ขอคำแนะนำหน่อยครับ


dong
ผมได้อ่านในบล๊อกพี่แล้ว ทำให้ผมอยากทำงานด้านนี้มากๆ มีน้อยคนมากๆ(เพื่อนในคณะ) ที่จะทำงานด้านนี้ ยังได้อ่านบล๊อกพี่แล้ววว มีกำลังใจมากๆ ที่ผมอยากทำให้ได้ ในการทำงานสังคมสงเคราะห์ ในสถานสงเคราะห์ ผมขอนำแนะนำพี่ด้วยนะครับ ตอนนี้ใกล้จะจบแล้ว.... ยังไม่รู้เลยว่าอนาคตจะทำยังไง ใจนึงก็อยากต่อปริญญาโท อีกใจหนึ่งก็อยากทำงานในสถานสงเคราะห์ แต่ว่า...ปัจจุบันนี้ ข้าราชการเปิดรับน้อยเหลือเกิน เง้อ....... สักวันหนึ่งผมจะเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ที่อุทิศตนเพื่อสังคม เหมือนที่พี่ทำในวันนี้ให้ได้


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

มงคล ยะภักดี
เขียนเมื่อ

สวัสดีปีใหม่ครับ คุณ dong


ผมยินดีอย่างที่สุดครับ ที่ได้รับข้อความทั้งปรากฏในคำถาม การเยี่ยมชมเพื่อแสดงความเห็น แม้กระทั่งการทักทายผ่านอีเมล ทั้งหลายทั้งปวงล้วนแล้วแต่สัมผัสได้ถึงความมุ่งมั่น "ที่จะทำงานกับความ" 

เพราะเหตุว่า "ความ" กินความหมายได้กว้างขวางยิ่งกว่า "คน" 
เพราะเหตุว่า "ความ" เป็นเหตุ (และบางกรณี "คน" อาจเป็นเหตุด้วย (ฮา))
เพราะเหตุว่า "ความ" เป็นระบบ เป็นสภาพแวดล้อม ที่ต้องได้รับการจัดการ
เพราะเหตุว่า "คน" เป็นผู้ได้รับผลกระทบจาก "ความ"

ความจน ความขัดแย้ง ความไม่เท่าเทียม ความไม่ยุติธรรม ความผิดแผกแตกต่าง ฯลฯ

เพราะในบ้านเรายังมี "ความ" ไม่เรียบร้อย ไม่ปกติมากมายอย่างนี้ "คน" ในบ้านเรา จึงยังคงเป็นไปแบบนี้

พร้อมกันนั้น ผมต้องขออภัยอย่างที่สุดครับสำหรับการตอบที่ล่าช้า อย่างที่สุด

เพราะเหตุนั้น ผมคงต้องชวนคุยอะไรยาวๆ เสียหน่อยละนะครับ

 

ผมเข้าใจของผมเองว่า
สถานสงเคราะห์หรือหน่วยงานที่ให้บริการเชิงสถาบัน (เรือนจำ/สถานคุ้มครอง ฯลฯ) หรือหน่วยงานที่มีลักษณะของการเป็น Social Lab. (ศูนย์ประสานงานและให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้/ด้อยโอกาส/ถูกกระทำให้เป็น "คนชายขอบ" เพราะเงื่อนไขหรือข้อจำกัดประการต่างๆ ที่ให้บริการโดยตรงกับผู้ประสบปัญหาและการพัฒนาและนำเสนอเพื่อทบทวนระบบ/โครงสร้างความไม่เท่าเทียมไปพร้อมๆ กัน) ผมว่าน่าจะเหมาะสำหรับการเริ่มต้นในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ เพราะเหตุว่าเป็น "พื้นที่" ซึ่งเอื้อต่อการทำงานในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์อย่างที่สุด

เพราะเหตุว่าในสถานที่เหล่านั้น นักสังคมสงเคราะห์มี "พื้นที่" ให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน (ถ้ามีใจอยากปฏิบัติงาน) 
เพราะเหตุว่าในสถานที่เหล่านั้น นักสังคมสงเคราะห์มี "ปาก-มีเสียง" เรียกร้อง ปกป้อง และพิทักษ์สิทธิ์ได้ตามสมควรแก่ฐานะ

อย่าได้แปลกใจ ถ้าจะได้รับรู้ สัมผัสได้ว่ามีบุคลากรในสถานที่เหล่านั้นจำนวนไม่น้อย "มีความไม่พึงพอใจ-เคืองใจ" ต่อนักสังคมสงเคราะห์ 

เพราะเหตุแห่ง "พื้นที่" และ "บทบาท" ของนักสังคมสงเคราะห์

เพราะเหตุว่า นักสังคมสงเคราะห์ถูกฝึก (และทำให้เชื่อว่าเราต้อง) ให้ "ให้ความสำคัญกับกระบวนการ" พอๆ กับผลลัพธ์ 

ก็ถ้าในเมื่อ process มีความสำคัญพอๆ กับ out put และ out come แล้ว ความยุ่งยากที่เราต้องสะท้อนผ่านการพัฒนากระบวนงานในวิชาชีพเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญยิ่ง  ต้องแสดงให้ใครๆ ได้เห็นว่า "กระบวนการแต่ละขั้นตอนนั้นสำคัญยิ่งอย่างไรต่อผู้รับบริการ"  เพราะเมื่อใดก็ตาม ถ้านักสังคมสงเคราะห์มุ่งเป้าไปที่ out put และ out come อย่างเป็นด้านหลัก (โดยมิได้ตระหนักถึงความสำคัญของ process) เสียแล้ว บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์เป็นอันต้องได้รับการทบทวนโดยด่วน

เพราะเหตุว่านักสังคมสงเคราะห์ มีพื้นที่อย่างนั้น มีบทบาทอย่างนั้น ภาพก็คงไม่พ้นที่ต้องแสดงออก (ผ่านการคิด การพูด การทำ และการเขียน) อย่างนั้น จึงไม่แปลกถ้าการให้ความสำคัญกับ process จะถูกมอง (และเข้าใจ) ว่าเป็นการ "เรื่องมาก-มากเรื่อง"

 

เพราะเหตุว่าถัดจากหัวหน้าหน่วยงาน (ผู้อำนวยการ/ผู้ปกครอง/หัวหน้าบ้าน ฯลฯ) แล้ว คนที่พอจะมีเสียงหรือส่งสัญญาณ (ผ่านการคิด การพูด การทำ และการเขียน) ได้ก็คงจะได้แก่นักสังคมสงเคราะห์ (และ/หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่นักสังคมสงเคราะห์) จึงอย่าได้แปลกใจถ้าจะได้รับรู้และสัมผัสได้ว่า ในหน่วยงานที่ให้บริการเชิงสถาบันหรือหน่วยงานที่มีลักษณะของการเป็น Social Lab. หัวหน้าหน่วยงานจะไม่ชอบใจนักสังคมสงเคราะห์เท่าใดนัก และในหลายแห่งได้รับการพัฒนาความไม่ชอบใจไปสู่ความขัดแย้งในที่สุด

ยังไม่นับรวมว่าใน "กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ" นั้น นักสังคมสงเคราะห์จำนวนไม่น้อย (ผมไม่แน่ใจว่ามากเพียงใด) มิได้เติบใหญ่มาจากการเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ทั้งมีจำนวนไม่น้อยที่มิได้รับการฝึกอบรม/เรียนผ่านระบบหรือนอกระบบ ในสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ หากแต่ได้รับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งในภายหลัง  เพราะเหตุนั้น จึงอย่าได้แปลกใจถ้าจะเห็นเจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่การเกษตร ฯลฯ ได้รับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ในกาลต่อมา (เพราะความก้าวหน้าในอาชีพเป็นเหตุผลหลักของการปรับเปลี่ยน)

มาถึงตรงนี้ เราก็คงต้องหวนกลับไปยังประโยคก่อนหน้านี้ว่า
ก็ถ้าในเมื่อ process มีความสำคัญพอๆ กับ out put และ out come แล้ว ความยุ่งยากที่เราต้องสะท้อนผ่านการพัฒนากระบวนงานในวิชาชีพเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญยิ่ง  ต้องแสดงให้ใครๆ ได้เห็นว่า "กระบวนการแต่ละขั้นตอนนั้นสำคัญยิ่งอย่างไรต่อผู้รับบริการ"  เพราะเมื่อใดก็ตาม ถ้านักสังคมสงเคราะห์มุ่งเป้าไปที่ out put และ out come อย่างเป็นด้านหลัก (โดยมิได้ตระหนักถึงความสำคัญของ process) เสียแล้ว บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์เป็นอันต้องได้รับการทบทวนโดยด่วน

 

จะเพราะเหตุนี้หรือเปล่าไม่แน่ใจที่ทำให้ นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานที่เชิงสถาบันหรือหน่วยงานที่มีลักษณะของการเป็น Social Lab. อยู่ได้ไม่นาน เพราะความเเหนื่อยล้า ทั้งจากภารกิจที่ยุ่งยากในการให้บริการกลุ่มเป้าหมายที่อ่อนล้า อ่อนแรง แต่ก็คงไม่เท่ากับความเหนื่อยล้าจากการต้อง (ทน) ทำความเข้าใจต่อเพื่อนพ้อง น้อง พี่ ในหน่วยงาน

คนเราถ้าไม่สนุก ไม่มีความสุขในการทำงานเสียแล้ว ถ้าทนอยู่ต่อไปก็คงไม่แตกต่างไปจากผู้ต้องขัง ที่ต้องฝึกใจให้เชื่อง

คนเราถ้าไม่มีความสุขในบทบาทเสียแล้ว ถ้าทนอยู่ต่อไปก็คงไม่แตกต่างไปจากพระหนุ่ม เณรน้อย ที่ต้องทนอยู่ (ซึ่งหมิ่นเหม่ต่อการล่วงละเมิดสิกขาบทตามพระวินัย)

ในเบื้องต้นนี้ ใคร่ขอเรียนว่า กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้เปิดหน่วยงานชื่อ "บ้านพักเด็กและครอบครัว" (ชื่อเดิมที่เราคุ้นเคยคือ บ้านพักฉุกเฉิน") อย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าจะให้ครอบคลุมครบทุกจังหวัดทั่วไทย และล่าสุดหน่วยงานน้องใหม่ (ชื่อยังตรงกันนัก) เป็นหน่วยงานที่ให้การรองรับคนไร้บ้าน  แน่นอนว่าหน่วยงานเหล่านี้ ยังขาดนักสังคมสงเคราะห์ (ซึ่งจบปริญญาสังคมสงเคราะห์) อยู่มากทีเดียวครับ


แนะนำคุณ dong เดินเข้าไปทักทาย ถามไถ่ ในหน่วยงานบ้านพักเด็กและครอบครัว ที่เปิดใหม่ใกล้บ้านได้เลยครับ

ซึ่งผมเข้าใจว่าน่าจะสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์ด่วน มหัศจรรย์ 1300  สายด่วนประชาบดีได้อยู่กระมังครับ 

แต่ก็อย่างว่านะครับ  ในเบื้องต้นนี้เป็นอัตรา "พนักงานราชการ" ครับผม

 

ขอบคุณ คุณ dong นะครับที่แวะมาทักทาย
ขอบคุณ คุณ dong ที่มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงานในวิชาชีพที่ได้ร่ำเรียนมาครับ

 

สวัสดีปีใหม่ครับ




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท