กราบนมัสการถามครับ


กระผมตามหาผู้ที่สามารถแยกศัพท์มาหลายที่ ตั้งแต่ มหาเปรียญ หลายท่าน อีกทั้งท่านผู้สอนบาลีใหญ่ที่สำนักท่ามะโอ หากทว่ายังไม่ได้มีท่านใด สามารถแยกให้ได้ ข้าพเจ้าเห็นท่านจากการ search คำบาลีที่ท่าน ได้กรุณาแยกศัพท์ไว้ ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการพิจารณาธรรม จากข้อจำกัดปัญหาดังกล่าว กระผมจึงใคร่ขอโอกาสถาม ศัพท์คำหนึ่งคือ "อัสสาสปัสสาสะ" คำถามคือ อัสสาสะ กับ ปัสสาสะ คำแปลมีหลายที่ใน อรรถกถา แปลไว้ ยักเยื้องกัน ทั้งๆ ที่เป็นท่าน พุทธโฆษาจารย์ คนเดียวกันเขียน อีกทั้งมีการแต่งบาลีกำกับไว้ ในวินัย,อภิธรรมอย่างหนึ่ง ในอรรถกถาอย่างหนึ่งคือแปลตรงกันข้ามกัน ท่านพุทธทาส ท่านว่าท่านนิยม อัสสาสะ=ออก ปัสสาสะ=เข้า พจนานุกรมของท่าน David แห่งสมาคมบาลีปกรณ์ ก็แปลแบบ ไทยส่วนมากแปล(คืออัสเข้า ปัสออก) ส่วนพจนานุกรม ท่านR.C. Childers แปลตรงกันข้าม บางท่านบอกง่ายๆ ให้ดูที่ ปัสสาวะ ผมก็บอกหากปัสสาวะ แปลว่า ของไหลออกแล้ว เป็นข้อเสนอให้แปล ปัสสาสะ ว่า หายใจออก ทำไหม อัสสว ซึ่งก็แปลว่า ไหลออกเหมือนกัน ล่ะจะทำไง ท่าน อาจารย์ท่านหนึ่ง แห่งสำนักท่ามะโอ ท่านตอบว่าขึ้นอยู่กับคัมภีร์ คือสรุปพูดง่ายๆ คือ เสี่ยงเอา 50-50 จึงเรียนมาเพื่อขอความกรุณาท่านช่วยตอบครับ วินโรจน์ ขาวสะอาด 084 984 8989 [email protected]


ความเห็น (2)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

BM.chaiwut
เขียนเมื่อ

อัสสาสะ กับ ปัสสาสะ นั้น เป็นประเด็นปัญหาตามคัมภีร์อย่างที่ท่านผู้รู้วิจารณ์ไว้นั้นแหละ แปลว่าหายใจเข้าบ้างหายใจออกบ้าง ทำให้สับสนสำหรับผู้แรกศึกษา ผู้คุ้นเคยรู้ว่าเป็นประเด็นปัญหาก็ผ่านไป...

เปรียบเทียบคำว่า แก ในสังคมไทยทั่วไปเป็นคำสรรพนามที่ใช้เรียกใครบางคนโดยการบ่งชี้ว่าเป็นคนชั้นต่ำ ดูหมิ่น หรือเป็นภาษาไม่ค่อยสุภาพนัก... แต่ในสังคมคนไทยในมาเลย์ แก เป็นคำใช้เรียกผู้หลักผู้ใหญ่โดยบ่งชี้ถึงความเคารพนับถือ...

ภาษาไทยต่างท้องถิ่นยังต่างกันเลย จะป่วยกล่าวไปใยซึ่งภาษาบาลี... เพียงแต่เราเข้าใจความต่างกัน แล้วใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับท้องถิ่นหรือคัมภีร์นั้นๆ น่าจะเป็นประโยชน์กว่าการชี้ชัดว่าอะไรถูกอะไรผิด...

เจริญพร



ความเห็น (2)

ขอบพระคุณครับที่กรุณา

ในประเด็นเรื่องแยก ธาตุ ศัพท์ คำนี้ไม่สามารถแยกได้โดยหลักไวยากรณ์ใดๆ หรือขอรับ

ศัพท์ ทั้งสองนี้ ถ้าเป็นอาขยาต ก็จะเป็น อสฺสสติ (ย่อมหายใจออก) หรือ ปสฺสสติ (ย่อมหายใจเข้า) เป็นการแปลคล้อยตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค (วิสุทฺธิ. ๑.๒๙๖)

อสฺสาส (สันสกฤติใช้เป็น อาศฺวส) มาจาก อา ศัพท์ + สาส ศัพท์ วิเคราะห์ว่า อาทิมฺหื สาโส อสฺสาโส (อัสสาสะ คือลมหายใจในเบื้องแรก) ส่วน ปสฺสาส (สันสกฤติใช้เป็น ปฺรศฺวส) มาจาก ป ศัพท์ + สาส ศัพท์ วิเคราะห์ว่า ปจฺฉา สาโส อสฺสาโส (อัสสาสะ คือลมหายใจในเบื้องหลัง)

อนึ่งคำว่า อสฺสาสปสฺสาส มีคำไวพจน์ว่า อานาปาน มาจาก อาน ศัพท์ + อปาน ศัพท์ มีความหมายว่า ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก โดย อปาน วิเคราะห์ว่า อานโต อปคต อปานํ (อปานะ คือ ลมหายใจที่ถัดมาจากลมหายใจเข้า/ลมหายใจออก)

อานํ คือ ลมหายใจเข้า อปานํ คือ ลมหายใจออก (เถร. อ. ๒.๒๐๖)

คัดมาจาก หนังสือ อานาปานทีปนี พระญาณธชเถระ (แลดี สยาดอ) พระคันธสาราภิวงศ์(วัดท่ามะโอ) แปล

ที่มา :http://watnai.blogspot.com/search/label/อานาปานทีปนี อาจเป็นประโยชน์กับผู้ที่ Search เข้ามาครับ

ปล.ที่ท่านเปรียบเทียบ(แสดงธรรมเรื่องแถ) "แถ" ท่านแสดงได้ชัดเจนมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท