สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ม.23


ผมเป็นครูชายแดน อยู่ที่จังหวัดราชบุรี เดิมทีเป็นครูอยู่สังขละบุรีและได้ย้ายกลับมา ทำหน้าที่ทะเบียนนักเรียน และได้สำรวจนักเรียนที่ไม่มีสัญชาติ และได้ทำการสำรวจ ทร38 และนักเรียนก็ได้บัตรประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 0 พอทราบข่าวเรื่อง ม.23 ก็ได้ทำการศึกษาตามเวบไซต์ต่างๆ แต่ไม่ค่อยเข้าใจ อย่างกรณีของเด็กที่ ไม่มีใบรับรองการเกิด และนักเรียนได้เรียนตั้งแต่ช้้นประถม จนถึงในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วนั้นสามารถที่ขอสัญชาติไทยได้หรื่อไม่ ถ้าไม่ได้ มีวิธีอื่นหรือไม่ และยังมีจำนวนนักเรียนที่เป็นแบบนี้อยู่อีกมาก เพราะว่านักเรียนคิดว่าเมื่อเรียนไปแล้วจบไปก็ไม่สามารถหางานทำได้ ต้องรับจ้างเขา จึงทำให้ต้องออกกลางคัน ช่วยแนะนำให้หน่อยนะครับ ผมจะได้มีความรู้ที่ถูกต้องนำไปบอกกับนักเรียน และลูกศิษย์อีกหลาย ๆ คน ที่มีความคิดแบบนี้



ความเห็น (1)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

Archanwell
เขียนเมื่อ

มีสองเรื่องที่ต้องตอบมังคะ

ประการแรก เกี่ยวกับสิทธิในสัญชาติไทยตามมาตรา ๒๓

มาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายไทยว่าด้วยสัญชาติไทย ซึ่งมุ่งที่จะคืนสิทธิในสัญชาติไทยให้แก่คนที่เกิดในประเทศไทยก่อนวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ และบุตร ซึ่งตกอยู่ในผลกระทบของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ป.ว.๓๓๗ ซึ่งผลกระทบนี้อาจจะเกิดขึ้นทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ อันทำให้พวกเขาตกเป็นคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย

คนที่ได้รับผลกระทบทางตรงของ ปว.๓๓๗ มีอยู่ ๒ กลุ่ม อันได้แก่ (๑) คนที่เกิดในประเทศไทยระหว่างวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๖ จนถึงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ อันทำให้เสียสัญชาติไทยโดยผลของ ปว.๓๓๗ หากมีข้อเท็จจริงตาม ปว.๓๓๗ กล่าวคือ มีบุพการีหลักเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองในลักษณะไม่ถาวร และ (๒) คนที่เกิดในประเทศไทยระหว่างวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ จนถึงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ อันทำให้ไม่ได้สัญชาติไทยโดยผลของ ปว.๓๓๗ หากมีข้อเท็จจริงตาม ปว.๓๓๗ ดังกล่าวแล้ว

ส่วนคนที่โดนผลกระทบทางอ้อมของ ปว.๓๓๗ มีอยู่ ๑ กลุ่ม อันได้แก่ (๓) บุตรของสองกลุ่มแรกที่เกิดในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ จนถึงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑

โดยสรุป คนสัญชาติไทยโดยผลของมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ จึงมีอยู่ ๓ กลุ่ม เหตุผลที่กฎหมายนี้หันมารับรองสิทธิในสัญชาติไทยให้แก้คนกลุ่มนี้โดยผลของกฎหมาย ก็เพราะพวกเราอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานจนมีความกลมกลืนกับประเทศไทยทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม พวกเขาจึงไม่ต้องร้องขอมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยผลของมาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ อีกต่อไป แม้ยื่นคำร้องขอไว้แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการตามกระบวนการตามมาตรา ๗ ทวิ อีกต่อไป

ในกรณีของคนที่เกิดในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ จากบิดาและมารดาต่างด้าวซึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองไม่ถาวร ก็ไม่มีสิทธิในสัญชาติไทยโดยผลของกฎหมายและไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบของ ปว.๓๓๗ จึงไม่ใช่ผู้ทรงสิทธิตามมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ หากต้องการร้องขอสิทธิในสัญชาติไทย ก็ยังต้องไปใช้มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ ในการร้องขอสัญชาติไทยต่อไป

แต่ขอให้ตระหนักว่า ในการปฏิรูปกฎหมายสัญชาติไทยใน พ.ศ.๒๕๕๑ มีการปฏิรูปมาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ อีกครั้ง เพื่อให้มาตรานี้อาจมีผลในลักษณะทั่วไป มิใช่เพียงเฉพาะรายดังมาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ เดิม มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ ใหม่ ก็คือ มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ และโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑

หากจะอยากอ่านงานเขียนของอาจารย์แหววในเรื่องนี้เพิ่มเติม ก็อ่านได้ค่ะ

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๑

------------------

กรณีศึกษานางสาวฟองจันทร์ สุขเสน่ห์ : จากคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยสู่คนสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนโดยการเกิดโดยผลของมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑, กรณีศึกษาในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=454&d_id=453

http://learners.in.th/blog/notes-of-archanwell-on-private-international-law/361388

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๒

------------------

บุคคลผู้ถือบัตรบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยและบุตร จะมีสิทธิขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านตามมาตรา ๒๓ หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ? : กรณีศึกษานางสาวมึดา นาวานารถ, งานเขียนเพื่อหนังสือแจกในงานวันเด็กไร้สัญชาติ ครั้งที่ ๗ พ.ศ.๒๕๕๒ ของศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน, เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑

http://gotoknow.org/blog/archanwell-and-stateless-and-nationalityless/228684

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=498&d_id=497

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๓

------------------

กรณีศึกษานางสาวศรีนวล : ปัญหาการกำหนดสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนโดยผลของมาตรา ๒๓ วรรค ๑ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑, ข้อสอบวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒

http://learners.in.th/blog/archanwell-right2nationality/398393

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๔

------------------

คนสัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคสอง : ควรมีสิทธิทางการเมืองโดยจำกัดอย่างนั้นหรือ ?, เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒

http://gotoknow.org/blog/law-for-humanity/273624

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๕

------------------

ความเห็นของ อ.แหววต่อการถอดบทเรียนของบุญในการพานักเรียนไปยื่นคำขอตามมาตรา ๒๓, เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒

http://archanwell.spaces.live.com/blog/cns!706316D9B6E66926!9241.entry

http://gotoknow.org/blog/archanwell-and-maeai-study/273814

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๖

------------------

ตอบปัญหาเรื่องสิทธิในสัญชาติไทยตามมาตรา ๒๓ วรรค ๑ ของคนถือบัตรเลข ๐, เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒, เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒

http://gotoknow.org/ask/archanwell/12517

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๗

------------------

ตอบคำถามเกี่ยวกับผู้ทรงสิทธิเกี่ยวกับมาตรา ๒๓ ของบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยเพราะตกอยู่ภายใต้มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๑ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕, เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

http://learners.in.th/ask/archanwell/9294

http://gotoknow.org/ask/archanwell/12585

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๘

------------------

ตอบคุณหนุ่มเรื่องสิทธิในสัญชาติไทยตามมาตรา ๒๓ : ต้องเริ่มต้นจากการพิสูจน์การเกิดในประเทศไทย, คำตอบปัญหาของบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคล, เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒

http://gotoknow.org/blog/people-management/316876

http://gotoknow.org/ask/archanwell/12854

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=487&d_id=486

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๙

------------------

กรณีศึกษานางสาวทันยา : สิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนของคนเกิดในประเทศไทยก่อนวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ จากบิดาและมารดาสัญชาติอเมริกัน, ข้อสอบในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒, เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓

http://learners.in.th/blog/archanwell-right2nationality/419562

ในประการที่สอง สิทธิทางการศึกษาและสิทธิทำมาหาเลี้ยงชีพ

สิทธิทั้งสองนี้เป็นสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยมีทั้ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๐ พ.ร.บ.การทำงานคนต่างด้าว พ.ศ.๒๕๕๑  และประเทศไทยก็เป็นทั้งภาคีของกติกาสหประชาชาติ ค.ศ.๑๙๖๖ ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อันหมายความว่า สิทธิทั้งสองไม่ขึ้นอยู่กับสถานะคนสัญชาติไทย การเอาไปผูกติดกัน ก็ทำให้มนุษย์ต้องมี ๒ ปัญหา การให้สัญชาติไทยง่ายๆ คงเป็นไปไม่ได้ แต่การให้สิทธิทางการศึกษา และสิทธิทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นหน้าที่ที่รัฐไทยต้องให้แก่มนุษย์ที่มีลมหายใจในประเทศไทย

ดังนั้น การแก้ไขทัศนคติที่ผิดพลาดดังว่ามา "เพราะว่านักเรียนคิดว่าเมื่อเรียนไปแล้วจบไปก็ไม่สามารถหางานทำได้ ต้องรับจ้างเขา จึงทำให้ต้องออกกลางคัน ช่วยแนะนำให้หน่อยนะครับ ผมจะได้มีความรู้ที่ถูกต้องนำไปบอกกับนักเรียน และลูกศิษย์อีกหลาย ๆ คน ที่มีความคิดแบบนี้" จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำก่อน เมื่อคิดผิดทาง ก็แก้ไขปัญหาไม่ได้ และอาจนำไปสู่การกระทำความผิด ก็คือ ซื้อเอกสารปลอม ที่อาจนำไปสู่อีกปัญหาให้แก่ชีวิต

เริ่มต้นจากมีความรู้และมีความคิดที่ถูกต้องก่อนค่ะ ก็จะแก้ไขปัญหาได้



ความเห็น (1)

ทั้งชีวีต สัญชาติไทย อย่าขอเลย

เสียเวลา เปล่าๆๆๆๆ

ไม่มีอะไรดีขึ้นหรอก

เพราะ ยังไงๆ ก็ ไม่ได้อยู่ดี ข้ออ้างมันเยอะ เกินความจริง เกินกฐมาย

เรา กลับไปเป็น อย่างอื้นดีกว่า จะได้มีความสุข ในชีวิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท