็มที่ครับ

ขอบคุณนะครับ ขอให้คุณกัลยาโชคดีเช่นกันครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

พอดีหนูกำลังหาหัวข้อทำ thesis เกี่ยวกับ GIS น่ะค่ะ

มีโอกาสได้เข้ามาอ่าน blog ของอาจารย์

เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ...ขออนุญาติแวะเข้ามาบ่อยนะค๊า

 

บอมเบย์ค่ะ

อยากทราบประโยชน์และข้อดีข้อเสียของ

-Decision Tree

-Neural Network

-K-Means

-Hierarchical

-Kohonen Network

หน่อยนะคะ

-Decision Tree

-Neural Network

-K-Means

-Hierarchical

-Kohonen Network

อยากทราบวิธีการใช้งานของแต่ละอันค่ะ

แล้วก้อความหมายของแต่ละตัวค่ะ

ขอบคุณมากๆๆนะค่ะ

สวัสดีค่ะ

หนูรบกวนขอข้อมูลของ IDRISI คืออยากทราบเกี่ยวกับ คุณสมบัติ + ลักษณะ อย่างระเอียด ขอหน่อยนะค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ทุกท่าน

หนูรบกวนขอข้อมูลของ IDRISI คืออยากทราบเกี่ยวกับวิธีใช้งาน อย่างระเอียด ขอหน่อยนะค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

อธิบายส่งเมล์ มาให้หน่อยน่ะค่ะ จะขอบพระคุณเป็นอย่างสูงเลยค่ะ [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท