การจัดการองค์ความรู้ ด้านงานวิจัย


สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของคณะวิทยาศาสตร์แลละเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี สำหรับด้านงานวิจัย

คำสำคัญ (Tags): #๋่Journal
หมายเลขบันทึก: 635584เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2017 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2017 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ผศ.ดร.เนตรนภิส แก้วช่วย รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย เป็นประธานเปิดโครงการทบทวนระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กิจกรรมที่ 1 การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management : KM คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มการวิจัย และกลุ่มการจัดการเรียนการสอน กิจกรรม 2 คือการบริหารจัดการความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา

สรุปการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management :KM) ประจำปีการศึกษา 2561

การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management : KM คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มการวิจัย

ประเด็นการจัดการความรู้เทคนิคการของบวิจัยจากภายนอก

สรุปแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก

สรุปแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก1. ปัญหา อุปสรรค เพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก- ทุนวิจัยที่ได้ไม่สนับสนุนสถานประกอบการทั้งหมด ทำให้ไม่เอื้อกับสถานประกอบการขนาดเล็ก- เรื่องงบประมาณสนับสนุน เนื่องจากบางสถานประกอบการยังไม่มีความพร้อมในการร่วมลงทุน จึงจำเป็นต้องหาแหล่งทุนที่สนับสนุนงบวิจัยด้วย- ทุนขาดความชัดเจนในรูปแบบที่สนับสนุนมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาการสนับสนุน- โจทย์ของสถานประกอบการและความเชี่ยวชาญของนักวิจัยยังมีข้อจำกัดเรื่องช่องทางการพบกันของนักวิจัยและผู้ประกอบการ- ปัญหาของสถานประกอบการไม่ตรงกับความเชี่ยวชาญของอาจารย์- งานวิจัยด้านการทดลองระดับห้องปฏิบัติการยังต้องพัฒนาให้มากขึ้นเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์จริง ในระดับสเกลที่ใหญ่ขึ้นตามความต้องการของสถานประกอบการ- เงื่อนไขของทุนและเวลาของการสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก- ขาดกำลังคนที่มีความพร้อมในการดำเนินโครงการ- ข้อจำกัดเรื่องเวลา เนื่องจากอาจารย์ต้องมีตารางสอนที่ว่างและมีเวลาในการออกไปพบสถานประกอบการ- การติดต่อหรือหาสถานประกอบการที่มีความพร้อมจะร่วมลงทุนทำได้ค่อนข้างยาก- ความต้องการของแหล่งทุนและความชัดเจนของแหล่งทุน- รูปแบบการดำเนินงาน

  1. แนวทางความช่วยเหลือที่อาจารย์นักวิจัยต้องการ- การมีรายชื่อของสถานประกอบการและชื่อหัวข้อของที่สถานประกอบการต้องการให้แก้ปัญหา เพื่อให้อาจารย์/นักวิจัยได้เลือกให้ตรงกับความเชี่ยวชาญมากที่สุด- ดำเนินงานประชาสัมพันธ์หรือนัดหมายติดต่อสื่อสารเพื่อให้นักวิจัยและสถานประกอบการได้รับทราบโจทย์ร่วมกันได้ง่ายขึ้น- การจัดสรรเวลาที่เหมาะสมให้กับนักวิจัยให้ทำงานวิจัยโดยไม่กระทบภาระด้านอื่น เช่น การจัดการตารางสอน/เวลาในการเซ็นชื่อเพื่อความสะดวกในการออกไปสถานประกอบการ- มีการสนับสนุนการออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ให้มากกว่านี้- ลดภาระงานที่ไม่จำเป็นให้กับนักวิจัย- ต้องการการจับคู่นักวิจัยที่มีความพร้อมของงานวิจัยกับสถานประกอบการที่มีความพร้อมในการร่วมลงทุน- ต้องการการจับคู่ของนักวิจัยระดับห้องปฏิบัติการกับนักวิจัยระดับการขยายขนาดสเกล- การมีหน่วยงานภายในคณะหรือมหาวิทยาลัยฯที่เป็นสื่อกลางในการจับคู่นักวิจัย/สถานประกอบการ- มหาวิทยาลัยควรมีขั้นตอนการดำเนินงานที่กระชับไม่เพิ่มขั้นตอนปกติของเจ้าของทุน

  2. เทคนิคการหาแหล่งทุน- ติดตามข่าวสารจากสื่อออนไลน์ที่ประกาศข่าวเกี่ยวกับทุนต่าง ๆ- พยายามหาสถานประกอบการจากเครือข่ายความรู้จักส่วนตัว(Connection) จะสามารถติดต่อและทำข้อตกลงกันได้ง่ายขึ้น- สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหลาย ๆ ที่ จะทำให้สามารถหาแหล่งทุนได้หลากหลายมากขึ้น- หาทุนจากเว็บไซด์ NRIIS- การเข้าสู่ฐานข้อมูลของโจทย์วิจัยและแหล่งทุนวิจัย

  3. กลวิธีที่จะช่วยให้การเขียนข้อเสนอ/การพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยโครงการสำหรับขอทุนวิจัยประสบความสำเร็จ(ในด้านกลเม็ดเคล็ดลับหรือกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย)- เขียนหัวข้อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของสถานประกอบการและอยู่ภายใต้นโยบายของรัฐบาล- เขียนข้อเสนอให้ชัดเจน ตรงกับประเด็น ตรงเป้า - อธิบายพื้นฐานเชิงทฤษฎีให้ชัดเจน- มีความชัดเจนในเรื่องระยะเวลาและผลลัพธ์ตามระยะเวลา- การติดตามโจทย์ที่สถานประกอบการต้องการหรือการอ่านข่าวสารให้พบช่องว่างหรือพบปัญหาในสถานประกอบการที่นักวิจัยมีความเชี่ยวชาญ- ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลระดับต้น เช่น นักวิจัยกับบุคลากรจากสถานประกอบการ- Reviews งาน /optimal point สำหรับนำไปเสนอแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ- ต้องเขียนให้เห็นว่า งานวิจัยมีแนวโน้มการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง - ต้องให้สถานประกอบการมีส่วนร่วมทั้งในงานวิจัยและการลงทุน หรือให้สถานประกอบการแสดงหนังสือความจำนงและสนใจที่จะนำเอางานวิจัยไปใช้ประโยชน์จะทำให้มีแนวโน้มได้ทุนมากขึ้น- แสดงความเป็นไปได้ของการดำเนินงานเพื่อความสำเร็จ- มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ มีความร่วมมือจากหลากหลายสาขา- มีพี่เลี้ยงหรือผู้มีประสบการณ์คอยให้คำปรึกษา- มีคู่มือ/ต้นแบบของการเขียนข้อเสนอรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.sci.rmutt.ac.th/?p=24961

สรุปแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก

ปัญหา อุปสรรค เพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก

แนวทางความช่วยเหลือที่อาจารย์นักวิจัยต้องการ

เทคนิคการหาแหล่งทุน

กลวิธีที่จะช่วยให้การเขียนข้อเสนอ/การพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยโครงการสำหรับขอทุนวิจัยประสบความสำเร็จ (ในด้านกลเม็ดเคล็ดลับหรือกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย)

สรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการขอทุนวิจัยที่ร่วมกับสถานประกอบการ

สรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการขอทุนวิจัยที่ร่วมกับสถานประกอบการ

สรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการขอทุนวิจัยที่ร่วมกับสถานประกอบการ

สรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการขอทุนวิจัยที่ร่วมกับสถานประกอบการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท